วิกิพีเดีย:โครงการวิกิทวารวดี/บทความแนะนำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน้าหลักสมาชิกบทความแนะนำรู้หรือไม่อภิปราย
แก้ไข   

บทความแนะนำ

เมืองคูบัว เป็นเมืองโบราณอยู่ห่างจากเมืองราชบุรีไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ 12 กิโลเมตร คาดว่าสร้างมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 ในอาณาจักรทวารวดี และเป็นหนึ่งในเมืองสำคัญของอาณาจักรนี้

ลักษณะทางกายภาพของเมืองนั้นมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วางตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้ มีลำห้วยธรรมชาติไหลผ่านหลายสาย ลำห้วยเหล่านี้เป็นลำห้วยสาขาของลำน้ำสายใหญ่ คือ แม่น้ำอ้อม (แม่น้ำแม่กลองสายเดิม) และแม่น้ำแม่กลอง

การสำรวจเมืองคูบัวตั้งแต่ พ.ศ. 2504 พบโบราณสถานที่ตั้งอยู่ภายในและภายนอกคูเมืองจำนวน 67 แห่ง กรมศิลปากรดำเนินการขุดแต่งแล้วจำนวน 23 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นซากฐานสถูปเจดีย์ที่สร้างขึ้นสืบเนื่องกับศาสนาพุทธ ทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน ...อ่านเพิ่ม

แก้ไข   

บทความแนะนำ

เมืองเสมา เป็นเมืองโบราณอยู่ห่างจากอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาไปทางทิศเหนือ 5 กิโลเมตร คาดว่ามีการอยู่อาศัยตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ต่อมาเป็นเมืองโบราณร่วมสมัยวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมขอม

ลักษณะทางกายภาพของเมืองนั้นมีคูน้ำคันดินล้อมรอบ แผนผังเมืองเป็นรูปกลมรีไม่สม่ำเสมอ มีกำแพงเมืองชั้นเดียว ลำน้ำสำคัญที่ไหลผ่าน คือ ลำตะคองซึ่งไหลผ่านทางทิศใต้ของเมือง และห้วยไผ่ไหลผ่านทางทิศตะวันตกของเมือง เมืองเสมามีลักษณะการสร้างเมืองซ้อนกันสองชั้น เรียกว่า เมืองนอก–เมืองใน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2533 และ พ.ศ. 2542 กรมศิลปากรได้สำรวจและขุดค้นเมืองเสมา พบโบราณสถานที่ตั้งอยู่ภายในเขตเมืองชั้นในและในเขตเมืองชั้นนอกจำนวน 11 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นซากวิหารที่สร้างโดยได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธ ทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน และศาสนาพราหมณ์ ฝ่ายไศวนิกาย ที่ได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมเขมร ...อ่านเพิ่ม

แก้ไข   

บทความแนะนำ

พระธาตุยาคู เป็นโบราณสถานทางตอนเหนือของเมืองฟ้าแดดสงยาง คาดว่าสร้างราวสมัยทวารวดีช่วงพุทธศตวรรษที่ 12–16

โบราณสถานประกอบไปด้วยพระธาตุ เป็นศาสนสถานเนื่องในศาสนาพุทธในสมัยทวารวดี โดยลักษณะฐานอิฐสี่เหลี่ยมยกเก็จมีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน ก่อด้วยอิฐขนาดใหญ่แบบอิฐที่พบในโบราณสถานสมัยทวารวดี ไม่สอปูน ด้านบนเป็นฐานแปดเหลี่ยม เป็นเจดีย์แบบสมัยอยุธยาซ้อนทับและมีหลักฐานว่าบูรณะใหม่ในสมัยรัตนโกสินทร์ รวมความสูงปัจจุบันสูง 15 เมตร มีขนาดกว้าง 16 เมตร

ลักษณะของพระธาตุยาคูจากการขุดแต่งของกรมศิลปากรพบว่า กํอนที่จะเป็นองค์สถูปเจดีย์ ได้พบฐานเดิมซึ่งลึกลงไปจากสถานสถูปเจดีย์ในปัจจุบันอีกชั้นหนึ่ง กํอด้วยอิฐมีผังคล้ายรูปกากบาท แตํมีการยํอมุม ที่ตรงปลายของแตํละด้านที่ยื่นออกไปมีความสูงจากพื้นลํางขึ้นมาประมาณ 1 เมตรเศษ ตํอจากนั้นจึงเป็นฐานที่บูรณะขึ้นใหมํจากลักษณะที่เป็นกองอิฐธรรมดาตามรอยเดิมในลักษณะของฐานเขียง ผังแปดเหลี่ยมซ้อนกันสามชั้น และอีกชั้นที่สี่มีความสูงมากกวําทุกชั้นแตํทําสํวนบนสอบเข้าเล็กน้อย จากนั้นทําตอนบนเหนือขึ้นไปผายออกเล็กน้อย ทําส่วนบนสอบเข้าหาจุดศูนย์กลางโดยการกํออิฐลดหลั่นเป็นขั้นบันไดขึ้นไปตอนบน แล้วจึงเป็นองค์ระฆังแปดเหลี่ยม ทรงอวบอ้วนสอบเข้าตอนปลายเล็กน้อยจากองค์ระฆังขึ้นไปชํารุดแตํถูกบูรณะขึ้นใหม่ ...อ่านเพิ่ม