วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/การเขียนบทความนักแสดง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ด้วยในปัจจุบันมีบทความนักแสดงเป็นจำนวนมาก มีเนื้อหามากบ้างน้อยบ้างซึ่งส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับผลงาน รางวัล ภาพลักษณ์ การสำรวจความนิยม เป็นต้น ทำให้หน้าบทความมีเนื้อหามากและแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากงานแสดงหรืองานอื่นๆเพิ่มเข้ามาตลอดเวลา เนื้อหามากขึ้นเรื่อยๆจนบางครั้งเหมือนเว็บแฟนคลับ หรือ บล็อกส่วนตัว แต่วิกิพีเดียยังไม่มีแนวทางอะไรที่ชัดเจนในการเขียนบทความนักแสดง ด้วยเหตุนี้จึงขอความเห็นจากชาววิกิพีเดียช่วยกันหาแนวทางกำหนดนโยบายหรือแนวทางไว้เพื่อใช้กับบทความนักแสดงให้เหมาะ ป้องกันสงครามแก้ไข หรือ เนื้อหามากเกินไปจนเข้าลักษณะไม่น่าสนใจหรือสนใจเฉพาะกลุ่ม อีกสิ่งหนึ่งที่มิอาจแฏิเสธได้คือเหล่าแฟนคลับเข้าร่วมแก้ไข

ในเบื้องต้นขอแสดงแนวคิดส่วนตัวไว้ดังนี้ ผลงาน ควรกำหนดว่าเนื้อหามากแค่ไหนจึงจะแยกไปสร้างหน้าใหม่ด้านผลงาน ส่วนในหน้าหลักเขียนคล้ายบทนำ รางวัล ภาพลักษณ์ หากมีมากควรสร้างหน้าใหม่ขึ้นมารองรับเช่นเดียวกับ ผลงาน --Sasakubo1717 (พูดคุย) 23:32, 11 พฤษภาคม 2555 (ICT)

เห็นด้วยในแง่ผลงานครับ (หมายถึงว่ามีจำนวนระยะหนึ่งค่อยแยก ผมตีให้ประมาณ 15-20 เรื่อง โดยต้องมีบทความไม่ต่ำกว่าครึ่ง) รางวัลก็เช่นกัน (ตีให้ประมาณ 15-20 รางวัลที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัว ไม่ใช่จัดเองมอบเอง) ส่วนภาพลักษณ์ ภาพลักษณ์ไม่ใช่การรวบรวมตำแหน่งการจัดอันดับหรือโพลเพียงอย่างเดียว ภาพลักษณ์/คำวิจารณ์ผมมองว่าควรเป็นคำวิจารณ์ที่พูดถึงผลงานของบุคคลคนนี้โดยอาศัยมุมมองจากบุคคลภายนอก หรือพูดถึงบุคคลคนนี้เอง (จะมีมุมมองจากตัวเองด้วยก็ได้เพื่อมาคานกัน แต่ไม่ให้เยอะจนเกินไป) จริงอยู่ว่าโพลก็เป็นคำวิจารณ์/ภาพลักษณ์ได้ส่วนหนึ่ง แต่ภาพลักษณ์และคำวิจารณ์มิได้อาศัยตัวเลขหรือตำแหน่งวัดกันเพียงอย่างเดียว (ซึ่งบทความหลายบทความก็มีลักษณะรวมรางวัลภาพลักษณ์เป็นการจัดอันดับ แทนที่จะเขียนเป็นความเรียง) ภาพลักษณ์และคำวิจารณ์ต้องมองเข้าไปในตัวศิลปิน และนั่นคือสิ่งที่ผมเห็นว่าคำวิจารณ์หรือภาพลักษณ์ควรจะมีลักษณะต่อการเขียนในวิกิพีเดีย --∫G′(∞)dx 23:55, 11 พฤษภาคม 2555 (ICT)
  • อีกด้านหนึ่งอาสาสมัครด้านนี้มีน้อยมาก ส่วนใหญ่(ขอเสียมารยาท)กล่าวไว้ว่า ถ้าไม่ใช่แฟนคลับ (สังเกตุได้จากการแก้ไขบทความเดิมๆหรือเกี่ยวเนื่องกัน) ก็พวกตรงข้ามที่มักเข้ามาก่อกวนบทความ ผมเข้าไปดูบทความนิโคลัส เคจ ฉบับภาษาอังกฤษ มีแค่สี่หมื่นกว่าไบต์ ซึ่งเนื้อหาเกี่ยวกับผลงานด้วย --Sasakubo1717 (พูดคุย) 00:06, 12 พฤษภาคม 2555 (ICT)
  • จำนวนไบต์ในภาษาไทยโดยทั่วไปถ้าแปลคำต่อคำจะเยอะกว่าครับ แต่พูดถึงผลงาน บทความที่ไม่แยกผลงาน เป็นเพราะว่าเนื้อหาผลงานก็ไม่ได้อยู่ในระดับว่าต้องแยก เพียงแค่ลิสต์รายชื่อผลงานไปเรื่อย ๆ บทความที่แยกเป็นผลงาน (ดูเพิ่มในหมวดหมู่ Category:Filmographies สำหรับการแยกผลงาน) ส่วนมากจะมีเนื้อหามากกว่าผลงานที่แสดง เพราะจะมีความเรียงคอยกำกับขยายความด้วย มีการบ่งบอกตำแหน่ง (ถ้าไม่ใช่แสดงอย่างเดียว) และรางวัล (ซึ่งผมเห็นว่าการเขียนรางวัล เขียนไปทำนองนี้ก็ได้ ไม่จำต้องแยกหน้ารางวัลมาใหม่) หรือถ้าไม่มีเนื้อหามากกว่านั้น ก็ต้องมีผลงานอยู่ในระดับที่เยอะมากจริง ๆ (อาจรวมงานอื่นได้ด้วย) เช่น ของมาดอนนา, คลินต์ อีสวูต, ทอม ครูซ และตัวอย่างอื่น ๆ ซึ่งเราสามารถเลือกมาเป็นแบบได้ครับ --∫G′(∞)dx 00:18, 12 พฤษภาคม 2555 (ICT)

ขั้นต้นเห็นพ้องในด้านผลงานว่าขนาดไหนจึงควรขยายไปสร้างหน้าใหม่ แต่ รางวัล ภาพลักษณ์ ผลสำรวจความนิยม ความเห็นส่วนตัวลึกๆไม่เห็นด้วยที่จะสร้างหน้าใหม่แต่ขอให้คัดกรอง แบบที่จัดเอง มอบเอง ไม่ได้มีใครมาเป็นกรรมการ อยากให้ใครก็ให้ อันนี้ไม่น่านำมาลง ส่วนการสำรวจความนิยมก็มีทั้งปีหลายสำนักหากนำมาลงทั้งหมดคงมากโขอยู่ และเป็นการยากที่จะไม่ให้ใส่ คนใส่ก็จ้องใส่ ยังไงก็แยกกันไม่ออกกับคำว่าแฟนคลับ --Sasakubo1717 (พูดคุย) 00:34, 12 พฤษภาคม 2555 (ICT)

เนื่องจากบทความนี้เป็นบทความประเภทรายชื่อ จึงอาจร่างแนวปฏิบัติว่าด้วยความโดดเด่นของบทความรายชื่อไปพร้อมกันเลยก็ได้ --Horus | พูดคุย 11:47, 12 พฤษภาคม 2555 (ICT)

  • นักดนตรี นักร้อง วงดนตรี อัลบั้มเพลงผมเสนอให้แยกไปหน้าผลงานหากเกินกว่า ? อัลบั้ม หรือจำนวน ? เพลง
  • รางวัลต้องระบุว่ามาจากผลงานใด หากไม่ระบุให้จัดเป็นภาพลักษณ์ --Sasakubo1717 (พูดคุย) 00:17, 13 พฤษภาคม 2555 (ICT)

ผมลองร่างมาแล้ว สามารถออกความเห็นและแก้ไขได้เลย ผู้ใช้:Sry85/ร่างนักแสดง

หน้านี้เป็นแนวทางในการเขียนบทความนักแสดง รวมถึงสามารถนำไปใช้กับบทความ นักร้อง หรือ นักดนตรี

นโยบายความโดดเด่น

การพิจารณาความโดดเด่นของบุคคล พิจารณา ว่าบุคคลนั้นมีผลงานที่เป็นที่รู้จักและน่าสนใจ เหมาะสมในการบันทึกไว้ในสารานุกรมวิกิพีเดีย โดยพิจารณาจากหน้าวิกิพีเดีย:ความโดดเด่นของบทความ (บุคคล) โดยกล่าวถึงนักแสดงทุกประเภท (รวมถึงนักแสดงในภาพยนตร์สำหรับผู้ใหญ่ และสื่อเฉพาะกลุ่มอื่นๆ) นักร้อง วงดนตรี นางแบบ พิธีกร

  1. มีบทบาทหลักในภาพยนตร์ ละคร ละครเวที รายการโทรทัศน์ รวมแล้วมากกว่าหนึ่งเรื่อง ไม่นับกรณีที่เป็นดารารับเชิญ
  2. สร้างชื่อเสียงในวงการบันเทิง หรือได้รับรางวัลในวงการบันเทิง
  3. บุคคลที่กล่าวถึงปรากฏตัวตามสื่อต่าง ๆ มากพอสมควร ซึ่งใช้เป็นแหล่งอ้างอิงได้
  4. บทความควรกล่าวถึงชีวประวัติ มากกว่าเว็บแฟนคลับ หรือเว็บการแข่งขันรายการบันเทิง

สำหรับกลุ่มอื่น ๆ ในแวดวง ดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:ความโดดเด่นของบทความ (ดนตรี)

เนื้อหา

บทนำ เป็นการแนะนำนักแสดง โดยสรุปสาระที่สำคัญที่สุดให้อยู่ในบทนำ โดยเริ่มจากชื่อนักแสดง (รวมถึงฉายา) วัน เดือน ปีเกิด ผลงานที่โดดเด่น รางวัลสำคัญที่ได้รับ โดยชื่อภาพยนตร์ และชื่ออัลบั้มเพลงให้ใช้ ตัวเอน ส่วนชื่อเพลง ใส่เครื่องหมายคำพูด "ชื่อเพลง"

  • ประวัติ เริ่มด้วยชีวิตในวัยเด็ก ประวัติการศึกษา อธิบายถึงบทบาทการแสดง ควรมีคำวิจารณ์ด้านการแสดงจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ภาษาที่ใช้ควรเป็นกลาง ไม่ควรเขียนเนื้อหาชื่นชม แต่สามารถเขียนชื่นชมได้ในลักษณะคำวิจารณ์ด้านการแสดง จากนักวิจารณ์ ไม่ลงข้อมูลเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ไม่จำเป็น เช่น สีที่ชอบ ฯลฯ หัวข้อเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยไม่ควรมี ควรเขียนรวมเข้ากับเนื้อหาบทความ
  • ชีวิตส่วนตัว เป็นหัวข้อที่อธิบายถึง ด้านอื่นที่นอกเหนือจากการแสดง เช่น ชีวิตครอบครัว งานด้านอื่น
  • รางวัล อาจแสดงในรูปแบบตาราง ระบุ ปี ผลงาน สาขารางวัลที่ได้รับ โดยหัวข้อนี้เป็นรางวัลด้านการแสดง
  • ภาพลักษณ์ รางวัลด้านภาพลักษณ์ต่าง ๆ และผลการสำรวจความนิยม ต้องมีความโดดเด่นเพียงพอ กล่าวคือ ต้องมีแหล่งอ้างอิงที่มาจากสื่ออื่นนอกจากสื่อของผู้มอบรางวัล ให้เขียนเป็นการบรรยาย เรียบเรียงเป็นเนื้อหาให้สัมพันธ์กัน ไม่ควรลงเป็นข้อ ๆ แบบรายชื่อ หัวข้อกิจกรรมการกุศล การร่วมบริจาคการกุศลต่างๆ ออกงาน ไม่ควรถือเป็นภาพลักษณ์ ควรเป็นงานที่ทำต่อเนื่องเพื่อองค์กรการกุศล หรือมีผลงานด้านการกุศล เช่นแสดงหนังรณรงค์ด้านการกุศล เป็นต้น
  • ผลงาน อาจแสดงเป็นตาราง แสดงปี ผลงานที่แสดง บทบาทที่แสดง โดยผลงานที่ลงเป็น ผลงานแสดงภาพยนตร์ ผลงานแสดงละคร ละครเวที ผลงานเพลง เป็นหลัก ผลงานในอนาคตที่ไม่มีอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจะถูกลบออก สามารถลงผลงานการแสดงภาพยนตร์โฆษณา ผลงานในคอนเสิร์ตที่มีการขายบัตร และแสดงในมิวสิกวิดีโอ ได้ แต่หากมีความยาวมาก สามารถสร้างบทความย่อยเกี่ยวกับรายชื่อผลงานต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้ การรับเชิญไปออกรายการโทรทัศน์ การถ่ายนิตยสาร โฆษณาภาพนิ่ง ถ่ายภาพปฏิทิน การออกอีเวนต์ ไม่ถือเป็นผลงาน
  • แหล่งข้อมูลอื่น ให้ใช้เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ ทวิตเตอร์อย่างเป็นทางการ แฟนเพจอย่างเป็นทางการ ไม่ใช้เว็บไซต์และแฟนเพจที่แฟนคลับสร้างเองแต่เพียงฝ่ายเดียว และสามารถใส่แหล่งข้อมูลอื่นจากเว็บไซต์ฐานข้อมูลนักแสดงที่น่าเชื่อถือได้ เช่น IMDB ฯลฯ ไม่ใส่ลิงก์ดูคลิป ฟังเพลง

การใช้ภาพ

ภาพในกล่องข้อมูลให้ใช้ภาพเสรี แต่หากไม่มีภาพเสรีเลยอนุญาตให้ใช้ภาพชอบธรรมได้ และถ้าหากมีภาพเสรีอยู่แล้วและเปลี่ยนมาใช้ภาพชอบธรรม ภาพชอบธรรมนั้นถูกลบทิ้งและเปลี่ยนกลับไปใช้ภาพเสรี นอกจากนี้การใช้ภาพในหัวข้อ ผลงานต่าง ๆ ต้องไม่แสดงภาพชอบธรรมในลักษณะแกลเลอรี หรือใส่ภาพชอบธรรมประดับบทความเป็นจำนวนมาก


ในเนื้อหาบทความ ปกติแล้วภาพชอบธรรมไม่ควรใส่เยอะ โดยเฉพาะถ้าภาพนั้นไม่ได้อธิบายประกอบเนื้อหาส่วนใด ในขณะที่ภาพเสรีจะใส่กี่ภาพก็ได้ --浓宝努 14:46, 12 พฤษภาคม 2555 (ICT)

  • ผมตัดคำว่าตัวออก หากตีความโดยเคร่งครัดตามข้อความว่า ปรากฏตัว หมายถึงตัวตนจะต้องไปปรากฏหรือแสดงตัวตนตามสื่อนั้น สรุปแล้วร่างนโยบายนี้ให้แก้ หรือ วิจารณ์ หรือ ลงมติ --Sasakubo1717 (พูดคุย) 14:59, 12 พฤษภาคม 2555 (ICT)
สามารถออกความเห็นและแก้ไขได้เลย (ข้างบน) --浓宝努 15:03, 12 พฤษภาคม 2555 (ICT)
  • บทความที่ได้ติดป้ายบทความคัดสรร ก็สมควรที่ได้รับการปรับปรุงให้เหมือนกับบทความอื่นๆ --Sasakubo1717 (พูดคุย) 13:07, 20 พฤษภาคม 2555 (ICT)
  • แวะมาบอกว่าอยากให้เร่งผลักดันนโยบายดังกล่าวครับ โดยเฉพาะอาจจะนำส่วนของนโยบายความโดดเด่นมาใช้ก่อน เพราะว่าตอนนี้กลุ่มบุลคลที่คุณก็รู้ว่าใครเค้าพัฒนาแล้วนะครับ บทความพวกศิลปินอ่ะ เขียนแบบเรซูเม มีกล่องข้อมูล แบบว่านับเป็นสารานุกรมได้แต่ยังไม่ 100% ศิลปินบางคนแสดงโฆษณาไม่กี่เรื่องหรือละครเรื่องเดียวเองเงี้ย เอามาเขียนเป็นบทความละ ซึ่งไอ้ผมจะแจ้งลบ มันก้เข้ากับนโยบายความโดดเด่นในปัจจุบัน (คนรู้จักมากกว่า 10000 คน) อีก

--Walker Emp (พูดคุย) 22:37, 20 พฤษภาคม 2555 (ICT)

สรุป

เห็นคุยกันครบ 2 อาทิตย์แล้ว ไม่ได้มีการอภิปรายมากขึ้น ผมจึงคัดลอก คู่มือการเขียนไปที่หน้า วิกิพีเดีย:โครงการวิกิภาพยนตร์/รูปแบบการเขียน/บทความนักแสดง --Sry85 (พูดคุย) 13:56, 26 พฤษภาคม 2555 (ICT)