ศูนย์อํานวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศูนย์อํานวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า
ประเทศไทย
รูปแบบกองทัพบก
กองบัญชาการกองบัญชาการศูนย์อํานวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
สมญาเหล่าทหารแพทย์
สีหน่วยเขียว-แดง
วันสถาปนา31 สิงหาคม พ.ศ. 2527
ปฏิบัติการสำคัญภารกิจสหประชาชาติในเซาท์ซูดาน[1]
ผู้บังคับบัญชา
ผู้อํานวยการพลโท มานะพล เล็กสกุล[2][3]

ศูนย์อํานวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า เป็นหน่วยทหารของกองทัพบก สังกัดกรมแพทย์ทหารบก มีภารกิจในการบังคับบัญชา อำนวยการ ประสานงาน กำกับดูแลกิจการของ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก สถาบันพยาธิวิทยา และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร ปัจจุบันมีพลโท มานะพล เล็กสกุล ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ

ประวัติ[แก้]

ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามนโยบายของกองทัพบก เพื่อปรับปรุงกิจการแพทย์ทหารให้มีความก้าวหน้าและ ทันสมัยในด้านการบริการทางการแพทย์ การรักษาพยาบาล การผลิตบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งการศึกษาวิจัยทางวิชาการด้านการแพทย์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กระทรวงกลาโหม จึงได้อนุมัติอัตราการจัดหน่วย ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า ขึ้นใหม่เป็นหน่วยขึ้นตรงของกรมแพทย์ทหารบก

ศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้าใช้นามย่อ "ศพม." ปัจจุบันมีที่ตั้งอยู่ที่พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ พระราขวังพญาไท ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ

หน่วยขึ้นตรง[แก้]

หน่วยงานภายใน ศพม.[แก้]

  • กองแผนและงบประมาณ
  • กองกำลังพล
  • กองส่งกำลังบำรุง
  • กองบริการ
  • แผนกธุรการ
  • แผนกการเงิน
  • นายทหารพระธรรมนูญ

อ้างอิง[แก้]

  1. ผบ.ทหารสูงสุดห่วงทหารไทยในซูดานหลังเกิดรัฐประหาร - โพสต์ทูเดย์
  2. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ". ราชกิจจานุเบกษา. 2022-09-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-12. สืบค้นเมื่อ 2022-09-10.
  3. โปรดเกล้าฯ "พระราชทานยศทหารชั้นนายพล" จำนวน 530 ราย ประกาศลงราชกิจจาฯ