วัดสำโรงกนุง

พิกัด: 13°7′40″N 103°13′9″E / 13.12778°N 103.21917°E / 13.12778; 103.21917
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดสำโรงกนุง
វត្តសំរោងក្នុង
ศาสนา
ศาสนาศาสนาพุทธ
ที่ตั้ง
ที่ตั้งเมืองพระตะบอง
ประเทศกัมพูชา
วัดสำโรงกนุงตั้งอยู่ในประเทศกัมพูชา
วัดสำโรงกนุง
ตำแหน่งที่ตั้งในประเทศกัมพูชา
พิกัดภูมิศาสตร์13°7′40″N 103°13′9″E / 13.12778°N 103.21917°E / 13.12778; 103.21917
สถาปัตยกรรม
เสร็จสมบูรณ์พ.ศ. 2243

วัดสำโรงกนุง (เขมร: វត្តសំរោងក្នុង) หรือ วัดสำโรงใน เป็นวัดที่เมืองพระตะบอง ประเทศกัมพูชา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2243 สมัยเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) เจ้าเมืองคนแรกเคยมาทำพิธีบวงสรวงเวลาเกิดเหตุการณ์สำคัญและเคยสร้างวิหารไม้ไว้

วิหารของวัดสร้างเมื่อ พ.ศ. 2433 โดยพระยาอภัยภูเบศร (นอง) หน้าบันไม้แกะสลักทำแบบมุขประเจิด เจดีย์ทรงเครื่องแบบไทยทางซ้ายและขวาด้านหน้าอุโบสถ องค์เรือนธาตุประดับซุ้มทิศ ย่อมุมละเอียด (ย่อมุมไม้ยี่สิบสี่) สัดส่วนเจดีย์เหมือนสถาปัตยกรรมไทยสมัยอยุธยาตอนปลาย อุโบสถสร้างขึ้นโดยเจ้าพระยาอภัยภูเบศรทดแทนหลังเดิมที่สร้างจากไม้[1] เจดีย์บรรจุอัฐิของคนตระกูลอภัยภูเบศร 11 โกศ[2] นอกจากนั้นยังพบตราพานแว่นฟ้าเดี่ยวบรรจุสมุดใบข่อยบนประตูด้านหลังของวัด บ้างสันนิษฐานว่าเป็นพานรัฐธรรมนูญของไทย เนื่องจากไม่มีรัศมีเปล่งออก มีความเป็นไปได้ว่าเป็นศิลปะคณะราษฎรที่ได้ขยายอิทธิพลเข้าสู่พระตะบองมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483[3]

ในสมัยเขมรแดง วัดสำโรงกนุงได้ถูกยึด ได้ใช้พื้นที่วัดเป็นที่คัดแยกแรงงาน เป็นเรือนจำและทุ่งสังหาร ในวัดมีหลุมศพมากมาย มีผู้คนตายไปนับร้อยนับพันคน

อ้างอิง[แก้]

  1. "แกะรอยไทย ในพระตะบอง". โพสต์ทูเดย์. 10 มกราคม 2558.
  2. "พระตะบอง เสียมเรียบ ศรีโสภณ "รอยสยาม" และ "สามจังหวัด"กัมพูชา". สารคดี.
  3. "ตามรอยศิลปะคณะราษฎรในพระตะบอง". สยามานุสสติ.