ศูนย์หัวใจฟิลิปปินส์
ศูนย์หัวใจฟิลิปปินส์ | |
---|---|
กรมอนามัย | |
ภูมิศาสตร์ | |
ที่ตั้ง | อีสต์อเวนิว เกซอนซิตี, เมโทรมะนิลา, ประเทศฟิลิปปินส์ |
พิกัด | 14°38′38″N 121°02′54″E / 14.64402°N 121.04842°E |
บริการสุขภาพ | |
แผนกฉุกเฉิน | มี |
ประวัติ | |
เปิดให้บริการ | ค.ศ. 1975[1] |
ลิงก์ | |
เว็บไซต์ | www |
ศูนย์หัวใจฟิลิปปินส์ (อังกฤษ: Philippine Heart Center) เป็นโรงพยาบาลในเกซอนซิตี ประเทศฟิลิปปินส์ ที่เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคหัวใจ โดยได้รับการก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1975[1]
ภูมิหลัง
[แก้]ศูนย์หัวใจฟิลิปปินส์เป็นโรงพยาบาลที่เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคหัวใจ โดยมีห้องสำหรับผู้ป่วยที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและการกุศลเพื่อผู้ป่วย[2] ตลอดจนรับผู้ป่วยมากกว่า 14,000 รายทุกปี รวมถึง 3,300 รายที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจ[3] โดยมีโครงการฝึกสำหรับผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์เป็นประจำ[4] นับเป็นศูนย์ผ่าตัดหัวใจพิการแต่กำเนิดที่คึกคักที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย ตามข้อมูลของเว็บไซต์ดังกล่าว[5] ซึ่งปัจจุบันได้รับการนำโดยโยเอล เอเม. อาบานียา ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ[6][7]
ประวัติ
[แก้]ศูนย์หัวใจฟิลิปปินส์ได้รับการก่อตั้งขึ้นตามกฤษฎีกาประธานาธิบดีฉบับที่ 673 ซึ่งออกโดยประธานาธิบดี เฟอร์ดินันด์ อี มากอส ใน ค.ศ. 1975[1] อาคารนี้ได้รับการระบุด้วยสิ่งที่เรียกว่า' "หมู่อาคารคฤหาสน์" ของมาร์กอส[8][9] ซึ่งนิยามโดยสถาปนิก ฌาราร์ต ลิโก ว่าเป็น "ความหลงใหลและความบีบบังคับในการสร้างสิ่งปลูกสร้างเพื่อเป็นจุดเด่นของความยิ่งใหญ่"[10] โรงพยาบาลแห่งนี้สร้างขึ้นโดยใช้งบประมาณสุขภาพแห่งชาติ 50 เปอร์เซ็นต์ ตามที่วุฒิสมาชิก โฮเซ อูเบโดเบล. ดิออกโน กล่าวว่า "ในขณะที่ทั่วประเทศชาวฟิลิปปินส์เสียชีวิตด้วยโรคที่รักษาได้ เช่น ทีบี [วัณโรค], โรคไอกรน และโรคบิด"[11]
ชื่อเดิมของศูนย์คือศูนย์หัวใจฟิลิปปินส์เพื่อเอเชีย และได้เปลี่ยนเป็นรูปแบบปัจจุบันใน ค.ศ. 1975 ส่วนผู้ป่วยรายแรกที่เข้ารับการรักษาในศูนย์หัวใจฟิลิปปินส์คืออีเมลดา ฟรันซิสโก เมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1975
ผู้เชี่ยวชาญระบบหัวใจหลอดเลือด ได้แก่ คริสเตียน บาร์นาร์ด, เดนตัน คูลีย์, โดนัลด์ เอฟเฟลอร์ และชาลส์ ไบลีย์ ฝึกที่นั่น[ต้องการอ้างอิง] ส่วนผู้อำนวยการคนแรกของศูนย์หัวใจฟิลิปปินส์คืออาเบนีโล เป. อาเบนตูรา (ค.ศ. 1974–1986) ซึ่งเป็นศัลยแพทย์ระบบหัวใจหลอดเลือดที่เป็นผู้บุกเบิกการผ่าตัดหลายครั้งในประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการปลูกถ่ายไตที่ประสบความสำเร็จครั้งแรกใน ค.ศ. 1970, การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจครั้งแรกใน ค.ศ. 1972 รวมถึงได้พัฒนาและปลูกฝังลิ้นหัวใจเทียมที่ทำจากเนื้อเยื่อครั้งแรกของอาเซียน นั่นคือลิ้นหัวใจหมูของศูนย์หัวใจฟิลิปปินส์เพื่อเอเชีย
ใน ค.ศ. 2014 ศูนย์หัวใจฟิลิปปินส์ได้รับการรับรองเหรียญทองคุณภาพระดับสากลของคิวเมนตัมในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2014 – 2017 สำหรับ "ความเป็นเลิศในการปฏิบัติในโรงพยาบาลและความปลอดภัย"[12]
สถาปัตยกรรมและการออกแบบ
[แก้]อาคารโรงพยาบาลได้รับการออกแบบโดยสถาปนิก ฮอร์เฮ ราโมส[13] ซึ่งได้รับการอธิบายว่าเป็นรูปแบบบรูทัลลิสต์[14] โดยได้รับการสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1975 ด้วยราคาที่รายงานเกือบ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[15] ซึ่งร่วมก่อตั้งโดย ดร. ลุดเฆริโอ เด. ตอร์เรส[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Presidential Decree No. 673, s. 1975". Official Gazette of the Republic of the Philippines. 19 March 1975. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-25. สืบค้นเมื่อ 18 April 2020.
- ↑ Pagaduan-Araullo, Carol (March 28, 2016). "Philippine health care system, from bad to worse". BusinessWorld (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-05-03.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Welcome to PHC". Philippine Heart Center. สืบค้นเมื่อ 2018-05-03.
- ↑ Philippine Heart Center Annual Report 2013. Philippine Heart Center.
- ↑ "Mandate". Philippine Heart Center. สืบค้นเมื่อ 2018-05-03.
- ↑ "Officials". Philippine Heart Center. สืบค้นเมื่อ 2018-05-03.
- ↑ "Joel M. Abanilla, MD". Philippine Heart Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-03. สืบค้นเมื่อ 2018-05-03.
- ↑ "Masagana 99, Nutribun, and Imelda's 'edifice complex' of hospitals". GMA News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). September 20, 2012. สืบค้นเมื่อ 2018-05-03.
- ↑ Afinidad-Bernardo, Deni Rose M. "Edifice complex | 31 years of amnesia". The Philippine Star. สืบค้นเมื่อ 2018-05-03.
- ↑ Santos, Roselle. "Book Review: Edifice Complex: Power, Myth, and the Marcos State Architecture by Gerard Lico : Philippine Art, Culture and Antiquities". Artes de las Filipinas. สืบค้นเมื่อ 2018-05-03.
- ↑ ""To Sing Our Own Song" (1983)". Jose W. Diokno. May 13, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-04. สืบค้นเมื่อ 2018-05-03.
- ↑ Philippine Heart Center Annual Report 2014. Philippine Heart Center.
- ↑ 13.0 13.1 Villa, Kathleen de (September 16, 2017). "Imelda Marcos and her 'edifice complex'". Philippine Daily Inquirer (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-05-03.
- ↑ Reyes, Anthea (2017-09-21). "Looks like the Marcoses were Brutalists by choice". NOLISOLI (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-05-03.
- ↑ Myles, Garcia (2016). Thirty years later... : catching up with the Marcos-era crimes. Quezon City, Philippines. ISBN 9780578175607. OCLC 945380506.