วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนวิกิพีเดียภาษาไทยและวิกิมีเดียประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน้านี้เป็นหน้าอภิปรายในวิกิพีเดียภาษาไทย

สวัสดีครับ อย่างที่สมาชิกชุมชนทราบกันดีว่า วิกิมีเดียประเทศไทย (Wikimedia Thailand) หรือสถานะเดิมคือ กลุ่มอาสาสมัครวิกิมีเดียในประเทศไทย เป็นหนึ่งในผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ภายในโครงการวิกิพีเดียภาษาไทยและโครงการพี่น้องที่เกี่ยวข้องมาตั้งแต่ พ.ศ. 2553 โดยจากการอภิปรายและพูดคุยในชุมชนทั้งพื้นที่อภิปรายภายในและนอกหลายครั้ง พบว่าสมาชิกชุมชนบางส่วนมีข้อกังวลเกี่ยวกับการดำเนินงานของ chapter อยู่หลายประเด็น ซึ่งอาจไม่ทราบถึงปัญหาและสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนภาษาไทย อีกทั้งมีอุปสรรคในการติดต่อและประสานงานระหว่างชุมชนและ chapter ทำให้สมาชิกชุมชนไม่อาจเข้าถึงและมีปฏิสัมพันธ์กับทาง chapter ได้โดยสะดวก อันเป็นผลต่อความเข้าใจซึ่งกันและกันและอาจส่งผลต่อการดำเนินงานในกิจกรรมร่วมในอนาคต

ผมจึงเห็นว่าการอภิปรายนี้จะเป็นโอกาสที่ดีที่ทั้งทางชุมชนและ chapter จะร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประเด็นต่าง ๆ ปรับความเข้าใจและหาวิธีการในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในทั้งสองฝ่าย เพื่อเป็นผลประโยชน์ต่อการดำเนินงานร่วมกันในวิกิพีเดียภาษาไทยซึ่งจะมีอายุครบ 20 ปีในปีนี้และโครงการพี่น้องให้ดียิ่งขึ้นกว่าที่ผ่านมาครับ โดยผู้ใช้ทุกท่านทั้งที่เป็นสมาชิกชุมชนหรือ chapter สามารถที่จะเข้าร่วมการอภิปรายเพื่อสอบถาม แจ้งปัญหา เสนอวิธีแก้ไขหรือความเห็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนและ chapter ที่ต้องการให้ทราบได้ตามความเหมาะสม โดยผมขออนุญาต ping ถึงสมาชิก chapter สำคัญคือคุณ @Athikhun.suw, 2ndoct, Pilarbini, Tanapatjms, Karto1, Myesd, และ SoonLorpai: เพื่อให้ทราบถึงการอภิปรายนี้ครับ --Geonuch (คุย) 12:43, 8 มกราคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]

ขออนุญาตแท็ก @Azoma: ที่เป็นผู้ประสานงานที่ดีที่สุด ณ ขณะนี้ด้วยครับ --Horus (พูดคุย) 16:52, 8 มกราคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
ในส่วนของผม รองรับการประสานงานได้ตลอดเวลานะครับ จะทิ้งข้อความไว้ในดิสคอร์ดก็จะสะดวกที่สุด แต่ถ้าอยากเข้าถึงได้ไวก็ติดต่อทางเฟสบุ๊คหรือไลน์นะครับ Azoma | พูดคุย 08:34, 11 มกราคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
สวัสดีครับ คุณ @Geonuch และท่านอื่น ๆ ผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งเลยครับกับประเด็นทั้งหมดที่กล่าวมา ส่วนตัวผมมีข้อคิดเห็นดังต่อไปนี้ครับ
  1. เราควรมีการสนทนากันระหว่าง chapter และชุมชนอย่างต่อเนื่องครับ เพื่อลบช่องว่างที่มีอยู่ระหว่าง chapter และชุมชนภาษาไทย ซึ่งทั้งสอง entities ควรถูกกลืนเป็นหนึ่งเดียวกันให้ได้ครับ (ขณะนี้ผมได้เชิญตนเองเข้า discord แล้ว ถึงจะช้าไปหน่อยก็ตามครับ...)
  2. ตอนนี้ทาง chapter ขาดทั้งกำลังคนและ skillsets หลาย ๆ ด้านซึ่งส่งผลต่อการทำงานหลาย ๆ อย่าง ผมเชื่อมั่นครับว่าในชุมชนภาษาไทยมีอีกหลายท่านที่สนใจจะเข้ามาร่วมขับเคลื่อน chapter โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอนาคตอันใกล้ที่กำลังจะจดทะเบียนเป็นมูลนิธิครับ
  3. เราควรมีการอภิปรายกันในวงกว้างและสร้าง strategic direction ร่วมกันที่ชัดเจนครับเพื่อวางแผนการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในระยะยาว ทั้งในระดับประเทศและสากล
ขอบพระคุณมาก ๆ เลยนะครับที่ยกประเด็นเหล่านี้ขึ้นมาซึ่งเราคงต้องหารือกันอย่างเป็นรูปธรรมกันต่อไป ผมยินดีรับฟังความเห็นจากทุก ๆ ท่านและหวังเป็นอย่างยิ่งครับว่าเราจะดำเนินไปข้างหน้าร่วมกันอย่างมั่นคงครับ --Athikhun.suw (คุย) 13:49, 11 มกราคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]

เพิ่งจะผ่านมาเห็นนะครับอาจจะไม่ได้เข้าใจทั้งหมดว่าเรื่องราวปัญหาและอุปสรรคในปัจจุบันมีอะไรบ้าง แต่เพิ่มประเด็นชวนให้คิด 3 ประเด็น

  1. เมื่อชุมชนเติบโตขึ้นก็มีการจัดองค์กรและมีเส้นแบ่งเกิดขึ้นเป็นหน่วย "ชุมชน" "โครงการ" หรือ มูลนิธิในต่างประเทศและในประเทศไทย หลายคนที่อยู่มาก่อนแต่เดิมอาจจะไม่ทันรู้ตัวว่าได้ถูกเส้นแบ่งกำหนดให้ตัวเองไปอยู่ในส่วนใดเข้าไปแล้ว ทั้งที่จริงจะอยู่ตรงไหนหรือไม่อยู่ตรงไหนก็ยังไม่แน่ใจว่าตนเองหรือผู้อื่นกำหนด หรือคนที่ตั้ง WMTH ขึ้นมาก็อาจไม่ทันคิดว่าได้สร้างเส้นแบ่งอาณาเขตตรงนี้ขึ้นมาโดยไม่รู้ตัว ข้อนี้เคยเขียนมาหลายครั้งแล้ว คงไม่ต้องเพิ่มไปมากกว่านี้อีก
  2. เรามีความคาดหมายที่ต่างกันระหว่างอาสาสมัครทั่วไป อาสาสมัครที่ได้รับเลือกได้รับความไว้ใจให้มีสิทธิเพิ่มเติม รวมถึงลูกจ้างที่รับเงินเดือน หรือเหตุการณ์ใดที่มีเงินหรือผลประโยชน์อื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การสนับสนุนให้เดินทางให้ทำกิจกรรม มาตรฐานความคาดหมายเหล่านี้มีต่างกันไปในประเทศไทยและต่างประเทศ มุมมองของผู้ให้ทุนมาและมุมมองของผู้รับทุน ฯลฯ ผมเข้าใจว่าการจดทะเบียนเป็นมูลนิธิจะนำหลักการควบคุมทางการเงินที่เป็นมาตรฐานเข้ามาจัดการกับทุนสนับสนุนที่มากขึ้นให้สอดรับกันไป ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาความยุ่งยากในการจัดการนี้เป็นต้นทุนของชุมชนอย่างหนึ่ง และหากไม่บริหารจัดการให้ดีก็กลายเป็นว่าการมีเงินทำให้องค์กรเดือดร้อนกว่าการอยู่อย่างไม่มีเงินก็เป็นได้
  3. ขยายความเกี่ยวกับประเด็นความสัมพันธ์ทั้งมวลออกไปอึกหนึ่งขั้น คือ ความสัมพันธ์ระหว่างวิกิพีเดียภาษาไทย กับ วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ โครงการพี่น้องในภาษาไทย หรือ WMF ก็ควรได้รับการพิจารณาไปพร้อมกันในกรอบความคิดที่อาจคล้ายคลึงกันในบางประเด็น หลายครั้งเราไปขอความร่วมมือก็ได้ผลตอบรับกลับมาดี หลายครั้งเข้าไปก็ไม่ได้รับความสนใจหรือการตอบสนองในกรอบเวลาที่มีเรามีความจำเป็นต้องใช้งาน และในทางตรงข้าม เมื่อมีการขอความร่วมมือจาก WMF (หรือโครงการ/ชุมชนอื่นที่เป็นสากล) ให้ตอบแบบสอบถามหรือร่วมกระบวนการต่างๆ (ที่เรามองว่าบางอันก็เป็นประโยชน์แต่ส่วนมากไม่เกี่ยวข้องหรือเสียเวลา) เราในฐานะ (ชุมชน หรือ WMTH หรืออาสาสมัครปัจเจกชน) ได้ให้ความร่วมมือกับเขาเพียงพอกับความคาดหวังของเขาหรือไม่
    • เราเคยตั้งคำถามหรือวางกลยุทธ์เพื่อให้ได้ความสัมพันธ์ที่เกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่ายในส่วนนี้หรือไม่ อันนี้ไม่ได้หมายความว่าให้เล่นเกมการเมืองไปวัน ๆ แต่ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อการบรรลุเป้าหมายเป็นสำคัญ

ทั้งสามประเด็นสะท้อนมาจากภาพที่เคยเกี่ยวข้องกับทุกฝ่ายมานะครับ บทบาทปัจจุบันของผมอยู่ที่ m:Grants:Regions/ESEAP โดยไม่พิจารณาทุนของไทยเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน / ขอแบ่งปันว่าประเทศอื่นในภูมิภาคก็อาจมีประเด็นคล้ายคลึงกัน แต่คงจะไม่ใช่เหมือนกันทั้งหมด และผมค่อนข้างคิดไปในทำนองว่ายิ่งทุนให้ไปมากและเร็วเกินไปจะยิ่งทำให้ปัญหาหนักข้อขึ้น เพราะระบบต้องปรับตัวตามให้ทัน (เวลาประชุมกันในหัวข้อเกี่ยวกับไทยผมไม่ได้เข้าไปมีส่วนตัดสินใจนะครับ แต่ของประเทศอื่นถ้าเราเห็นว่าชุมชนไม่เข้มแข็งก็ไม่ควรให้ทุนก้าวกระโดดจากปีก่อนหน้าไปมากนัก) --Taweethaも (คุย) 18:07, 13 มกราคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]

จริง ๆ ประเด็นหลักที่ผมได้พูดคุยกับคุณ Geonuch และสมาชิกคนอื่น ๆ คือการไม่มีช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างกันที่น่าเชื่อถือ บวกกับการบริหารจัดการที่ยังไม่มีการกระจายงานที่ดีพอ ทำให้ตอนนี้งานทุกอย่างกลายเป็นการสั่งงานจากคนไม่กี่คนโดยที่คนภายนอกแทบไม่มีโอกาสทราบเรื่องมาก่อนครับ อยากให้มองประเด็นนี้เป็นอันดับแรก ๆ ก่อนเพื่อแก้ไขความไม่เข้าใจระหว่างกันครับ แล้วเชื่อว่าเรื่องอื่น ๆ สามารถตามมาทีหลังได้ครับ --Horus (พูดคุย) 18:41, 13 มกราคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
4. เห็นด้วยนะครับว่าการสื่อสารเป็นประเด็นสำคัญ ผมไม่มีคำตอบให้ แต่ให้ชวนคิดว่าเพียงการใช้หน้าในวิกิพีเดีย/หน้าประกาศและหน้าพูดคุย พร้อมการให้เวลามาตรฐานในการอภิปรายเพียงพอหรือไม่ ถ้าไม่พอจะแก้ไขอย่างไร (เคยมีความพยายามเอาสื่อสังคมต่าง ๆ มาใช้เป็นระยะ ไม่ใช่เพียงในประเทศไทย แต่ก็อยู่กันไปได้เป็นช่วง ในตอนแรกในประเทศไทยมีแรงต้านอยู่มากเสียด้วยซ้ำ ดังนั้นสำหรับใครก็ตามที่มาช่วยกันดูแลตรงนี้ ผมก็ขอเป็นกำลังใจให้ และอยากให้ท่านเป็นนายของสื่อ สื่อเป็นเครื่องมือหรือช่องทางที่ใช้เพื่อเป้าหมายเท่านั้น อย่างไปโทษว่าสื่อไม่ดี ไม่ครบถ้วน ใช้งานยาก หรือ มีมากช่องทางเกินไป ฯลฯ สื่อใช้ให้เหมาะกับที่เหมาะกับเวลาก็จะได้การสื่อสารเป็นผลได้ดีที่สุดเท่าที่เป็นได้ตามสภาพการณ์ในเวลานั้น ซึ่งในหลายครั้งต่อให้ดีที่สุดก็ยังไม่บรรลุเป้าได้ตามความคาดหมาย เพราะประเด็นที่ชวนคิดข้างบนอีกข้อก็คือความคาดหมายนั่นเอง) (ป.ล. 1 ไม่ได้ต้านทางการใช้สื่อใหม่ แต่สื่อใหม่ก็มาพร้อมคนใหม่ คลื่นลูกใหม่ และคนหน้าเก่าก็อาจจะขอจากลาวงการไปตามกาลเวลาที่เหมาะสมนะครับ เพราะว่าแรงจูงใจที่ดึงแต่ละคนเข้ามาและปัจจัยความผูกพันของอาสาสมัครแต่ละคนก็แตกต่างกันไป) (ป.ล. 2 ก่อนจะมี discord เคยมีการใช้ email group เป็นทางการของวิกิมีเดียในชื่อ internal wiki สำหรับกลุ่มสากลและมีกลุ่มคล้ายกันสำหรับไทย ในอดีตเคยเป็นช่องทางที่ประสบความสำเร็จ เป็น knowledge management ที่รวมว่าเราเคยได้ทำอะไรไปแล้ว มีช่องทางติดต่อประสานงานอย่างไร คนมาใหม่จะได้เรียนรู้จากคนเก่าหรือเอกสารที่คนเก่าเคยเขียนไว้ แต่ผมเข้าใจว่าเลิกไปด้วยปัจจัยภายในและภายนอก ภายในคือเราไม่ใช้หรือไม่ใช้ให้สร้างสรรค์ ภายนอกคือเป็นเป้าต่อภัยคุกคามเพราะอาจมีข้อมูลที่ยืนยันตัวบุคคลได้อยู่ในกลุ่มหรือใน internal wiki - เทคโนโลยีก็เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ความจำเป็นของ knowledge management ในส่วนนี้คือมีข้อมูลบางส่วนไม่เป็นสาธารณะอยู่บ้าง เช่น ในกระบวนการทำความเข้าใจกันกับองค์กรภายนอก ผู้สนับสนุนขอให้มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาแต่เราปฏิเสธเพราะขัดหลักการพื้นฐาน หรือ เราได้ขอในบางสิ่งที่ผู้สนับสนุนปฏิเสธด้วยหลักการและเหตุผลของเขาในทำนองเดียวกัน) --Taweethaも (คุย) 20:26, 13 มกราคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
@Athikhun.suw:
  1. เห็นด้วยครับ ที่ผ่านมาอาจมีหลายสิ่งหลายอย่างเป็นอุปสรรคในการติดต่อสื่อสารกัน ถ้าแก้ไขในส่วนนี้ได้ เชื่อว่าการทำงานร่วมกันจะไปได้ไกลกว่าที่ผ่านมาครับ
    จากที่ดูใน m:Wikimedia chapters ยังเห็นว่า WMTH ขาดช่องทางในการติดต่อ ถ้าเป็นไปได้ อาจลองพิจารณาเปิดช่องทางเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการติดต่อคุณโดยตรงกับเพจ FB ได้หรือไม่ครับ
    ผมยินดีที่คุณ Athikhun.suw สละเวลามาเข้าร่วมดิสคอร์ด ถ้าติดปัญหาอะไร สอบถามทางสมาชิกชุมชนได้ครับ ส่วนของช่อง #วิกิมีเดียประเทศไทย ทางชุมชนตั้งใจเปิดให้โดยเฉพาะตั้งแต่ก่อตั้งเซิร์ฟเวอร์ ใช้ได้เต็มที่เลยครับ
  2. แน่นอนว่าปัญหาเรื่องขาดคนเป็นเรื่องใหญ่ทั้งสองฝั่ง (แน่นอนว่าทั้งวิกิมีเดียหลายภาษาด้วย) นอกเหนือจากการส่งเสริมผู้ใช้ใหม่ในโครงการภาษาไทยซึ่งที่ผ่านมาผมมองว่ายังไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ขณะเดียวกัน เราอาจจะต้องมาพิจารณาเรื่องคนที่เหลืออยู่ว่าจะจัดการยังไงคนที่มีอยู่สามารถใช้ความสามารถของตนเองได้อย่างเต็มที่และมีความภาคภูมิใจต่อการปฏิบัติหน้าที่อาสาสมัครครับ การจัดกิจกรรมใด ๆ นอกจากจะหาคนมาร่วมเขียนแล้ว อาจต้องมีการสร้างทีมสนับสนุนไปด้วย ถ้าขาดคนอย่างไรก็ขอให้บอกครับ
  3. ยินดีและสนับสนุนครับ เรื่องรูปแบบ แพลตฟอร์มที่ใช้ สถานที่ อาจลองเสนอมาและตกลงกันอีกทีก็ได้ครับ --Geonuch (คุย) 21:21, 18 มกราคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
หลังจากที่คุณอธิคุณแสดงท่าทีสนใจว่าจะนัดจัดกิจกรรมพบปะระหว่างสมาชิกชุมชนวิกิพีเดียกับ WMTH รอบเดือน ก็เป็นความก้าวหน้าที่น่ายินดี แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีกำหนดการเป็นลายลักษณ์อักษรที่สามารถใช้ยืนยันได้ออกมา จึงขอกระตุ้นให้มีรายละเอียดเพิ่มเติมออกมาครับ --Horus (พูดคุย) 22:14, 30 มกราคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
ขอบคุณคุณ @Horus นะครับ หากเป็นวันเสาร์สุดท้ายของเดือน ช่วงเวลาเย็น ๆ ทุกๆท่านคิดว่าเป็นเวลาที่โอเคไหมครับ จะเป็นเวทีที่ให้สมาชิกและ WMTH พบปะกันออนไลน์ในช่องทาง Discord นอกจากนี้ผมจะได้กระตุ้นท่านอื่น ๆ ให้ active มากขึ้นในช่องทางสื่อสารต่าง ๆ ของชุมชนครับ รวมถึงหน้าชุมชนสัมพันธ์ที่มีการเสนอขึ้นมานี้ด้วยครับ --Athikhun.suw (คุย) 07:51, 31 มกราคม 2566 (+07)[ตอบกลับ]
ได้ครับ เวลาปกติที่เคยนัดกันคือช่วง 2 ทุ่มไปจนถึงหลังเที่ยงคืน (หมายถึงในช่วงนี้คนน่าจะเยอะที่สุด) ส่วนสถานที่ ไม่ติดว่าจะเป็น Discord หรือ Zoom เพียงแต่อยากให้พบกันครึ่งทางให้มากที่สุดครับ และถ้าคุณอธิคุณไม่สะดวกมาเองจะส่งทีมงานมาช่วยรับเรื่องหรือมาเป็นสื่อกลางก็ยินดีทั้งหมดครับ --Horus (พูดคุย) 23:02, 1 กุมภาพันธ์ 2566 (+07)[ตอบกลับ]