วิกิพีเดีย:เสนอบทความคุณภาพ/การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009[แก้]

การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ถูกเสนอเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 และจะได้รับการพิจารณาภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
เสนอชื่อโดย Horus | พูดคุย
สนับสนุน
  1. สนับสนุนครับ --DoLKuNG 20:14, 27 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)
  2. คิดว่าเพียงพอสำหรับบทความคุณภาพ ยกเว้นความเห็นข้อ 11 ของคุณเอ็มสกายซึ่งมีผลในแง่ความถูกต้องของข้อมูล ถ้าแก้ข้อนี้แล้วก็เห็นว่าน่าจะใช้ได้แล้วค่ะ --Tinuviel | พูดคุย 14:05, 13 มีนาคม 2553 (ICT)
  3. เห็นด้วย สนับสนุนครับ --เอ็มสกาย 13:21, 14 มีนาคม 2553 (ICT)
  4. สนับสนุนครับ --Chale yan 19:15, 14 มีนาคม 2553 (ICT)
  5. เห็นด้วย เหมือนกับทุกๆ คนครับ --Ken-Z! Talk I hate Grean & Vandalism on Wikipedia ! 10:56, 15 มีนาคม 2553 (ICT)
  6. เห็นด้วย --octahedron80 15:10, 17 มีนาคม 2553 (ICT)
  7. เห็นด้วย --Jo Shigeru 15:12, 17 มีนาคม 2553 (ICT)
คัดค้าน
เสนอแนะการปรับปรุง
  1. สงสัยอยู่ว่า บทความที่ยังเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ซึ่งข้อมูลอาจมีการแก้ไขได้ทุกเมื่อ จะสามารถพิจารณาเป็นบทความคุณภาพได้หรือเปล่าคะ? ถ้าหากว่าทฤษฎีเกี่ยวกับโรคหรือการแก้ไขค่อนข้างนิ่งแล้ว มีการปรับแก้เพียงรายงานการติดเชื้อล่าสุด คิดว่าไม่น่าจะต้องติดป้ายสถานการณ์ปัจจุบันนะคะ (คือ ไม่แน่ใจว่าส่วนไหนของบทความที่ยังต้องปรับแก้อีกค่ะ) --Tinuviel | พูดคุย 17:21, 17 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)
    • ผมคิดว่าน่าจะใช้การพิจารณาเดียวกับ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ครับ คือ ให้บทความเขียนดีและนิ่ง ส่วนการอัปเดต... ไม่รู้สิครับ สงสัยวิกิพีเดียไทยยังไม่มีการติดตามในเรื่องนี้ครับ --Horus | พูดคุย 20:42, 19 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)
  2. บทความใช้ทั้ง พ.ศ. และ ค.ศ. ควรเลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง --Sry85 22:50, 18 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)
    • เปลี่ยนไปเลือกใช้ พ.ศ. ทั้งหมดครับ ยกเว้นชื่อของไวรัส --Horus | พูดคุย 20:42, 19 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)
  3. หัวข้อ อาการและการสังเกต ตรงย่อหน้า "ดร. โธมัส อาร์ ฟรีเดน ผู้อำนวยการ CDC แนะนำให้ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว...." ประเด็นตรงนี้ไม่รู้ว่าอยู่ถูกหัวข้อรึเปล่า เหมือนไม่ได้เป็นอาการ หรือการสังเกต --Sry85 14:43, 20 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)
    • คิดว่าน่าจะเป็นการแนะนำการปฏิบัติตัวเมื่อแสดงอาการของโรคน่ะครับ --Horus | พูดคุย 15:02, 20 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)
      • น่าจะตัดออก เพราะดูไม่เกี่ยว ลองย้อนไปดูในภาษาอังกฤษ ตรงส่วนนี้ข้อความดังกล่าวก็ไม่มี --Sry85 15:10, 20 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)
        • ตัดออกแล้วครับ --Horus | พูดคุย 21:30, 28 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)
  4. ในส่วนลิงก์ ที่เป็นลิงก์ข้ามภาษาในภาษาอังกฤษ หากสร้า่งบทความเพื่อความขยายได้ จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาสาระได้มากขึ้นอย่าง Rapid influenza diagnostic test, Direct fluorescent antibody, Reverse transcription polymerase chain reaction,Cross-reactivity, Cochrane Collaboration --Sry85 14:48, 20 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)
  5. ในหัวข้อ การป้องกัน มีเรื่อง โรงเรียน ก็ควรมี สถานที่ทำงาน ด้วยเช่นกัน --Sry85 14:58, 20 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)
    • เพิ่มแล้วครับ --Horus | พูดคุย 21:29, 28 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)
  6. หัวข้อ การจำแนกประเภท เป็นการจำแนกสายพันธุ์ของไวรัส หรือ การเรียกชื่อของโรค ควรระบุให้ชัดเจน--58.8.100.33 01:04, 28 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)
    • ดูเหมือนว่าหัวข้อนี้ไม่ใช่การจำแนกประเภท เพียงแต่เป็นการเรียกชื่อของโรคที่แตกต่างกันในภูมิภาคต่างๆ ใช่หรือไม่คะ? --Tinuviel | พูดคุย 15:42, 28 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)
      • ดู ๆ ไปแล้วก็ถูกครับ ตอนนี้เปลี่ยนชื่อหัวข้อแล้ว --Horus | พูดคุย 21:29, 28 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)
  7. หัวข้อ "ประวัติ" ก็ดูเหมือนเป็นประวัติการระบาดของ "ไข้หวัดใหญ่" โดยทั่วไป ซึ่งกล่าวถึงไข้หวัดใหญ่หลายๆ สายพันธุ์ มิได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับสายพันธุ์หลักที่ระบุในบทความ --Tinuviel | พูดคุย 15:46, 28 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)
    • ผมคิดว่าผู้เขียนเขาตั้งใจให้เป็นแบบนั้นอยู่แล้วครับ คือ เล่าถึงการกลายพันธุ์ กับแหล่งที่มา และสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์อื่น --Horus | พูดคุย 20:47, 28 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)
  8. หัวข้อ "ประวัติ" ในตาราง คำว่า "ไข้หวัดใหญ่ในสุกร" ที่จริงควรเรียกชื่อสากลคือ "ไข้หวัดใหญ่ 2009" (ถ้ามันเป็นอันเดียวกันนะ อ่านแล้วงงเหมือนกัน) --Tinuviel | พูดคุย 15:46, 28 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)
    • มีบางส่วนที่กล่าวถึงการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ในสุกรในอดีตครับ --Horus | พูดคุย 20:47, 28 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)
      • แต่มันระบุปี 2552-2553 นี่คะ? มันคืออันเดียวกันกับไข้หวัดใหญ่ 2009 หรือเปล่า --Tinuviel | พูดคุย 21:39, 28 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)
        • ถูกครับ ตอนนี้ก็แก้ข้อผิดพลาดแล้วครับ -_-" --21:44, 28 กุมภาพันธ์ 2553 (ICT)
  9. มีอ้างอิงข้อ 10 ผิดพลาดเป็นตัวแดงอยู่ครับ --Chale yan 06:40, 1 มีนาคม 2553 (ICT)
  10. การวินิจฉัยโรค คำว่า "จมูกร่วมคอหอย" และ "คอหอยหลังช่องปาก" น่าจะใส่ภาษาอังกฤษกำกับด้วยนะครับ --เอ็มสกาย 17:45, 1 มีนาคม 2553 (ICT)
    • เพิ่มแล้วครับ --Horus | พูดคุย 19:13, 1 มีนาคม 2553 (ICT)
    • ผมขอแก้ "จมูกร่วมคอหอย" เป็น "คอหอยส่วนจมูก" และ "คอหอยหลังช่องปาก" เป็น "คอหอยส่วนปาก" ตามศัพท์บัญญัตินะครับ --MuanN 01:55, 13 มีนาคม 2553 (ICT)
      • บทความคอหอยมีส่วนของคอหอยส่วนจมูกและคอหอยส่วนปากอยู่แล้ว ดังนั้นผมขอเอาวงเล็บภาษาอังกฤษออกนะครับเพราะไม่จำเป็นแล้ว --MuanN 01:59, 13 มีนาคม 2553 (ICT)
  11. ลักษณะเฉพาะของไวรัส "Children showed no cross-reactive antibody reaction to the new strain" แปลเป็น "ในเด็กไม่แสดงปฏิกิริยาการแพ้ยาข้ามกันแอนตีบอดีต่อไวรัสสายพันธุ์ใหม่" มันเกี่ยวกับยาอย่างไรครับ บทความกำลังพูดถึงไวรัสที่เป็นแอนติเจนไม่ใช่หรอครับ หรือผมเข้าใจผิด? --เอ็มสกาย 17:53, 1 มีนาคม 2553 (ICT)
    • ผมแก้เป็น "ไม่มีการสร้างแอนติบอดีที่แสดงปฏิกิริยาข้ามกันมามีผลกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ในเด็ก" แล้ว ลองพิจารณาดูครับ --MuanN 17:15, 13 มีนาคม 2553 (ICT)
    • คิดว่าโอเคครับ --เอ็มสกาย 13:13, 14 มีนาคม 2553 (ICT)
  12. วัคซีน น่าจะมีการกล่าวถึงการผลิตวัคซีนในประเทศไทยด้วยถ้าเป็นไปได้ --เอ็มสกาย 18:02, 1 มีนาคม 2553 (ICT)
  13. การแปลมีบางจุดไม่เป็นภาษาไทย มักใช้กรรมนำหน้าประโยค --Joobjoob 03:14, 6 มีนาคม 2553 (ICT)
    • ผมว่าในการเขียนภาษาอังกฤษกว่าครึ่งจะใช้ประโยคเน้นกรรมนะครับ แต่ว่าผมจะลองปรับรูปประโยคละกันครับ --Horus | พูดคุย 00:20, 13 มีนาคม 2553 (ICT)
      • ภาษาไทยกับภาษาอังกฤษไม่เหมือนกันตรงนี้แหละคะ มีใครพูด เก้าอี้ถูกนั่ง มีใครพูด หนังสือถูกอ่านโดยเธอ มั๊ยคะ มีประโยคจำพวกนี้อยู่จำนวนมาก เต็มไปทั้งบทความไปหมด ควรแก้ไขอย่างเร่งด่วนคะ--Joobjoob 02:00, 13 มีนาคม 2553 (ICT)
        • ประโยคเน้นประธานง่าย ๆ แบบนั้นคงไม่มีใครทำให้เป็นประโยคเน้นกรรมหรอก เพราะมันไม่จำเป็น แต่ในหนังสือพิมพ์เขาก็ใช้ประโยคเน้นกรรมกันเป็นบางส่วน และไม่ใช่ว่าทุกประโยคจะเป็นประโยคเน้นกรรมหมดอีกเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น "ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ดังกล่าวถูกพบครั้งแรกในรัฐเวรากรูซ ประเทศเม็กซิโก..." (เน้นกรรม) ถ้าทำให้เป็นประโยคเน้นประธาน จะได้ "พบไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ดังกล่าวครั้งแรกในรัฐเวรากรูซ ประเทศเม็กซิโก..." ไม่ทราบว่าคุณรู้หรือไม่ว่าใครเป็นประธานในประโยคนี้ ทั้งนี้ ผมไม่ได้ยืนยันว่าจะต้องคงใช้ประโยคเน้นกรรมที่แปลมาจากภาษาอังกฤษจนขัดต่อหลักภาษาไทยจนเกินไป แต่มีความจำเป็นจะต้องคงเพื่อความเหมาะสมในบางจุด --Horus | พูดคุย 02:06, 13 มีนาคม 2553 (ICT)
          • การใช้คำว่าถูก โดยมากใช้ มาช่วยกริยาที่มีความหมายในทางลบ เช่น ถูกดุ, ถูกตำหนิ อย่างประโยค "ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ดังกล่าวถูกพบครั้งแรก" คำว่าถูกไม่น่าใช้ถูก อาจจะปรับเป็น มีการค้นพบ ได้รับการค้นพบ มากกว่า ส่วนประโยคไหนที่ไม่สามารถหาประธานขึ้นนำได้ อาจเปลี่ยนประโยคกรรมเป็นประโยคกริยาโดยเติมคำว่า มี ต้นประโยค เช่น "เขาถูกขัดจังหวะด้วยเสียงเคาะประตู" เปลี่ยนเป็น "มีเสียงเคาะประตูขัดจังหวะขึ้น" --Joobjoob 02:18, 13 มีนาคม 2553 (ICT)
            • แต่มันก็ใช่ว่าจะไม่มีนี่ครับ สำหรับประโยคสุดท้ายของคุณ ขอติงนิดนึงครับว่าระหว่าง "เขาถูกขัดจังหวะด้วยเสียงเคาะประตู" กับ "มีเสียงเคาะประตูขัดจังหวะขึ้น" จะเห็นได้ว่าประโยคแรกให้ข้อมูลมากกว่า (และมันเป็นประโยคเน้นกรรม) สำหรับการใช้คำว่า "ถูก" ผมมองว่าเป็นการเน้นกรรมโดยใช้คำสั้นที่สุด ส่วน "ได้รับการค้นพบ" เป็นคำที่สละสลวยครับ ผมเห็นด้วย แต่มันก็แค่เปลี่ยน "ถูก" เป็นคำ 2-3 พยางค์ จริงไหมครับ --Horus | พูดคุย 02:30, 13 มีนาคม 2553 (ICT)
              • เชิญคุณไปติง รศ. ดร.นววรรณ พันธุเมธา ภาคีสมาชิก สำนักศิลปกรรม ได้เลยคะ เธอแนะนำเช่นนั้น ไม่เกี่ยวกะอิชั้น ดูลิงก์ --Joobjoob 02:36, 13 มีนาคม 2553 (ICT)
                • เรื่องใช้กรรมนำในประโยคที่เน้นกรรมผมเห็นด้วยครับ เพราะกระชับเข้าใจง่ายกว่า และบางทียากต่อการนำประธานขึ้นประโยค อย่าง "เขาถูกขัดจังหวะด้วยเสียงเคาะประตู" เข้าใจได้ง่ายกว่า "มีเสียงเคาะประตูขัดจังหวะขึ้น" <-- ขัดจังหวะใครไม่รู้ต้องขยายต่อ --Chale yan 19:15, 14 มีนาคม 2553 (ICT)
ประโยคข้างบนคงมีบริบท มาก่อนหน้าแล้วคะ บทความแปล คงไม่ได้แปลแค่ประโยคเดียวหรอกนะคะ อย่าดูที่ประโยคเดียว ลองอ่านคำแนะนำ จากลิงก์ การใช้ภาษาไทยในบทแปล ได้เลยคะ บทความนี้มีการใช้คำว่า "ถูก" อยู่ 23 จุด (ตอนนี้ยังไม่ได้ทำการแก้ไขเลยคะ) จาก วิกิพีเดีย:บทความคุณภาพคืออะไร กล่าวว่า (ข) ใช้สำนวนที่อ่านเข้าใจได้ ไวยากรณ์ถูกต้อง อันนี้ใช้ไม่ถูกต้องนะคะ ต้องแก้ไข อิชั้นเป็นคนหนึ่งที่อ่านแล้วสะดุดตาอย่างมาก --Joobjoob 10:50, 15 มีนาคม 2553 (ICT)
  • ถามนิดครับประเด็นคืออะไร ไม่ถูกไวยกรณ์เพราะเน้นกรรม หรือเน้นกรรมแล้วมีคำว่า"ถูก" --Chale yan 10:27, 16 มีนาคม 2553 (ICT)
ประเด็นคือ หลีกเลี่ยงการใช้ประโยคกรรม "ถูก" ในภาษาไทย ในประโยคแปล passive voice จากภาษาอังกฤษ แต่บทความนี้ใช้คำว่า "ถูก" จนเกร่อ (23 จุด) ในทุกรูปแบบประโยคกรรม การใช้คำว่า "ถูก" ในประโยคกรรม สามารถใช้ได้ในประโยคกรรมนัยความหมายไม่ดี (เช่น ถูกดุ, ถูกตำหนิ ถูกลอบทำร้าย) แต่หาก ประโยคกรรมนัยความหมายดี และประโยคกรรมนัยความหมายเป็นกลาง ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า "ถูก" เช่น "ในรายงานฉบับหนึ่ง ผู้ป่วย 5 ราย จาก 14 ราย ได้ถูกรับเข้าสู่หน่วยรักษาพยาบาลผู้ป่วยขั้นวิกฤต" ก็แปลว่า "ได้รับเข้าสู่หน่วยรักษาพยาบาลผู้ป่วยขั้นวิกฤต" ตัดถูกออกไป --Joobjoob 12:10, 16 มีนาคม 2553 (ICT)
  • ผมเห็นด้วยโดยส่วนมากครับ แต่ในสว่นตัว ผมก็ยังชอบ "เขาถูกขัดจังหวะด้วยเสียงเคาะประตู" มากกว่าอยู่ดี ในกรณีกรรมเป็นสิ่งมีชีวิตนะครับ หรืออย่างหนังสือที่ชื่อ "เขาถูกบังคับให้เป็นขุนโจร" ของศรีบูรพา --Chale yan 16:49, 16 มีนาคม 2553 (ICT)

การใช้ "ถูก" จนเกร่อนี้ เป็นภาษาวิบัติอย่างหนึ่ง (ตำราไทยศึกษา มสธ.) โดยปกติเราสามารถละคำว่า "ถูก" ออกได้ เพราะเราทราบว่าประธานที่ไม่สามารถกระทำกริยาเองได้ ก็จะกลายเป็นกรรมของประโยคโดยปริยาย คือ กรรมวาจก (passive voice) เช่น "ร้านปิด" คือร้านไม่เปิดให้บริการ (ร้านปิดตัวเองไม่ได้) ความหมายดั้งเดิม "ถูก" มักใช้ในความหมายเชิงลบ เช่น "ร้านถูกปิด" แสดงว่าอาจทำผิดกฎหมายหรือเกิดเหตุถูกบังคับให้ปิด คุณจะเห็นว่า ไม่ว่าจะมีคำว่า "ถูก" หรือไม่ "ร้าน" ก็เป็นกรรมของประโยคทั้งสอง ภาษาไทยจึงไม่ได้ห้ามมีกรรมวาจก แนวทางแก้ปัญหานี้คือการเรียบเรียงประโยคใหม่ เอาผู้กระทำขึ้นมาเป็นประธาน หรือเอาคำว่าถูกออกในส่วนที่ไม่จำเป็น ซึ่งผมเห็นว่ามันก็ไม่น่ายากเท่าไร --octahedron80 17:02, 16 มีนาคม 2553 (ICT)

แก้ไขไปโดยส่วนมากแล้ว (บกพร่องแค่เล็กน้อย แทนที่จะเถียงกันไปเถียงกันมา แก้เสียเลยก็หมดเรื่อง ไม่ใช่ว่าเขียนแย่มากจนแก้ไม่ไหวเสียเมื่อไหร่) --Tinuviel | พูดคุย 16:21, 17 มีนาคม 2553 (ICT)