วัดหลักร้อย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดหลักร้อย
แผนที่
ที่ตั้งบ้านหลักร้อย ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายเถรวาท สังกัดมหานิกาย
เจ้าอาวาสผศ. ดร. พระครูสังวราภิรักษ์ สวโร
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดหลักร้อย ได้ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2443 และได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2449[1] และได้ขึ้นทะเบียนวัดเมื่อปี พ.ศ. 2478 [2] เป็นวัดราษฎร์ สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่ที่บ้านหลักร้อย ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

ผู้บริจาคที่ดินสร้างวัด คือ นายน้อย นายเกิด นายปาน นางทอง นางทิม นางนกเทศ นางแจ้ง จงพิมาย นายเปลื้อง นางเคลือบ และนางเลี่ยม ปราบจะบก ได้ถวายเพิ่มในภายหลัง รวมเนื้อที่ 16 ไร่ 10 ตารางวา โดยพระอธิการยัง เจ้าอาวาส เป็นผู้นำการก่อสร้างวัด เหตุที่ได้นามว่า "วัดหลักร้อย" เนื่องมาจากระยะทางจากอนุสรณ์สถานท้าวสุรนารี มาถึงสถานที่ตั้งวัด วัดได้ระยะทาง 100 เส้น[1]

วัดหลักร้อยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา 2 ครั้ง โดยครั้งแรก (อุโบสถหลังเก่า) เมื่อ พ.ศ. 2449[1] และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2520[2]

ปัจจุบัน วัดหลักร้อย ยังเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม และสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ 3 ด้วย

ลำดับเจ้าอาวาส[แก้]

ลำดับที่ เจ้าอาวาส[1] ปี
1 พระยัง
2 พระหมวก
3 พระเฉย
4 พระอินทร์
5 พระสีหราชมงคลมุนี
6 พระครูประภัสธรรมสาร พ.ศ. 2501-2508
7 พระหล่ำ สุขเปโม พ.ศ. 2508-2515
8 พระสมุห์แก้ว เตชปญฺโญ พ.ศ. 2515-2524
9 พระครูขันติ วราภรณ์ พ.ศ. 2524-2537
10 ผศ. ดร. พระครูสังวราภิรักษ์ สวโร พ.ศ. 2537- ปัจจุบัน

อาคารเสนาสนะ[แก้]

ประกอบด้วย

อุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2512
ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารครึ่งไม้ครึ่งตึก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2506
วิหาร เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2523
วิหารปฏิบัติธรรม สร้างเมื่อ พ.ศ. 2536
ศาลาบำเพ็ญกุศล และกุฏิสงฆ์

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "วัดหลักร้อย". สารสนเทศท้องถิ่นนครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
  2. 2.0 2.1 "วัดหลักร้อย". สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.