วัชระ งามจิตรเจริญ
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
ศาสตราจารย์ ดร. วัชระ งามจิตรเจริญ เกิดที่เขตสาธร กรุงเทพ ฯ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2504
การศึกษา
[แก้]- สำเร็จเปรียญธรรม ๙ ประโยค ขณะเป็นสามเณร ได้เป็นนาคหลวง ในพระบรมราชานุเคราะห์
- สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี พุทธศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- สำเร็จการศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาปรัชญา จาก มหาวิทยาลัยเดลี ประเทศอินเดีย จนจบปริญญาโทเกียรตินิยมเหรียญทอง
- สำเร็จการศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาปรัชญา จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การทำงาน
[แก้]- อดีตเคยเป็นหัวหน้าภาควิชาปรัชญา คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- อดีตพระจริยานิเทศก์ประจำจังหวัดกาญจนบุรี
- เป็นรองศาสตราจารย์ระดับ 9 ภาควิชาปรัชญา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ ในปี พ.ศ. 2555[1]
ผลงาน
[แก้]ศาสตราจารย์ ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ มีผลงานทางวิชาการมากมายทั้งที่เป็นงานวิจัย หนังสือ หนังสือแปล บทความ วิทยานิพนธ์ และงานวิจัย เช่น หนังสือ ได้แก่ ความรู้พื้นฐานทางศาสนา,พุทธศาสนาเถรวาท หนังสือแปล ได้แก่ วิมุตติมรรค บทความ ได้แก่ พัฒนาการของมโนทัศน์เรื่องอนัตตาในพุทธปรัชญาเถรวาท,ปัญหาของขณิกวาท,บทวิพากษ์อภิธรรม วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต "นิพพานในพุทธปรัชญาเถรวาท:อัตตาหรืออนัตตา" งานวิจัย "นิพพานในพระไตรปิฎกและอรรถกถา" และผลงานวิจัยล่าสุดคือ "แนวคิดในการใช้พุทธธรรมเพื่อดำเนินการทางเศรษฐกิจในสังคมทุนนิยม: กรณีศึกษา" นอกจากนี้ยังเป็นอาจารย์พิเศษและวิทยากรบรรยายวิชาทางด้านปรัชญาและพุทธศาสนาตามสถาบันต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก เช่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต, วิทยาลัยพยาบาลทหารเรือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.thairath.co.th/content/edu/243616 อนุมัติ "ศ" 15 รายจาก ไทยรัฐ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๘๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๒ ข หน้า ๗๕, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
- อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ - ศิลปศาสตร์ - มนุษยศาสตร์
- ศาสตราจารย์
- เปรียญธรรม 9 ประโยค
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- นาคหลวง
- บุคคลจากคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
- บุคคลจากสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยเดลี
- นิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสนาพุทธ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บุคคลจากเขตสาทร
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์