วงศ์แพนด้าแดง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงศ์แพนด้าแดง
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: โอลิโกซีน - ปัจจุบัน
40–0Ma
Stavenn Ailurus fulgens 00.jpg
แพนด้าแดง (Ailurus fulgens)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
อันดับย่อย: Caniformia
วงศ์ใหญ่: Musteloidea
วงศ์: Ailuridae
Gray, 1843
สกุล
Ailurus fulgens topographic distribution map.svg
แผนที่การกระจายพันธุ์ของแพนด้าแดง

วงศ์แพนด้าแดง เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ailuridae (/ไอ-เลอ-ริ-ดี/) ซึ่งมีเพียงสัตว์ชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์นี้ คือ แพนด้าแดง ที่พบกระจายพันธุ์ในป่าตามแนวเทือกเขาหิมาลัยของเอเชียตะวันออกจนถึงเอเชียใต้

เดิมทีนักวิทยาศาสตร์ คือ จอร์จส์ คูเวียร์ ได้จัดให้แพนด้าแดงอยู่ในวงศ์เดียวกันกับแรคคูน คือ Procyonidae ในปี ค.ศ. 1825 ด้วยเห็นว่าแพนด้าแดง มีลักษณะทางกายภาพหลายอย่างที่เหมือนกับแรคคูน เช่น ลักษณะลำตัวสั้น มีหางยาว มีรูปหน้า และลวดลายคล้ายกับแรคคูน นอกจากนั้นยังมีพฤติกรรมการออกหากินในช่วงเวลากลางคืน และใช้เวลาส่วนใหญ่อาศัยอยู่บนต้นไม้คล้ายกับแรคคูนอีกด้วย หรือแม้แต่บางคนก็จัดให้อยู่วงศ์เดียวกันกับหมี คือ Ursidae

อย่างไรก็ตามเมื่อมีการศึกษาลงไปถึงระดับโมเลกุลของสารพันธุกรรม ได้แก่ การหาลำดับเบสของดีเอ็นเอ และการทดสอบเปรียบเทียบตำแหน่งของเบสในสิ่งมีชีวิตเพื่อจำแนกเป็นสายวิวัฒนาการ ทำให้ทราบว่าแพนด้าแดงมีสารพันธุกรรมที่มีความแตกต่างจากแรคคูน และมีสายวิวัฒนาการแยกออกมาจากสายวิวัฒนาการของแรคคูนมาเป็นเวลานานกว่า 30 หรือ 40 ล้านปีแล้ว จึงได้จำแนกแพนด้าแดงออกมาจากวงศ์ Procyonidae และจัดอยู่ในวงศ์เฉพาะคือ วงศ์ Ailuridae

ปัจจุบันแพนด้าแดงแบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย คือ Ailurus fulgens fulgens ซึ่งมีขนาดตัวเล็ก และขนที่ใบหน้ามีสีจาง ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดียในรัฐอัสสัมและสิขิม หรือประเทศภูฎาน, ประเทศเนปาล และบางส่วนของประเทศจีน ส่วนอีกชนิดย่อยหนึ่งคือ Ailurus fulgens styani มีขนาดตัวที่ใหญ่และมีลายที่หน้าสีเข้มกว่าชนิดย่อยแรก ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศจีนแถบมณฑลยูนาน และเทือกเขาในมณฑลเสฉวน และทางตอนเหนือของประเทศพม่า อาหารหลักคือใบไผ่ บางครั้งอาจกินลูกสน, รากไม้, เห็ด , ไข่นก หรือลูกนก เป็นต้น ชอบออกหากินเวลาใกล้ค่ำ อาศัยอยู่บนต้นไม้เป็นส่วนใหญ่[1]

สมาชิกในวงศ์นี้ได้สูญพันธุ์ไปเกือบหมดแล้ว ตั้งแต่ในยุคน้ำแข็ง เดิมเคยพบกระจายเป็นวงกว้างตั้งแต่ยุโรปจนถึงเอเชีย จึงทำให้แพนด้าแดง ซึ่งเป็นสมาชิกเพียงหนึ่งเดียวที่ในวงศ์นี้ที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์อยู่จนถึงปัจจุบันเป็นฟอสซิลที่มีชีวิต[2]

การจำแนก[แก้]

  • วงศ์ Ailuridae
    • สกุล Protursus ()
      • Protursus simpsoni
    • ?วงศ์ย่อย Amphictinae
      • สกุล Viretius ()
        • Viretius goeriachensis
      • สกุล Amphictis ()
        • Amphictis aginensis
        • Amphictis antiqua
        • Amphictis borbonica
        • Amphictis prolongata
        • Amphictis schlosseri
        • Amphictis wintershofensis
    • วงศ์ย่อย Simocyoninae ()
      • สกุล Alopecocyon ()
        • Alopecocyon leardi
      • สกุล Simocyon ()
        • Simocyon batalleri
        • Simocyon diaphorus
        • Simocyon hungaricus
        • Simocyon primigenius
    • วงศ์ย่อย Ailurinae

อ้างอิง[แก้]

  1. "แพนด้ายักษ์และแพนด้าแดงจัดเป็นหมีหรือไม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-11. สืบค้นเมื่อ 2013-08-17.
  2. Roberts, MS & Gittleman, JL (1984). "Ailurus fulgens". Mammalian Species. American Society of Mammalogists. 222 (222): 1–8. doi:10.2307/3503840. JSTOR 3503840.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. McKenna, MC & Bell SK (1997). Classification of Mammals Above the Species Level. Columbia University Press.
  4. Peigné, S., M. Salesa, M. Antón, and J. Morales (2005). "Ailurid carnivoran mammal Simocyon from the late Miocene of Spain and the systematics of the genus". Acta Palaeontologica Polonica. 50: 219–238.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. Salesa, M., M. Antón, S. Peigné, and J. Morales (2006). "Evidence of a false thumb in a fossil carnivore clarifies the evolution of pandas". Proceedings of the National Academy of Sciences. 103 (2): 379–382. doi:10.1073/pnas.0504899102. PMC 1326154. PMID 16387860.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. Wallace, SC & Wang, X (2004). "Two new carnivores from an unusual late Tertiary forest biota in eastern North Americ". Nature. 431 (7008): 556–559. doi:10.1038/nature02819. PMID 15457257.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. "Ailuridae". www.helsinki.fi (ภาษาอังกฤษ).

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]