วิกิพีเดีย:โครงการคำทับศัพท์/การทับศัพท์ภาษาเบลารุส
เนื่องจากภาษาเบลารุสยังไม่เคยมีหลักเกณฑ์การทับศัพท์มาก่อน หน้านี้จึงเป็นแนวทางการทับศัพท์ภาษาเบลารุสสำหรับชื่อเฉพาะต่าง ๆ เพื่อใช้ในสารานุกรมวิกิพีเดียภาษาไทย
หลักทั่วไป
[แก้]1. การทับศัพท์ภาษาเบลารุสนี้ใช้วิธีการถอดเสียงภาษาเบลารุสตามที่เขียนด้วยอักษรซีริลลิกเป็นหลัก โดยถอดเสียงคำตัวอย่างเป็นอักษรโรมันและสัทอักษรสากลไว้ให้เป็นแนวเทียบ
2. ภาษาเบลารุสสมัยใหม่มีอักขรวิธี 2 ระบบ ระบบแรกคืออักขรวิธีทางการซึ่งกำหนดขึ้นในสมัยโซเวียต และระบบที่สองคืออักขรวิธีคลาสสิกหรืออักขรวิธีตารัชเกียวิชซึ่งเคยมีสถานะทางการมาก่อนอักขรวิธีระบบแรก ในที่นี้จะสะกดคำตัวอย่างตามระบบแรกเป็นหลักเนื่องจากเป็นระบบที่ใช้กันแพร่หลายมากกว่าในปัจจุบัน ส่วนการถอดเป็นอักษรโรมันในที่นี้จะใช้ระบบที่ปรากฏใน คำสั่งว่าด้วยการถอดอักษรชื่อภูมิศาสตร์ในสาธารณรัฐเบลารุสเป็นอักษรในชุดตัวอักษรละติน [โรมัน] ซึ่งทางการเบลารุสประกาศใช้ใน พ.ศ. 2543 และแก้ไขปรับปรุงใน พ.ศ. 2550[1] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากระบบการถอดอักษรภาษาเบลารุสเป็นอักษรโรมันยังมีอีกหลายระบบ จึงอาจพบวิสามานยนามเบลารุสที่สะกดเป็นอักษรโรมันตามระบบอื่น ๆ ผู้ทับศัพท์ควรตรวจสอบกับตัวเขียนอักษรซีริลลิกหรือสัทอักษรสากลประกอบกันไปด้วย
3. เสียงพยัญชนะ p, t และ k ในภาษาเบลารุสโดยปรกติมีลักษณะเป็นเสียงไม่พ่นลม[2] จึงทับศัพท์เป็น ป, ต และ ก ตามลำดับ เช่น
падпа́ха
го́луб
тэкст
хо́лад
ко́шка
ко́шыкpadpacha
holub
tekst
cholad
koška
košyk[patˈpaxa]
[ˈɣoɫup]
[tɛkst]
[ˈxoɫat]
[ˈkoʂka]
[ˈkoʂɨk]ปัตปาคา
โฆลุป
แต็กสต์
โคลัต
โกชกา
โกชึก"รักแร้"
"นกพิราบ, นกเขา"
"ข้อความ, ตัวบท"
"ความเย็น"
"แมว"
"ตะกร้า"
4. เสียงพยัญชนะบางเสียงที่ไม่มีในภาษาไทย ให้ทับศัพท์ดังนี้
- 4.1 เสียงพยัญชนะไม่ก้อง x ทับศัพท์เป็น ค เช่น
ху́стка
мана́хchustka
manach[ˈxustka]
[maˈnax]คุสต์กา
มานัค"ผ้าคลุมไหล่"
"พระ"
- 4.2 เสียงพยัญชนะก้อง ɣ ทับศัพท์เป็น ฆ เช่น
гарбу́з
аго́ньharbuz
ahoń[ɣarˈbus]
[aˈɣonʲ]ฆาร์บุส
อาโฆญ"ฟักทอง"
"ไฟ"
- 4.3 เสียงพยัญชนะไม่ก้อง ʂ ทับศัพท์เป็น ช เช่น
шум
шанта́жšum
šantáž[ʂum]
[ʂanˈtaʂ]ชุม
ชันตัช"เสียงรบกวน"
"การกรรโชก"
- 4.4 เสียงพยัญชนะก้อง ʐ ทับศัพท์เป็น ฌ เช่น
жаўто́к
пра́жаžaŭtok
praža[ʐawˈtok]
[ˈpraʐa]เฌาโตก
ปราฌา"ไข่แดง"
"ไจด้ายหรือไหมพรม"
- 4.5 เสียงพยัญชนะไม่ก้อง ʈ͡ʂ ทับศัพท์เป็น ช เช่น
чужы́
ключčužy
kliuč[ʈ͡ʂuˈʐɨ]
[klʲuʈ͡ʂ]ชูฌือ
กลุช"ประหลาด"
"กุญแจ"
- 4.6 เสียงพยัญชนะก้อง ɖ͡ʐ ทับศัพท์เป็น จ เช่น
джгаць
агаро́джаdžhać
aharodža[ɖ͡ʐɡat͡sʲ]
[aɣaˈroɖ͡ʐa]จกัช, จฆัช
อาฆาโรจา"เผา, กัด"
"รั้ว"
5. เสียงพยัญชนะกักเสียดแทรก t͡s และ d͡z เมื่ออยู่ต้นคำให้ทับศัพท์เป็นเสียงพยัญชนะเสียงเดียว แต่เมื่ออยู่ภายในคำหรือท้ายคำให้ทับศัพท์เป็นเสียงพยัญชนะ 2 เสียง ดังนี้
- - เสียง t͡s เมื่ออยู่ต้นคำ ใช้ ซ หรือ ส ขึ้นอยู่กับเสียงที่แวดล้อม เช่น
цуке́рка
цвырку́нcukierka
cvyrkun[t͡suˈkʲerka]
[t͡svɨrˈkun]ซูเกียร์กา
สวือร์กุน"ลูกกวาด"
"จิ้งหรีด"
- เมื่ออยู่ภายในคำ ใช้ ตซ หรือ ตส ขึ้นอยู่กับเสียงที่แวดล้อม เช่น
До́кшыцы
тка́цтваDokšycy
tkactva[ˈdokʂɨt͡sɨ]
[ˈtkat͡stva]โดกชึตซือ
ตกัตส์ตวา"ชื่อเมือง"
"การถักทอ"
- เมื่ออยู่ท้ายคำ ใช้ ตส เช่น
кане́ц
пе́рацkaniec
pierac[kaˈnʲet͡s]
[ˈpʲerat͡s]กาเญตส์
เปียรัตส์"การสิ้นสุด"
"พริก, พริกไทย"
- - เสียง d͡z เมื่ออยู่ต้นคำ ใช้ ซ เช่น
дзылі́нкаць dzylinkać [d͡zɨˈlʲinkat͡sʲ] ซือลินกัช "ส่งเสียงดังกริ๊ง"
- เมื่ออยู่ภายในคำ ใช้ ดซ เช่น
пэ́ндзаль pendzaĺ [ˈpɛnd͡zalʲ] แปนด์ซัล "แปรงทาสี"
6. พยัญชนะเบา พยัญชนะเบลารุสจำนวนหนึ่งเมื่อตามด้วยสระที่นำด้วย [j] (ได้แก่ е, ё, і, ю, я) หรือเมื่อตามด้วยอักษร ь ในขณะออกเสียงจะมีการเคลื่อนฐานกรณ์ไปสู่เพดานแข็งร่วมด้วย (แสดงด้วยสัญลักษณ์ ʲ ในชุดสัทอักษรสากล) ไวยากรณ์เบลารุสเรียกพยัญชนะที่มีลักษณะการออกเสียงเช่นนี้ว่า "พยัญชนะเบา" อักขรวิธีไทยไม่มีรูปพยัญชนะที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะเบาได้ตรงกันแบบหนึ่งต่อหนึ่ง ในการทับศัพท์จึงให้ใช้รูปพยัญชนะไทยตัวเดียวกันกับที่ใช้ถอดเสียงพยัญชนะธรรมดา (หรือ "พยัญชนะหนัก") เช่น
мост
мёд
пах
печ
со́кал
ву́гальmost
miod
pach
pieč
sokal
vuhaĺ[most]
[mʲɵt]
[pax]
[pʲeʈ͡ʂ]
[ˈsokaɫ]
[ˈvuɣalʲ]โมสต์
โมต
ปัค
เปียช
โซกัล
วูฆัล"สะพาน"
"น้ำผึ้ง"
"กลิ่น, กลิ่นหอม"
"เตาอบ"
"เหยี่ยว"
"ถ่านหิน"
- ในกรณีที่เป็นพยัญชนะฟันหรือพยัญชนะปุ่มเหงือก дз, з, н, с, ц เมื่อตามด้วยสระที่นำด้วย [j] เมื่อตามด้วยอักษร ь หรือเมื่อตามด้วยพยัญชนะเบาจำนวนหนึ่ง จะออกเสียงโดยเคลื่อนฐานกรณ์เข้าไปใกล้เพดานแข็งมากจนคล้ายหรือกลายเป็นพยัญชนะเพดานแข็งหรือพยัญชนะเพดานแข็งปุ่มเหงือก[3][4] ในการทับศัพท์ให้ใช้รูปพยัญชนะไทยที่ต่างไปจากรูปพยัญชนะไทยที่ใช้ถอดเสียงพยัญชนะฟันหรือพยัญชนะปุ่มเหงือก (ดูรายละเอียดในตารางเทียบเสียงพยัญชนะ) เช่น
дз ธรรมดา:
дз ตามด้วยอักษร ь:
з ธรรมดา:
з ตามด้วยพยัญชนะเบา:
н ธรรมดา:
н ตามด้วยสระที่นำด้วย [j]:
с ธรรมดา:
с ตามด้วยพยัญชนะเบา:
ц ธรรมดา:
ц ตามด้วยสระที่นำด้วย [j]:пэ́ндзаль
медзь
звон
звер
бана́н
пыта́нне
сноп
сне́жань
цана́
цішыня́pendzaĺ
miedź
zvon
zvier
banan
pytannie
snop
sniežań
cana
cišynia[ˈpɛnd͡zalʲ]
[mʲet͡sʲ ~ mʲet͡ɕ]
[zvon]
[zʲvʲer ~ ʑvʲer]
[baˈnan]
[pɨˈtanʲːe ~ pɨˈtaɲːe]
[snop]
[ˈsʲnʲeʐanʲ ~ ˈɕɲeʐaɲ]
[t͡saˈna]
[t͡sʲiʂɨˈnʲæ ~ t͡ɕiʂɨˈɲæ]แปนด์ซัล
เมียช
ซโวน
ฌเวียร์
บานัน
ปือตัญเญ
สโนป
ชเญฌัญ
ซานา
ชีชือแญ"แปรงทาสี"
"ทองแดง"
"ระฆัง"
"สัตว์ป่า"
"กล้วย"
"คำถาม"
"ฟ่อน"
"ธันวาคม"
"ราคา"
"ความเงียบ"
7. พยัญชนะที่ออกเสียงซ้ำต่อเนื่อง ให้ทับศัพท์ดังนี้
- 7.1 ถ้าพยัญชนะที่ออกเสียงซ้ำต่อเนื่องนั้นอยู่ในตำแหน่งกลางคำ ให้ทับศัพท์โดยซ้อนรูปพยัญชนะไทย เพื่อให้ตัวหนึ่งเป็นตัวสะกดของพยางค์หน้าและอีกตัวหนึ่งเป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ต่อไปตามอักขรวิธีไทย เช่น
падаро́жжа
стаго́ддзеpadarožža
stahoddzie[padaˈroʐːa]
[staˈɣod͡zʲːe]ปาดาโรฌฌา
สตาโฆจเจ"การเดินทาง"
"ศตวรรษ"
- 7.2 ถ้าพยัญชนะที่ออกเสียงซ้ำต่อเนื่องนั้นอยู่ในตำแหน่งต้นคำ ให้ทับศัพท์โดยใช้รูปพยัญชนะไทยเพียงตัวเดียว เช่น
ззяць
ссо́ўвацьzziać
ssoŭvać[zʲːæt͡sʲ]
[ˈsːowvat͡sʲ]แฌช
โซว์วัช"ส่องแสง"
"เลื่อน, เคลื่อน, ย้าย"
- 7.3 พยัญชนะ t͡s ที่ออกเสียงซ้ำต่อเนื่องในตำแหน่งกลางคำ ให้ทับศัพท์โดยใช้ ตซ เช่น
бая́цца
смяя́ццаbajacca
smiajacca[baˈjat͡sːa]
[sʲmʲæˈjat͡sːa]บายัตซา
ชเมียยัตซา"กลัว"
"หัวเราะ"
- 7.4 ในกรณีที่พยัญชนะควบในตำแหน่งต้นคำเป็นคนละเสียงกันในภาษาเบลารุส แต่ในการทับศัพท์ใช้รูปพยัญชนะไทยตัวเดียวกัน ก็ให้ซ้อนรูปพยัญชนะได้ เช่น
сцяна́
шчака́sciana
ščaka[sʲt͡sʲæˈna]
[ʂʈ͡ʂaˈka]ชแชนา
ชชากา"กำแพง"
"แก้ม"
8. พยัญชนะต้นควบที่ไม่เป็นที่คุ้นเคยในภาษาไทย เมื่อประสมกับสระ เ–, แ–, โ–, เ–ีย และ เ–า ให้เลื่อนพยัญชนะตัวแรกไปไว้หน้ารูปสระเพื่อความสะดวกในการอ่าน เช่น
грэ́бці
снег
спаў
змрокhrebci
snieh
spaŭ
zmrok[ˈɣrɛpt͡sʲi]
[sʲnʲex]
[spau̯]
[zmrok]ฆแรปชี
ชเญค
สเปา
ซโมรก"พาย, แจว"
"หิมะ"
"นอนหลับ"
"สนธยา"
9. พยัญชนะเบลารุสโดยทั่วไปออกเสียงตรงตามรูปเขียน แต่เมื่อปรากฏร่วมกับพยัญชนะอื่นในบางบริบท เสียงพยัญชนะบางเสียงอาจถูกตัดออกไปหรืออาจเปลี่ยนแปรไปตามลักษณะการออกเสียงของพยัญชนะที่ตามมา อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเสียงดังกล่าวมักไม่ปรากฏในการออกเสียงวิสามานยนาม จึงไม่ได้แจกแจงไว้ในที่นี้ หากจำเป็นต้องทับศัพท์ ควรถอดเสียงตามเสียงอ่านจริงโดยเทียบกับสัทอักษรในตารางเทียบเสียงพยัญชนะ เช่น
อักษรซีริลลิก อักษรโรมัน คำอ่าน คำทับศัพท์
ตามรูปเขียนคำทับศัพท์
ตามเสียงอ่านการเปลี่ยนแปลงทางเสียง лі́чба ličba [ˈlʲiɖ͡ʐba] ลิชบา ลิจบา การกลมกลืนเสียง зжаць zžać [ʐːat͡sʲ] ซฌัช ฌัช การกลมกลืนเสียง
10. ความสั้นยาวของสระ ในภาษาเบลารุส ความสั้นยาวของเสียงสระไม่มีผลต่อการจำแนกความหมายของคำ แม้ว่าในการออกเสียงจริง สระในพยางค์ที่ไม่ลงเสียงหนักมักออกเสียงสั้นกว่าสระในพยางค์ที่ลงเสียงหนัก[5] แต่อักขรวิธีไทยในปัจจุบันไม่มีรูปสระที่สามารถแสดงเสียงสระสั้นในบางบริบทได้อย่างเหมาะสม ในที่นี้จึงกำหนดให้ถ่ายเสียงสระแตกต่างกันไปตามปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ซึ่งจะแจกแจงไว้ในตารางเทียบเสียงสระ
11. สระธรรมดาที่เขียนเรียงกัน ให้ทับศัพท์ตามเสียงสระทีละเสียง ไม่ทับศัพท์เป็นสระประสม เช่น
Белаазё́рск
тэа́тр
сітуа́цыяBielaaziorsk
teatr
situacyja[ˌbʲeɫa.aˈzʲɵrsk]
[tɛˈatr]
[sʲituˈat͡sɨja]เบียลาอาโฌสก์
แตอัตร์
ชีตูอัตซือยา"ชื่อเมือง"
"โรงละคร"
"สถานการณ์"
12. การใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต มีหลักดังนี้
- 12.1 เสียงพยัญชนะ r ในตำแหน่งท้ายพยางค์ เมื่อทับศัพท์ให้ใช้ ร และใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับไว้ เช่น
хлор
ма́рмурchlor
marmur[xɫor]
[ˈmarmur]โคลร์
มาร์มูร์"คลอรีน"
"หินอ่อน"
- 12.2 เสียงสระ j และ w ซึ่งกำหนดให้ทับศัพท์โดยใช้ ย และ ว ตามลำดับ เมื่อตามหลังสระบางเสียงไม่สามารถออกเสียงตามระบบเสียงภาษาไทยได้ ให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้บน ย และ ว นั้น เช่น
Андрэ́й
хаке́й
сло́ўнікAndrej
chakiej
sloŭnik[anˈdrɛj]
[xaˈkʲej]
[ˈsɫownʲik]อันแดรย์
คาเกียย์
สโลว์ญิก"ชื่อบุคคล"
"ฮอกกี้"
"พจนานุกรม"
- 12.3 พยางค์ที่มีเสียงพยัญชนะท้าย 2 เสียง และมีเสียง r อยู่หลังสระ เมื่อทับศัพท์ให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้บน ร เช่น
скарб
тортskarb
tort[skarp]
[tort]สการ์ป
โตร์ต"ทรัพย์สมบัติ"
"เค้ก"
- 12.4 พยางค์ที่มีเสียงพยัญชนะท้าย 2 เสียงหรือมากกว่า และไม่มีเสียง r อยู่หลังสระ เมื่อทับศัพท์ให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้บนพยัญชนะตัวสุดท้ายเพียงแห่งเดียว เช่น
тыгр
гвозд
шланг
жанр
воўк
Слуцк
тэмбр
цэнтр
поўсцьtyhr
hvozd
šlanh
žanr
voŭk
Sluck
tembr
centr
poŭsć[tɨɣr]
[ɣvost]
[ʂɫanx]
[ʐanr]
[vowk]
[sɫut͡sk]
[tɛmbr]
[t͡sɛntr]
[powsʲt͡sʲ]ตึฆร์
ฆโวสต์
ชลันค์
ฌันร์
โววก์
สลุตสก์
แตมบร์
แซนตร์
โปวชช์"เสือ"
"ตะปู"
"สายยาง"
"ประเภท (ดนตรี, วรรณกรรม ฯลฯ)"
"หมาป่า"
"ชื่อเมือง"
"สีสันเสียง"
"ศูนย์กลาง"
"ขนสัตว์"
- 12.5 พยางค์ที่มีเสียงพยัญชนะท้ายมากกว่า 2 เสียง และมีเสียง r อยู่หลังสระ เมื่อทับศัพท์ไม่ต้องใส่ ร และให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้บนพยัญชนะตัวสุดท้าย เช่น
Саліго́рск
карст
шэрсцьSalihorsk
karst
šersć[salʲiˈɣorsk]
[karst]
[ʂɛrsʲt͡sʲ]ซาลีโฆสก์
กาสต์
แชชช์"ชื่อเมือง"
"คาสต์"
"ขนสัตว์"
13. การใช้ไม้ไต่คู้ ในที่นี้ไม่กำหนดให้ใส่ไม้ไต่คู้เพื่อแสดงเสียงสระสั้น แต่อาจใส่เพื่อให้เห็นแตกต่างจากคําไทยหรือเพื่อช่วยให้ผู้อ่านแยกพยางค์ได้สะดวกขึ้นก็ได้ เช่น
стэк stek [stɛk] สแตก, สแต็ก "กองซ้อน"
14. การใช้เครื่องหมายวรรคตอน มีหลักดังนี้
- 14.1 คำที่เป็นชื่อและนามสกุล เมื่อทับศัพท์ให้ใช้เครื่องหมายวรรคตอนตามการเขียนในภาษาเบลารุส เช่น
Канстанці́н Міцке́віч / Kanstancin Mickievič
Вайнісла́ў Са́віч-Забло́цкі / Vajnislaŭ Savič-Zablocki=
=กันสตัญชิน มิตส์เกียวิช
วัยญิสเลา ซาวิช-ซาโบลตสกี
- 14.2 คำที่เป็นคำวิสามานยนามประเภทอื่น ๆ ที่เขียนแยกกันในภาษาเบลารุส เมื่อทับศัพท์ให้เขียนติดกันไป ไม่ต้องแยกคำตามการเขียนในภาษาเบลารุส เช่น
Ма́р’іна Го́рка / Marjina Horka
На́ша Ні́ва / Naša Niva=
=มาริยีนาโฆร์กา [ชื่อเมือง]
นาชาญีวา [ชื่อหนังสือพิมพ์และสื่อออนไลน์]
- 14.3 คำที่มีเครื่องหมายยัติภังค์เชื่อมกันในภาษาเบลารุส เมื่อทับศัพท์ให้ใส่เครื่องหมายยัติภังค์ตามการเขียนในภาษาเบลารุส เช่น
што-не́будзь / što-niebudź
Давы́д-Гарадо́к / Davyd-Haradok=
=ชโต-เญบุช
ดาวึต-ฆาราโดก
15. ตัวอักษรภาษาเบลารุส มีชื่อเรียกดังนี้
А
Г
Ё
І
Л
О
С
Ў
Ц
Ы
Ю=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=อา
แฆ
โย
ยี
แอล
โอ
แอส
อูเญสกลาโดวาเย
แซ
อือ
ยูБ
Д
Ж
Й
М
П
Т
Ф
Ч
Ь
Я=
=
=
=
=
=
=
=
=
=
=แบ
แด
แฌ
ยีเญสกลาโดวาเย
แอม
แป
แต
แอฟ
แช
เมียกกิซนัก
ยาВ
Е
З
К
Н
Р
У
Х
Ш
Э=
=
=
=
=
=
=
=
=
=แว
เย
แซ
กา
แอน
แอร์
อู
คา
ชา
แอ
16. อักษรย่อ ให้เขียนทับศัพท์โดยไม่ต้องเว้นช่องไฟ เช่น
БДУ / BDU
МТЗ / MTZ=
=แบแดอู (มหาวิทยาลัยแห่งรัฐเบลารุส)
แอมแตแซ (โรงงานแทรกเตอร์มินสค์)
17. คำที่ผูกขึ้นจากอักษรย่อ ซึ่งอ่านออกเสียงได้เสมือนคำคำหนึ่ง มิได้ออกเสียงเรียงตัวอักษร ให้เขียนทับศัพท์ตามเสียงที่ออก เช่น
БелАЗ / BelAZ [bʲeˈɫas]
РІВШ / RIVŠ [rɨwʂ]=
=เบียลัส (โรงงานรถยนต์เบลารุส)
รึวช์ (สถาบันการอุดมศึกษาแห่งสาธารณรัฐ)
18. อักษรย่อชื่อบุคคล ให้เขียนโดยใส่จุดและเว้นช่องไฟระหว่างชื่อกับนามสกุล เช่น
А. Пату́па / A. Patupa
Г. Х. Вашча́нка / H. Ch. Vaščanka=
=อา. ปาตูปา
แฆ. คา. วัชชันกา
ตารางเทียบเสียงพยัญชนะ
[แก้]รูปเขียน | เสียง | ใช้ | ตัวอย่าง | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรซีริลลิก | อักษรโรมัน[# 1] | อักษรซีริลลิก[# 2] | อักษรโรมัน | คำอ่าน | คำทับศัพท์ | ความหมาย | ||
Б | ||||||||
б | b | b, bʲ | บ | бу́льба | buĺba | [ˈbulʲba] | บุลบา | มันฝรั่ง |
бе́гчы | biehčy | [ˈbʲexʈ͡ʂɨ] | เบียคชือ | วิ่ง | ||||
б (เมื่ออยู่ท้ายคำ หรือเมื่อตามด้วยพยัญชนะไม่ก้อง) |
b | p | ป | грыб | hryb | [ɣrɨp] | ฆรึป | เห็ด |
каро́бка | karobka | [kaˈropka] | กาโรปกา | กล่อง | ||||
В | ||||||||
в | v | v, vʲ | ว | вавёрка | vaviorka | [vaˈvʲɵrka] | วาโวร์กา | กระรอก |
ве́тлівы | vietlivy | [ˈvʲetlʲivɨ] | เวียตลีวือ | ใจดี | ||||
Г | ||||||||
г | h | ɣ ~ ʁ,[6] ɣʲ[# 3] |
ฆ | глі́на | hlina | [ˈɣlʲina] | ฆลีนา | ดินเหนียว |
Гео́ргій | Hieorhij | [ɣʲeˈorɣʲij] | เฆียโอร์ฆีย์ | ชื่อบุคคล | ||||
г (เมื่ออยู่ท้ายคำ หรือเมื่อตามด้วยพยัญชนะไม่ก้อง) |
h | x ~ ʁ̥[7] | ค | стог | stoh | [stox] | สโตค | ลอมฟาง |
лёгкі | liohki | [ˈlʲɵxkʲi] | โลคกี | เบา, ง่าย | ||||
Д | ||||||||
д | d | d | ด | даве́днік | daviednik | [daˈvʲednʲik] | ดาเวียดญิก | หนังสืออ้างอิง |
дрэ́ва | dreva | [ˈdrɛva] | แดรวา | ไม้, ต้นไม้ | ||||
д (เมื่ออยู่ท้ายคำ หรือเมื่อตามด้วยพยัญชนะไม่ก้อง) |
d | t | ต | до́след | doslied | [ˈdosʲlʲet] | โดชเลียต | ประสบการณ์ |
адка́з | adkaz | [atˈkas] | อัตกัส | คำตอบ | ||||
дз | dz | d͡z | ดซ (เมื่ออยู่ภายในคำ) | адза́ду | adzadu | [aˈd͡zadu] | อัดซาดู | จากข้างหลัง |
пэ́ндзаль | pendzaĺ | [ˈpɛnd͡zalʲ] | แปนด์ซัล | แปรงทาสี | ||||
дз (เมื่อตามด้วยสระที่นำด้วย [j] เมื่อตามด้วย ь หรือเมื่อตามด้วยพยัญชนะเบา จำนวนหนึ่ง) |
dz | d͡zʲ ~ d͡ʑ | จ | ты́дзень | tydzień | [ˈtɨd͡zʲenʲ] | ตือเจญ | สัปดาห์ |
гадзі́на | hadzina | [ɣaˈd͡zʲina] | ฆาจีนา | ชั่วโมง | ||||
дзьмуць | dźmuć | [d͡zʲmut͡sʲ] | จมุช | เป่า | ||||
дзве́ры | dzviery | [ˈd͡zʲvʲerɨ] | จเวียรือ | ประตู | ||||
дз (เมื่อตามด้วย ь และอยู่ท้ายคำ หรือตามด้วยพยัญชนะไม่ก้อง) |
dz | t͡sʲ ~ t͡ɕ | ช | ле́бедзь | liebiedź | [ˈlʲebʲet͡sʲ] | เลียเบียช | หงส์ |
дзя́дзька | dziadźka | [ˈd͡zʲæt͡sʲka] | แจชกา | ลุง, อาผู้ชาย, น้าผู้ชาย | ||||
дж | dž | ɖ͡ʐ ~ d͡ʒ | จ | джу́нглі | džunhli | [ˈɖ͡ʐunɣlʲi] | จุนฆลี | ป่ารก |
дро́жджы | droždžy | [ˈdroʐɖ͡ʐɨ] | โดรฌจือ | ยีสต์ | ||||
дж (เมื่ออยู่ท้ายคำ) | dž | ʈ͡ʂ ~ t͡ʃ | ช | дождж | doždž | [doʂʈ͡ʂ] | โดชช์ | ฝน |
Ж | ||||||||
ж | ž | ʐ | ฌ | жаўна́ | žaŭna | [ʐawˈna] | เฌานา | นกหัวขวานดำ |
ва́жны | važny | [ˈvaʐnɨ] | วัฌนือ | สำคัญ | ||||
ж (เมื่ออยู่ท้ายคำ หรือเมื่อตามด้วยพยัญชนะไม่ก้อง) |
ž | ʂ | ช | смоўж | smoŭž | [smowʂ] | สโมวช์ | หอยทาก |
кні́жка | knižka | [ˈknʲiʂka] | กญิชกา | หนังสือ | ||||
З | ||||||||
з | z | z | ซ | за́хад | zachad | [ˈzaxat] | ซาคัต | ทิศตะวันตก |
ро́зны | rozny | [ˈroznɨ] | โรซนือ | ต่าง ๆ | ||||
з (เมื่ออยู่ท้ายคำ หรือเมื่อตามด้วยพยัญชนะไม่ก้อง) |
z | s | ส | вы́раз | vyraz | [ˈvɨras] | วือรัส | สำนวนภาษาปาก |
ка́зка | kazka | [ˈkaska] | กัสกา | เทพนิยาย | ||||
з (เมื่อตามด้วยสระที่นำด้วย [j] เมื่อตามด้วย ь หรือเมื่อตามด้วยพยัญชนะเบา จำนวนหนึ่ง) |
z | zʲ ~ ʑ | ฌ | гу́зік | huzik | [ˈɣuzʲik] | ฆูฌิก | กระดุม |
зямля́ | ziamlia | [zʲæmˈlʲæ] | แฌมเลีย | ดิน, พื้นดิน, โลก | ||||
Зьмі́цер | Źmicier | [ˈzʲmʲit͡sʲer] | ฌมีเชร์ | ชื่อบุคคล | ||||
звер | zvier | [zʲvʲer] | ฌเวียร์ | สัตว์ป่า | ||||
з (เมื่อตามด้วย ь และอยู่ท้ายคำ หรือตามด้วยพยัญชนะไม่ก้อง) |
z | sʲ ~ ɕ | ช | ве́тразь | vietraź | [ˈvʲetrasʲ] | เวียตรัช | ใบเรือ |
су́вязь | suviaź | [ˈsuvʲæsʲ] | ซูเวียช | การติดต่อ | ||||
Й | ||||||||
й | j | j | ย (เมื่อประสมกับสระ –ะ, –ึ, –ุ, โ–) | айчы́на | ajčyna | [ajˈʈ͡ʂɨna] | อัยชือนา | บ้านเกิดเมืองนอน |
я́йка | jajka | [ˈjajka] | ยัยกา | ไข่ | ||||
герба́рый | hierbaryj | [ɣʲerˈbarɨj] | เฆียร์บารึย | หอพรรณไม้ | ||||
дзя́куй | dziakuj | [ˈd͡zʲækuj] | แจกุย | ขอบคุณ | ||||
пако́й | pakoj | [paˈkoj] | ปาโกย | ความสงบ | ||||
ย์ (เมื่อประสมกับสระ –ี, เ–, แ–, เ–ีย) | ка́дмій | kadmij | [ˈkadmʲij] | กัดมีย์ | แคดเมียม | |||
ліне́йка | liniejka | [lʲiˈnʲejka] | ลีเญย์กา | ไม้บรรทัด | ||||
крэйда | krejda | [ˈkrɛjda] | แกรย์ดา | ชอล์ก | ||||
піво́няй | pivoniaj | [pʲiˈvonʲæj] | ปีโวแญย์ | โบตั๋น | ||||
кашу́ляй | kašuliaj | [kaˈʂulʲæj] | กาชูเลียย์ | เสื้อเชิ้ต | ||||
К | ||||||||
к | k | k, kʲ | ก | каро́ўнік | karoŭnik | [kaˈrownʲik] | กาโรว์ญิก | คอกวัว |
мя́ккі | miakki | [ˈmʲækʲːi] | เมียกกี | นุ่ม | ||||
Л | ||||||||
л | l | ɫ, lʲ | ล | ло́жак | ložak | [ˈɫoʐak] | โลฌัก | เตียง |
ля́лька | liaĺka | [ˈlʲælʲka] | เลียลกา | ตุ๊กตา | ||||
М | ||||||||
м | m | m, mʲ | ม | маўчы́м | maŭčym | [mawˈʈ͡ʂɨm] | เมาชึม | เงียบ |
мятла́ | miatla | [mʲætˈɫa] | เมียตลา | ไม้กวาด | ||||
Н | ||||||||
н | n | n | น | ная́ўны | najaŭny | [naˈjawnɨ] | นาเยานือ | ที่ใช้ประโยชน์ได้ |
бана́н | banan | [baˈnan] | บานัน | กล้วย | ||||
н (เมื่อตามด้วยสระที่นำด้วย [j] เมื่อตามด้วย ь หรือเมื่อตามด้วยพยัญชนะเบา จำนวนหนึ่ง) |
n | nʲ ~ ɲ | ญ | жні́вень | žnivień | [ˈʐnʲivʲenʲ] | ฌญีเวียญ | สิงหาคม |
ды́ня | dynia | [ˈdɨnʲæ] | ดือแญ | เมลอน | ||||
сёння | sionnia | [ˈsʲɵnʲːæ] | โชญแญ | วันนี้ | ||||
мундзі́р | mundzir | [munʲˈd͡zʲir] | มุญจีร์ | เครื่องแบบ | ||||
П | ||||||||
п | p | p, pʲ | ป | поспех | pospiech | [ˈposʲpʲex] | โปชเปียค | ความสำเร็จ, โชคดี |
паку́пка | pakupka | [paˈkupka] | ปากุปกา | การซื้อ | ||||
Р | ||||||||
р | r | r | ร | рабро́ | rabro | [raˈbro] | ราโบร | ซี่โครง |
Рыго́р | Ryhor | [rɨˈɣor] | รือโฆร์ | ชื่อบุคคล | ||||
С | ||||||||
с | s | s | ซ (เมื่อตามด้วยสระ) | сасна́ | sasna | [saˈsna] | ซัสนา | ต้นสน |
сле́сар | sliesar | [ˈsʲlʲesar] | ชเลียซาร์ | ช่างทำกุญแจ | ||||
ส (เมื่อตามด้วยพยัญชนะ) | сказа́ць | skazać | [skaˈzat͡sʲ] | สกาซัช | พูด | |||
ста́раста | starasta | [ˈstarasta] | สตารัสตา | หัวหน้า, ผู้ใหญ่บ้าน | ||||
ส (เมื่ออยู่ท้ายคำ หรือเมื่ออยู่ท้ายพยางค์) |
а́бцас | abcas | [ˈapt͡sas] | อัปต์ซัส | ส้นรองเท้า | |||
стаме́ска | stamieska | [staˈmʲeska] | สตาเมียสกา | สิ่ว | ||||
с (เมื่อตามด้วยสระที่นำด้วย [j] เมื่อตามด้วย ь หรือเมื่อตามด้วยพยัญชนะเบา จำนวนหนึ่ง) |
s | sʲ ~ ɕ | ช | семсо́т | siemsot | [sʲemˈsot] | เชมโซต | เจ็ดร้อย |
сасі́ска | sasiska | [saˈsʲiska] | ซาชิสกา | ไส้กรอกเวียนนา | ||||
ласо́сь | lasoś | [ɫaˈsosʲ] | ลาโซช | ปลาแซลมอน | ||||
сняда́нак | sniadanak | [sʲnʲæˈdanak] | ชแญดานัก | มื้อเช้า | ||||
Т | ||||||||
т | t | t | ต | то́ўсты | toŭsty | [ˈtowstɨ] | โตว์สตือ | หนา |
тэа́тр | teatr | [tɛˈatr] | แตอัตร์ | โรงละคร | ||||
Ў | ||||||||
ў | ŭ | w | ว (เมื่อประสมกับสระ –ิ, –ึ, เ–, แ–, เ–ีย) |
дзі́ўны | dziŭny | [ˈd͡zʲiwnɨ] | จิวนือ | น่าประหลาดใจ |
уплы́ў | uplyŭ | [upˈɫɨw] | อุปลึว | อิทธิพล, ผลกระทบ | ||||
су́мнеў | sumnieŭ | [ˈsumnʲew] | ซุมเญว | ข้อสงสัย | ||||
пэ́ўны | peŭny | [ˈpɛwnɨ] | แปวนือ | แน่นอน | ||||
спеў | spieŭ | [sʲpʲew] | ชเปียว | การขับร้อง | ||||
ว์ (เมื่อประสมกับสระ –ู, โ–) | кі́нуў | kinuŭ | [ˈkʲinuw] | กีนูว์ | ขว้าง | |||
гало́ўны | haloŭny | [ɣaˈɫownɨ] | ฆาโลว์นือ | หลัก, สำคัญ | ||||
рыдлёўка | rydlioŭka | [rɨdˈlʲɵwka] | รึดโลว์กา | พลั่ว | ||||
аў | aŭ | aw | เ–า | за́ўтра | zaŭtra | [ˈzawtra] | เซาตรา | พรุ่งนี้ |
пра́ўда | praŭda | [ˈprawda] | เปราดา | ความจริง | ||||
яў (เมื่ออยู่ต้นคำ, เมื่อตามหลังสระ, เมื่อตามหลัง ў, เมื่อตามหลัง ь หรือเมื่อตามหลังอะพอสทรอฟี) |
jaŭ | jaw | เยา; –ิเยา (ดูเพิ่มในตารางเทียบเสียงสระ я) |
стая́ў | stajaŭ | [staˈjaw] | สตาเยา | ยืน |
уяўля́ў | ujaŭliaŭ | [ujawˈlʲæw] | อูเยาเลียว | นึกภาพ | ||||
з’яўля́цца | zjaŭliacca | [zʲjawˈlʲæt͡sːa] | ฌิเยาเลียตซา | ปรากฏ | ||||
яў (เมื่อตามหลังพยัญชนะ) | iaŭ | ʲæw | เ–ียว; แ–ว (ดูเพิ่มในตารางเทียบเสียงสระ я) |
гуля́ў | huliaŭ | [ɣuˈlʲæw] | ฆูเลียว | เล่น |
узя́ў | uziaŭ | [uˈzʲæw] | อูแฌว | เอาไป | ||||
Ф | ||||||||
ф | f | f, fʲ | ฟ | фурго́н | furhon | [furˈɣon] | ฟูร์โฆน | รถตู้ |
торф | torf | [torf] | โตร์ฟ | พีต | ||||
Х | ||||||||
х | ch | x, xʲ | ค | хлеб | chlieb | [xlʲep] | เคลียป | ขนมปัง |
шлях | šliach | [ʂlʲæx] | ชเลียค | ถนน, ทาง | ||||
Ц | ||||||||
ц | c | t͡s | ซ (เมื่ออยู่ต้นคำและตามด้วยสระ) | цыбу́ля | cybulia | [t͡sɨˈbulʲæ] | ซือบูเลีย | หัวหอม |
цэ́лы | cely | [ˈt͡sɛɫɨ] | แซลือ | ทั้งหมด | ||||
ส (เมื่ออยู่ต้นคำ และตามด้วยพยัญชนะ) |
цвырку́н | cvyrkun | [t͡svɨrˈkun] | สวือร์กุน | จิ้งหรีด | |||
цно́та | cnota | [ˈt͡snota] | สโนตา | คุณธรรม | ||||
ตซ (เมื่ออยู่ระหว่างสระ เมื่ออยู่ระหว่าง ร กับสระ หรือเมื่อซ้ำเสียงต่อเนื่อง) |
во́цат | vocat | [ˈvot͡sat] | โวตซัต | น้ำส้มสายชู | |||
сэ́рца | serca | [ˈsɛrt͡sa] | แซร์ตซา | หัวใจ | ||||
пыта́цца | pytacca | [pɨˈtat͡sːa] | ปือตัตซา | ถาม | ||||
ต์ซ (เมื่ออยู่ระหว่างพยัญชนะอื่น กับสระภายในคำ)[# 4] |
галубцы́ | halubcy | [ɣaɫupˈt͡sɨ] | ฆาลุปต์ซือ | กะหล่ำปลีม้วนยัดไส้ | |||
ме́сца | miesca | [ˈmʲest͡sa] | เมียสต์ซา | สถานที่, พื้นที่ | ||||
ตส์ (เมื่ออยู่ระหว่างสระ กับพยัญชนะ) |
мо́цны | mocny | [ˈmot͡snɨ] | โมตส์นือ | แข็งแรง, ที่มีพลัง | |||
ца́цка | cacka | [ˈt͡sat͡ska] | ซัตส์กา | ของเล่น | ||||
ตส์ (เมื่ออยู่ท้ายคำ) | гуле́ц | huliec | [ɣuˈlʲet͡s] | ฆูเลียตส์ | ผู้เล่น | |||
шпрыц | špryc | [ʂprɨt͡s] | ชปรึตส์ | กระบอกฉีดยา | ||||
ц (เมื่อตามด้วยสระที่นำด้วย [j] เมื่อตามด้วย ь หรือเมื่อตามด้วยพยัญชนะเบา จำนวนหนึ่ง) |
c | t͡sʲ ~ t͡ɕ | ช | цёця | ciocia | [ˈt͡sʲɵt͡sʲæ] | โชแช | ป้า, อาผู้หญิง, น้าผู้หญิง |
бага́цце | bahaccie | [baˈɣat͡sʲːe] | บาฆัชเช | ความมั่งคั่ง | ||||
цяга́ць | ciahać | [t͡sʲæˈɣat͡sʲ] | แชฆัช | ลาก, ดึง | ||||
цвёрды | cviordy | [ˈt͡sʲvʲɵrdɨ] | ชโวร์ดือ | แข็ง | ||||
Ч | ||||||||
ч | č | ʈ͡ʂ ~ t͡ʃ | ช | чалаве́чы | čalaviečy | [ʈ͡ʂaɫaˈvʲeʈ͡ʂɨ] | ชาลาเวียชือ | ที่เกี่ยวกับมนุษย์ |
тлушч | tlušč | [tɫuʂʈ͡ʂ] | ตลุชช์ | อ้วน | ||||
Ш | ||||||||
ш | š | ʂ | ช | шэ́ршань | šeršań | [ˈʂɛrʂanʲ] | แชร์ชัญ | ต่อ |
верш | vierš | [vʲerʂ] | เวียร์ช | บทร้อยกรอง |
- หมายเหตุ
- ↑ อักษรซีริลลิกที่ตามด้วยอักษร ь เมื่อถอดเป็นอักษรโรมันตามระบบนี้จะใส่เครื่องหมาย ´ กำกับไว้ด้านบน ได้แก่ дзь = dź; зь = ź; ль = ĺ; нь = ń และ сь = ś
- ↑ สระของพยางค์ที่ลงเสียงหนักในคำหลายพยางค์จะมีเครื่องหมาย ´ กำกับอยู่ด้านบน แต่เครื่องหมายนี้มีที่ใช้ในสารานุกรม พจนานุกรม และตำราเรียนภาษาเป็นหลักเท่านั้น ไม่นิยมใช้ในการเขียนหรือการพิมพ์โดยทั่วไป เนื่องจากเจ้าของภาษาทราบอยู่แล้วว่าคำแต่ละคำจะลงเสียงหนักที่พยางค์ใด
- ↑ พยัญชนะ г ในพยัญชนะควบกล้ำบางกลุ่ม รวมถึงในคำยืมและคำเลียนเสียงบางคำ นิยมออกเสียงเป็น ɡ และ ɡʲ (แทนที่จะเป็น ɣ และ ɣʲ ตามลำดับ) ในกรณีเช่นนี้ให้ทับศัพท์เป็น ก เช่น абры́зглы / abryzhly [aˈbrɨzɡɫɨ] = อาบรึซกลือ "(นม) บูด"
- ↑ ในกรณีที่มีเสียงพยัญชนะหลายเสียงนำหน้า ц อยู่แล้ว ในการทับศัพท์อาจพิจารณาตัด ต์ ออกไปเพื่อให้อ่านได้สะดวกขึ้น เช่น Сто́ўбцы / Stoŭbcy [ˈstowpt͡sɨ] = สโตวป์ซือ "ชื่อเมือง"
ตารางเทียบเสียงสระ
[แก้]สระธรรมดา
[แก้]รูปเขียน | เสียง | ใช้ | ตัวอย่าง | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรซีริลลิก | อักษรโรมัน | อักษรซีริลลิก | อักษรโรมัน | คำอ่าน | คำทับศัพท์ | ความหมาย | ||
А | ||||||||
а | a | a | –า (เมื่อเป็นพยางค์เปิดที่ไม่ได้ตามด้วย ดซ, ตซ หรือเมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ตามด้วย ร) |
чарапа́ха | čarapacha | [ʈ͡ʂaraˈpaxa] | ชาราปาคา | เต่า |
царква́ | carkva | [t͡sarkˈva] | ซาร์กวา | โบสถ์ | ||||
тра́нспарт | transpart | [ˈtranspart] | ตรันส์ปาร์ต | การขนส่ง | ||||
–ั (เมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ไม่ได้ตามด้วย ร หรือเมื่อเป็นพยางค์เปิดที่ตามด้วย ดซ, ตซ) |
бе́раг | bierah | [ˈbʲerax] | เบียรัค | ฝั่งน้ำ, ตลิ่ง | |||
вакза́л | vakzal | [vaɡˈzaɫ] | วักซัล | สถานีรถไฟ | ||||
трамва́й | tramvaj | [tramˈvaj] | ตรัมวัย | รถราง | ||||
працо́ўны | pracoŭny | [praˈt͡sownɨ] | ปรัตโซว์นือ | ที่เกี่ยวกับแรงงาน | ||||
паўво́страў | paŭvostraŭ | [pawˈvostraw] | เปาโวสเตรา [อะ + ว] | คาบสมุทร | ||||
О | ||||||||
о | o | o[7] | โ– | малако́ | malako | [maɫaˈko] | มาลาโก | นม |
тваро́г | tvaroh | [tvaˈrox] | ตวาโรค | เนยแข็งชนิดหนึ่ง | ||||
прамо́й | pramoj | [praˈmoj] | ปราโมย | ตรง | ||||
памідо́р | pamidor | [pamʲiˈdor] | ปามีโดร์ | มะเขือเทศ | ||||
баво́ўна | bavoŭna | [baˈvowna] | บาโวว์นา | ฝ้าย | ||||
торт | tort | [tort] | โตร์ต | เค้ก | ||||
У | ||||||||
у | u | u | –ู (เมื่อเป็นพยางค์เปิดที่ไม่ได้ตามด้วย ดซ, ตซ หรือเมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ตามด้วย ร, ว) |
уле́тку | ulietku | [uˈlʲetku] | อูเลียตกู | ในฤดูร้อน |
ма́рмур | marmur | [ˈmarmur] | มาร์มูร์ | หินอ่อน | ||||
ско́кнуў | skoknuŭ | [ˈskoknuw] | สโกกนูว์ | กระโดด | ||||
–ุ (เมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ไม่ได้ตามด้วย ร, ว หรือเมื่อเป็นพยางค์เปิดที่ตามด้วย ดซ, ตซ) |
бру́дны | brudny | [ˈbrudnɨ] | บรุดนือ | สกปรก | |||
бу́йвал | bujval | [ˈbujvaɫ] | บุยวัล | ควาย | ||||
пту́шка | ptuška | [ˈptuʂka] | ปตุชกา | นก | ||||
Ы | ||||||||
ы | y | ɨ | –ือ (เมื่อเป็นพยางค์เปิดที่ไม่ได้ตามด้วย ดซ, ตซ หรือเมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ตามด้วย ร และไม่มีพยัญชนะท้ายตามมาอีก) |
чаты́ры | čatyry | [ʈ͡ʂaˈtɨrɨ] | ชาตือรือ | สี่ |
прыго́жы | pryhožy | [prɨˈɣoʐɨ] | ปรือโฆฌือ | สวย, หล่อ | ||||
інжы́р | inžyr | [jinˈʐɨr] | ยินฌือร์ | มะเดื่อ | ||||
чырво́ны | čyrvony | [ʈ͡ʂɨrˈvonɨ] | ชือร์โวนือ | แดง | ||||
–ื (เมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ตามด้วย ร และยังมีพยัญชนะท้ายตามมาอีก) |
цырк | cyrk | [t͡sɨrk] | ซืร์ก | คณะละครสัตว์ | |||
–ึ (เมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ไม่ได้ตามด้วย ร หรือเมื่อเป็นพยางค์เปิดที่ตามด้วย ดซ, ตซ) |
во́жык | vožyk | [ˈvoʐɨk] | โวฌึก | เม่นแคระ | |||
на́трый | natryj | [ˈnatrɨj] | นาตรึย | โซเดียม | ||||
вы́рашыў | vyrašyŭ | [ˈvɨraʂɨw] | วือราชึว | ตัดสินใจ | ||||
ку́рыца | kuryca | [ˈkurɨt͡sa] | กูรึตซา | ไก่ | ||||
Э | ||||||||
э | e | ɛ | แ– | Эдэ́шка | Edeška | [ɛˈdɛʂka] | แอแดชกา | ชื่อสกุล |
мэ́бля | meblia | [ˈmɛblʲæ] | แมเบลีย | เครื่องเรือน | ||||
Андрэ́й | Andrej | [anˈdrɛj] | อันแดรย์ | ชื่อบุคคล | ||||
люстэ́рка | liusterka | [lʲʉˈstɛrka] | ลุสแตร์กา | กระจก | ||||
Брэст | Brest | [brɛst] | แบรสต์ | ชื่อเมือง | ||||
шэдэ́ўр | šedeŭr | [ʂɛˈdɛwr] | แชแดวร์ | ผลงานชิ้นโบแดง |
สระที่นำด้วย [j]
[แก้]รูปเขียน | เสียง | ใช้ | ตัวอย่าง | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรซีริลลิก | อักษรโรมัน | อักษรซีริลลิก | อักษรโรมัน | คำอ่าน | คำทับศัพท์ | ความหมาย | ||
Е | ||||||||
е (เมื่ออยู่ต้นคำ, เมื่อตามหลังสระ หรือเมื่อตามหลัง ў) |
je | je | เย | Елізаве́та | Jelizavieta | [jelʲizaˈvʲeta] | เยลีซาเวียตา | ชื่อบุคคล |
Еўдакі́я | Jeŭdakija | [jewdaˈkʲija] | เยวดากียา | ชื่อบุคคล | ||||
пае́здка | pajezdka | [paˈjestka] | ปาเยสต์กา | การเดินทาง | ||||
Іўе | Iŭje | [ˈjiwje] | ยิวเย | ชื่อเมือง | ||||
е (เมื่อตามหลัง ь หรือเมื่อตามหลังอะพอสทรอฟี) |
je | je | –ิเย | рэлье́ф | reĺjef | [rɛˈlʲjef] | แรลิเยฟ | รูปนูน |
з’е́сці | zjesci | [ˈzʲjesʲt͡sʲi] | ฌิเยชชี | กิน | ||||
е (เมื่อตามหลังพยัญชนะที่ไม่ใช่ дз, з, н, с, ц) |
ie | ʲe | เ–ีย | пе́вень | pievień | [ˈpʲevʲenʲ] | เปียเวียญ | ไก่ตัวผู้ |
абе́д | abied | [aˈbʲet] | อาเบียต | มื้อกลางวัน | ||||
спеў | spieŭ | [sʲpʲew] | ชเปียว | การขับร้อง | ||||
ву́лей | vuliej | [ˈvulʲej] | วูเลียย์ | รังผึ้ง | ||||
е (เมื่อตามหลังพยัญชนะ дз, з, н, с, ц) |
ie | ʲe | เ– | дзесяціго́ддзе | dziesiacihoddzie | [d͡zʲesʲæt͡sʲiˈɣod͡zʲːe] | เจแชชีโฆจเจ | ทศวรรษ |
глядзе́ў | hliadzieŭ | [ɣlʲæˈd͡zʲew] | ฆเลียเจว | มองดู | ||||
паві́нен | pavinien | [paˈvʲinʲen] | ปาวีเญน | ต้อง, ควร | ||||
музе́й | muziej | [muˈzʲej] | มูเฌย์ | พิพิธภัณฑ์ | ||||
Ё | ||||||||
ё (เมื่ออยู่ต้นคำ, เมื่อตามหลังสระ หรือเมื่อตามหลัง ў) |
jo | jo | โย | ёгурт | johurt | [ˈjoɣurt] | โยฆูร์ต | โยเกิร์ต |
ёсць | josć | [josʲt͡sʲ] | โยชช์ | เป็น, อยู่, คือ, มี | ||||
ра́дыё | radyjo | [ˈradɨjo] | ราดือโย | วิทยุ | ||||
кіёск | kijosk | [kʲiˈjosk] | กีโยสก์ | ซุ้มขายของ | ||||
ё (เมื่อตามหลัง ь หรือเมื่อตามหลังอะพอสทรอฟี) |
jo | jo | –ิโย | мільён | miĺjon | [mʲiˈlʲjon] | มีลิโยน | จำนวนล้าน |
сур’ёзны | surjozny | [suˈrjoznɨ] | ซูริโยซนือ | จริงจัง | ||||
ё (เมื่อตามหลังพยัญชนะ) | io | ʲɵ[7] | โ–[# 1] | дзёгаць | dziohać | [ˈd͡zʲɵɣat͡sʲ] | โจฆัช | น้ำมันดิน |
Фёкла | Fiokla | [ˈfʲɵkɫa] | โฟกลา | ชื่อบุคคล | ||||
жывёла | žyviola | [ʐɨˈvʲɵɫa] | ฌือโวลา | สัตว์ | ||||
рыдлёўка | rydlioŭka | [rɨdˈlʲɵwka] | รึดโลว์กา | พลั่ว | ||||
І | ||||||||
і (เมื่ออยู่ต้นคำ, เมื่อตามหลังสระ หรือเมื่อตามหลัง ў) |
i | ji[# 2][8] | ยี (เมื่อเป็นพยางค์เปิดที่ไม่ได้ตามด้วย ดซ, ตซ หรือเมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ตามด้วย ย, ร) |
іша́к | išak | [jiˈʂak] | ยีชัก | ลา |
салаўі́ | salaŭi | [saɫawˈji] | ซาเลายี | นกไนติงเกล | ||||
ยิ (เมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ไม่ได้ตามด้วย ย, ร หรือเมื่อเป็นพยางค์เปิดที่ตามด้วย ดซ, ตซ) |
імгла́ | imhla | [jimˈɣɫa] | ยิมฆลา | หมอก | |||
даі́ць | daić | [daˈjit͡sʲ] | ดายิช | รีดนม | ||||
і (เมื่อตามหลัง ь หรือเมื่อตามหลังอะพอสทรอฟี) |
i | ji | –ิยี (เมื่อเป็นพยางค์เปิดที่ไม่ได้ตามด้วย ดซ, ตซ หรือเมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ตามด้วย ย, ร) |
сям’і́ | siamji | [sʲæˈmji] | แชมิยี | ครอบครัว |
аб’і́нець | abjinieć | [aˈbjinʲet͡sʲ] | อาบิยีเญช | โอบอุ้ม | ||||
і (เมื่อตามหลังพยัญชนะ) | i | ʲi | –ี (เมื่อเป็นพยางค์เปิดที่ไม่ได้ตามด้วย ดซ, ตซ หรือเมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ตามด้วย ย, ร) |
бібліятэ́ка | biblijateka | [bʲiblʲijaˈtɛka] | บีบลียาแตกา | ห้องสมุด |
фі́рма | firma | [ˈfʲirma] | ฟีร์มา | บริษัท | ||||
–ิ (เมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ไม่ได้ตามด้วย ย, ร หรือเมื่อเป็นพยางค์เปิดที่ตามด้วย ดซ, ตซ) |
прылі́ў | pryliŭ | [prɨˈlʲiw] | ปรือลิว | น้ำขึ้น | |||
клубні́ца | klubnica | [kɫubˈnʲit͡sa] | กลุบญิตซา | สตรอว์เบอร์รี | ||||
Ю | ||||||||
ю (เมื่ออยู่ต้นคำ, เมื่อตามหลังสระ หรือเมื่อตามหลัง ў) |
ju | ju | ยู (เมื่อเป็นพยางค์เปิดที่ไม่ได้ตามด้วย ดซ, ตซ หรือเมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ตามด้วย ร, ว) |
Ю́лія | Julija | [ˈjulʲija] | ยูลียา | ชื่อบุคคล |
збро́ю | zbroju | [ˈzbroju] | ซโบรยู | อาวุธ | ||||
ยุ (เมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ไม่ได้ตามด้วย ร, ว หรือเมื่อเป็นพยางค์เปิดที่ตามด้วย ดซ, ตซ) |
Юшке́віч | Juškievič | [juʂˈkʲevʲiʈ͡ʂ] | ยุชเกียวิช | ชื่อสกุล | |||
саю́з | sajuz | [saˈjus] | ซายุส | สหภาพ | ||||
ю (เมื่อตามหลัง ь หรือเมื่อตามหลังอะพอสทรอฟี) |
ju | ju | –ิยู (เมื่อเป็นพยางค์เปิดที่ไม่ได้ตามด้วย ดซ, ตซ หรือเมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ตามด้วย ร, ว) |
інтэрв’ю́ | intervju | [jintɛrˈvju] | ยินแตร์วิยู | การสัมภาษณ์ |
паб’ю́ | pabju | [paˈbju] | ปาบิยู | ทำ | ||||
–ิยุ (เมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ไม่ได้ตามด้วย ร, ว หรือเมื่อเป็นพยางค์เปิดที่ตามด้วย ดซ, ตซ) |
палью́ць | paĺjuć | [paˈlʲjut͡sʲ] | ปาลิยุช | เท, ริน | |||
вы́п’юць | vypjuć | [ˈvɨpjut͡sʲ] | วือปิยุช | ดื่ม | ||||
ю (เมื่อตามหลังพยัญชนะ) | iu | ʲʉ[7] | –ู[# 3] (เมื่อเป็นพยางค์เปิดที่ไม่ได้ตามด้วย ดซ, ตซ หรือเมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ตามด้วย ร, ว) |
лю́дзі | liudzi | [ˈlʲʉd͡zʲi] | ลูจี | ผู้คน |
цюле́нь | ciulień | [t͡sʲʉˈlʲenʲ] | ชูเลียญ | แมวน้ำ | ||||
–ุ[# 3] (เมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ไม่ได้ตามด้วย ร, ว หรือเมื่อเป็นพยางค์เปิดที่ตามด้วย ดซ, ตซ) |
ключ | kliuč | [klʲʉʈ͡ʂ] | กลุช | กุญแจ, ประแจ | |||
шчаню́к | ščaniúk | [ʂʈ͡ʂaˈnʲʉk] | ชชาญุก | ลูกหมา | ||||
Я | ||||||||
я (เมื่ออยู่ต้นคำ, เมื่อตามหลังสระ หรือเมื่อตามหลัง ў) |
ja | ja | ยา (เมื่อเป็นพยางค์เปิดที่ไม่ได้ตามด้วย ดซ, ตซ หรือเมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ตามด้วย ร) |
я́блык | jablyk | [ˈjabɫɨk] | ยาบลึก | แอปเปิล |
Лі́дзія | Lidzija | [ˈlʲid͡zʲija] | ลีจียา | ชื่อบุคคล | ||||
ยั (เมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ไม่ได้ตามด้วย ร หรือเมื่อเป็นพยางค์เปิดที่ตามด้วย ดซ, ตซ) |
мая́к | majak | [maˈjak] | มายัก | ประภาคาร | |||
Яўге́н | Jaŭhien | [jawˈɣʲen] | เยาเฆียน [ยะ + ว] | ชื่อบุคคล | ||||
я (เมื่อตามหลัง ь หรือเมื่อตามหลังอะพอสทรอฟี) |
ja | ja | –ิยา (เมื่อเป็นพยางค์เปิดที่ไม่ได้ตามด้วย ดซ, ตซ หรือเมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ตามด้วย ร) |
Ілья́ | Iĺja | [jiˈlʲja] | ยีลิยา | ชื่อบุคคล |
білья́рд | biĺjard | [bʲiˈlʲjart] | บีลิยาร์ต | บิลเลียด | ||||
–ิยั (เมื่อเป็นพยางค์ปิดที่ไม่ได้ตามด้วย ร หรือเมื่อเป็นพยางค์เปิดที่ตามด้วย ดซ, ตซ) |
вар’я́т | varjat | [vaˈrjat] | วาริยัต | คนบ้า | |||
п’я́ўка | pjaŭka | [ˈpjawka] | ปิเยากา [ยะ + ว] | ปลิง | ||||
я (เมื่อตามหลังพยัญชนะที่ไม่ใช่ дз, з, н, с, ц) |
ia | ʲæ[7] | เ–ีย | вясна́ | viasna | [vʲæˈsna] | เวียสนา | ฤดูใบไม้ผลิ |
ца́ляў | caliaŭ | [ˈt͡salʲæw] | ซาเลียว | นิ้ว | ||||
шуфля́да | šufliada | [ʂuˈflʲæda] | ชูเฟลียดา | ลิ้นชัก | ||||
кашу́ляй | kašuliaj | [kaˈʂulʲæj] | กาชูเลียย์ | เสื้อเชิ้ต | ||||
я (เมื่อตามหลังพยัญชนะ дз, з, н, с, ц) |
ia | ʲæ[7] | แ– | дзя́цел | dziaciel | [ˈd͡zʲæt͡sʲeɫ] | แจเชล | นกหัวขวาน |
казя́ўка | kaziaŭka | [kaˈzʲæwka] | กาแฌวกา | แมลง, แมง | ||||
ме́сяц | miesiac | [ˈmʲesʲæt͡s] | เมียแชตส์ | เดือน, ดวงจันทร์ | ||||
піво́няй | pivoniaj | [pʲiˈvonʲæj] | ปีโวแญย์ | โบตั๋น |
- หมายเหตุ
- ↑ เนื่องจากไม่มีรูปสระประสมหรือรูปอักษรไทยอื่นใดที่พอจะเทียบเคียงกับเสียง [ʲɵ] ได้ในหนึ่งพยางค์ ในที่นี้จึงเลือกใช้รูปสระเดี่ยว โ– แทน
- ↑ ผู้พูดภาษาเบลารุสจำนวนมากออกเสียงสระ і ในตำแหน่งต้นคำเป็น /i/ แต่การออกเสียงที่ถือว่าเป็นมาตรฐานคือ /ji/
- ↑ 3.0 3.1 เนื่องจากไม่มีรูปสระประสมหรือรูปอักษรไทยอื่นใดที่พอจะเทียบเคียงกับเสียง [ʲʉ] ได้ในหนึ่งพยางค์ ในที่นี้จึงเลือกใช้รูปสระเดี่ยว –ู หรือ –ุ แทน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "National System of Geographic Names Transmission into Roman Alphabet in Belarus" (PDF). Ninth United Nations Conference on the Standardization of Geographical Names. United Nations Statistics Division. 2007. Retrieved October 30, 2022.
- ↑ Bird & Litvin 2021
- ↑ Bird & Litvin 2021, p. 454: "Padluzhny & Chekman (1973: 251) and Padluzhny (2008: 32) suggest that in Belarusian (in contrast to Russian), the palatalized coronal consonants /sʲ/, /zʲ/, /nʲ/, /d͡zʲ/, /t͡sʲ/ have a single palatal place of articulation rather than having two places of articulation, dental (primary) and palatal (secondary). Our observations offer preliminary support for their view: whereas /mʲ/ clearly has two sequential places of articulation (labial – palatal), /nʲ/ sounds more like [ɲ], with a single, palatal place of articulation."
- ↑ Żygis 2003, p. 191–192: "The palatalization in Belorussian system especially with respect to sʲ, zʲ, t͡sʲ, d͡zʲ is strong, especially in the western part of Belorussian, i.e., palatalized sounds are perceived of as alveolo-palatals by Polish native speakers."
- ↑ Чахоўскі & Чахоўская 2010, p. 52 : Націск у беларускай мове па сваёй фанетычнай прыродзе – колькасна-сілавы, г.зн. націскны склад вымаўляецца больш працягла і з большай напружанасцю, чым ненаціскныя.
- ↑ Bird & Litvin 2021, p. 452
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 Bird & Litvin 2021, p. 459
- ↑ Чахоўскі & Чахоўская 2010, p. 102
บรรณานุกรม
[แก้]- Чахоўскі, Г. К.; Чахоўская, Т. Л. (2010). Сучасная беларуская мова. Фанетыка. Фаналогія. Арфаэпія. Мінск: БДУ. (เบลารุส)
- Bird, Sonya; Litvin, Natallia (2021). "Belarusian". Journal of the International Phonetic Association. 51 (3): 450–467. (อังกฤษ)
- Żygis, Marzena (2003). "Phonetic and Phonological Aspects of Slavic Sibilant Fricatives". ZAS Papers in Linguistics. 32 (January): 175–213. (อังกฤษ)