วิกิพีเดีย:เสนอบทความคัดสรร/สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี
หน้าตา
- สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ถูกเสนอเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 และจะได้รับการพิจารณาภายในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
- หากบทความไม่ผ่านการพิจารณาในรอบแรก จะได้รับการพิจารณาครั้งสุดท้ายภายในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556
- เสนอชื่อโดย ฉัตรา (พูดคุย)
- สนับสนุน
- เห็นด้วย Sry85 (พูดคุย) 23:53, 21 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- เห็นด้วย พอได้แล้วอย่างลืมจองวันบทความคัดสรรประจำเดือนนะครับ --taweethaも (พูดคุย) 13:33, 22 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- คัดค้าน
- เสนอแนะการปรับปรุง
- อ้างอิง เห็นมีอ้างอิงนำมาจากพันทิปกับทวิตเตอร์ น่าจะเปลี่ยนมาใช้แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือกว่านี้ --Sry85 (พูดคุย) 22:59, 12 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- อ้างอิงควรระบุข้อมูลให้ครบตาม WP:CITE ครับ --Horus non nobis, sed omnibus | พูดคุย 12:44, 22 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- รบกวนระบุตำแหน่งให้ชัดเจนหน่อยได้ไหมค่ะ--ฉัตรา (พูดคุย) 17:07, 22 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- ตัวอย่างเช่น อ้างอิง 33 ครับ (สังเกตจากอ้างอิงจะมีแต่ชื่อลิงก์ครับ) --Horus non nobis, sed omnibus | พูดคุย 17:24, 22 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- รบกวนระบุตำแหน่งให้ชัดเจนหน่อยได้ไหมค่ะ--ฉัตรา (พูดคุย) 17:07, 22 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- ถ้าเป็นไปได้ควรหาข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้เกี่ยวกับพระอาการทางสมอง (หรือข้อโต้แย้งว่าไม่มีพระอาการทางสมอง) ประกอบบทความด้วย (เช่น ความเห็น 12 และ ความเห็น 27) ผมคิดว่ามีความสำคัญต่อบทความสารานุกรมเกี่ยวกับชีวประวัติ --taweethaも (พูดคุย) 14:11, 22 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- เรื่องพระอาการจริง ๆ แล้วเป็นเรื่องส่วนบุคคลนะคะ และพระอาการต่าง ๆ เหล่านี้แหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือที่สุดคือ แถลงการณ์ของสำนักพระราชวัง ในเมื่อสำนักพระราชวังไม่มีการแถลงออกมา ทั้งหมดก็คือคำบอกเล่าของบุคคลอื่นอย่างไม่เป็นทางการทั้งหมดค่ะ และโดยส่วนตัวของดิฉันคิดว่าตามหลักแล้ว อาการป่วยของคนไข้ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ย่อมเป็นสิทธิของผู้ป่วยโดยชอบธรรมที่จะเปิดเผยข้อมูลหรือไม่ก็ได้นะคะ การนำข้อมูลของคนไข้ต่าง ๆ มาลงในบทความชีวประวัติโดยที่เจ้าตัวไม่อนุญาตหรือไม่เปิดเผยย่อมเป็นสิ่งที่ผิดคะ--ฉัตรา (พูดคุย) 17:07, 22 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- (1) ถ้าเป็นเรื่องประวัติการแพทย์ของปัจเจกบุคคล ก็ควรจะได้รับความคุ้มครองและไม่ควรนำมาเปิดเผย แต่สำหรับบุคคลสาธารณะ ความเข้าใจในเกี่ยวเงื่อนไขกับสุขภาพบางประการอาจทำให้เข้าใจเกี่ยวกับชีวประวัติของบุคคลได้ดีขึ้น (เช่น เมื่อผู้อ่านทราบเงื่อนไขที่เป็นข้อจำกัดในการดำรงชีวิต อาจทำให้เห็นความสำเร็จที่อาจเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับคนทั่วไป กลายเป็นความสำเร็จที่ไม่ธรรมดาสำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดทางสุขภาพได้ หรืออาจตีความในแง่มุมอื่นก็ได้แล้วแต่ผู้ศึกษาบทความสารานุกรมจะนำไปใช้อย่างไร)
- ไม่ว่าจะเป็นปัจเจกบุคคลหรือบุคคลสาธารณะ ประวัติทางการแพทย์ ถือเป็นข้อมูลส่วนตัวทั้งสิ้นนะคะ นอกจากจะมีการยินยอมให้เปิดเผยเท่านั้นนะคะ
- (2) ในกระทู้เขียนว่า "ท่านผู้หญิงบุตรีฯ เปิดเผยในสารคดีหลังข่าวในพระราชสำนัก" ดังนั้นถ้ามีข้อมูลที่มีแหล่งอ้างอิงใน public domain เป็น public knowledge ก็อาจลองพิจารณาหามาใส่ดู ได้ยินมาว่าสคริปข่าวในพระราชสำนักต้องผ่านการตรวจสอบจากในวังก่อนออกอากาศอยู่แล้ว ทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้เงื่อนไข ถ้ามีแหล่งอ้างอิงที่ผ่านเกณฑ์+ถ้าหาได้
- ดิฉันไม่เคยได้ดูคลิปข่าวที่ว่านี้คะ แล้วข้อความดังกล่าวก็เป็นข้อความจากเวปบอร์ด ซึ่งดิฉันก็ไม่สามารถยืนยันว่าคลิปข่าวดังกล่าวมีจริงหรือไม่ แต่ถ้าคุณยืนยันว่ามี ก็สามารถหาคลิปข่าวดังกล่าวมาเขียนเพิ่มเติมได้คะ แต่ดิฉันไม่เคยดูคลิปข่าวดังกล่าวจริงๆ ค่ะ
- (3) อันนี้ไม่เกี่ยวกับการปรับปรุงบทความโดยตรง แต่เกี่ยวกับทัศนคติต่อแหล่งข้อมูล ผมเห็นด้วยกับข้อความข้างต้นที่ว่า "พระอาการต่าง ๆ เหล่านี้แหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือที่สุดคือ แถลงการณ์ของสำนักพระราชวัง" แต่ด้วยเหตุผลที่ต่างออกไป คือ ผมยังไม่เห็นแหล่งข้อมูลทางเลือกที่เชื่อถือได้สำหรับกรณีนี้ อย่างไรก็ดีถ้าอ่านตาม วิกิพีเดีย:แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เราให้ความสำคัญกับแหล่งข้อมูลจากบุคคลภายนอก/บุคคลที่สาม ที่มีความน่าเชื่อถือด้วย และอาจให้ความสำคัญมาเป็นลำดับต้นเมื่อเทียบกับแหล่งข้อมูลที่ตีพิมพ์เองและมีส่วนได้ส่วนเสียกับเรื่องที่กล่าวถึง
- --taweethaも (พูดคุย) 17:54, 22 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- อย่างที่เรียนไปข้างต้นนะคะ ดิฉันไม่เคยดูคลิปข่าวดังกล่าว ดังนั้น ดิฉันจึงไม่สามารถยืนยันถึงการมีอยู่ของแหล่งข้อมูลดังกล่าวได้ค่ะ ถ้าคุณทราบข้อมูลก็สามารถนำมาเขียนเพิ่มเติมได้คะ--ฉัตรา (พูดคุย) 22:14, 22 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าผมก็ไม่เคยเห็นเช่นกันครับ แต่อยากค้นหามาใส่ให้สมบูรณ์ (ไม่ได้หมายความว่าค้นเอาจากอินเทอร์เน็ตเท่านั้น แต่รวมถึงค้นจากห้องสมุด หรือแหล่งเก็บสื่อบันทึกอื่นๆ) อย่างไรก็ดีถ้าไม่รู้ปีที่เผยแพร่ย่อมค้นได้ยากมาก อย่างน้อยเราเห็นตรงกันว่าแค่กระทู้พันทิปนั้นอ้างไม่ได้ การอภิปรายนี้บันทึกเก็บไว้ใช้เป็นข้อมูลแก่ผู้อื่นที่ต้องเข้ามาแก้ไขบทความภายหลังในประเด็นดังกล่าวได้ --taweethaも (พูดคุย) 05:55, 23 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- อย่างที่เรียนไปข้างต้นนะคะ ดิฉันไม่เคยดูคลิปข่าวดังกล่าว ดังนั้น ดิฉันจึงไม่สามารถยืนยันถึงการมีอยู่ของแหล่งข้อมูลดังกล่าวได้ค่ะ ถ้าคุณทราบข้อมูลก็สามารถนำมาเขียนเพิ่มเติมได้คะ--ฉัตรา (พูดคุย) 22:14, 22 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)
- (1) ถ้าเป็นเรื่องประวัติการแพทย์ของปัจเจกบุคคล ก็ควรจะได้รับความคุ้มครองและไม่ควรนำมาเปิดเผย แต่สำหรับบุคคลสาธารณะ ความเข้าใจในเกี่ยวเงื่อนไขกับสุขภาพบางประการอาจทำให้เข้าใจเกี่ยวกับชีวประวัติของบุคคลได้ดีขึ้น (เช่น เมื่อผู้อ่านทราบเงื่อนไขที่เป็นข้อจำกัดในการดำรงชีวิต อาจทำให้เห็นความสำเร็จที่อาจเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับคนทั่วไป กลายเป็นความสำเร็จที่ไม่ธรรมดาสำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดทางสุขภาพได้ หรืออาจตีความในแง่มุมอื่นก็ได้แล้วแต่ผู้ศึกษาบทความสารานุกรมจะนำไปใช้อย่างไร)
- เรื่องพระอาการจริง ๆ แล้วเป็นเรื่องส่วนบุคคลนะคะ และพระอาการต่าง ๆ เหล่านี้แหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือที่สุดคือ แถลงการณ์ของสำนักพระราชวัง ในเมื่อสำนักพระราชวังไม่มีการแถลงออกมา ทั้งหมดก็คือคำบอกเล่าของบุคคลอื่นอย่างไม่เป็นทางการทั้งหมดค่ะ และโดยส่วนตัวของดิฉันคิดว่าตามหลักแล้ว อาการป่วยของคนไข้ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ย่อมเป็นสิทธิของผู้ป่วยโดยชอบธรรมที่จะเปิดเผยข้อมูลหรือไม่ก็ได้นะคะ การนำข้อมูลของคนไข้ต่าง ๆ มาลงในบทความชีวประวัติโดยที่เจ้าตัวไม่อนุญาตหรือไม่เปิดเผยย่อมเป็นสิ่งที่ผิดคะ--ฉัตรา (พูดคุย) 17:07, 22 กุมภาพันธ์ 2556 (ICT)