วัดช้าง (อำเภอเมืองอ่างทอง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดช้าง
แผนที่
ที่ตั้ง55 หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านอิฐ อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระครูสุวัฒน์วรกิจ (สุพจน์ สุวจฺจโน)
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดช้าง วัดโบราณประเภทวัดราษฎร์ในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกายตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านอิฐ อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง

วัดแห่งนี้สร้างในสมัย กรุงสุโขทัย เป็นราชธานีเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1845 ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาใน ยุทธการที่ทุ่งบางแก้ว เมื่อปี พ.ศ. 2128 สมเด็จพระนเรศวรโปรดเกล้าฯ ให้ พระราชมนู เป็นแม่ทัพหน้าซึ่งพระราชมนูได้ใช้วัดช้างซึ่งขณะนั้นไม่ปรากฏหลักฐานว่าเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาหรือเป็นวัดร้างเป็นที่ตั้งทัพทหารจำนวน 10,000 นาย

หลังจากมีชัยชนะเหนือกองทัพพม่าสมเด็จพระนเรศวรก็โปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดจนกระทั่งสิ้นรัชสมัยของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระราชมนูซึ่งขณะนั้นมีบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาอัครมหาเสนาธิบดี ที่สมุหพระกลาโหมได้ลาออกจากราชการและออกบวชจนสิ้นอายุขัยโดยได้สร้างพระวิหารเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและได้มีการสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิขึ้นหลังจากนั้นก็ไม่ปรากฏหลักฐานอีก จนกระทั่งเสียกรุงศรีอยุธยาจึงถูกทิ้งเป็นวัดร้าง

ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้มีการฟื้นฟูวัดช้างขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งโดยวัดช้างได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2403 [1]

ลำดับเจ้าอาวาสเท่าที่ปรากฏหลักฐาน[แก้]

1. หลวงพ่อเพชร (พระราชมนู)

2. หลวงปู่รอด

3. หลวงพ่อพ่วง

4. หลวงพ่อเพ็ง (ลำดับที่ 2-4 เป็นพ่อลูกกัน)

หลังจากนั้นก็ไม่ปรากฏนามเจ้าอาวาสอีกจนกระทั่งเสียกรุงศรีอยุธยา

5. พระพ่วง

6. พระเปรื่อง

7. พระโห (พ.ศ. 2466) รักษาการเจ้าอาวาส

- พระรอด (พ.ศ. 2478) รักษาการเจ้าอาวาส

8. พระเฉื่อย

9. พระนา

10. พระศิริ (พิทักษ์สาลี)

11. พระฮวด

12. พระปุ่น (อนนท์พันธ์)

13. พระกลั่น (วัฒนศิริ)

14. พระใบฎีกาช้อย วิสารโท (เขม้นจันทร์) 2509-2534

15. พระครูสุวัฒน์วรกิจ (สุพจน์ สุวจฺจโน) 2534-ปัจจุบัน

โบราณสถานและโบราณวัตถุในวัด[แก้]

  • พระเจดีย์บรรจุอัฐิของ เจ้าพระยาอัครมหาเสนาธิบดี หรือ พระราชมนู หรือ หลวงพ่อเพชร[2]
  • พระอุโบสถมหาอุตม์ สมัยสุโขทัย
  • หลวงพ่อทอง พระประธานในพระอุโบสถ
  • วิหารพระราชมนู
  • ธรรมาสน์บุษบก

อ้างอิง[แก้]