สงครามโคโลญ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
สงครามโคโลญ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การปฏิรูปโปรเตสแตนต์และการปฏิรูปคาทอลิก | |||||||
การทำลายป้อมปราการแห่งเมืองโกดส์บูร์กระหว่างสงครามโคโลญใน ค.ศ. 1583 กำแพงเมืองถูกทำลายด้วยระเบิด และทหารที่ปกป้องเมืองส่วนใหญ่ถูกประหาร แผ่นจารึกทำโดยฟรานส์ โฮเกนบูร์ก. | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
เกบาร์ด ทรัชเชส ฟอน วาล์ดบูร์ก, เจ้านครรัฐผู้คัดเลือก, โคโลญ, ค.ศ. 1578–1588 ราชวงศ์โซล์มส์-บรอนเฟลส์และราชวงศ์อื่นๆ |
เออร์เนสแห่งบาวาเรีย เจ้านครรัฐผู้คัดเลือก, โคโลญ, ค.ศ. 1583–1612 ราชวงศ์วิตเตลส์บาค จักรพรรดินครอิสระแห่งโคโลญ พระเจ้าเฟลีเปแห่งสเปน และราชวงศ์ที่อยู่ในแนวร่วมเดียวกับพระองค์ดังต่อไปนี้: ราชวงศ์ฟาร์นีส ราชวงศ์อิเซนบูร์ก-เกรนเซา ราชวงศ์มันส์เฟลด์ (เชื้อสายหลัก) ราชวงศ์บาร์เลมงต์-ฟลิอง และราชวงศ์อื่นๆ | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
โยฮันน์ คาสซิเมียร์ ฟอน ซิมเมิร์น อดอล์ฟ ฟาน นูเวนาร์ คาร์ล ทรัชเชส ฟอน วาล์ดบูร์ก มารติน เชงค์ ฟอน นีเดคคึน † เฮอร์มันน์ ฟรีดิช คลอยดท์ † |
เฟอร์ดินันด์แห่งบาวาเรีย อเล็กซานเดอร์ ฟาร์นีส, ดยุคแห่งปาร์มา คาร์ล ฟอน มันสเฟลด์ เฟรเดอริค, ดยุคแห่งแซกเซอร์-ลอนบูร์ก คลอดด์ เดอ บาร์เลมงต์ † ซาเล็นตินที่ 9 แห่งอิเซนบูร์ก-เกรนเซา ฟรานซิสโก เวอร์ดูโก | ||||||
กำลัง | |||||||
แตกต่างกันไปตามเวลา: 10,000–28,000 นายจนถึง ค.ศ. 1586 | แตกต่างกันไปตามเวลา: 10,000–28,000 นายจนถึง ค.ศ. 1586, ตั้งแต่ 18,000–28,000 นายจากกองทัพแห่งฟลานเดอร์ (สเปน) หลัง ค.ศ. 1586 | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ไม่ทราบข้อมูล | ไม่ทราบข้อมูล |
สงครามโคโลญเป็นสงครามในยุคการปฏิรูปโปรเตสแตนต์และปฏิรูปคาทอลิกระหว่างปี ค.ศ. 1583 - 1588 (พ.ศ. 2126 - 2131) ณ อาณาจักรเลือกตั้งแห่งโคโลญ ซึ่งเป็นราชรัฐอัครมุขนายกในอาณัติของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในเวลานั้น (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของรัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลินในเยอรมนี) ต้นเหตุของสงครามสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนท์ในเยอรมนี และการปฏิรูปคาทอลิกที่ตามมา โดยเกิดขึ้นพร้อมกับการลุกฮือของชาวดัทช์และสงครามศาสนาในฝรั่งเศส
ความขัดแย้งครั้งนี้เป็นบททดสอบของหลักเขตสงวนศาสนา (ละติน: reservatum ecclesiasticum) ที่มีอยู่ในข้อตกลงสันติภาพเอาก์สบูร์กแห่งปี 1555 ที่ยกเว้นหรือ "สงวน" อาณาจักรในอาณัติของจักรวรรดิ์โรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่มีผู้ปกครองเป็นพระราชาคณะมิให้ยึดตามหลัก "เจ้านับถือศาสนาใด ประเทศนับถือศาสนานั้น" (cuius regio, eius religio) อันเป็นหลักทั่วไปที่ใช้ในการกำหนดศาสนาของประเทศต่างๆ แต่ระบุไว้ว่าในกรณีที่อัครมุขนายกเปลี่ยนไปนับถือนิกายโปรแตสแตนต์ ให้อัครมุขนายกพระองค์นั้นสละราชสมบัติแทนการบังคับพสกนิกรให้เปลี่ยนศาสนาตาม
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1582 เกบาร์ด ทรัชเชส ฟอน วาล์ดบูร์ก เจ้านครรัฐผู้คัดเลือกแห่งโคโลญ ทรงเปลี่ยนไปนับถือนิกายโปรแตสแตนต์ ซึ่งตามหลักเขตสงวนศาสนาแล้ว ส่งผลให้พระองค์ต้องสละราชสมบัติ แต่แทนที่พระองค์จะทำเช่นนั้น พระองค์กลับประกาศให้พสกนิการมีความเท่าเทียมในการนับถือศาสนา และใน ค.ศ. 1583 พระองค์ก็ทรงอภิเษกสมรสกับเคาน์เตสแอกเนส ฟอน มันสเฟลด์-ไอซ์เลเบน โดยมีพระประสงค์ที่จะเปลี่ยนราชรัฐอัครมุขนายกเป็นราชรัฐดัชชีที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนจักร ในขณะที่คณะสงฆ์แห่งสังฆมณฑลเลือกเออร์เนสแห่งบาวาเรีย อัครมุขนายกอีกองค์หนึ่งขึ้นมาสืบราชสมบัติแทน
ในเบื้องต้น ทหารจากทั้งสองฝ่ายสู้รบกันเพื่อแย่งชิงพื้นที่ภายในอาณาจักร นอกจากนี้บารอนและเคานท์หลายคนที่เป็นบริวารของผู้คัดเลือกยังปกครองจังหวัดดัทช์ที่อยู่ใกล้เคียงได้แก่เว็สท์ฟาเลิน, ลีแยฌและเนเธอร์แลนด์ใต้ (เนเธอร์แลนด์ของสเปน) ความซับซ้อนของการสัญญาว่าจะรับใช้ (enfeoffment) และการมอบสมบัติให้กับบุตรคนรอง (appanage) ในราชวงศ์ต่างๆ ทำให้การพิพาทภายในขยายใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นเหตุพิพาทระดับรัฐที่แบ่งออกเป็นสองฝ่ายคือ ฝ่ายที่สนับสนุนโปรแตสแตนต์ได้แก่รัฐผู้คัดเลือกพาลาทิเนต และทหารรับจ้างชาวดัทช์, สก็อตและอังกฤษ กับฝ่ายที่สนับสนุนคาทอลิกได้แก่ดัชชีแห่งบาวาเรีย และทหารรับจ้างจากรัฐสันตะปาปา ใน ค.ศ. 1586 เหตุพิพาทขยายวงกว้างขึ้นไปอีก โดยในตอนนี้มีทหารสเปนมาเกี่ยวข้องโดยตรง รวมถึงทหารรับจ้างชาวอิตาลีที่อยู่ฝ่ายคาทอลิก ในขณะที่ฝ่ายโปรแตสแตนต์ได้รับการสนับสนุนทางการเงินและการทูตจากพระเจ้าอองรีที่ 3 แห่งฝรั่งเศสและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ
ความขัดแย้งครั้งนี้เกิดขึ้นพร้อมกับการลุกฮือของชาวดัทช์ ที่เกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1583 - 1588 ทำให้มีจังหวัดดัทช์ที่กำลังลุกฮือและสเปนเข้ามาร่วมในสงครามนี้ด้วย สงครามโคโลญทำให้อำนาจการปกครองดินแดนเยอรมันทางตอนตะวันตกเฉียงเหนือเป็นของราชวงศ์วิตเตลส์บาค และนำมาสู่การปฏิรูปคาทอลิกในภูมิภาคไรน์ด้านท้ายน้ำ เหตุการณ์ครั้งนี้ยังเป็นบรรทัดฐานให้รัฐภายนอกทำการการแทรกแซงความขัดแย้งทางศาสนาและราชบัลลังก์ในเยอรมันอีกด้วย