วัดพระธาตุจอมแจ้ง (อำเภอพาน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดพระธาตุจอมแจ้ง
ไฟล์:WatPhraThatChomChaeng.png
พระธาตุจอมแจ้ง
แผนที่
ชื่อสามัญวัดพระธาตุจอมแจ้ง
ที่ตั้งบ้านร่องบอน ตำบลม่วงคำ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย 57120
นิกายเถรวาท มหานิกาย
เจ้าอาวาสพระอาจารย์จิรภัทร จิรปภาโส
พระจำพรรษา5 รูป
จุดสนใจสักการะพระธาตุจอมแจ้ง ชมทิวทัศน์รอบเมืองพาน
กิจกรรมงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุจอมแจ้ง
โทรศัพท์052 020 212, 09 5459 6993
เว็บไซต์https://watphrathatchomchaeng.com/
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดพระธาตุจอมแจ้ง (ไทยถิ่นเหนือ: ; อังกฤษ: Wat Phra That Chom Chaeng) ตั้งอยู่บนยอดดอยป่าซาง หมู่ 12 บ้านร่องบอน ตำบลม่วงคำ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย มีเนื้อที่กว่า 500 ไร่ เป็นวัดเก่าแก่สำคัญที่ครูบาศรีวิชัย (ตนบุญแห่งล้านนา) เคยมาบูรณะไว้ และยังเป็นวัดที่ตั้งอยู่สูงที่สุดในอำเภอพาน มีความสูงถึง 1,350 ฟุต จากระดับน้ำทะเล ระยะทางจากถนนด้านล่างขึ้นไปยังองค์พระธาตุมีความยาวกว่า 700 เมตร

ป้ายวัดพระธาตุจอมแจ้ง

ประวัติวัดพระธาตุจอมแจ้ง[แก้]

วัดพระธาตุจอมแจ้ง มีชื่อเต็มตามแผ่นศิลาจารึกว่า “พระมหาชินธาตุเจ้าจอมแจ้ง สระหนองปลิง” ภายในองค์พระธาตุ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าภายหลังชาวบ้านจึงเรียกดอยแห่งนี้ว่า ดอยจอมแจ้ง ตามชื่อของพระธาตุ

แต่เนื่องจากองค์พระธาตุประดิษฐานอยู่บนยอดดอยสูง และมีอายุยาวนาน จึงชำรุดทรุดโทรมเกินกว่าที่จะบูรณะได้ แผ่นศิลาจารึกได้มีบันทึกเป็นอักษรธรรมภาษาล้านนาไว้ แปลเป็นไทยมีใจความว่า ในวันเสาร์ ที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๒ ตรงกับวันเสาร์ แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๒ เหนือ ปีมะเส็ง จุลศักราช ๑๒๙๑ เวลา ๑๕ นาฬิกา ครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดบ้านปาง เมืองลี้ จังหวัดลำพูน มาเป็นประธานในบูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุดวงนี้ โดยมีพระกั๋ญจะนะผาบภิกขุ เป็นผู้ดูแลการก่อสร้าง พร้อมกับพระภิกษุ – สามเณรมากมายมาร่วมกันบูรณะ แลฝ่ายฆารวาส ยังมีหลวงพงษ์สุรสวัสดิ์ เจ้าหลวงเมืองพาน แม่เจ้าคำแปง และชายา บุตรธิดาทุกองค์ ทั้งราษฎรจากทั่วสารทิศมาร่วมกันบูรณะองค์พระธาตุ โดยการช่วยกันหาบก้อนอิฐ หิน ทราย วัสดุในการก่อสร้างขึ้นไปยังยอดดอย เพื่อ ก่อเจดีย์ครอบองค์เก่าซึ่งเหลือเพียงซากปรักหักพังเท่านั้น  การก่อสร้างในสมัยนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด ด้วยแรงศรัทธาของประชาชนที่มีต่อครูบาเจ้าศรีวิชัย การก่อสร้างจึงแล้วเสร็จในเวลาต่อมา ซึ่งในขณะนั้นครูบาเจ้าศรีวิชัย อายุได้ ๕๑ ปี

ประเพณีประจำปี[แก้]

  • ประเพณีสรงน้ำพระธาตุ หรือ เรียกว่า งานเดือนเก้าเป็ง โดยจะมีการสรงน้ำพระธาตุ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ( เดือน ๙ เหนือ ) เป็นประจำทุก ๆ ปี[1]
ประเพณีสรงน้ำพระธาตุ วัดพระธาตุจอมแจ้ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

สิ่งสำคัญภายในวัด[แก้]

  • พระธาตุจอมแจ้ง สร้างโดยครูบาเจ้าศรีวิขัย ตนบุญแห่งล้านนา
  • ศาลพญาปะตุม เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ แหล่งสถิตดวงวิญญาณของพญาปะตุมผู้พิทักษ์ผืนป่าร่องบอนนับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ที่ชุมชนบ้านร่องบอน ให้ความเคารพนับถือ หากใครคิดจะกระทำการใดที่เกี่ยวข้องกับป่า ต้องกระทำพิธีบอกกล่าวขออนุญาตทุกครั้งเพื่อขอขมาในสิ่งที่จะทำกับ สรรพสิ่งทั้งหลายในผืนป่าก่อให้เกิดความปลอดภัยและเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง การสักการะศาลพญาปะตุม แสดงให้เห็นถึงความยำเกรง และเคารพต่อป่า ส่งผลให้เกิดความรักความผูกพันที่มนุษย์มีต่อธรรมชาตินำไปสู่การอนุรักษ์ผืนป่านี้อย่างยั่งยืน

กิจกรรมระหว่างวัด และประชาชน[แก้]

  • กิจกรรมสวดมนต์ทำวัตรเย็นในทุกวันพระ
  • กิจกรรมปฏิบัติธรรมเจริญกรรมฐานประจำเดือน
  • กิจกรรมพัฒนาวัด คือ ชาวบ้านในหมู่บ้านจะร่วมใจกันมาทำความสะอาด ทำนุบำรุงศาสนสถาน ทุกวันอาทิตย์
  • กิจกรรมปลูกป่า ประจำปี ในวันที่ ๖ ก.ค. ของทุกปี

ภาพภายในบริเวณวัดพระธาตุจอมแจ้ง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ

เว็บไซต์: https://watphrathatchomchaeng.com/

บรรณานุกรม
  • "วัดพระธาตุจอมแจ้ง". วัดพระธาตุจอมแจ้ง. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]