วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/รัฐบาลไทยให้งบ 10.7 ล้านบาทแปลวิกิพีเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ข่าวที่มา http://www.thairath.co.th/content/tech/139704 --octahedron80 11:37, 10 มกราคม 2554 (ICT)

ขอทราบความเห็นของชาววิกิพีเดียต่อข่าวที่ว่า รัฐบาลโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มอบหมายให้ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ใช้งบประมาณจำนวน 10.7 ล้านบาท สนับสนุนการแปลบทความภาษาอังกฤษจากสารานุกรมวิกิพีเดียจำนวน 3 ล้านบทความเป็นภาษาไทย ด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า Statistical Machine Translation โดยเนื้อหาทั้งหมดของสารานุกรมออนไลน์จะอยู่บนเว็บไซต์ http://th.asiaonline.com/ --ผู้ใช้:EdGuru

ถ้ามันแปลได้แบบไม่ผิดเพี้ยน ประหลาด ๆ นะ หุหุ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 10:24, 10 มกราคม 2554 (ICT)
ประหลาดพอควรครับ ใช้โปรแกรมแปลภาษามาแปลนี่ ดูถูกคนไทยมากมาย --Manop | พูดคุย 21:54, 10 มกราคม 2554 (ICT)
แต่ดูแล้ว เว็บเขาก็อ้างอิงมาหนิว่าแปลมาจากวิกิพีเดียที่เป็น CC ก็คงไม่มีปัญหาอะไรหรอก ไม่ได้อ้างว่าเขี่ยเองนี่นา --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 10:27, 10 มกราคม 2554 (ICT)
ลองอ่านดูบทความแฮร์รี่พ็อตเตอร์แล้ว http://th.asiaonline.com/article?article=Harry_potter ยังไงก็สู้คนแปลไม่ได้ แต่ถ้าไม่ซับนรกจนเกินไปอาจเกลาใหม่ไหวอยู่ ที่เหลือคือคนเอาไปใช้น่ะจะขัดเกลาสำนวนเป็นมั้ย? (เผลอๆ แปลไปแปลมาจะเจอหน้าบทความที่เขียนยังไม่เสร็จก็มี) ถ้าหากหยิบไปใช้ทันทีโดยไม่ขัดเกลา ยืนยันได้เลยว่าไม่เวิร์คแน่นอนครับ --Xiengyod 11:06, 10 มกราคม 2554 (ICT)
ในอนาคตคาดว่าจะมีผู้ใช้ขาจรคัดลอกบทความจาก asiaonline กลับมาลงที่วิกิพีเดียภาษาไทยอย่างแน่นอน ดังนั้น (๑) ลิขสิทธิ์ผ่านอยู่แล้ว ไม่ละเมิด (๒) ภาษาอาจไม่ได้ขัดเกลา ต้องตรวจสอบเป็นพิเศษ --octahedron80 11:33, 10 มกราคม 2554 (ICT)
อ่านแล้วงงๆอยู่มาก ต้องการมนุษย์เข้าไปเกลาอีกรอบ --Chale yan 12:49, 10 มกราคม 2554 (ICT)
(สวัสดีทุกท่านครับ) จากเรื่อง "Resist dyeing / การย้อม resist" เขาแปลตอนหนึ่งว่า "หลังจากอาบน้ำร้อนเอาขี้ผึ้ง ในทวีปเอเชีย เทคนิคนี้เป็นประสบการณ์ในจีนในช่วงราชวงศ์(618-907) แล้วล่ะอ่างทอง อินเดีย และญี่ปุ่นในสมัยนารา(645-794) ใน ในตอนแรกมันถูกฝึกโดยชนเผ่าในแอฟริกา Yoruba ไนจีเรียส์ Soninke Wolof และในประเทศเซเนกัล..." จะให้ใครไปอ่านเนี่ย --ธวัชชัย 00:33, 13 มกราคม 2554 (ICT)
เว็บไซต์รุงรังมาก ใครรู้วิธีซ่อนแถบเมนูสีเทาทางซ้ายมือบ้างครับ -- 2T
ไฟล์:Wiki Lueam Lam.jpg
"ความเหลื่อมล้ำทางความรู้"
รุกรังจริงดังว่า มีโฆษณาเต็มไปหมด ดีถ่ง ดีแถ่ก ฯลฯ และดูเหมือนรัฐบาลน่าจะลืมไปว่า วิกิพีเดียเนื้อหาในบทความเปลี่ยนแปลงเสมอ โปรแกรมจะคอยทำงานตามความเปลี่ยนแปลงทุกฝีก้าวด้วยหรือเปล่า ว่าแต่ว่าทำไมต้องเอาวิกิฯ มาเป็นภาพประกอบ "ความเหลื่อมล้ำทางความรู้" กัน
—— คลำสิ พูดคุย | ๒๕๕๔.๐๑.๑๐, ๑๓:๑๓ นาฬิกา (ICT)
รกจริงๆ เข้าไปแล้วปวดตา......เอา 10 ล้าน ไปซื้อคอมให้คนจนๆ มาอ่านวิกิยังจะดีกว่าอีก--Azoma | พูดคุย 13:31, 10 มกราคม 2554 (ICT)
เท่าที่ได้เข้าไปดู ระบบการค้นหาสะดวก แต่การจะค้นหาบทความที่อยู่ในเว้บนั้นออกจะยุ่งยากไม่น้อย เพราะเว็บใช้เสิร์ชเอนจิ้นของกูเกิลช่วยค้น ผลการค้นก็กลับค้นเอาบทความหรือหน้าอื่นที่มีเนื้อดังกล่าวจากกูเกิลมาใช้จริงแทน ซ้ำการจัดหมวดหมู่ค้นหาบทความของเว็บเองก็ยุ่งยาก ดูจะไม่มีเครื่องมืออื่นช่วยค้นหาให้สะดวกเท่าไรนัก แถมการจัดหน้าเว็บก็เล่นสีมากจนแสบตา ดูปวดตาไปหมด ทำไมไม่เอาเงินนี้ไปใช้พัฒนาเว็บอื่นที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น อย่างเช่นเว็บคลังปัญญาไทยเป็นต้น ทำอย่างหลังน่าจะดีกว่าและจัดการทรัพยาการได้คุ้มค่ากว่า --Xiengyod 13:50, 10 มกราคม 2554 (ICT)
ลองสมัครสมาชิกดู ยังสมัครไม่ผ่านเลย เพราะติ๊ก " ฉันยอมรับเงื่อนไขการใช้งานของเอเชีย ออนไลน์" ไม่ได้ แถบสีเทาบังอยู่ -- 2T
เป็นข่าวดี...ถ้าตามสัญญาลิขสิทธิ์ได้ระบุว่า ผลงานที่นำไปใช้ต้องเป็นลิขสิทธิ์แบบเปิด ซึ่งหมายความว่า วิกิไทยจะสามารถนำเนื้อหาถูกแปลโดยการสนับสนุนของรัฐบาล มาทำการแก้ไขให้ดีขึ้นได้ แล้วมาใส่ในวิกิไทย และในทำนองเดียวกันรัฐบาลก็สามารถนำบทความในวิกิไทยที่สมบูรณ์กว่าไปใช้ต่อได้ การร่วมกันพัฒนาแบบนี้ เป็นหัวใจของลิขสิทธิ์แบบเปิดนี้มาตั้งแต่เริ่มใช้ลิขสิทธิ์แบบนี้แล้ว...เข้าใจถูกไหม? --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.24.116.133 (พูดคุย | ตรวจ) 13:57, 10 มกราคม 2554
ยังไม่ค่อยเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น อ่านตามข่าวที่มีลิงก์ให้เหมือนว่ารัฐมุ่งที่ปริมาณมากกว่าคุณภาพ แต่ก่อนจะวิจารณ์กันมากมาย ผมขอถามก่อนว่า
รัฐบาลไทย โดย CAT ให้เงิน 10.7 ล้านบาท แก่ใคร ? ให้เมื่อไหร่ ? เลือกผู้รับงานอย่างไร ? งานแปลมีสเปคอย่างไร ? ส่งมอบเมื่อไหร่ ? ทำไมแสดงผลในเว็บ asia online ? ถ้าใครช่วยสรุปมาได้ดีกว่าข่าว ก็ช่วยกรุณาหน่อยครับ จะได้อภิปรายกันต่อไปได้ถูกต้อง --taweethaも 14:10, 10 มกราคม 2554 (ICT)
ข้อที่คุณ Taweetham พูดมาทำให้ผมนึกอยากรู้เหมือนกัน ข่าวที่รู้มามันก็มีนิดเดียว รายละเอียดแทบไม่มี อยากรู้รายละเอียดมากกว่านี้เหมือนกัน --Xiengyod 14:16, 10 มกราคม 2554 (ICT)
ข่าวมีแค่คร่าว ๆ นี่ก็แค่อยู่ในช่วงเตรียมการ ส่วนรายละเอียดเป็นเรื่องของภายในครับ หวังว่าคงจะใช้งบอย่างเหมาะสมก็แล้วกัน ไม่อ้วนกันไปเสียก่อน --octahedron80 19:09, 10 มกราคม 2554 (ICT)
ประเทศไทยชอบ "Know Who" (ให้รู้ว่าใครทำ) ครัฟ ไม่ชอบ "Know How" (ยืมคำ คุณชาร์ลอต โทณวณิก มาใช้) ทำเว็บความรู้เยอะๆๆๆ แล้วคนไทยจะมีความรู้ :) เว็บความรู้ที่รัฐสนับสนุน นอกจาก ไทยกูดวิว คลังปัญญา กับ TKC แล้วมีอะไรอีก? (เคยเห็นถกกัน จำไม่ได้) // m̈assgo AquaCS4 20:28, 10 มกราคม 2554 (ICT)
@ทวีธรรโมะ เท่าที่อ่านจาก http://www.nicaonline.com/webboard/index.php?topic=8891.0;wap2 เข้าใจว่าเป็นโครงการของเอกชน ที่จะแปล วกพด-ซีไอเอแฟคบุค-ตำราเรียน เป็นภาษาเอเชีย 13 ภาษา (และ จขปจ. คาดหวังรายได้จากโฆษณาในเว็บ) แต่ไม่เข้าใจเหมือนกัน ว่า รบ.ไทย สนับสนุนเอกชนรายนี้ มีที่มาที่ไปอย่างไร เพราะก็มีทั้ง คลังปัญญา / TKC อยู่เป็นเว็บความรู้อยู่แล้ว -- m̈assgo AquaCS4 20:50, 10 มกราคม 2554 (ICT)
ผมนั่งอ่าน รายงานโครงการบรอดแบรนด์แห่งชาติ จนตาลาย ก็ไม่ปรากฏว่าเอ่ยถึงโครงการแปลนี้เลยครับ --Aristitleism 20:56, 10 มกราคม 2554 (ICT)

เฮ้อ... โครงการผลาญงบอีกโครงการแล้วใช่ไหม ... อ่ะนี่ ไปก๊อปบางส่วนจาก แฮรี่ พอตเตอร์ บน เว็บดังกล่าว มาให้ดู อ่านแล้วขำกลิ้งเลยอ่ะ

ใน แฮร์รี่พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม-ครึ่ง ที่ protagonists ซึ่งเป็นปีที่หก ผ่านการเริ่มต้นของนกฮูก และหลักสูตรพิเศษซาลามานเดอร์ ลอร์ดโวลเดอมอร์เป็นพ่อมดอีกสงคราม

น้อง Opalzasw อยู่ไหนเนี่ย โอย...เครียด --Tinuviel | พูดคุย 21:02, 10 มกราคม 2554 (ICT)

น่ากลัว LOTR คงจะไม่รอดเหมือนกันถ้าเกิดไปถึงตรงนั้น อิๆ --Xiengyod 21:08, 10 มกราคม 2554 (ICT)
รอดูข่าวต่อไปดีกว่าครับ --Mahatee | พูดคุย (ฝากข้อความ) 21:10, 10 มกราคม 2554 (ICT)
เว็บแบบนี้ในเมืองนอกมีเยอะมากครับ ใช้โปรแกรมแปลวิกิพีเดียมาเป็นภาษาไทย น่าจะมีเป็นร้อยเป็นพันได้ แต่อันนี้ต่างอยู่อย่างเดียวคือ รัฐบาลไทยให้เงินไปใช้ฟรีๆ นึกถึง 4 ปีก่อน คลังปัญญา (6 ล้านบาท) --Manop | พูดคุย 21:54, 10 มกราคม 2554 (ICT)
พูดตามตรงว่าเสียดายเงิน รัฐบาลไทยค่อนข้างสุรุ่ยสุร่าย อ่านพระราชบัญญัติงบประมาณแต่ละปี มีแต่โครงการอะไรก็ไม่รู้ ที่เป็นเหมือนผักชีโรยหน้า ไม่ถึงรากมันสักที เดี๋ยวก็เลือกตั้งและ แต่ก็มีแต่หน้าเดิม ๆ เวียนกันเข้ามาทำสิ่งเดิม ๆ - - - ชาววิกิฯ เรามาทำจดหมายเปิดผนึกขอให้รัฐทบทวนอีกทีดีไหม ไปศึกษาให้ดีก่อน ไอ้บรอดแบรนด์แห่งชาติเนี่ย ไม่งั้นจะเป็นบอดและแบนแห่งชาติ
—— คลำสิ พูดคุย | ๒๕๕๔.๐๑.๑๑, ๐๑:๕๙ นาฬิกา (ICT)
จากลิงค์ข่าวนี้ ร่วมเป็นอาสาสมัครเอเชีย ออนไลน์-3กันยายน2551 แสดงว่า เอเชียออนไลน์ เป็นกิจการเอกชน โฆษณาเปิดตัวจะดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2551 แต่อาจติดขัดบางเรื่องเลยเพิ่งจะมาเปิดตัวเมื่อวันเด็ก พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมา -- jerasak 02:39, 11 มกราคม 2554
ส่วนเรื่องงบสนับสนุน 10ล้านบาทจาก CAT เดาว่าในทางปฏิบัติเป็นการที่ CAT ซื้อโฆษณาออนไลน์ในเว็บเอเชียออนไลน์ เนื่องจากอยู่ในข่ายที่ ICT และ CAT มีนโยบายสนับสนุน สังเกตจากมีโฆษณาของ CAT วางอยู่ในทุกหน้า -- jerasak 02:40, 11 มกราคม 2554
แปลแล้วเขาก็เอาไว้แค่ในเว็บนั้นอย่างเดียวใช่มั้ยครับ แล้วสมมุติว่าถ้าแปลกันเสร็จแล้วจริง จะมีใครในสมาชิกนี้ไปก๊อปมาลงในเว็บเรามั้ยครับนี่...(แต่สงสัยต้องปรับปรุงภาษาก่อน) -- Mda 08:25, 12 มกราคม 2554

เพิ่มเติม 2 ประเด็นนะครับ

  1. ข้อมูลข่าวเบื้องต้นยังไม่ชัดเจน ยังต้องเดากันต่อไปว่าใครทำอะไร ที่ไหน อย่างไร (ความเห็นส่วนตัวผมคือ ไม่ควรวิจารณ์จนกว่าจะได้ข้อมูลครบ แต่อาจวิพากษ์สื่อว่าทำหน้าที่กันอย่างไร ทำแค่ลอก Press Release มาลงเป็นข่าวหรือเปล่า)
  2. เกี่ยวกับวิกิพีเดียไทยอย่างไร และเราจะมีแผนการรับมืออย่างไร ถ้าข้อ 1 ไม่ชัดเจน ผมว่าข้อ 2 นี้เราก็ทำได้จำกัดมาก ที่ข้างต้นมีความเห็นว่าอาจมีการคัดลอกข้ามโครงการ จากเว็บเขามาสู่วิกิพีเดียไทย เป็นสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นมาที่สุด อย่างไรก็ดีอาจเกิดในทางตรงข้ามด้วยก็ได้ กล่าวคือ ลอกจากวิกิพีเดียไทย ที่แปลด้วยคนแล้วกลับเข้าไปในเว็บโครงการ ถ้าไม่คิดเรื่องเงินทอง ลอกไปลอกมาถ้าทำให้ดีก็ควรยินดีด้วย แต่ถ้าคิดเล็กคิดน้อย เราอาจมองว่า commercial website กำลัง exploit วิกิพีเดีย ในแง่กฎหมายอาจผิดเงื่อนไข NC สำหรับ media บางตัวที่แฝงอยู่ในหน้าบทความได้ ไม่ต้องพูดถึงภาพชอบธรรม ที่ rationale การใช้อาจต่างกันออกไป ถ้าเว็บที่ใช้นั้นเป็น commercial website
    • ส่วนที่ไม่เกี่ยวกับวิกิพีเดียไทยแม้โดยตรงหรือโดยอ้อม เช่นว่า มีใครกินเงินโครงการนี้บ้างนั้น คงไม่สนับสนุนให้พูดกันในหน้าอภิปรายสาธารณะนี้นะครับ (แต่ผมก็อยากรู้)

--taweethaも 07:03, 11 มกราคม 2554 (ICT)

@ทวีธรรโมะ ใคร = กสท. โทรคมนาคม และ asiaonline / ทำอะไร = แปล วกพ. (ก็แปลแล้ว) / ที่ไหน = บนเว็บดังกล่าว / อย่างไร = เว็บดังกล่าวอ้างว่าได้รับการสนับสนุนจาก MICT+CAT และ ปรากฏแบนเนอร์ของ MICT+CAT บนเว็บดังกล่าว
ข้อมูลก็ครบเล้วนะ ไม่ได้ลอก press release เราคลิกเข้าไปอ่านในเว็บนั้น สองสามหน้าก็เห็นครบแล้วนะ เราเลยงงว่า นายหมายความว่าอะไร m̈assgo AquaCS4 08:26, 11 มกราคม 2554 (ICT)
  1. ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ เพิ่งจะเข้าไปอ่าน ผมบอกตรงๆ ว่าจะไม่ยอมคลิกลิงก์ third-party website จากวิกิพีเดียง่ายๆ ถ้าไม่รู้จัก (ไม่อยากเพิ่มจำนวน page view ให้เขาโดยไม่จำเป็น ไม่ว่าจะเว็บอะไรก็ตาม) ทั้งนี้ก็รวมถึง th.asiaonline ด้วย เห็นชื่อนึกว่าเว็บเกมหรืออะไรเทือกนั้น จึงอ่านแต่ http://www.thairath.co.th/content/tech/139704 และข้อความที่อภิปรายกันข้างต้น
  2. ที่ผมว่าลอก press release ผมว่าสื่อมวลชน ถ้าอ่านลิงก์ไทยรัฐอย่างเดียว ไม่กดไปดู th.asiaonline ก็จะไม่ได้ใจความว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะข่าวมันพาดหัวว่า "ไอซีทีรับลูกบรอดแบนด์นายกฯ ลั่น 8ม.ค.เว็บไทยติดเบอร์2โลก" เนื้อหาก็เป็นยอดจำนวนหน้าเว็บที่เป็นภาษาไทยเป็นหลัก
  3. ส่วนที่คุณถาม "หมายความว่าอย่างไร" เอาเป็นว่าผมอยากได้แบบนี้...

สรุป

ข้อเท็จจริง
  • เอเชีย ออนไลน์ พอร์ทอลส์ (ประเทศไทย) จำกัด (บริษัทจดทะเบียนในประเทศไทย พ.ศ. 2550 เป็นบริษัทสาขาของบริษัทเอเชีย ออนไลน์ พีทีอี จำกัด ซึ่งจดทะเบียนในประเทศสิงคโปร์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2551 ผู้บริหารคือ ดิออน วิกกินส์ ผู้ลงทุนคือ JAIC) [1][2]
  • เปิดตัวเว็บไซต์เอเชียออนไลน์ในวันเด็กแห่งชาติ (8 มกราคม พ.ศ. 2554) เพื่อให้คนไทยเข้าถึงฐานความรู้และเนื้อหาสาระที่เป็นภาษาอังกฤษได้ โดยเนื้อหาชุดแรกที่แปลเป็นภาษาไทยคือวิกิพีเดีย สำหรับเว็บไซต์อื่นๆ จะแปลในโอกาสต่อไป ทั้งนี้เป็นโครงการที่ได้รับความร่วมมือกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) รวมถึงรับการสนับสนุนภายใต้นโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ [3]
  • "วันที่เปิดตัวโครงการนี้ (8 ม.ค.) ประเทศไทยจะมีหน้าเว็บภาษาไทยขยับขึ้นเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากเยอรมนี" นายจุติ รมว. ไอซีที กล่าว (กับไทยรัฐ ?) [4]
  • เนื้อหาแปลด้วยคอมพิวเตอร์ จึงยังไม่ถูกต้องสมบูรณ์นัก ทั้งนี้ได้เปิดรับอาสาสมัครตรวจแก้ภาษา ซึ่งผู้อาสาทำงานอาจได้รับรางวัลเป็นทุนการศึกษา[5]
  • เอเชีย ออนไลน์ห้ามมิให้มีการค้นหาและสำรวจ (crawling) หรือการทำดัชนีค้นหา (indexing) ของเครือข่ายและเนื้อหาและการดาวน์โหลดเนื้อหาจำนวนมากโดยบุคคลใดๆ และระบบหรือเครือข่ายใดๆ ทุกเมื่ออย่างเคร่งครัด [6]
  • Asia Online ไม่ขาย ให้เช่า แบ่งปัน หรือให้ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณกับบุคคลที่สาม ยกเว้นแต่ ... (b) ให้กับตัวแทนหรือคู่ค้าที่เชื่อถือได้ ... [7]
  • บริษัทข้ามชาตินี้รับงานแปลหลายอย่าง แต่การแปลวิกิพีเดีย ปัจจุบันทำให้ภาษาไทยเท่านั้น
  • ปัจจุบันทุกหน้าในเว็บนี้มีโฆษณา google ads และ CAT/MICT
  • ข้อเท็จจริงที่ยังไม่แน่ชัดคือ "10.7 ล้านบาท"
    • ออกจากรัฐบาลไทย จากกระเป๋าไหน กระเป๋ากระทรวง (ICT) และ/หรือ รัฐวิสาหกิจ (CAT)
    • สู่กระเป๋าใคร บริษัทที่ไทยหรือสิงคโปร์ บริษัทอื่น หรือ บุคคลธรรมดา
    • เป็นค่าอะไร มีสเปค เงื่อนไข งวดเงิน งวดงานอย่างไร ทำไมต้องเลือกบริษัทนี้ เลือกด้วยการประมูลปกติ หรือวิธีพิเศษเหมือนจีที 200
    • อย่างไรก็ดี ข้อเท็จจริงเหล่านี้อาจไม่เกี่ยวข้องกับวิกิพีเดียไทย จึงอาจละไว้ได้ในที่นี้

อ้างอิง

ข้อคิดเห็น
  • ถ้าเกิดการคัดลอก asia online มายังวิกิพีเดียไทย จะรับมืออย่างไร
  • ถ้าเกิดการคัดลอกจากวิกิพีเดียไทยไปลงเว็บ asia online ท่านจะว่าอย่างไร
  • ถ้าเกิดการย้ายข้ามไปมาของบุคลากรของสองโครงการ จะเกิดอะไรขึ้น จะต้องรับมืออย่างไร wikipedia ไม่มี reward ให้ editor แต่ว่า asia online มี
  • บางคนตั้งข้อสงสัยถึงความโปร่งใสของการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในกรณีเงินกว่าสิบล้านบาท ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิกิพีเดียไทยโดยตรง ไม่น่าจะต้องอภิปรายในที่นี้ เว้นแต่จะคิดว่าเอาเงินมาให้วิกิพีเดียไทยเสียดีกว่า ? ถ้าแบบนี้ เราก็เป็น stakeholder ที่ควรจะร่วมตั้งข้อสังเกตและตรวจสอบ
  • ข้อมูลขัดแย้งกันเองหรือไม่ ถ้าไม่ให้ crawling จะรู้ได้อย่างไรว่า หน้าเว็บมีเท่าไหร่ ? ในทางตรงข้ามถ้าเปิดให้ crawling เนื้อหาแปลผิดๆ ถูกๆ จะท่วม search engine หรือไม่ ? นี่ไม่ค่อยเกี่ยวกับวิกิพีเดีย เว้นแต่จะคิดว่า เนื้อหาที่แปลโดย asia online จะมาแข่งขัน ranking จาก search engine กับวิกิพีเดียไทย

--taweethaも 14:09, 11 มกราคม 2554 (ICT)

ขออภิปรายในแง่ที่ว่า ถ้ามีการคัดลอกจาก asia online มาวิกิพีเดียไทย จะทำอย่างไร : เนื่องจากบทความในเว็บ asia online เป็นบทความที่เกิดจากการใช้เครื่องจักรแปล ดูแล้วไม่ค่อยต่างจาก google translation เพราะความสามารถของเครื่องจักรแปลยังไม่ดีเท่าที่ควร นอกจาก แฮร์รี่ พอตเตอร์ แล้ว ขอยกอีกหนึ่งตัวอย่างนะคะ คือบทความ Arthur Pitney บน asia online เทียบกับต้นฉบับคือ Arthur Pitney บนวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ คุณพิตนีย์เป็นผู้คิดค้นเครื่องประทับตราแสตมป์อัตโนมัติค่ะ ดูตัวอย่างการแปลบน asia online ดังนี้ค่ะ

อาเธอร์ เอช. พิตนี่ย์ (2414-2476) เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในขณะที่อเมริกัน ประดิษฐ์พ่อของตราเมตร

เมตรใช้เป็นตราประทับบนแสตมป์ของประชาชนทุกวันนี้ธุรกิจซองและห่อเมตรใช้ระบบการพิสูจน์ indiciaใด้เหมือนดวงตราไปรษณียากร เป็นยกเลิกมาร์ค และในวันที่ประทับ

พิตนี่ย์คำร้องจดทะเบียนสิทธิบัตร สแตมฟอร์ด คอนเนตทิคัตในโลกเป็นครั้งแรกบนตรามาตรา 9 ธ. ค.. 1901 เขา และแสดงสิ่งประดิษฐ์ของเขามาสองปีแล้ว-แต่มันไม่เป็นเช่นนั้นจนกระทั่งเขากับอังกฤษ-เกิดอุตสาหกรรมวอลเตอร์วส์ว่าตราเมตรได้รับการอนุมัติจากทางสหรัฐอเมริกาบริการไปรษณีย์

ขออุทานนิดนึงค่ะ "พระเจ้าช่วยกล้วยทอด" แปลมาแบบนี้ขอร้องอย่าก๊อปปี้มาเลยค่ะ ไม่รู้จะปรับปรุงบทความอย่างไร ขอแปลใหม่เองจากต้นฉบับดีกว่าค่ะ --Tinuviel | พูดคุย 14:55, 21 มกราคม 2554 (ICT)

อีกนิดนึงค่ะ ถ้าพบบทความที่มีลักษณะเหมือนใช้โปรแกรมแปลมาแบบนี้ ควรถือว่าเป็น "บทความด้อยคุณภาพ" และเสนอให้ลบทิ้ง หรือเปล่าคะ? --Tinuviel | พูดคุย 15:06, 21 มกราคม 2554 (ICT)

ในวิกิพีเดียภาษาไทยเหมือนกับจะลบทันทีครับ แต่เท่าที่เห็นยังไม่มีหลักการดังกล่าวเป็นลายลักษณ์ เพียงแต่เห็นแล้วดูไม่เหมาะสมเท่านั้น --Horus | พูดคุย 22:07, 21 มกราคม 2554 (ICT)

ประเด็นที่ว่าไม่อนุญาตให้ทำ index ผมสงสัยว่าแล้วมันไปโผล่ที่ Google ได้อย่างไรหากมีนโยบายอย่างนี้จริง --Korrawit 23:16, 26 มกราคม 2554 (ICT)

เกี่ยวกับ Statistical Machine Translation

อีกความเห็นนึงจากน้องชายเราเอง เอามาฝากเพื่อพิจารณาค่ะ


.....เรื่องดีๆ ที่ถูกทำให้เสีย

อ่านแล้วรู้สึกว่าเป็นเรื่องของผู้ใหญ่ความรู้น้อยจับเอาผลงานผู้น้อยมาประโคมแบบผิดประเด็น สิ่งที่มีคุณค่าจริงๆ ตรงจุดนี้ผมว่าคืองานวิจัยของนักภาษาศาสตร์ และการ implement สร้าง Statistical Machine Translation มากกว่า เมื่อสร้างเจ้าโปรแกรมนี้ออกมาแล้ว ถามว่า input อะไรล่ะ ที่น่าเอามาใช้ทดสอบการทำงานมากที่สุด ก็คือ wikipedia นี่เอง ที่จะได้ทดสอบสมรรถภาพของ algorithm ที่นักวิจัยสร้างขึ้นมา ยิ่งโปรแกรมสามารถแปลบทความเฉพาะทางได้อ่านรู้เรื่องมากเท่าไหร่ คือความสำเร็จของ "Statistical Machine Translation" มากขึ้นเท่านั้น สิ่งที่มีคุณค่าจริงๆ จึงไม่ใช่ content ที่โปรแกรมนี้สร้างขึ้นมา แต่คือกลไกภายในของโปรแกรมต่างหาก

การนำเอาผลงานมาใช้แปล wikipedia จริง ถือเป็นเรื่องดี เพราะถือเป็นการนำผลงานวิจัยที่ได้มาออกภาคสนามให้เกิดประโยชน์แก่สังคมจริง บรรลุตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยทุกประการ แต่จะมาหลงภูมิใจ ฝันอยากจะเป็น "สารานุกรมออนไลน์ เบอร์ 2 ของโลก" อันนี้ผิดตั้งแต่เริ่มคิดแล้ว จะด้วยความบกพร่องทางความคิดหรือรู้ดีแต่แกล้งทำเนียนเพื่อหวังงบประมาณก็ไม่ทราบ

  1. Generated content ยังไงก็ต้องได้รับการควบคุมดูแลจากมนุษย์ แล้วยิ่งเป็นสารานุกรมแล้ว คุณจะมาหวังหาความรู้จากสิ่งที่สร้างขึ้นโดยอัตโนมัติไม่ได้
  2. Wikipedia เผลอๆ เปลี่ยนแปลงเร็วกว่า web ขายสินค้าอีกมั้ง การมาไล่แปล wikipedia จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
  3. เมื่อเด็กไทยอ่านภาษาอังกฤษไม่รู้เรื่อง จึงแปลเว็บให้เด็กไทยอ่านรู้เรื่อง? เปลี่ยนเป็น พยายามทำให้เด็กไทยอ่านภาษาอังกฤษให้รู้เรื่องดีกว่ามั้ย
  4. สารานุกรมแปลขนาดใหญ่ ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องมาภูมิใจ ถ้าคุณอยากภูมิใจ คุณไม่ต้องไปเก็บเนื้อหาแปลให้เปลืองฮาร์ดดิสค์หรอก คุณไปส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา real-time translator ดีกว่า

อยากแปลเว็บไหน ใส่ input เข้าไป ได้ผลออกมาเลย ไม่เปลืองเนื้อที่ เพราะอย่างที่บอก สิ่งที่มีคุณค่าจริงๆ คือกลไกในการทำงานมากกว่า ไม่ใช่ content

--Tinuviel | พูดคุย 15:04, 11 มกราคม 2554 (ICT)

การเข้าถึงข้อมูลหรือเนื้อหาต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต ที่เป็นภาษาต่างๆ ในเวลานี้ มีโปรแกรมที่ให้บริการแปลแบบออนไลน์ฟรีอยู่หลายเวบ ถ้าสามารถที่จะให้ความรู้แก่ผู้ที่ต้องการใช้งานเกี่ยวกับการแปลภาษา ให้รู้เกี่ยวกับการวิธีการใช้เครื่องมือเหล่านี้ ให้รู้เกี่ยวกับเทคนิคและข้อจำกัดและความซับซ้อนของภาษา ก็อาจจะสามารถสร้างโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลสำหรับผู้มีข้อจำกัดทางภาษาได้มากขึ้น อย่างไรก็ดี ขอให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมีสติ ในการเลือกรับรู้สื่อและข้อมูลที่ดี ใช้เครื่องมือเหล่านี้อย่างระมัดระวัง เพื่อสันติภาพ (ใช้ข้อมูลเพื่อความรักให้กันและกัน)ของสังคม --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 125.24.96.144 (พูดคุย | ตรวจ) 01:33, 12 มกราคม 2554

ดูบรรทัดล่างสุดของแต่ละหน้า ยังมีเครื่องหมายจดทะเบียนของวิกิพีเดียอยู่เลย อาจจะผิดกฎหมายหรือเปล่า?? --Horus | พูดคุย 20:23, 13 มกราคม 2554 (ICT)

มันเป็นคำประกาศลิขสิทธิ์ ไม่ใช่เนื้อหา ไม่มีการแก้ไขว่า "Wikipedia เป็นของ asiaonline" จะผิดได้หรือ --octahedron80 20:28, 13 มกราคม 2554 (ICT)

ไปอ่านมาแล้วครับ ยังไงผมก็ว่าไม่เวิร์คอะ ดูแล้วปวดตา เว็บสีแดงๆ สู้คนมาพิมพ์ลงในวิกิเองดีกว่า แต่มันติดที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยขยันมาพิมพ์อะดิ --เมย์ Mayrakis คุยกันได้ 12:28, 24 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)