วัดสาลวัน (จังหวัดนครปฐม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดสาลวัน
แผนที่
ชื่อสามัญวัดสาลวัน, วัดตาพิน, วัดภิญโญสโมสร
ที่ตั้งตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระประธานหลวงพ่อพระบรมเขมาจารย์
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดสาลวัน เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีเนื้อที่ 7 ไร่ โดยประมาณ

วัดสาลวันเดิมนั้นเรียกว่า วัดตาพิน โดยเมื่อ พ.ศ. 2440 กำนันพิน ซึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็น ขุนวิศาล กันโอภาส เป็นนายกองเก็บผลประโยชน์จากที่ดินนาของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้นำเงินจากค่ากองนามาสร้างเป็นวัดขึ้น ในสมัยเริ่มแรกที่ก่อตั้งวัดมีเพียงกุฏิสงฆ์และศาลารวมอยู่ด้วยกันเป็นเรือนหมู่ แต่ยังไม่มีอุโบสถ มีพื้นที่กว้างขวางกว่าที่พบในปัจจุบันอย่างมาก มีพระอธิการชด (เดช ดิษดี) เป็นสมภารรูปแรก ได้ร่วมกับกำนันพินและชาวบ้านทำนุบำรุงวัดสาลวันเรื่อยมา ได้สร้างศาลาการเปรียญขึ้นเป็นหลังแรกของวัด[1]

ชื่อแต่เดิมของ วัดตาพิน ถูกตั้งตามชื่อของขุนวิศาลกันโอภาส ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อเป็น วัดภิญโญสโมสร ตามชื่อผู้สร้าง และเป็น "วัดสาลวัน" ในที่สุด เหตุเพราะหลวงพ่อนำต้นสาละมาปลูก จึงกลายชื่อมาเป็นวัดสาลวัน[2] วัดสาลวันได้รับอนุญาตตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2450 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2522[3]

ปูชนียวัตถุที่สำคัญ ได้แก่ หลวงพ่อพระบรมเขมาจารย์ เป็นพระประธานของวัดสาลวัน มีจำนวน 3 องค์ เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านเป็นอย่างมาก

รายนามเจ้าอาวาส[แก้]

  • พระอธิการชด พ.ศ. 2481–2490
  • พระครูใบฎีกา สมควร วิชฺชาสาโร พ.ศ. 2492–2504
  • พระอธิการสม จนฺทสิริ พ.ศ. 2505–2508
  • พระอธิการอุ่น จิตฺตตสุภาโร พ.ศ. 2508–2512
  • พระปลัด วิเชียร ถิรปญฺโญ พ.ศ. 2512–2517
  • พระใบฎีกา วรการ จิตฺปญฺโญ พ.ศ. 2517–2518
  • พระครูศิริชัยปภากร พ.ศ. 2519–2546
  • พระครูวิศิษฏ์ธรรมสาร (นิวัฒน์) พ.ศ. 2547

อ้างอิง[แก้]

  1. "สถาปัตยกรรมภายในของเรือนพื้นถิ่นชุมชนตลาดเก่าศาลายา" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-07-16. สืบค้นเมื่อ 2021-07-16.
  2. "วัดสาลวัน". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม.
  3. "วัดสาลวัน". พระสังฆาธิการ.