วงตาวัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วงตาวัน
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดประเทศไทย
แนวเพลงโปรเกรสซีฟร็อก
ช่วงปีพ.ศ. 2527 - 2539 พ.ศ. 2558
ค่ายเพลง แกรมมี่ เอนเตอร์เทนเมนท์
Orange Music Group
ดี-เดย์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์
วอร์นเนอร์ มิวสิก
สมาชิกกิติพันธ์ ปุณกะบุตร
ชัยวัฒน์ จุฬาพันธุ์
มรุธา รัตนสัมพันธ์
พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
วงศกร รัศมิทัต

วงตาวัน เป็นวงดนตรีที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2528 โดยเกิดขึ้นจากการรวมตัวอดีตนักดนตรีวงแมคอินทอช 3 คน ได้แก่ กิติพันธ์ ปุณกะบุตร, มรุธา รัตนสัมพันธ์, วงศกร รัศมิทัต กับนักดนตรีที่มีประสบการณ์โชกโชนอีก 2 ท่าน อย่าง พงศ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และ ชัยวัฒน์ จุฬาพันธุ์

ชื่อ "วงตาวัน" ตั้งโดยคุณสันติ เศวตวิมล หรือว่าที่ทุกคนรู้จักในนามปากกา "กรวิก" นักแต่งเพลงอาวุโสที่ทางวงเคารพนับถือ มีความหมายว่า โค้งตะวัน. วง ในที่นี้ หมายถึง วงโค้ง (ไม่ใช่ วงดนตรี), ตาวัน เขียนแบบโบราณ หมายถึง ดวงตาของวัน ซึ่งก็คือดวงอาทิตย์นั่นเอง. มีไม่กี่คนที่รู้ความหมายนี้ และส่วนใหญ่เข้าใจกันผิดมาโดยตลอดว่า เป็นวงดนตรีที่ชื่อ ตาวัน[1]

ประวัติ[แก้]

วงตาวันมักเรียกตัวเองว่า ขบถ เนื่องจากเป็นกลุ่มคนที่ทนไม่ได้กับความไม่เป็นธรรมจากเถ้าแก่ หรือนายหน้าบริษัทเทป ที่ให้ส่วนแบ่งการออกอัลบั้มตามความพอใจ ทำให้พวกเขาต้องการนำเสนองานโดยมีลิขสิทธิ์เป็นของตัวเอง และสมาชิกแต่ละคนจะได้ส่วนแบ่งในการผลิตเพลงที่เป็นธรรมที่สุด

พวกเขารวมตัวและก่อตั้งวงตาวันขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2528 โดยเริ่มจากการเล่นดนตรีกลางคืนที่โรงแรมเอเซีย และที่แห่งนี้พวกเขาก็ได้เริ่มเขียนเพลงสำหรับอัลบั้มแรกของพวกเขาเอง โดยมีสมาชิก 5 คน คือ ต้น , หมู , ปริ้นซ์ , ปุ้ม[a 1] มาจากวงแมคอินทอช และ ขุน ที่ถูกชักชวนมาเล่นโดยหมู

หลังจากพวกเขาออกอัลบั้มแรก หุ่นกระบอก ก็ได้ก่อตั้งบริษัท Orange Music Group เพื่อรับผลิตงานเพลงต่างๆ ทั้งเพลงประกอบโฆษณา / ละคร และรับดูแลการผลิตอัลบั้มให้กับศิลปินต่าง ๆ เช่น ไอเฟล เฮฟวี่มด ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ ในชุด คนเขียนเพลงบรรเลงชีวิต แม้กระทั่ง คาราบาว ในชุด ห้ามจอดควาย เป็นต้น รวมถึงผลงานอัลบั้ม ม็อบ ของเขาเอง ในปี 2535

อัลบั้มสุดท้าย 'Promise' ถือเป็นการทำดนตรีในแนว Rock Opera ในลักษณะที่เรียกว่า Concept Album ครั้งแรกและครั้งเดียวในประเทศไทย ที่ทำเพลงเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด เนื้อร้องภาษาอังกฤษ แต่งโดย ทอดด์ ลาเวลล์ (ทอดด์ ทองดี) มีเนื้อหาเกี่ยวกับจินตนาการของคนไข้ในโรงพยาบาลจิตเวช มี 2 เพลงที่แปลเนื้อร้องเป็นภาษาไทย โดย มรุธา รัตนสัมพันธ์

  1. เคยมาเล่นแบคอัพตามคอนเสิร์ต ร่วมกับอู๋ อรรถพล และมาเล่นแทน อู๋ ตอนไปเรียนต่างประเทศ เมื่อช่วงปี 2528

สมาชิก[แก้]

ผลงานอัลบั้ม[แก้]

หุ่นกระบอก (ธันวาคม พ.ศ. 2528) จัดจำหน่ายโดย แกรมมี่ เอนเตอร์เทนเม้นท์

  1. หุ่นกระบอก
  2. เสียงกระซิบจากสายฝน
  3. อัตตา
  4. ขอรักเธอข้างเดียว
  5. คน
  6. สมาคมว่างงาน
  7. สู่แสงแห่งตาวัน
  8. ถึงเธอผู้ห่างไกล
  9. รถจ๊ะเอ๋
  10. V-BOOM

ม็อบ (พ.ศ. 2535) จัดจำหน่ายโดย Orange Music Group

  1. ม็อบ
  2. ใจหิน
  3. ร้องเพลงเถิด
  4. ดูดาว
  5. กาม
  6. หัวเดียวกระเทียมดอง
  7. คนจนตรอก
  8. โองการแช่งน้ำ
  9. มีเธอ
  10. ต่อคิว
  11. มอบไว้ให้โลกนี้
  12. ไม่ห่างใจเธอ

LIVE (พ.ศ. 2536) [a 1]

  1. ม็อบ
  2. สมาคมว่างงาน
  3. ใจหิน
  4. หุ่นกระบอก
  5. คนจนตรอก
  6. กาม
  7. มีเธอ
  8. หัวเดียวกระเทียมดอง
  9. ดูดาว
  10. โองการแช่น้ำ
  1. ผลงานบันทึกการแสดงสดคอนเสิร์ต

12 ราศี (พ.ศ. 2536) จัดจำหน่ายโดย D - Day Entertainment [a 1]

  1. รักเกินใจ
  2. ห่วงใย
  3. นักคิด
  4. Sweetness
  5. ชน
  6. หัวใจธนู
  7. ข่าว
  8. บริสุทธิ์
  9. สถิตยุติธรรม
  10. นางไม้
  11. การเริ่มต้น
  12. กลับบ้าน
  1. ภายหลังมาเป็นบริษัท Warner Music Thailand

Autography (พ.ศ. 2537) [a 1] จัดจำหน่ายโดย Warner Music Thailand

  1. หุ่นกระบอก
  2. สมาคมว่างงาน
  3. สู่แสงแห่งตาวัน
  4. เสียงกระซิบจากสายฝน
  5. มีเธอ [a 2]
  6. โองการแช่งน้ำ
  7. กาม
  8. ดูดาว
  9. ใจหิน
  10. คนจนตรอก
  11. ชน
  12. ห่วงใย
  13. กลับบ้าน
  14. Sweetness
  1. เป็นผลงานรวมเพลงจาก 3 อัลบั้มแรก
  2. เพลง มีเธอ ที่อยู่ในอัลบั้มนี้เป็นเวอร์ชันคอนเสิร์ตที่อยู่ในอัลบั้ม LIVE เมื่อปี 2536

The PROmISE (พ.ศ. 2539) จัดจำหน่ายโดย Warner Music Thailand

  1. The PROmISE
  2. The life
  3. Voices
  4. Swan song
  5. Mind chain
  6. Roachelle
  7. The intruder
  8. Sunday special
  9. Love calling
  10. The battle
  11. Swan song (Thai version)
  12. Love calling (Thai version)

อัลบั้มที่มีสมาชิกวงตาวันร่วมทำงานเบื้องหลัง[แก้]

แอ๊ด คาราบาว ชุด ทำมือ (พ.ศ. 2532)

  • ปุ้ม : คีย์บอร์ด + เรียบเรียงดนตรีประกอบ + เสียงประสาน + ช่วยผลิต + กลองไฟฟ้า + เบสซิน + ร่วมมิกซ์
  • ต้น : กลองไฟฟ้า + ร่วมมิกซ์
  • หมู : ร่วมมิกซ์

คาราบาว ชุด ห้ามจอดควาย (พ.ศ. 2533)

  • ปุ้ม : ร้องนำ+ร้องประสาน คีย์บอร์ด + ประสานเสียง + โปรแกรม + เรียบเรียง + มิกซ์เสียง
  • ต้น : ร้องนำ+ประสานเสียง+ กลอง + มิกซ์เสียง
  • หมู :กีตาร์ +ประสานเสียง

เล็ก คาราบาว ชุด 1945 นางาซากิ (พ.ศ. 2533)

  • ปุ้ม : คีย์บอร์ด + ประสานเสียง + โปรแกรม + เรียบเรียง + มิกซ์เสียง
  • ต้น : ประสานเสียง + ควบคุมเสียง
  • หมู : กีตาร์ไฟฟ้า + กีตาร์สายเอ็น (เพลง เบิกทาง) + คีย์บอร์ด + ประสานเสียง + ควบคุมการผลิต
  • ปริ้นซ์ : เบส (เพลง เบิกทาง)

เขียว คาราบาว ชุด ก่อกวน (พ.ศ. 2533)

  • ปุ้ม : คีย์บอร์ด + ดนตรีเพลง ไม่เคย , ลุย , ชีวิต + ทำนองเพลง ก่อกวน , ลุย , ชีวิต
  • หมู : กีตาร์ + ดนตรีเพลง ไม่บอกก็รู้ , ก่อกวน , สลัมเฮฮา , อิโหน่ อิเหน่ , จำกันได้บ่ , สุดขีด + ทำนองเพลง จำกันได้บ่ , สุดขีด , สลัมเฮฮา
  • ขุน : ดนตรีเพลง ดวงดาว + ทำนองเพลง ไม่บอกก็รู้ , ดวงดาว
  • ปริ้นซ์ : คำร้องเพลง ไม่บอกก็รู้ , สลัมเฮฮา , ดวงดาว
  • ต้น : กลอง

แอ๊ด คาราบาว ชุด โนพลอมแพลม (พ.ศ. 2533)

  • ปุ้ม + หมู : ช่วยคีย์บอร์ดและเรียบเรียงโครงภาคคอมพิวเตอร์
  • ต้น : ช่วยกลอง + โปรแกรม + เสียง

คอนเสิร์ตใหญ่[แก้]

  • คอนเสิร์ต The Symphonic Of WongTawan (พ.ศ. 2558)

อ้างอิง[แก้]

  1. Facebook Officail Page วงตาวัน https://www.facebook.com/WongTawanBand/info/?tab=page_info

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]