ศาลเจ้าโชเซ็ง

พิกัด: 37°33′13″N 126°58′58″E / 37.55361°N 126.98278°E / 37.55361; 126.98278
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ข้างหน้าอดีตโชเซ็งจิงงูที่เคโจ
ภาพข้างหน้าศาลเจ้า (โปสการ์ดญี่ปุ่นร่วมสมัย)
ศาลเจ้าโชเซ็ง
ฮันกึล
조선신궁
ฮันจา
อาร์อาร์Joseon Singung
เอ็มอาร์Chosŏn Singung

ศาลเจ้าโชเซ็ง (เกาหลี: 조선신궁, อักษรฮันจา: 朝鮮神宮; ภาษาญี่ปุ่นแบบเฮปเบิร์น: Chōsen Jingū) เป็นศาลเจ้าชินโตที่สำคัญที่สุดในประเทศเกาหลีตั้งแต่ ค.ศ. 1925 ถึง 1945 ในสมัยการปกครองของญี่ปุ่น

เบื้องหลัง[แก้]

มุมมองจากมุมสูง (โปสการ์ดญี่ปุ่นร่วมสมัย)
โชเซ็งจิงงูที่เคโจ (โซล)

หลังญี่ปุ่นผนวกเกาหลีใน ค.ศ. 1910 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ดำเนินการตามนโยบายกระบวนการกลายเป็นญี่ปุ่น (Japanization) ซึ่งรวมไปถึงการสักการะที่ศาลเจ้าชินโต เช่นเดียวกันกับการแสดงออกทางการเมืองต่อความรักประเทศชาติเป็นข้อปฏิบัติทางศาสนา[1][2] ตั้งแต่ ค.ศ. 1925 นักเรียนในโรงเรียนจะต้องเข้าไปในศาลเจ้าชินโต และใน ค.ศ. 1935 มีการบังคับให้นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยและข้าราชการจะต้องเข้าร่วมพิธีศาสนาชินโต[3][4] จนถึง ค.ศ. 1945 มีศาลเจ้าในเกาหลีที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐชินโต (State Shinto) รวม 1,140 แห่ง[3]

โชเซ็งจิงงูถูกสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1925 ที่ยอดเขานัมซานในเมืองเคโจ เพื่ออุทิศแด่เทพีอามาเตราซุกับจักรพรรดิเมจิ ตัวอาคารมีรูปแบบสถาปัตยกรรมชินเม-ซูกูริตามศาลเจ้าอิเซะ[5][6] ไม่กี่เดือนหลังเกาหลีเป็นเอกราชจากญี่ปุ่น โชเซ็งจิงงูจึงถูกทำลายในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1945 และใน ค.ศ. 1970 ได้มีการสร้าง "อนุสรณ์สถานรักชาติ อัน จุง-กึน" ในบริเวณที่เคยเป็นศาลเจ้า เพื่อยกย่องอัน จุง-กึน ผู้ลอบสังหารอิโต ฮิโรบูมิ ผู้ตรวจราชการชาวญี่ปุ่นคนแรก[2][7]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Sung-Gun Kim (1997). "The Shinto Shrine Issue in Korean Christianity under Japanese Colonialism". Journal of Church and State. 39: 503–521. doi:10.1093/jcs/39.3.503.[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 Wakabayashi, Ippei. "Ahn Jung-geun and the Cultural Public Sphere" (PDF). Bunkyo University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 June 2011. สืบค้นเมื่อ 31 March 2011.
  3. 3.0 3.1 Grayson, James H. (1993). "Christianity and State Shinto in Colonial Korea: A Clash of Nationalisms and Religious Beliefs". Diskus. British Association for the Study of Religions. 1 (2): 13–30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-05. สืบค้นเมื่อ 2011-04-27.
  4. Wagner, Edward W.; และคณะ (1990). Korea Old and New: A History. Harvard University Press. p. 315. ISBN 0-9627713-0-9.
  5. "Chōsen Jingū". Genbu.net. สืบค้นเมื่อ 31 March 2011.
  6. Hiura, Satoko (2006). "朝鮮神宮と学校 : 勧学祭を中心に". Japan Society for the Historical Studies of Education. National Institute of Informatics. 49: 110–112.
  7. Keene, Donald (2002). Emperor of Japan: Meiji and his World, 1852-1912. Columbia UP. pp. 664ff.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

(ในภาษาญี่ปุ่น) Chōsen Jingū (plan and photographs)

37°33′13″N 126°58′58″E / 37.55361°N 126.98278°E / 37.55361; 126.98278