ซันตาตรีนีตา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก วัดซานตาทรินิตา)
โบสถ์ซันตาตรีนีตา
Santa Trinita
แผนที่
43°46′13″N 11°15′03″E / 43.77028°N 11.25083°E / 43.77028; 11.25083
ที่ตั้งฟลอเรนซ์ ในประเทศอิตาลี
ประเทศ ประเทศอิตาลี
นิกายโรมันคาทอลิก
สถานะโบสถ์คริสต์
ก่อตั้งค.ศ. 1092
ประเภทสถาปัตย์กางเขน
รูปแบบสถาปัตย์สถาปัตยกรรมกอธิค

โบสถ์ซันตาตรีนีตา หรือโบสถ์พระตรีเอกภาพ (อิตาลี: Santa Trinita; อังกฤษ: Church of the Holy Trinity) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกตั้งอยู่ที่เมืองฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นสถาปัตยกรรมเรอเนซองส์ โบสถ์ซันตาตรีนีตาเป็นโบสถ์แม่คณะวัลลุมโบรซัน[1] (Vallumbrosan Order) ที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1092 โดยขุนนางชาวฟลอเรนซ์

งานศิลปะที่มีชื่อเสียงและสำคัญที่สุดภายในวัดเป็นงานจิตรกรรมฝาผนังภายในชาเปลซาสเซ็ตติ (Sassetti Chapel) โดยโดเมนนิโค เกอร์ลันเดาผู้ถือกันว่าเป็นจิตรกรสมัยเรอเนซองส์คนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15

ประวัติ[แก้]

ตัวโบสถ์ปัจจุบันใช้เวลาสร้างกว่า 11 ศตวรรษและมีการต่อเติมและบูรณปฏิสังขรณ์ตลอดมา ด้านหน้าโบสถ์แบบแมนเนอริสต์ (ค.ศ. 1593ค.ศ. 1594) ออกแบบโดยสถาปนิกแบร์นาร์โด บูออนตาเลนตี (Bernardo Buontalenti) ประติมากรรมนูน “ตรีเอกภาพ” เหนือประตูกลางสลักโดยเปียโตร แบร์นินี (Pietro Bernini) และ จิโอวานนี บาตติสตา คาซินิ (Giovanni Battista Caccini) ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ก็เพิ่มประตูไม้ที่สลักเพื่อเป็นที่ระลึกถึงนักบุญองค์ต่างๆ ของคณะวัลลุมโบรซัน “เสาแห่งความยุติธรรม” กลางจตุรัสหน้าวัดมาจากโรงอาบน้ำคาราคาลลา (Baths of Caracalla) ที่กรุงโรมซึ่งโคสิโม เดอ เมดิชิได้รับเป็นของขวัญจากสมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 4 เพื่อเป็นการฉลองชัยชนะจากยุทธการที่มอนเตมูร์โล (Battle of Montemurlo) ในปี ค.ศ. 1565

ชาเปล[แก้]

โบสถ์ซันตาตรีนีตามีชาเปลด้วยกันราว 20 ชาเปลแต่ละชาเปลก็มีงานศิลปะที่มีคุณค่า ชาเปลที่สำคัญที่สุดสองชาเปลก็เห็นจะเป็นชาเปลซาสเซ็ตติ และ ชาเปลบาร์โทลินิ-ซาลิมเลนิที่มีจิตรกรรมฝาผนังโดย โดเมนนิโค เกอร์ลันเดา และช่างเขียนตระกูลการเขียนแบบศิลปะควอตโตรเซ็นโต (Quattrocento)

Name History & artworks
ชาเปลจิอันฟิกลิอัซซิ
Gianfigliazzi chapel
บูรณปฏิสังขรณ์ราว ค.ศ. 1630 โดยเกอร์อาร์โด ซิลวานิ (Gherardo Silvani) ภายในมีกางเขน “Crocifisso della Providenza” จากคริสต์ศตวรรษที่ 14 และจิตรกรรมฝาผนัง “นักบุญแมรีแห่งอียิปต์” และ “นักบุญซอสซิมัส” (St. Zosimus) (ราว ค.ศ. 1400)
ชาเปลดาวิซซิ
Davizzi chapel
บูรณปฏิสังขรณ์ราว ค.ศ. 1642 by มัตเตโอ นิเจตติ (Matteo Nigetti)
ชาเปลชิอาลลิ-เซอร์นิจิ
Cialli-Sernigi chapel
มีภาพ “พระแม่มารีกับนักบุญ” โดย เนริ ดิ บิชชิ (Neri di Bicci) และงานจิตรกรรมฝาผนังที่ยังเขียนไม่เสร็จ “การแต่งงานอาถรรพ์ของนักบุญแคทเธอรินแห่งเซียนนา” โดยผู้มีอิทธิพลจาก สปิเนลโล อเรติโน (Spinello Aretino)
ชาเปลบาร์โทลินิ-ซาลิมเลนิ
Bartolini-Salimbeni Chapel
มีจิตรกรรมฝาผนัง “ประวัติของพระแม่มารี” (ราว ค.ศ. 1423) โดย โลเรนโซ โมนาโก (Lorenzo Monaco) และผู้ช่วยรวมทั้ง “การขับนักบุญโยอาคิม”, “การพบปะระหว่างนักบุญโยอาคิมและนักบุญแอนนา”, “การประสูติของพระแม่มารี” “ปาฏิหาริย์หิมะ”, “ปาฏิหาริย์หิมะ” “แม่พระถวายองค์” (Presentation of Mary), “การแต่งงานของพระแม่มารี” (Marriage of the Virgin) และ “การสิ้นพระชนม์ของพระแม่มารี” ภาพ “แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์” อยู่เหนือทางเข้าชาเปล
ชาเปลอาร์ดินเกลลิ
Ardinghelli chapel
เป็นภาพลักษณะศิลปะควอตโตรเซ็นโต “พระเยซูผู้ทรงเศร้า” (Man of Sorrows) และแท่นที่สร้างโดย เบ็นเนเด็ตโต โรเวซซาโน (Benedetto da Rovezzano) (ค.ศ. 1505-ค.ศ. 1515)
ชาเปลซาสเซ็ตติ
Sassetti chapel
เป็นจิตรกรรมฝาผนังชุดชีวประวัติของ “นักบุญฟรานซิสแห่งอัสซีซี” และ “การทำนายการประสูติของพระเยซู” (Prophecies of Christ’s Birth) (ค.ศ. 1482-ค.ศ. 1485) และแท่นบูชา “การชื่นชมของแมไจ” (ค.ศ. 1485) ที่เขียนโดยโดเมนนิโค เกอร์ลันเดา เหนือประตูทางเข้าเป็นฉาก “ประกาศกบอกจักรพรรดิถึงการมาประสูติของพระเยซู”[1].
ชาเปลโดนิ
Doni chapel
ตกแต่งระหว่างปี ค.ศ. 1608 ถึงปี ค.ศ. 1640 โดย ลุโดวิโค ชิโจลิ (Ludovico Cigoli)
กลางบริเวณพิธิ
แท่นบูชาโดย “ตรีเอกภาพ” โดย มาริอ็อตโต ดิ นาร์โด (Mariotto di Nardo) (ค.ศ. 1406).
ชาเปลสตร็อซซิ
Strozzi chapel
สร้างใหม่โดย จิโอวานนี บาตติสตา คาซินิ และมีจิตรกรรมฝาผนังที่ได้รับความเสียหายโดย เบอร์นาร์ดิโน พอช์เช็ตติ (Bernardino Poccetti) แท่นบูชาในชาเปลปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ยูฟิซิ นอกจากนั้นก็มีภาพ “ชะลอร่างจากกางเขน” โดย ฟราอันเจลิโค ที่เริ่มเขียนโดยโลเรนโซ โมนาโก ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ซานมาร์โคในฟลอเรนซ์
ชาเปลบอมเบนิ
Bombeni chapel
บูรณปฏิสังขรณ์โดยมัตเตโอ นิเจตติ มีภาพ “การรหัสยธรรมของนักบุญกาเตรีนาแห่งซีเอนา” โดย อันโตนิโอ เดล เชราอิโอโล (Antonio del Ceraiolo) และ “นักบุญเจอโรม” “[[แม่พระรับสาร]” โดย ริดอลโฟ เกอร์ลันเดา (Ridolfo Ghirlandaio)
ชาเปลดาวานซาติ
Davanzati chapel
มีภาพ “แม่พระรับสาร” (ราว ค.ศ. 1450-60) โดย เนริ ดิ บิชชิ และจิตรกรรมฝาผนัง “การสอบสวนนักบุญกาเตรีนา” (Disputation of St. Catherine) โดยผู้ได้รับอิทธิพลจาก มาโซ ดิ บันโค (Maso di Banco)
ชาเปลคอมปันยี
Compagni chapel
has a “การสวมมงกุฏพระแม่มารี” (Coronation of Virgin) (ราว ค.ศ. 1400) และ “นักบุญจิโอวานนิ กูอัลแบร์โตและนักบุญของคณะวัลลุมโบรซัน” (ค.ศ. 1455) โดย เนริ ดิ บิชชิ
ชาเปลสปินิ
Spini chapel
แมรี แม็กดาเลน” เริ่มเขียนโดย เดซิเดริโอ ดา เซ็ตติยาโน (Desiderio da Settignano) และเขียนเสร็จโดยเบ็นเนเด็ตโต ดา มาเอียโน (Benedetto da Maiano)
ชาเปลมาดอนนาเดลโลสปาสซิโม
Chapel of Maddona dello Spasimo
“พระเยซูบนทางสู่กางเขน” โดยช่างจากตระกูลการเขียนแบบ โคสิโม รอซเซลลิ (Cosimo Rosselli)
ชาเปลนักบุญจิโอวานนิ กูอัลแบร์โต
Chapel of San Giovanni Gualberto
ออกแบบโดยจิโอวานนี บาตติสตา คาซินิ
มีภาพ “นักบุญแคทเธอรินและแมรี แม็กดาเลนชื่นชมตรีเอกภาพ” (ราว ค.ศ. 1485) เขียนโดย ฟรานเชสโก กรานาชชิ (Francesco Granacci)
ชาเปลสกาลิ
Scali chapel
เป็นจิตรกรรมฝาผนังชุดโดย จิโอวานนิ ดาล ปอนเต (Giovanni dal Ponte) และ ซเมอราลโด ดิ จิโอวานนิ (Smeraldo di Giovanni) อนุสรณ์ของบาทหลวงเบ็นน็อซโซ เฟเดอริกิ โดย ลูคา เดลลา รอบเบีย (Luca della Robbia) [2].
ชาเปลอูซิมบาร์ดิ
Usimbardi chapel
สร้างใหม่โดยลุโดวิโค ชิโจลิ ในปี ค.ศ. 1602

อ้างอิง[แก้]

  1. CATHOLIC ENCYCLOPEDIA: Vallumbrosan Order (Basilica of St. John Lateran), Rome. [www.newadvent.org/cathen/15262a.htm]

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ซันตาตรีนีตา

สมุดภาพ[แก้]