วิทยาการระบาดของโรคซึมเศร้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จำนวนปีที่เสียไปเนื่องจากปัญหาสุขภาพ ความพิการ หรือการเสียชีวิตก่อนอายุ (DALY) ที่ปรับมาตรฐานตามอายุ (Age-standardised) ของโรคซึมเศร้าแบบขั้วเดียว (unipolar) ในประเทศต่าง ๆ (ต่อประชากร 100,000 คน) ในปี 2547[1] ในประเทศไทย เป็นโรคที่มี DALY ในระดับท๊อป 10 โดยเป็นอันดับ 1 ในหญิง และอันดับ 4 ในชาย[2]
  ไม่มีข้อมูล
  <700
  700-775
  775-850
  850-925
  925-1000
  1000-1075
  1075-1150
  1150-1225
  1225-1300
  1300-1375
  1375-1450
  >1450

วิทยาการระบาดของโรคซึมเศร้า (อังกฤษ: epidemiology of depression) เป็นเรื่องที่ได้ศึกษาแล้วทั่วโลก โรคซึมเศร้าเป็นเหตุความเจ็บป่วยสำคัญทั่วโลก ดังที่วิทยาการระบาดได้แสดงแล้ว[3] ความชุกชั่วชีวิตต่างกันมาก เริ่มตั้งแต่ 3% ในประเทศญี่ปุ่น และ 17% ในสหรัฐอเมริกา โดยในประเทศส่วนมาก อัตราคนที่จะเป็นโรคในช่วงชีวิตอยู่ระหว่าง 8-12%[4][5] และงานสำรวจประจำชาติปี 2546 ของประเทศไทยแสดงความชุกที่ 3.2% (ประมาณ 871,700 คน)[6]

ในอเมริกาเหนือ โอกาสที่จะมีคราวซึมเศร้า (major depressive episode) ในช่วงระยะเวลาปีหนึ่งอยู่ที่ 3-5% สำหรับชาย และ 8-10% สำหรับหญิง[7][8]

พลศาสตร์ประชากร[แก้]

งานศึกษากลุ่มประชากรพบอย่างสม่ำเสมอว่า โรคเกิดขึ้นในหญิง 2 เท่ามากกว่าชาย แม้ว่าจะไม่ชัดเจนว่าเพราะอะไร หรือว่ามีปัจจัยอะไรอื่นที่เป็นเหตุความแตกต่างนี้หรือไม่[9] ในเด็ก การเกิดโรคเพิ่มขึ้นตามพัฒนาการของวัยเจริญพันธุ์ไม่ใช่ตามอายุ และจะถึงอัตราระดับผู้ใหญ่ในช่วงอายุ 15-18 ปี และดูเหมือนจะสัมพันธ์กับปัจจัยทางจิต-สังคมมากกว่าปัจจัยทางฮอร์โมน[9]

คนมีโอกาสที่จะประสบกับคราวซึมเศร้าในระหว่างอายุ 30-40 ปีมากที่สุด และมีช่วงการเกิดสูงสุดแต่ต่ำลงมาในช่วงอายุ 50-60 ปี[10] ความเสี่ยงต่อโรคสูงขึ้นเมื่อมีปัญหาทางประสาทอื่น ๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์คินสัน หรือโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง และปีแรกหลังจากคลอดบุตร[11] ความเสี่ยงโรคสัมพันธ์กับตัวก่อความเครียดที่คนทั้งกลุ่มเผชิญด้วย เช่น ผู้ต่อสู้ในสงครามหรือแพทย์ฝึกหัด[12]

โรคสามัญกว่าด้วยหลังเกิดความเจ็บป่วยเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจ และสัมพันธ์กับเมื่อฟื้นตัวได้ไม่ดีมากกว่าเมื่อฟื้นตัวดีกว่า[13][14] งานศึกษาแสดงผลที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับความชุกของโรคในคนชรา แต่ข้อมูลโดยมากแสดงว่าระดับลดลงในคนวัยนี้[15] โรคสามัญในเขตเมืองมากกว่าเขตชนบท และสามัญในกลุ่มที่มีปัญหาทางสังคม-เศรษฐกิจมากกว่า เช่น ในคนจรจัด[16]

ข้อมูลในเรื่องความชุกสัมพัทธ์ของโรคระหว่างคนชาติพันธุ์ต่าง ๆ ยังไม่มีความเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์ แต่ว่า งานเดียวที่ศึกษา dysthymia โดยเฉพาะพบว่า โรคสามัญในกลุ่มชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาและเชื้อสายเม็กซิกัน มากกว่าคนอเมริกันเชื้อสายยุโรป[17]

มีงานศึกษาที่คาดการณ์ว่า โรคซึมเศร้าจะเป็นโรคที่ทำให้เสียชีวิตเป็นอันดับสองต่อจากโรคหัวใจทั่วโลกโดยปี 2563[18]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. "The scope and concerns of public health" (PDF). Oxford University Press: OUP.COM. 5 March 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 June 2013. สืบค้นเมื่อ 2010-12-03.
  2. doi:10.1016/j.jval.2011.11.009
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand Full Article PDF (6.1 M B) อ้างอิง Thai Working Group on Burden of Disease and Injuries (2002). Burden of Disease and Injuries in Thailand: Priority Setting for Policy. Nonthaburi, Thailand: Printing House of the War Veterans Organization of Thailand Under Royal Patronage of His Majesty the King.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  3. "The world health report 2001 - Mental Health: New Understanding, New Hope". WHO website. World Health Organization. 2001. สืบค้นเมื่อ 2008-10-19.
  4. Andrade L, Caraveo-A (24 March 2006) [2003]. Int J Methods Psychiatr Res. 12 (1): 3–21. doi:10.1002/mpr.138. PMID 12830306 Epidemiology of major depressive episodes: Results from the International Consortium of Psychiatric Epidemiology (ICPE) Surveys http://media.wiley.com Epidemiology of major depressive episodes: Results from the International Consortium of Psychiatric Epidemiology (ICPE) Surveys. {{cite journal}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help); ตรวจสอบค่า |url= (help)
  5. Kessler, RC; Berglund, P; Demler, O (2003). "The epidemiology of major depressive disorder: Results from the National Comorbidity Survey Replication (NCS-R)". Journal of the American Medical Association (JAMA). 289 (203): 3095–105. doi:10.1001/jama.289.23.3095. PMID 12813115.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. "Development Thai Surveillance System for Depression" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2012. สืบค้นเมื่อ 2016-10-03.
  7. Kessler, RC; Berglund, P; Demler, O; Jin, R; Merikangas, KR; Walters, EE (2005). "Lifetime prevalence and age-of-onset distributions of DSM-IV disorders in the National Comorbidity Survey Replication". Archives of General Psychiatry. 62 (6): 593–602. doi:10.1001/archpsyc.62.6.593. PMID 15939837.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  8. Murphy, JM; Laird, NM; Monson, RR; Sobol, AM; Leighton, AH (2000). "A 40-year perspective on the prevalence of depression: The Stirling County Study". Archives of General Psychiatry. 57 (3): 209–15. doi:10.1001/archpsyc.57.3.209. PMID 10711905.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. 9.0 9.1 Kuehner, C (2003). "Gender differences in unipolar depression: An update of epidemiological findings and possible explanations". Acta Psychiatrica Scandinavica. 108 (3): 163–74. doi:10.1034/j.1600-0447.2003.00204.x. PMID 12890270.
  10. Eaton, WW; Anthony, JC; Gallo, J; Cai, G; Tien, A; Romanoski, A; Lyketsos, C; Chen, LS (1997). "Natural history of diagnostic interview schedule/DSM-IV major depression. The Baltimore Epidemiologic Catchment Area follow-up". Archives of General Psychiatry. 54 (11): 993–99. doi:10.1001/archpsyc.1997.01830230023003. PMID 9366655.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  11. Rickards, H (2005). "Depression in neurological disorders: Parkinson's disease, multiple sclerosis, and stroke". Journal of Neurology Neurosurgery and Psychiatry. 76: i48–i52. doi:10.1136/jnnp.2004.060426. PMC 1765679. PMID 15718222.
  12. Mata, Douglas A; Ramos, Marco A; Bansal, Narinder; Khan, Rida; Guille, Constance; Di Angelantonio, Emanuele; Sen, Srijan (2015). "Prevalence of Depression and Depressive Symptoms Among Resident Physicians: A Systematic Review and Meta-analysis". JAMA. 314 (22): 2373–2383. doi:10.1001/jama.2015.15845. PMC 4866499. PMID 26647259.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  13. Alboni, P; Favaron, E; Paparella, N; Sciammarella, M; Pedaci, M (2008). "Is there an association between depression and cardiovascular mortality or sudden death?". Journal of cardiovascular medicine (Hagerstown, Md.). 9 (4): 356–62. doi:10.2459/JCM.0b013e3282785240. PMID 18334889.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  14. Strik, JJ; Honig, A; Maes, M (2001). "Depression and myocardial infarction: relationship between heart and mind". Progress in neuro-psychopharmacology & biological psychiatry. 25 (4): 879–92. doi:10.1016/S0278-5846(01)00150-6. PMID 11383983.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  15. Jorm, AF (2000). "Does old age reduce the risk of anxiety and depression? A review of epidemiological studies across the adult life span". Psychological Medicine. 30 (1): 11–22. doi:10.1017/S0033291799001452. PMID 10722172.
  16. Gelder, M; Mayou, R; Geddes, J (2005). Psychiatry (3rd ed.). New York: Oxford. p. 105.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  17. Riolo, Stephanie A; และคณะ (June 2005). "Prevalence of Depression by Race/Ethnicity: Findings From the National Health and Nutrition Examination Survey III". American Journal of Public Health. U.S. National Library of Medicine. 95 (6): 998–1000. doi:10.2105/AJPH.2004.047225. PMC 1449298. PMID 15914823.
  18. Lopez, A. D.; Murray, C. C. (1 November 1998). "The global burden of disease, 1990-2020". Nature Medicine. 4 (11): 1241–1243. doi:10.1038/3218. ISSN 1078-8956. PMID 9809543.