ศาลศาสนาสเปน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาลสำนักงานแห่งศาลศาสนาสเปน

Tribunal del Santo Oficio de la Inquisición

ศาลศาสนาสเปน
ตราศาลในประเทศสเปน
ประเภท
ประเภท
ศาลภายใต้การเลือกของพระมหากษัตริย์สเปน
ประวัติ
สถาปนา1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1478
ยุบ15 กรกฎาคม ค.ศ. 1834
สมาชิกถือเป็นประธานคณะผู้สอบสวนความผิด มีจำนวน 6 คน ภายใต้ศาล 21 แห่งในจักรวรรดิ
การเลือกตั้ง
การเลือกของพระมหากษัตริย์
ที่ประชุม
จักรวรรดิสเปน
หมายเหตุ
ดูเพิ่ม:
ศาลศาสนายุคกลาง
ศาลศาสนาโปรตุเกส
ศาลศาสนาเม็กซิโก

ในเชิงนิรุกติศาสตร์ ศาลศาสนา (Inquisition) มีที่มาจากภาษาละติน inquisitĭo กับ inquisitiōnis ซึ่งมีความหมายว่า การกระทำและผลของการตรวจสอบ ศาลศาสนามีชื่อทางการว่า กระบวนการไต่สวนผู้ผิดต่อจารีต (Inquisitio Haereticae Pravitatis)[1]

ศาลศาสนาในประเทศสเปนก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1478 พระสันตะปาปาซิกซ์ตัสที่ 4 ได้อนุญาตให้กษัตริย์เฟอร์ดินันด์และราชินีอิซาเบลก่อตั้งศาลศาสนา [2]เพื่อลงโทษ “คนคริสต์ใหม่” (New Christian) หรือ “กอนเบร์โซ” (Converso) ที่ยังคงนับถือศาสนาเดิมและประพฤตินอกรีต ต่อมาในปี ค.ศ. 1488 มีคำสั่งให้จัดตั้งสภาศาลศาสนาซึ่งมีหน้าที่ประสานงานระหว่างศาลศาสนาในแต่ละพื้นที่ พิจารณาคดีอุทธรณ์ และพิจารณาคดีของเจ้าหน้าที่ของศาลศาสนาที่กระทำผิดในคดีนอกรีต[3]

การทำงานของศาลศาสนาจะประกอบไปด้วย ผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เสมียนศาล ผู้แจ้งข่าว และ แพทย์ กระบวนทำงานของศาลศาสนาจะเริ่มต้นเมื่อมีผู้เข้ามาฟ้องร้องว่ามีการกระทำนอกรีต อัยการจะเป็นผู้พิจารณาว่าเข้าข่ายหรือไม่ หากใช่ผู้พิพากษาจะสั่งจับกุมผู้ถูกกล่าวหาและนำไปคุมจังในคุก ต่อมาศาลจะดำเนินการริบทรัพย์สินและจัดทำบัญชีอย่างละเอียด ศาลจะยึดทรัพย์ไว้จนกว่าคดีจะตัดสิน ในระหว่างที่อยู่ในคุก ศาลก็จะนำทรัพย์สินที่ยึดไปจำหน่ายเพื่อนำเงินมาเป็นค่าใช้จ่ายของผู้ถูกกล่าวหา ผู้ถูกกล่าวหาจะถูกแยกขังเดี่ยวและห้ามคุยกับผู้ถูกคุมขังคนอื่น ๆ อีกทั้งยังไม่ให้ญาติมาเยี่ยมจนว่าจะตัดสินคดีเสร็จสิ้น

ในกระบวนการไต่สวน ศาลจะเชื่อว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดไว้ก่อนและเป็นหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหาที่จะต้องแก้ต่างเพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ของตน อย่างไรก็ตาม ศาลจะไม่แจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ถูกกล่าวหา ผู้ถูกกล่าวหาจะต้องทบทวนตนเอง ในระหว่างนี้ศาลจะเตือนเป็นระยะ ๆ จะนวน 3 ครั้ง เมื่อครบแล้วแต่ผู้ถูกกล่าวหายังไม่สารภาพ ศาลจึงจะแจ้งข้อกล่าวหา นอกจากนี้ศาลจะแสดงหลักฐานการกระทำผิดให้ผู้ถูกล่าวหารับทราบ แต่ศาลจะปกปิดผยาน ศาลศาสนาจะใช้การทรมานเพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหารับสารภาพ ผู้พิพากษาต้องอยู่ร่วมด้วยในระหว่างนี้ โดยมีเสมียนศาลเป็นผู้จดบันทึกเหตุการณ์อย่างละเอียดและมีแพทย์คอยตรวจดูสภาพร่างกายว่ายังทนไหมหรือไม่ ศาลศาสนาจะทำงานหนักมากเนื่องจากมีกอนเบร์โซเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงทำให้การตัดสินคดีล่าช้าจนผู้ถูกกล่าวหาบางคนเสียชีวิตก่อนที่จะได้รับการไต่สวน

การติดสินลงโทษตั้งแต่เบาไปหาหนัก ในกรณีที่ความผิดไม่ร้ายแรง ผู้กระทำผิดจะต้องสาบานว่าจะไม่ทำอีกหลังจากนั้นจะถูกตัดสินโทษทางกาย ซึ่งมีตั้งแต่สวมเสื้อซานเบนิโต (Sanbenito) ถูกปรับ หรือ ถูกเนรเทศ สำหรับการทำผิดร้ายแรง หลังจากสาบานแล้วจะอาจถูกลงโทษโดยการเฆี่ยน จำคุก หรือเป็นทาสฝีพายหลวง การตัดสินโทษที่ร้ายแรงที่สุดคือการประหารชีวิตโดยการเผาทั้งเป็น แต่บางครั้งถ้าผู้กระทำผิดแสดงความสำนึกผิดก็จะถูกรัดคอให้เสียชีวิตขณะกำลังจะจุดไฟเผา นอกจากนี้ยังมีการจัดพิธีอ่านคำพิพากษาของผู้กระทำผิดจำนวนมากที่จัตุรัสกลางเมือง เรียกพิธีนี้ว่า “เอาโต เด เฟ” (Auto de fe) ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าผู้กระทำความผิดได้รับการอภัยและกลับสู่อ้อมกอดของคริสตจักร

อย่างไรก็ตาม ศาลศาสนาถูกประท้วงหลายต่อหลายครั้งในเวลาต่อมา การประท้วงครั้งสำคัญในอาณาจักรอารากอนเกิดที่เมืองเตรูเอล (Teruel) ในปี ค.ศ. 1484 ระหว่างประชาชนในเมืองและบาทหลวง กษัตริย์เฟอร์ดินันด์ผู้มีอำนาจสูงสุดเลือกที่จะปกป้องบาทหลวงเพื่อรักษาศาลศาสนาไว้ การประท้วงครั้งสำคัญอีกหนึ่งเหตุการณ์เกิดขึ้นที่เมืองซาราโกซา มีการลอบสังหารบาทหลวงผู้พิพากษาคนสำคัญคนหนึ่งโดยมีผู้มีส่วนร่วมทั้งหมด 8 คน ฆาตกรคนหนึ่งถูกฆ่าอย่างโหดเหี้ยม สร้างความหวาดกลัวให้ผู้มีส่วนร่วมคนอื่นอย่างมาก เหตุการณ์นำไปสู่การกวาดล้างกอนเบร์โซที่ต่อต้านศาสนาทั้งหมด[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Significado de Inquisición. (5 ตุลาคม 2562). สืบค้นจาก https://www.significados.com/inquisicion/
  2. นุชธิดา ราศีวิสุทธิ์. (2562). สเปน จักรวรรดิที่พระอาทิตย์ไม่เคยตกดิน. กรุงเทพฯ: ยิปซี กรุ๊ป.
  3. https://prachatai.com/journal/2013/01/44849
  4. นุชธิดา ราศีวิสุทธิ์. (2562). สเปน จักรวรรดิที่พระอาทิตย์ไม่เคยตกดิน. กรุงเทพฯ: ยิปซี กรุ๊ป.

บรรณานุกรม[แก้]

หนังสือที่ปรับปรุงใหม่
  • Carroll, Warren H., Isabel: the Catholic Queen, Christendom Press (1991)
  • García Cárcel, Ricardo (1976). Orígenes de la Inquisición Española. El Tribunal de Valencia, 1478–1530. Barcelona.
  • Graizbord, David L. Souls in Dispute: Converso Identities in Iberia and the Jewish Diaspora, 1580–1700. Philadelphia: University of Pennsylvania Press 2004.
  • Homza, Lu Ann, The Spanish Inquisition, 1478–1614, An Anthology of Sources, Hackett Publishing (2006)
  • Kamen, Henry (1998). The Spanish Inquisition: a Historical Revision. Yale University Press. ISBN 978-0-300-07522-9.
  • Kamen, Henry (2005). Inkwizycja Hiszpańska [The Spanish Inquisition] (ภาษาโปแลนด์). Warsaw: Państwowy Instytut Wydawniczy. ISBN 978-83-06-02963-5.
  • Kamen, Henry (2014). The Spanish Inquisition: A Historical Revision. New Haven: Yale University Press. ISBN 978-0-300-18051-0. Kamen has published 4 editions under 3 titles: "First edition published 1965 ... as The Spanish Inquisition. Second edition published 1985 ... as Inquisition and Society in Spain. Third edition published 1998 ... as The Spanish Inquisition: A Historical Revision. Fourth edition 2014."
  • Kritzler, Edward, Jewish Pirates of the Caribbean. Anchor Books 2009. ISBN 978-0-7679-1952-4
  • Monter, William, Frontiers of Heresy: The Spanish Inquisition from the Basque Lands to Sicily, Cambridge University Press (1990)
  • Nirenberg, David. (2013). Anti-Judaism: The Western Tradition. New York: W. W. Norton & Company. ISBN 978-0-393-34791-3. ch.5 "Revenge of the Savior: Jews and Power in Medieval Europe", ch.6 "The Extinction of Spain's Jews and the Birth of Its Inquisition"
  • Parker, Geoffrey (1982). "Some recent work on the Inquisition in Spain and Italy". Journal of Modern History. 54 (3): 519–532. doi:10.1086/244181. JSTOR 1906231.
  • Peters, Edward (1988). Inquisition. New York London: Free Press Collier Macmillan. ISBN 9780029249802.
  • Rawlings, Helen, The Spanish Inquisition, Blackwell Publishing (2006)
Seminal classical works
นักวิชาการในอดีต
  • Antonio Puigblanch, La Inquisición sin máscara (Cádiz, 1811–1813). [The Inquisition Unmasked (London, 1816)]
  • William Thomas Walsh, Isabella of Spain (1930) and Characters of the Inquisition (1940). Both reprinted by TAN Books (1987).
  • Rafael Sabatini, Torquemada and the Spanish Inquisition (1913)
  • C. Roth, The Spanish Inquisition (1937)
  • C. Roth, History of the Marranos (1932)
  • A. S. Turberville, Medieval History and the Inquisition (1920)
  • A.S. Turberville, The Spanish Inquisition (1932).
  • Genaro García, La Inquisición de México (1906).
  • Genaro Garcia, Autos de fe de la Inquisición de Mexico (1910)
  • F. Garau, La Fee Triunfante (1691-reprinted 1931)
  • J.T. Medina, Historia de la Inquisicion de Lima; de Chile; le la Plata; de Cartagena de las Indias; en las islas Filipinas (6 volumes), (1887–1899)
  • V. Vignau, Catálogo... de la Inquisición de Toledo (1903)
  • J. Baker, History of the Inquisition (1736)
  • History of the Inquisition from its origin under Pope Innocent III till the present time. Also the private practices of the Inquisitors, the form of trial and modes of torture (1814)
  • J. Marchant, A Review of the Bloody Tribunal (1770)
  • E.N Adler, Autos de fe and the Jew (1908)
  • González de Montes, Discovery and Playne Declaration of Sundry Subtile Practices of the Holy Inquisition of Spayne
  • Ludovico a Paramo, De Origine et Progressu Sanctae Inquisitionis (1598)
  • J.M. Marín, Procedimientos de la Inquisición (2 volumes), (1886)
  • I. de las Cagigas, Libro Verde de Aragon (1929)
  • R. Cappa, La Inquisicion Espanola (1888)
  • A. Paz y Mellia, Catálogo Abreviado de Papeles de Inquisición (1914)
  • A.F.G. Bell, Luis de Leon (1925)
  • M. Jouve, Torquemada (1935)
  • Sir Alexander G. Cardew, A Short History of the Inquisition (1933)
  • G. G. Coulton, The Inquisition (1929)
  • Memoires Instructifs pour un Voyageur dans les Divers États de l'Europe (1738)
  • Ramon de Vilana Perlas, La verdadera práctica apostólica de el S. Tribunal de la Inquisición (1735)
  • H.B. Piazza, A Short and True Account of the Inquisition and its Proceeding (1722)
  • A.L. Maycock, The Inquisition (1926)
  • H. Nickerson, The Inquisition (1932)
  • Conde de Castellano, Un Complot Terrorista en el Siglo XV; los Comienzos de la Inquisicion Aragonesa, (1927)
  • Bernard Gui, Manuel de l'Inquisiteur, (1927)
  • L. Tanon, Histoire des Tribunaux de l'Inquisition (1893)
  • A.J. Texeira, Antonio Homem e a Inquisicao (1902)
  • A. Baiao, A Inquisiçao em Portugal e no Brasil (1921)
  • A. Herculano, Historia da Origem e Estabelecimento da Inquisiçao em Portugal (English translation, 1926)
  • Joseph de Maistre, Letters on the Spanish Inquisition (1822, composed 1815):— late defence of the Inquisition
  • Cornelius August Wilkens: Spanish Protestants in the Sixteenth Century (1897), 218p. read online at archive.org"Title Catalog". The Library of Iberian Resources. สืบค้นเมื่อ 17 May 2006.
  • อื่น ๆ
  • Green, Toby (2007). Inquisition : the reign of fear. New York: Thomas Books. ISBN 978-0-312-53724-1.
  • Miranda Twiss, The Most Evil Men And Women In History (Michael O'Mara Books Ltd., 2002).
  • Simon Whitechapel, Flesh Inferno: Atrocities of Torquemada and the Spanish Inquisition (Creation Books, 2003).

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]