คณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้
ประเภทคณะผู้แทนการรักษาสันติภาพ
รัสพจน์UNMISS
หัวหน้าเดวิด เชียเรอร์
สถานะซึ่งปฏิบัติการ
จัดตั้ง9 กรกฎาคม ค.ศ. 2011
สำนักงานจูบา ประเทศซูดานใต้
เว็บไซต์https://unmiss.unmissions.org/
ต้นสังกัดคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

คณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้ (อังกฤษ: United Nations Mission in South Sudan; อักษรย่อ: UNMISS) เป็นคณะผู้แทนรักษาสันติภาพแห่งสหประชาชาติครั้งล่าสุดสำหรับประเทศซูดานใต้ที่เพิ่งเป็นเอกราช ซึ่งเป็นเอกราชเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 คณะผู้แทนรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในสาธารณรัฐซูดานใต้ ซึ่งใช้อักษรย่อ UNMISS[1] ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 โดยข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ 1996 (ค.ศ. 2011) คณะผู้แทนนี้มีขึ้นตั้งแต่เดือนธันวาคม ค.ศ. 2016 โดยมีเดวิด เชียเรอร์ ซึ่งเป็นผู้แทนพิเศษของเลขาธิการ ที่สืบตำแหน่งต่อจากเอลเลน มาร์เกรธ ลอจ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015 มีเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 12,523 นาย (ทหาร 11,350 นาย และตำรวจ 1,173 นาย) โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่จูบา ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศซูดานใต้[2]

อำนาจที่ได้รับมอบหมาย[แก้]

อำนาจที่ได้รับมอบหมายของคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้[3] ประกอบด้วย:

  • สนับสนุนการรวมสันติภาพ และช่วยส่งเสริมการสร้างรัฐและการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว
  • สนับสนุนรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐซูดานใต้ในการใช้ความรับผิดชอบในการป้องกันความขัดแย้ง, ลดและแก้ไขปัญหา รวมทั้งปกป้องพลเรือน
  • สนับสนุนรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐซูดานใต้ในการพัฒนาขีดความสามารถในการรักษาความปลอดภัย, เพื่อสร้างข้อบังคับของกฎหมาย ตลอดจนเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงและความยุติธรรม

คณะผู้แทนนี้ได้รับการก่อตั้งโดยข้อมติคณะมนตรีความมั่นคง 1996[4] และขยายไปถึงวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 โดยข้อมติ 2057[5]

ตามหมวดที่ 7 ของกฎบัตรสหประชาชาติ คณะผู้แทนรักษาสันติภาพเกี่ยวข้องกับการปกป้องพลเรือน และดังนั้นจึงไม่ได้รับคำสั่งให้เข้าร่วมในการป้องกันดินแดนซูดานใต้หรืออธิปไตยของอาณาเขตดังกล่าว[5] (เปรียบเทียบกับสงครามชายแดนซูดานใต้–ซูดาน ค.ศ. 2012)

ตำแหน่งผู้นำ[แก้]

ผู้บัญชาการกองกำลัง

ลำดับที่ ชื่อ สัญชาติ ตั้งแต่ ถึง หมายเหตุ
1 พล.ต. โมเสส ไบซอง โอบี[6]  ไนจีเรีย 9 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 อดีตผู้บัญชาการกองกำลังของคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดาน (UNMIS)[7]
2 พล.ต. เดลาลี จอห์นสัน ซากี[6]  กานา 11 ธันวาคม ค.ศ. 2012 9 มิถุนายน ค.ศ. 2014
3 พล.ท. โยฮันเนส เกเบรเมสเกล เทสฟามาเรียม[8]  เอธิโอเปีย กรกฎาคม ค.ศ. 2014 17 มิถุนายน ค.ศ. 2016 อดีตผู้บัญชาการคณะผู้แทนและกองกำลังของกองกำลังชั่วคราวรักษาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในอับยี (UNISFA)
4 พล.ท. จอห์นสัน โมกัว คิมานี ออนดีกี[9]  เคนยา มิถุนายน ค.ศ. 2016 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 ถูกไล่ออกจากตำแหน่งโดยเลขาธิการสหประชาชาติ[10]
5 พล.ต. จาวหยิง หยาง  จีน 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 2016 เมษายน ค.ศ. 2017 รองผู้บัญชาการกองกำลังซึ่งกำลังทำหน้าที่ในคณะผู้แทนนี้[11]
6 พล.ท. แฟรงก์ มูโช กามันซี[12]  รวันดา เมษายน ค.ศ. 2017 ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ อดีตผู้บัญชาการกองกำลังคณะผู้แทนรักษาสันติภาพผสม ระหว่างสหภาพแอฟริกาและสหประชาชาติในดาร์ฟูร์ (UNAMID)
7 พล.ท. ไศเลศ ตินิกร  อินเดีย พฤษภาคม ค.ศ. 2019[13] ปัจจุบัน ผู้บัญชาการโรงเรียนทหารรราบตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2018

การประกอบกำลัง[แก้]

ข้อมติ 2132 (24 ธันวาคม ค.ศ. 2013) ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ได้มอบอำนาจการประกอบกำลังทางทหารถึง 12,500 นาย และการประกอบกำลังของตำรวจถึง 1,323 นาย[14]

ประเทศอินเดียได้จัดส่งกองกำลัง 2,237 นาย และมีรองผู้บัญชาการกองกำลังคือ พลจัตวา อษิต มิสทรี จากประเทศอินเดีย[15] ขณะที่ผู้บัญชาการกองกำลังคือ พลตรี เดลาลี จอห์นสัน ซากี จากประเทศกานา[16] สำหรับผู้มีส่วนร่วมอื่น ๆ ของกองกำลัง ได้แก่ ออสเตรเลีย,[17] บังกลาเทศ, เบลารุส, เบนิน, โบลิเวีย, บราซิล, กัมพูชา, แคนาดา, จีน, เดนมาร์ก, อียิปต์, เอลซัลวาดอร์, ฟีจี, เยอรมนี, กานา, กัวเตมาลา, กินี, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, จอร์แดน, เคนยา, คีร์กีซสถาน, มาลี, มองโกเลีย, นามิเบีย, เนปาล, เนเธอร์แลนด์, นิวซีแลนด์, ไนจีเรีย, นอร์เวย์, ปาปัวนิวกินี, ปารากวัย, เปรู, โปแลนด์, สาธารณรัฐเกาหลี, โรมาเนีย, สหพันธรัฐรัสเซีย, รวันดา, เซเนกัล, ศรีลังกา, สวีเดน, สวิตเซอร์แลนด์, ติมอร์-เลสเต, โตโก, ยูกันดา, ยูเครน, สหราชอาณาจักร, สหสาธารณรัฐแทนซาเนีย, สหรัฐ, เวียดนาม, เยเมน, แซมเบีย และซิมบับเว[18]

ส่วนตำรวจได้รับการสนับสนุนโดย แอลจีเรีย, แอลเบเนีย, อาร์เจนตินา, บังกลาเทศ, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, บราซิล, แคนาดา, จีน, เอลซัลวาดอร์, เอธิโอเปีย, ฟีจี, ฟินแลนด์, แกมเบีย, เยอรมนี, กานา, อินเดีย, เคนยา, คีร์กีซสถาน, มาเลเซีย, นามิเบีย, เนปาล, เนเธอร์แลนด์, ไนจีเรีย, นอร์เวย์, โอมาน, ฟิลิปปินส์, สหพันธรัฐรัสเซีย, รวันดา, ซามัว, เซเนกัล, เซเชลส์, เซียร์ราลีโอน, แอฟริกาใต้, ศรีลังกา, สวีเดน, สวิตเซอร์แลนด์, ไทย, ตุรกี, ยูกันดา, ยูเครน, สหรัฐ, แซมเบีย และซิมบับเว[18]

ประวัติ[แก้]

ค.ศ. 2012[แก้]

ในการกล่าวสุนทรพจน์เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2012 หนึ่งวันหลังจากที่ขยายคณะผู้แทน ฮิลเด เอฟ. จอห์นสัน ได้กล่าวในจูบาเกี่ยวกับความก้าวหน้าของคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้[5] จอห์นสันได้กล่าวถึงการคุ้มครองคณะผู้แทนของพลเรือนและการจัดทำเอกสารรวมถึงการตรวจสอบเหตุการณ์ เขายังกล่าวถึงการโจมตีชาวนูเออร์ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2012 ที่รัฐจงเลย โดยปฏิบัติการของคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้ ต่อการปรับใช้กองกำลังรักษาสันติภาพและแจ้งเตือนรัฐบาลซูดานใต้ อันส่งผลให้ "พลเรือนนับพันชีวิต [กำลัง] ได้รับการช่วยเหลือแล้ว" ตลอดจนความคืบหน้าในด้านต่าง ๆ เช่น การควบคุมดูแล, ความเทียงธรรม และระบอบประชาธิปไตย[5]

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2012 เฮลิคอปเตอร์พลเรือนของคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้ได้ถูกยิงตกในรัฐจงเลย มีผู้เสียชีวิตทั้งหมดห้าคน ซึ่งนับรวมลูกเรือชาวรัสเซียสี่คนบนเฮลิคอปเตอร์ที่ถูกฆ่าตาย[19]

ค.ศ. 2013[แก้]

เมื่อวันที่ 9 เมษายน กองกำลังคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้ชาวอินเดียห้าคนและพนักงานพลเรือนสหประชาชาติเจ็ดคน (เจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติสองคนและผู้รับเหมาอีกห้าคน) ได้ถูกสังหารจากการซุ่มโจมตีของกบฏ[20] ที่รัฐจงเลยในขณะที่กำลังคุ้มกันขบวนสหประชาชาติระหว่างพีบอร์และบอร์[21] ผู้ปฏิบัติงานสหประชาชาติอีกเก้าคน ทั้งทหารและพลเรือน ได้รับบาดเจ็บและบางส่วนยังคงสูญหายไป[22] พลเรือนสี่รายที่ถูกสังหารเป็นผู้รับเหมาชาวเคนยาที่ทำงานเจาะหลุมเจาะน้ำ[23] หนึ่งในทหารที่เสียชีวิตเป็นทหารยศพันโท และหนึ่งในผู้บาดเจ็บเป็นทหารยศร้อยเอก[24] ตามที่โฆษกกองทัพซูดานใต้เผย ขบวนถูกโจมตีโดยกองกำลังกบฏของเดวิด เยา เยา ที่พวกเขาเชื่อว่าได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลซูดาน[22] ฝ่ายคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้กล่าวว่าบุคคลติดอาวุธ 200 นายมีส่วนร่วมในการโจมตี และขบวนของพวกเขาได้รับการคุ้มกันโดยกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติชาวอินเดีย 32 นาย[22] ส่วนผู้โจมตีมีการติดตั้งระเบิดซึ่งขับเคลื่อนด้วยจรวด[23]

โฆษกของสหประชาชาติกล่าวว่าการต่อต้านอย่างรุนแรงจากกองกำลังรักษาสันติภาพของอินเดียทำให้กลุ่มกบฏถอนกำลังและช่วยชีวิตพลเรือนได้เป็นจำนวนมาก[22] เลขาธิการสหประชาชาติ พัน กี-มุน เรียกว่าการฆ่าเป็นอาชญากรรมสงคราม และเรียกร้องให้นำผู้กระทำผิดมาสู่กระบวนการยุติธรรม[25] ส่วนผู้ช่วยเลขาธิการสหประชาชาติ แอนโทนี แบนบิวรี ยกย่องความกล้าหาญของทหารอินเดีย[26] และนายกรัฐมนตรีอินเดีย มันโมหัน สิงห์ ได้จ่ายเงินบรรณาการของเขาให้แก่ "ทหารผู้กล้าหาญ"[27] กำลังพลของกองทัพบกอินเดียประมาณ 2,200 นายได้รับการเคลื่อนกำลังพลสู่ประเทศซูดานใต้ ในฐานะส่วนหนึ่งของคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้[28]

ความพยายามรัฐประหาร[แก้]

การต่อสู้ที่แผ่ขยายเป็นผลมาจากความพยายามรัฐประหารในประเทศซูดานใต้ ค.ศ. 2013 ที่นำมาสู่การเสียชีวิตของผู้รักษาสันติภาพของอินเดียสองราย ขณะที่ทหารอีกคนหนึ่งได้รับบาดเจ็บที่อาโคโบ รัฐจงเลย ในวันที่ 19 ธันวาคม[29] ส่วนวันที่ 24 ธันวาคม คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ได้ลงคะแนนให้มีกองกำลังเกือบสองเท่าของที่มีอยู่จำนวน 7,600 นายในคณะผู้แทนนี้ ร่วมกับกองกำลังอีกประมาณ 6,000 นายที่จะมีการเพิ่ม[30]

เลขาธิการสหประชาชาติได้แสดงความกังวลเป็นอย่างยิ่ง ถึงกรณีที่พนักงานขององค์การสหประชาชาติถูกคุกคามจากบอดีการ์ดติดอาวุธของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสารสนเทศอาวุโส ที่ต้องการเข้าสู่ค่ายคณะผู้แทนของสหประชาชาติซึ่งพลเรือนใช้เป็นที่หลบภัย[31] หลังจากเหตุการณ์นี้ ประธานาธิบดี ซัลวา กีร์ กล่าวหาว่าสหประชาชาติปกป้องกองกำลังฝ่ายค้านติดอาวุธในคณะผู้แทนของสหประชาชาติ ซึ่งสหประชาชาติได้ปฏิเสธ ซัลวา กีร์ ยังกล่าวหาอีกว่าองค์การสหประชาชาติพยายามเข้าควบคุมตำแหน่งผู้นำของเขา[32][33]

ค.ศ. 2014[แก้]

ในวันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน ค.ศ. 2014 มีผู้เสียชีวิต 58 รายและบาดเจ็บอย่างน้อย 100 คนเมื่อกลุ่มติดอาวุธบุกเข้าโจมตีฐานทัพสหประชาชาติในเมืองบอร์[34][35][36] ผู้คนจำนวนมากที่แกล้งทำเป็นว่าพวกเขากำลังเยี่ยมชมฐานเพื่อนำเสนอความสงบสุขได้เปิดฉากยิงใส่พลเรือนจำนวน 5,000 คนที่พักพิงในฐานทัพสหประชาชาติ[37] ในบรรดาผู้เสียชีวิต 48 คนเป็นพลเรือนในขณะที่ 10 คนเป็นผู้โจมตี ความรุนแรงสะท้อนให้เห็นถึงความตึงเครียดระหว่างชนเผ่าดินคา และนูเออร์[36] โดยก่อนการโจมตี ฝูงชนท้องถิ่นดินคา ได้เรียกร้องให้ผู้ลี้ภัยชาวนูเออร์จำนวนนับพันในค่ายพักแรมย้ายไปที่อื่น[36]

เลขาธิการสหประชาชาติ พัน กี-มุน กล่าวย้ำว่าการโจมตีกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติเป็น "อาชญากรรมสงคราม"[34] ส่วนคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้แสดงความคิดต่อการโจมตีว่าเป็น "การกระทำที่โหดเหี้ยม" โดยกล่าวว่า:[38][39]

สมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแสดงความไม่พอใจในการโจมตีครั้งล่าสุดโดยกลุ่มติดอาวุธในซูดานใต้ ที่กำหนดเป้าหมายไปที่พลเรือนอย่างจงใจเช่นเดียวกับที่ตั้งคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้ (UNMISS) รวมทั้งบุคลากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวันที่ 17 เมษายนที่โจมตีประสมคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้ ที่เมืองบอร์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ รวมถึงผู้ที่แสวงหาที่พักพิงและการคุ้มครองของสหประชาชาติ และการโจมตีเมื่อวันที่ 14 เมษายนในเมืองเบนติวกับรัฐยูนิตีสเตต

สมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงประณามการกระทำเหล่านี้อย่างรุนแรง และเน้นย้ำว่าการโจมตีพลเรือนรวมถึงเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพของสหประชาชาติอาจเป็นอาชญากรรมสงคราม

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2014 ประเทศเวียดนามได้เข้าร่วมคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้ ในฐานะคณะผู้แทนรักษาสันติภาพเป็นครั้งแรก โดยการส่งเจ้าหน้าที่จากกองทัพประชาชนเวียดนาม[40]

ค.ศ. 2015[แก้]

ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของคณะผู้แทนในการรายงานเรื่องสิทธิมนุษยชน คณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้ได้เผยแพร่รายงานเมื่อกลาง ค.ศ. 2015 ในข้อกล่าวหาเรื่องความรุนแรงโดยกองทัพปลดแอกประชาชนซูดาน (SPLA) และกลุ่มติดอาวุธที่เกี่ยวข้องในรัฐยูนิตีสเตต รายงานดังกล่าวอ้างถึงพยานในเรื่องการลักพาตัว, การข่มขืน รวมถึงผู้คนถูกฆ่าและเผาทั้งเป็นในที่อยู่อาศัย[41]

คณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้ยังคงดิ้นรนเพื่อรับมือกับประชากรจำนวนมากของผู้พลัดถิ่นภายในที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ 'ปฏิบัติการเพื่อพิทักษ์พลเรือน' (PoC) ใน ค.ศ. 2015 คณะผู้แทนดังกล่าวถูกกล่าวหาในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2015 ของความล้มเหลวในการรักษาความปลอดภัยรอบพื้นที่ปฏิบัติการเพื่อพิทักษ์พลเรือนเบนทิว ระหว่างการขยายตัวของพื้นที่ซึ่งนำโดยองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน[42]

ค.ศ. 2016[แก้]

พัน กี-มุน ขอให้มีการสอบสวนอิสระเกี่ยวกับการเคลื่อนกำลังพล หลังจากรายงานว่าเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม กองทหารซูดานใต้อาละวาดผ่านเมืองหลวง โดยสังหารและข่มขืนพลเรือนรวมถึงเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือต่างประเทศ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากสามวันของการต่อสู้ระหว่างทหารที่ภักดีต่อประธานาธิบดี ซัลวา กีร์ กับทหารที่เข้าข้างกับอดีตรองประธานาธิบดี รีค มาชาร์ ซึ่งส่งผลให้มีพลเรือนเสียชีวิต 300 คน และจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพของสหประชาชาติสองคน ภายใต้การนำโดย แปทริค กอมมาร์ท การสอบสวนพบว่ากองกำลังประสบความระส่ำระสายและการขาดภาวะผู้นำ พัน กี-มุน ร้องขอเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ว่าพลโท จอห์นสัน โมกัว คิมานี ออนดีกี ผู้บัญชาการกองทัพเคนยา จะถูกเปลี่ยนคนโดยเร็วที่สุด[43] วันรุ่งขึ้น กระทรวงการต่างประเทศเคนยากล่าวหาว่าสหประชาชาติใช้ออนดีกีเป็นแพะรับบาป และประกาศว่าจะถอนกองกำลังทั้งหมดออกจากประเทศซูดานใต้[44]

หัวหน้าคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้ เอลเลน มาร์เกรธ ลอจ เสร็จคณะผู้แทนเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2016 และได้รับการแทนที่โดยเดวิด เชียเรอร์[45]

ค.ศ. 2017[แก้]

เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพของญี่ปุ่นออกจากประเทศซูดานใต้ โดยสิ้นสุดห้าปีของการมอบอำนาจภายใต้คณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้[46] การถอนดังกล่าวเกิดขึ้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 2017 ตามด้วยการถอนสองครั้งในเดือนพฤษภาคม โดยหัวหน้าคณะรัฐมนตรีซูงะปฏิเสธว่าเกิดจากปัญหาด้านความปลอดภัย[47]

การประจำการของพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของรัฐบาลอาเบะในการส่งเสริมกฎหมายใหม่เพื่อให้เจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพของญี่ปุ่นสามารถแทรกแซงได้ง่าย เช่น การช่วยเหลือเพื่อนผู้รักษาสันติภาพและพลเรือนที่ทำงานภายใต้อาณัติของคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้[48][49]

กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นถูกกล่าวหาว่าปกปิดสถานการณ์ด้านความปลอดภัยในจูบา[50]

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2017 คณะผู้แทนนี้ได้ปิดดำเนินการสถานที่คุ้มครองพลเรือน (PoC) แห่งแรกในเมืองเมืองเมลัตหลังจากผู้พลัดถิ่นภายในประเทศขอกลับบ้านด้วยความสมัครใจ[51]

ใน ค.ศ. 2017 สหราชอาณาจักรได้เริ่มปฏิบัติการเทรนตันเทรนตัน โดยการส่งกำลังพลกว่า 300 นายเพื่อสนับสนุนคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้ ได้ข้อสรุปใน ค.ศ. 2020[52]

ค.ศ. 2021[แก้]

เมื่อวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 2021 อังตอนียู กูแตรึช เลขาธิการสหประชาชาติได้ประกาศแต่งตั้งเฮย์ซอมเป็นผู้แทนพิเศษและหัวหน้าคณะผู้แทนคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้ (UNMISS)[53]

คำวิจารณ์และการแทรกแซงระหว่างประเทศซึ่งเลือกได้[แก้]

ตามที่ระบุไว้ คณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้มีอยู่ในประเทศตั้งแต่ได้รับเอกราชใน ค.ศ. 2011 อย่างไรก็ตาม ตามที่แสดงให้เห็นตลอดประวัติของคณะผู้แทน มีเหตุการณ์จำนวนมากที่ชี้ไปที่การไร้ความสามารถของกองกำลังรักษาสันติภาพในการปกป้องพลเรือน โดยทั่วไป นักวิชาการเช่น ไวน์สไตน์ ตั้งคำถามถึงประสิทธิผลของคณะผู้แทนรักษาสันติภาพ[54] และไม่ยากที่จะพบ "ความล้มเหลว"[55] ในการรักษาสันติภาพท่ามกลางคณะผู้แทนรักษาสันติภาพจำนวนมากที่ดำเนินการในประวัติศาสตร์ของสหประชาชาติ แม้ว่าจะเป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างข้อโต้แย้งสำหรับการประเมิน รวมถึงประเมินคณะผู้แทนการรักษาสันติภาพและประสิทธิผล[56] – นั่นคือ เราไม่ทราบว่าสถานการณ์ในซูดานใต้จะเป็นอย่างไร หากสหประชาชาติจะไม่ส่งกองกำลังรักษาสันติภาพ – บทความที่ตีพิมพ์ในเดอะนิวยอร์กไทมส์ได้เรียกร้องให้มีการแทรกแซงระหว่างประเทศซึ่งเลือกได้สำหรับซูดานใต้[57] ด้วยเหตุนี้ ทางเลือกอื่นสำหรับการแทรกแซงระหว่างประเทศจึงมีจำนวนมาก บทความดังกล่าวกล่าวถึงการเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ว่าเป็นวิธีแก้ปัญหาความโกลาหลรุนแรงในซูดานใต้[57] รูปแบบของการแทรกแซงระหว่างประเทศนี้ได้รับการกล่าวถึงอย่างเด่นชัดโดยพีรอนและเลทิน[58]

เหรียญสหประชาชาติ[แก้]

ประเทศที่ได้ไปปฏิบัติหน้าที่ประเทศซูดานใต้ในฐานะสมาชิกของสหประชาชาติ จะได้เหรียญสหประชาชาติทุกคน

  • เหรียญคณะผู้แทนสหประชาชาติในซูดานใต้

อ้างอิง[แก้]

  1. "About UNMISS". UN Missions. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2012.
  2. "UNMISS Fact Sheet – United Nations Mission in the Republic of South Sudan". UN. สืบค้นเมื่อ 2017-12-22.
  3. "UNMISS Mandate – United Nations Mission in the Republic of South Sudan". UN. สืบค้นเมื่อ 2017-12-22.
  4. "S/RES/1996 (2011)". UN. สืบค้นเมื่อ 10 April 2013.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 "Near Verbatim Transcript of Press Conference hosting United Nations Special Representative of the Secretary-General for South Sudan, Ms. Hilde F. Johnson" (PDF). UNMISS. สืบค้นเมื่อ 10 April 2013.
  6. 6.0 6.1 ’Secretary-General Appoints Major General Delali Johnson Sakyi of Ghana Force Commander, United Nations Mission in South Sudan’, UN press release, 11 December 2012, accessed 12 September 2017, <https://www.un.org/press/en/2012/sga1381.doc.htm>
  7. ’Secretary-General Appoints Major General Moses Bisong Obi of Nigeria Force Commander of United Nations Mission in Sudan’, UN press release, 10 June 2010, accessed 12 September 2017, <https://www.un.org/press/en/2010/sga1247.doc.htm>
  8. ’Secretary-General Appoints Lieutenant General Yohannes Gebremeskel Tesfamariam of Ethiopia Force Commander of United Nations Mission in South Sudan’, UN press release, 17 June 2014, accessed 12 September 2017, <https://www.un.org/press/en/2014/sga1477.doc.htm>
  9. ’Secretary-General Appoints Lieutenant General Johnson Mogoa Kimani Ondieki of Kenya Force Commander, United Nations Mission in South Sudan’, UN press release, 13 May 2016, accessed 12 September 2017, <https://www.un.org/press/en/2016/sga1658.doc.htm>
  10. ’Kenyan UN commander sacked in S. Sudan for failure to protect civilians’, ‘’Daily Nation’’ (Nairobi), 1 November 2016.
  11. Kelly, K.J. & Wafula, C. (2016) ’UN replaces Kenyan commander in South Sudan’, ‘’Daily Nation’’ (Nairobi), 3 November 2016.
  12. ’Lt. Gen. Frank Mushyo Kamanzi of Rwanda - Force Commander of the United Nations Mission in South Sudan (UNMISS)’, UN statement, 6 April 2017, accessed 12 September 2017, <https://www.un.org/sg/en/content/sg/personnel-appointments/2017-04-06/lt-gen-frank-mushyo-kamanzi-rwanda-force-commander>
  13. un.org
  14. "Resolution 2132 (2013)". United Nations Security Council. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.
  15. "UN resolution addresses Indian concerns in South Sudan violence". Zeenews.india.com. สืบค้นเมื่อ 2014-04-22.
  16. "Arrival of UNMISS force commander Maj. Gen. Delali Johnson Sakyi". UNMISS. 14 Jan 2013. สืบค้นเมื่อ 2017-12-22.
  17. "Operation Aslan". Australian Dept of Defence. สืบค้นเมื่อ 2017-12-22.
  18. 18.0 18.1 "UNMISS Fact Sheet". UNMISS. สืบค้นเมื่อ 2017-12-22.
  19. "Attack of an UNMISS Helicopter in South Sudan". U.S. Department of State. 21 December 2012. สืบค้นเมื่อ 10 April 2013.
  20. "UN peacekeepers killed in South Sudan ambush". Al Jazeera. 10 April 2013. สืบค้นเมื่อ 10 April 2013.
  21. Pandit, Rajat (10 April 2013). "Five Indian peacekeepers killed in South Sudan ambush". The Times of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-12. สืบค้นเมื่อ 10 April 2013.
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 Associated Press (9 April 2013). "5 UN peacekeepers, 7 others killed in gunfire attack in South Sudan, officials say". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 9 April 2013.[ลิงก์เสีย]
  23. 23.0 23.1 "Gunmen kill 4 Kenyans on Sudan water drilling mission". Business Daily Africa. 10 April 2013. สืบค้นเมื่อ 10 April 2013.
  24. "Bodies of five martyrs likely to reach India tonight". First Post. 10 April 2013. สืบค้นเมื่อ 10 April 2013.
  25. Dikshit, Sandeep (9 April 2013). "Killing of peacekeepers a war crime: Ban ki-Moon". The Hindu. Chennai, India. สืบค้นเมื่อ 9 April 2013.
  26. "Indian soldiers killed in Sudan fought valiantly: UN Assistant Secretary General to NDTV".
  27. "PM regrets killing of Indian soldiers on UN peacekeeping mission in South Sudan".
  28. "Bodies of Indian soldiers killed in Sudan to arrive in Delhi tonight".
  29. "Peacekeepers killed at South Sudan UN base - Africa". Al Jazeera English. สืบค้นเมื่อ 2014-04-22.
  30. Kulish, Nicholas (24 December 2013). "Political Fight in South Sudan Targets Civilians". The New York Times.
  31. Aleu, Philip; Poni, Lucy (2014-01-21). "UN Bars South Sudan Official from Camp for Displaced". Voa news. สืบค้นเมื่อ 2014-04-22.
  32. "South Sudan President: UN Seeking to Take Over". Voa news. 2014-01-22. สืบค้นเมื่อ 2014-04-22.
  33. "South Sudan President Salva Kiir hits out at UN". News. BBC. 2014-01-21. สืบค้นเมื่อ 2014-04-22.
  34. 34.0 34.1 Lederer, Edith M (18 April 2014). "UN Says 58 Killed in Attack on UN Base in SSudan". abc. สืบค้นเมื่อ 18 April 2014.
  35. "South Sudan conflict: Attack on UN base 'kills dozens'". BBC News. 17 April 2014. สืบค้นเมื่อ 18 April 2014.
  36. 36.0 36.1 36.2 "South Sudanese soldiers sent to protect UN base after more than 48 killed". The Guardian. Reuters. 18 April 2014. สืบค้นเมื่อ 18 April 2014.
  37. "South Sudan attack on UN base leaves dozens injured". The Guardian. AFP. 17 April 2014. สืบค้นเมื่อ 18 April 2014.
  38. Wilson, Steve (19 April 2014). "Deadly attack on South Sudan base may be considered a 'war crime'". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 19 April 2014.
  39. "Attacks against the United Nations and civilians in South Sudan: Security Council Press Statement". Permanent Mission of Luxembourg to the United Nations. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-31. สืบค้นเมื่อ 19 April 2014.
  40. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-21. สืบค้นเมื่อ 2019-09-29.
  41. "New levels of 'brutality' in South Sudan, says UN rights report". UN News Centre. 2015-06-30. สืบค้นเมื่อ 2015-10-16.
  42. "UN delays leave protection area unfenced amid horrific violence in S Sudan's Unity State". Radio Tamazuj. 22 พฤษภาคม 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 ธันวาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2015.
  43. Hersher, Rebecca (1 November 2016). "A 'Chaotic And Ineffective Response to the Violence' By U.N. In South Sudan". National Public Radio. สืบค้นเมื่อ 2 November 2016.
  44. "Kenya withdraws troops from UN mission in South Sudan". Al Jazeera. 2 November 2016. สืบค้นเมื่อ 2 November 2016.
  45. "New UNMISS chief arrives in South Sudan". radio tamazuj. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2017. สืบค้นเมื่อ 20 January 2017.
  46. https://thediplomat.com/2017/03/japan-self-defense-force-withdraws-from-south-sudan/
  47. "Japan begins to pull troops from South Sudan peacekeeping mission". 17 April 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-23. สืบค้นเมื่อ 2020-08-08.
  48. "Japanese peacekeepers take up new role in South Sudan". 12 December 2016 – โดยทาง Japan Times Online.
  49. "Reinterpreting Article 9: enhancing Japan's engagement in UN peacekeeping – The Strategist". 10 July 2014.
  50. Diplomat, Ankit Panda, The. "Tomomi Inada, Japan's Defense Minister, Resigns Following Weeks of Scandal".
  51. "UN mission closes first civilian protection site in S. Sudan". 21 December 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2017. สืบค้นเมื่อ 21 July 2018.
  52. "UK's largest UN mission draws to a close after four successful years". GOV.UK. สืบค้นเมื่อ 19 March 2020.
  53. Secretary-General Appoints Nicholas Haysom of South Africa Special Representative in South Sudan United Nations.
  54. Weinstein, Jeremy M. (2005). "Autonomous Recovery and International Intervention in Comparative Perspective" (PDF). {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  55. Fearon and Laitin (2004). "Neotrusteeship and the Problem of Weak States". International Security. 28 (4): 5–43. doi:10.1162/0162288041588296. S2CID 57559356.
  56. Fortna, Virginia Page (2008). Does Peacekeeping Work? Shaping Belligerents' Choices after Civil War. Princeton: Princeton University Press.
  57. 57.0 57.1 Gettleman, Jeffrey. "Quandary in South Sudan: Should It Lose Its Hard-Won Independence?". New York Times. สืบค้นเมื่อ 18 May 2017.
  58. Fearon and Laitin (2004). "Neotrusteeship and the Problem of Weak States". International Security. 28 (4): 5–43. doi:10.1162/0162288041588296. S2CID 57559356.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]