สถานีรถไฟใต้ดินมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ

พิกัด: 60°10′20″N 24°56′51″E / 60.17222°N 24.94750°E / 60.17222; 24.94750
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ
สถานีของรถไฟใต้ดินเฮลซิงกิ
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออื่นฟินแลนด์: Helsingin yliopisto
สวีเดน: Helsingfors universitet
ที่ตั้งถนนวัวริ 12 เฮลซิงกิ
พิกัด60°10′20″N 24°56′51″E / 60.17222°N 24.94750°E / 60.17222; 24.94750
เจ้าของHKL
ราง2
การเชื่อมต่อ
  Helsinki tram สาย  3   6  และ  9 
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างใต้ดิน
ความลึก27 m (89 ft)
ข้อมูลอื่น
เขตค่าโดยสาร A 
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ1 มีนาคม พ.ศ. 2538
ชื่อเดิมไกสะเนียมิ (2538–2558)
ผู้โดยสาร
24,000 ต่อวัน[1]
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟใต้ดินเฮลซิงกิ สถานีต่อไป
เราต์ตะเตียนโตะริ
มุ่งหน้า คิเวนลาห์ติ
สายเอ็ม 1 ฮะกะเนียมิ
มุ่งหน้า วัวซาริ
เราต์ตะเตียนโตะริ
มุ่งหน้า ตาปิโอลา
สายเอ็ม 2 ฮะกะเนียมิ
มุ่งหน้า เมลลุนแมะกิ

สถานีรถไฟใต้ดินมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ (ฟินแลนด์: Helsingin yliopiston metroasema, สวีเดน: Helsingfors universitets metrostation) เป็นสถานีของรถไฟใต้ดินเฮลซิงกิ สถานีนี้ให้บริการแก่ประชาชนในบริเวณมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิและพื้นที่ใกล้เคียงในเขตไกสะเนียมิและกลูวิ สถานีนี้ใช้ชื่อว่าไกสะเนียมิในช่วงปี พ.ศ. 2538 ถึง พ.ศ. 2558[2] ตัวสถานีอยู่ลึกลงไป 27 เมตรจากผิวดิน และ 22 เมตรจากระดับน้ำทะเล สถานีนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของสถานีรถไฟใต้ดินสถานีรถไฟกลางเป็นระยะทาง 600 เมตร และทางทิศใต้ของสถานีฮะกะเนียมิเป็นระยะทาง 900 เมตร สถานีนี้ให้บริการทั้งสาย M1 และ M2

ห้องจำหน่ายตั๋วของสถานี

ประวัติ[แก้]

ตำแหน่งของสถานีมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิได้รับการตัดสินใจในปี พ.ศ. 2514 และกล่องสถานีได้รับการขุดเจาะระหว่างงานก่อสร้างสถานีครั้งแรกในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1970 วันเปิดให้บริการของสถานีถูกเลื่อนออกไปเนื่องจากไม่มีงบประมาณ ในที่สุดสถานีก็เปิดให้บริการในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2538 สถานีได้รับการออกแบบโดยบริษัทสถาปนิก Kontio - Kilpi - Valjento Oy สถานีนี้มีการติดตั้งลิฟต์กระจกที่ใช้เชือกลากขนานไปกับบันไดเลื่อน

การเปลี่ยนชื่อ[แก้]

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2557 สภาเทศบาลเมืองเฮลซิงกิลงคะแนนเสียงให้มีการเปลี่ยนชื่อสถานีจากไกสะเนียมิ เป็น มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ[3] การเปลี่ยนชื่อเสร็จสมบูรณ์ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 เนื่องในโอกาสครบรอบ 375 ปีของมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ[4] สถานีรถไฟใต้ดินนี้ยังเป็นหนึ่งในสองสถานีที่ตั้งชื่อตามมหาวิทยาลัย อีกหนึ่งสถานี คือ สถานีมหาวิทยาลัยอาลโตะ

อ้างอิง[แก้]

  1. "Metroasemien käyttäjämäärät". HKL. 10 December 2018. สืบค้นเมื่อ 6 May 2019.
  2. "University of Helsinki". Helsingin kaupunki (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-11-19.
  3. Lehmusvesi, Jussi (22 April 2014). "Kaisaniemen metroaseman nimi vaihtuu – "Kyllä ihmiset tottuvat"". Helsingin Sanomat (ภาษาฟินแลนด์). สืบค้นเมื่อ 22 April 2014.
  4. "Kaisaniemen metroasemalle ehdotetaan uutta nimeä". Helsingin Sanomat (ภาษาฟินแลนด์). 17 April 2014. สืบค้นเมื่อ 22 April 2014.