ข้ามไปเนื้อหา

วิกิพีเดีย:โดดเด่นโดยไม่มีสิ่งยืนยัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ที่กล่าวถึงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นจะทำให้พวกชอบลบพอใจแล้วหรือยัง?

โดดเด่นโดยไม่มีสิ่งยืนยัน หรืออาจหมายถึง กึ่งโดดเด่น หมายถึงบทความที่ดูเหมือนจะเข้าเกณฑ์ วิกิพีเดีย:ความโดดเด่น บ้าง สิ่งนี้จะเกิดขึ้นต่อเมื่อ

  1. บทความแสดงอ้างอิงน้อยมากหรือมีอ้างอิงน้อย
  2. บทความมีอ้างอิงพอสมควร แต่อ้างอิงเหล่านั้นไม่ได้อ้างถึงหัวข้อนั้นอย่างมีนัยยะสำคัญ แต่ดูเหมือนจะเป็นกล่าวอย่างเล็กน้อยในหัวข้อนั้น
  3. อ้างอิงที่ใช้ไม่ผ่าน แนวปฏิบัติด้านความโดดเด่นทั่วไป เช่น ใช้หน้าเฟซบุ๊ก บล็อก หรือเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์

บทความที่เข้าเกณฑ์อย่างน้อยหนึ่งข้อด้านบนมีความเสี่ยงที่จะถูกลบ แม้ผู้เขียนบทความอาจรู้สึกว่าเขียนได้ดีและให้แหล่งข้อมูลที่ดี แต่ก็มีบางคนอาจเห็นต่าง นโยบายของวิกิพีเดียนั้นค่อนข้างซับซ้อน ก็อาจตีความในหลายแง่มุม บทความที่โดดเด่นโดยไม่มีสิ่งยืนยันก็มีไว้เป็นช่องทางต่อกรกับพวกลัทธิชอบลบ

ผู้ใช้ที่ลงทะเบียนแล้วมีสิทธิ์ที่จะเสนอลบบทความผ่านกระบวนการแจ้งลบ หรือแม้แต่ผู้ใช้ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน แต่มีเพียงผู้ดูแลที่สามารถลบบทความได้

ปรับปรุงบทความที่มีความโดดเด่นโดยไม่มีสิ่งยืนยัน

[แก้]

การคงบทความไว้จะเป็นการดีที่สุด กล่าวคือ ปรับปรุงบทความที่ดูเหมือนมีความโดดเด่น ให้ถามตัวเองก่อนว่าใครจะเป็นผู้อ่านในบทความนี้ หรืออะไรที่ทำให้บทความนี้มีความสำคัญพอสำหรับการเป็นสารานุกรม ความโดดเด่นต้องได้รับการยืนยันอย่างชัดเจน จะบรรลุเป้าหมายนี้ได้ต้องใส่อ้างอิงที่น่าเชื่อถือ

  1. ค้นหาเว็บเกี่ยวกับหัวข้อนั้น: หากค้นหาอย่างง่ายทางกูเกิล เสิร์ช แล้วพบว่าไม่เจอเว็บไซต์มากพอที่เข้าเกณฑ์ วิกิพีเดีย:แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ก็ลองหาวิธีอื่นในการค้นหา เช่น กูเกิล บุกส์, กูเกิล สกอลาร์ หรือกูเกิล นิวส์ อาจลองค้นหาด้วยคำค้นหาที่แคบลง เช่น หากกำลังหาอ้างอิงเกี่ยวกับบทความแซกโซโฟนแจ๊ซในยุคคริสต์ทศวรรษ 1930 ใช้กูเกิลหาคำอย่าง "jazz saxophone" +"swing era" หรือ "jazz saxophone" +"big band" หากไม่พบก็ลองเปลี่ยนมาใช้คำใกล้เคียง เช่น หากคุณต้องการหาอ้างอิงในบทความ ดับเบิลเบสดนตรีบลูกราสส์ แต่ยังหาแหล่งข้อมูลที่ดีไม่ได้ ก็ลงค้นหาคำอย่าง "bluegrass upright bass" OR "bluegrass bass fiddle" คุณก็อาจพบการค้นหาที่แตกต่างกันได้
  2. หาข้อมูลนอกเว็บ: ใช้หนังสือที่คุณเป็นเจ้าของหรือลองแวะเข้าห้องสมุดท้องถิ่น ห้องสมุดอาจมีหนังสือที่มีประโยชน์หรือข้อมูลจากช่วงเวลาหนึ่ง ห้องสมุดท้องถิ่นอาจสามารถเข้าถึงออนไลน์ได้ เช่น JSTOR และ Project MUSE แหล่งข้อมูลที่สามารถเข้าถึงทางเว็บไซต์ได้ก็ง่ายต่อการพิสูจน์ยืนยัน เพราะใคร ๆ ก็สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ หากใช้แหล่งอ้างอิงนอกเว็บไซต์ โปรดใช้อ้างอิงที่ให้ข้อมูลรูปแบบบรรณานุกรมให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  3. หาผู้เชี่ยวชาญ: ให้แปะป้าย {{expert}} บนหน้านั้นเพื่อให้ใครสักคนเข้ามาใส่อ้างอิงที่เชื่อถือได้

การกล่าวถึงอย่างสำคัญ

[แก้]

การกล่าวถึงอย่างสำคัญเป็นจำนวนเท่าไหร่ จะต้องมีแหล่งอ้างอิงจำนวนเท่าใด ถึงจะผ่านเกณฑ์ความโดดเด่น เราอาจพิจารณาจากความต้องการแนวโน้มที่จะเป็นบทความได้ หากเราสร้างบทความใหม่ที่แตกจากบทความที่ได้รับ "การกล่าวถึงอย่างสำคัญ" ดังนั้นเราจึงนิยามว่า "อย่างสำคัญ" ว่า "สำคัญพอที่จะให้ส่วนสำคัญที่จะเป็นบทความที่เป็นสารานุกรมที่ดีได้"

กึ่งโดดเด่น

[แก้]

ไม่ได้หมายความว่าทุกบทความจะสามารถมีบทความของตัวเองได้ อย่างไรก็ตาม หากเรามีบทความในหัวข้อชื่อ X ที่มีแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิน้อย ที่แยกบทความออกมาได้เพียง 3 ประโยค เราควรมีบทความ X หรือไม่ อาจไม่จำเป็นที่จะมีบทความ 3 ประโยค เช่นนั้นไปตลอดกาล ก็ไม่ใช่ความคิดที่ดีที่จะแยกออกมา การแก้ไขคือ การเอ่ยถึง X ในบทความประเภทรายชื่อ หากจะให้มีบทความ X ที่มีความยาว 3 ประโยค ก็ต้องมีแหล่งอ้างอิงที่ยอมรับได้น่าจะเหมาะสมกว่า

เราอาจนิยามได้ดังนี้

ไม่โดดเด่น
หากไม่มีแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิที่กล่าวถึงในหัวข้อนั้น
กึ่งโดดเด่น
หากหัวข้อนั้นพอมีแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิ แต่มีการเขียนไม่ดีพอที่จะเป็นสารานุกรมที่ดีได้
โดดเด่น
หากมีแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิเพียงพอที่จะเขียนบทความสารานุกรมที่ดีได้

เกณฑ์ความโดดเด่นของเราจึงหมายถึง

ทำไมถึงต้องโดดเด่น

[แก้]

นโยบาย วิกิพีเดีย:ความโดดเด่น เป็นหนึ่งในนโยบายที่มีข้อถกเถียงมากในวิกิพีเดีย:

“ สันนิษฐานได้ว่าหัวเรื่องที่มีความโดดเด่นหากได้รับการกล่าวถึงอย่างสำคัญจากแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิที่น่าเชื่อถือที่กล่าวถึงหัวเรื่องนั้นโดยตรง”

แต่อะไรคือจุดประสงค์ของแนวคิดความโดดเด่น? ความโดดเด่นไม่ใช่เป้าหมาย ถ้าจะพูดให้ถูก เป็นการย่อคำที่ครอบคลุมที่การมีอยู่ของแหล่งอ้างอิงนั้นในบทความ หากหัวข้อนั้นไม่มีแหล่งอ้างอิงทุติยภูมิที่น่าเชื่อถือที่กล่าวถึงหัวเรื่องนั้นโดยตรง ก็เป็นไปไม่ได้เลยที่จะเขียนบทความนั้นให้เป็นสารานุกรม เหตุเพราะแหล่งข้อมูลต้องเป็นแกนของบทความ

บทความบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่

[แก้]

ผู้เขียนบางคนมีความเห็นว่า ความโดดเด่นโดยไม่มีสิ่งยืนยันจะยังคงมีความโดดเด่นในแทบทุกหัวข้อ แต่ในนโยบาย วิกิพีเดีย:ชีวประวัติของบุคคลที่มีชีวิตอยู่ มีคำแนะนำมากไปกว่านั้นสำหรับบทความบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่หรือบุคคลที่เพิ่งเสียชีวิต การเขียนบทความที่ไม่มีอ้างอิงยืนยันโดยเฉพาะจากแหล่งข้อมูลที่เผยแพร่เอง แหล่งอ้างอิงทุติยภูมิยังคงมีความจำเป็น บทความบุคคลที่มีความโดดเด่นจากเหตุการณ์เดียวไม่สามารถมีบทความในวิกิพีเดียได้