วัดไผ่หูช้าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดไผ่หูช้าง
แผนที่
ที่ตั้งตำบลไผ่หูช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดไผ่หูช้าง เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลไผ่หูช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม มีเนื้อที่ตั้งวัด 24 ไร่ 2 งาน 89 ตารางวา ที่กัลปนา 25 ไร่ 2 งาน[1]

วัดไผ่หูช้างประกาศตั้งวัดเมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2461 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ซึ่งมีนายสว่าง นางสา ทองเต่าอินทร์ เป็นผู้มอบที่ดินจำนวน 24 ไร่ 2 งาน 89 ตารางวา จนตั้งเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 2461 ได้มีเจ้าอาวาสปกครองวัด มีการพัฒนาสร้างเสนาสนะเป็นยุค ๆ จนถึงปัจจุบันได้เหลือเพียงอุโบสถเท่านั้นเป็นของเก่าที่ ยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปมาก นอกนั้นเป็นสิ่งก่อสร่างใหม่ทั้งหมด อุโบสถหลังใหม่สีขาวล้วน ภายในประดิษฐานองค์พระประธาน พระปฐมพรมหามิ่งมงคล วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลังเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2548[2] มีการจัดสร้างศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นบ้านไผ่หูช้าง เพื่อเป็นแหล่งเผยแพร่ ให้ความรู้ เกี่ยวกับวิถีชีวิตไทยทรงดำ ด้วยความร่วมมือกับของเจ้าอาวาสวัดไผ่หูช้าง โรงเรียนวัดไผ่หูช้าง อบต. ไผ่หูช้าง และชาวบ้านในตำบล[3] ปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ หลวงพ่อเพชรประดิษฐานอยู่ในวิหารและหลวงพ่อโชคดี

รายนามเจ้าอาวาส[แก้]

  • พระอธิการทองดี พ.ศ. 2461–2465
  • พระอธิการผิว พ.ศ. 2465–2467
  • พระอธิการยอด พ.ศ. 2467–2469
  • พระอธิการไผ่ พ.ศ. 2469–2470
  • พระอธิการทิพย์ อังเพชร พ.ศ. 2470–2481
  • พระอธิการใส เขมโก พ.ศ. 2481–2493
  • พระอธิการพุฒ ภทฺทโก พ.ศ. 2493–2499
  • พระอธิการปอก วรธมฺโม พ.ศ. 2499–2503
  • พระอธิการเยิง ปิยธโร พ.ศ. 2503–2507
  • พระครูโสภณปริยัติธาดา พ.ศ. 2507–2519
  • พระอธิการโกมินทร์ อินฺทวีโร พ.ศ. 2519-2523
  • พระอธิการเฉลียว อินฺธิโชโต พ.ศ. 2523-2525
  • พระอธิการเสถียร ขิปฺปาทิญฺโญ พ.ศ. 2525-2528
  • พระครูภัทรกิจพิศาล (ปภทฺโท) พ.ศ. 2531-2553
  • พระครูใบฎีกา ศักดา กลฺยาโน พ.ศ. 2554

อ้างอิง[แก้]

  1. "วัดไผ่หูช้าง". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.
  2. "วัดไผ่หูช้าง". พระสังฆาธิการ.
  3. "ศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่น บ้านไผ่หูช้าง". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.