วิกิพีเดีย:โครงการวิกิพายุหมุนเขตร้อน/ลักษณะการเขียนบทความ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โครงการวิกิพายุหมุนเขตร้อน
หน้าหลัก · แม่แบบ · อภิปราย · สภาลม · บทความ · สถานีย่อย


เอกสารนี้เป็นเอกสารแนะนำแนวทางการเขียนบทความเกี่ยวกับพายุหมุนเขตร้อน

แนวทางการตั้งชื่อและศัพท์เฉพาะ[แก้]

การตั้งชื่อบทความเดี่ยว[แก้]

เมื่อพายุหมุนเขตร้อนลูกใดสร้างความเสียหายอย่างมีนัยสำคัญขึ้น พายุลูกดังกล่าวอาจมีความสำคัญพอที่จะสร้างบทความเดี่ยวขึ้น (กรณีถ้าเป็นบทความแปล ให้ยึดจากบทความในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเป็นหลัก) โดยระเบียบวิธีการตั้งชื่อบทความเดี่ยวของพายุหมุนเขตร้อนนั้นจะเป็นดังรูปแบบนี้

[ชื่อระดับความรุนแรงสูงสุดพายุหมุนเขตร้อนตามแอ่ง][ชื่อพายุในภาษาไทย] (พ.ศ. [ปีพุทธศักราชที่พายุลูกนั้นมีกำลังอยู่])

กล่าวคือชื่อบทความเดี่ยวจะเริ่มต้นด้วยชื่อความรุนแรงต่าง ๆ ของพายุหมุนเขตร้อน ตามด้วยชื่อในภาษาไทย และตามด้วยปีพุทธศักราชในวงเล็บ กรณีที่ชื่อของพายุลูกนั้นเคยถูกใช้ไปแล้วเมื่ออดีต หรือกำลังจะถูกใช้อีกในอนาคต แม้ว่าจะมีความรุนแรงต่างกันก็ตาม เว้นเสียแต่ว่าเป็นบทความเดี่ยวของพายุหมุนเขตร้อนที่ถูกถอนชื่อ แม้จะเป็นชื่อพายุที่ถูกใช้ซ้ำกันหลายปีก็ตาม บทความลักษณะหลังนี้จะไม่ต้องใส่วงเล็บบอกปีเฉพาะ เช่น นกเต็น ในปี 2554 เป็นพายุโซนร้อนที่สร้างความเสียหายอย่างมีนัยสำคัญแต่ไม่ถูกถอนชื่อ จึงตั้งชื่อบทความเดี่ยวว่า พายุโซนร้อนนกเต็น (พ.ศ. 2554) แต่ต่อมาในปี 2559 ชื่อนกเต็นถูกใช้อีกครั้งกับพายุไต้ฝุ่นที่มีความรุนแรง และสร้างความเสียหายอย่างมากจนถูกถอนชื่อ จึงตั้งชื่อบทความเดี่ยวว่า พายุไต้ฝุ่นนกเต็น

สำหรับในแอ่งมหาสมุทรอินเดียเหนือ, มหาสมุทรอินเดียตะวันตกเฉียงใต้ และ ออสเตรเลียและแปซิฟิกใต้ ที่มักมีชื่อความรุนแรงสูงสุดของพายุที่ยาว (เช่น พายุไซโคลนกำลังแรงมาก, พายุซูเปอร์ไซโคลน, พายุไซโคลนกำลังแรง, พายุไซโคลนรุนแรง ฯลฯ) ในชื่อบทความเดี่ยวของพายุที่มีความรุนแรงสูงสุดลักษณะนี้ จะสั้นความรุนแรงของพายุดังกล่าวลงโดยการตัดคำบ่งชี้ความรุนแรงออก เหลือเพียงคำว่า "พายุไซโคลน" เท่านั้น (รวมถึงกรณีของพายุโซนร้อนกำลังปานกลาง และพายุโซนร้อนกำลังแรง ที่จะสั้นลงเหลือเพียงคำว่า "พายุโซนร้อน" เท่านั้นด้วย)

ความรุนแรงสูงสุดของพายุหมุนเขตร้อนตามแอ่ง
แอ่ง ชื่อความรุนแรง
แอตแลนติก พายุดีเปรสชันเขตร้อน
พายุโซนร้อน
พายุเฮอร์ริเคน
แปซิฟิกตะวันออก
แปซิฟิกกลาง
แปซิฟิกตะวันตก พายุดีเปรสชันเขตร้อน
พายุโซนร้อน
พายุไต้ฝุ่น
อินเดียเหนือ พายุดีเปรสชันเขตร้อน
พายุโซนร้อน
พายุไซโคลน
ซีกโลกใต้

การตั้งชื่อส่วนในบทความ[แก้]