ล็อกฮีด ดีซี-130

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดีซี-130 เฮอร์คิวลิส
บทบาทอากาศยานควบคุมโดรน
ชาติกำเนิด สหรัฐ
บริษัทผู้ผลิตล็อกฮีด
ผู้ใช้งานหลักกองทัพอากาศสหรัฐ
กองทัพเรือสหรัฐ
พัฒนามาจากซี-130 เฮอร์คิวลิส

ล็อกฮีด ดีซี-130 (อังกฤษ: Lockheed DC-130) เป็นรุ่นหนึ่งของซี-130 เฮอร์คิวลิสที่ออกแบบมาเพื่อควบคุมโดรน มันสามารถบรรทุกโดรนไรอันไฟร์บี (Ryan Firebee) ได้สี่ลำใต้ปีกของมัน

การพัฒนา[แก้]

การออกแบบ[แก้]

ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 กองทัพอากาศของหลายประเทศได้หาวิธีมากมายในการสร้างเครื่องบินที่ควบคุมด้วยรีโมต มันเริ่มขึ้นจากวิกฤตการณ์ยู-2 เมื่อปีพ.ศ. 2503 กองทัพอากาศสหรัฐจึงได้รวบรวมความสนใจในการใช้อากาศยานไร้คนขับหรือโดรน เพื่อหาข้อมูลของขีปนาวุธพื้นสู่อากาศเอสเอ-2 ไกด์ไลน์ ภายใตเชื่อว่า"ไลท์นิ่งบัค" (Lightning Bug) และ"คอมแพสคุกกี้" (Compass Cookie) โดรนเป้าล่อไรอัน 147เอได้ถูกดัดแปลงเพื่อเป็นอากาศยานสอดแนม โดรนถูกทดสอบเหนือเกาหลีเหนือและจีนหลังจากเหตุการณ์ในอ่าวตังเกี๋ยเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2507

ในขณะที่มันเหมาะในการสอดแนม การใช้รถตู้เรดาร์เพื่อการบัญชาการ ติดตาม และควบคุมก็เข้าไปจำกัดความสามารถในการต่อสู้ของโดรน ทีมควบคุมถูกจำกัดให้มีเพียงหนึ่งคนและต้องอยู่ในบริเวณเท่านั้น เพื่อที่จะเพิ่มพิสัยและนำโดรนกลับมาใช้ใหม่ได้ ซี-130เอบางลำจึงถูกดัดแปลงเพื่อบรรทุกโดรนใต้ปีกและใช้ชื่อว่าจีซี-130 เอ็มซี-130 หรือดีซี-130

โครงการดีซี-130เอถูกทดสอบที่ฐานทัพอากาศฮิลในยูทาห์ เครื่องบินถูกออกแบบมาเพื่อบรรทุกและใช้งานโดรนได้ถึง 4 ลำ นอกจากความสามารถในการใช้โดรนได้ 4 ลำ มันยังสามารถควบคุมโดรนได้ถึง 16 ลำในเวลาเดียวกัน

ประวัติการใช้งาน[แก้]

กองบัญชาการอากาศทางยุทธศาสตร์ได้ใช้ดีซี-130 มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2509-2519 เพราะมีการย้ายโดรนไปที่กองบัญชาการอากาศทางยุทธศาสตร์

โดรนเป้าล่อหรือโดรนโจมตีถูกติดตั้งไว้ใต้ปีกละสองจุด ลำหนึ่งระหว่างเครื่องยนต์และอีกลำถัดจากเครื่องยนต์ด้านนอกสุด นั่นทำให้ดีซี-130 สามารถบรรทุกและควบคุมโดนได้ 4 ลำพร้อมๆ กัน แต่ก็ยังไม่เคยมีการใช้งานเช่นนั้นจริงๆ มันถูกใช้เพียงเพื่อการสอดแนมและการรบกวนอิเลคทรอนิกเท่านั้น

ดีซี-130 สามารถใช้ ติดตาม และควบคุมโดรนได้ มันมีสถานีปล่อยโดรน 2 สถานี (ลำละหนึ่งสถานี) เป็นส่วนที่ระบบทั้งหมดของโดรนจะถูกเปิดและตรวจสอบ จากสถานีเหล่านั้นจะมีการติดเครื่องยนต์เพื่อเตรียมปล่อยโดรน จะมีคนควบคุมในสถานีสองคน อุปกรณ์จะแสดงข้อมูลทั้งหมดที่ส่งมาจากโดรน อย่าง ทิศทาง ความเร็ว ความสูง ค่าพลังงาน และสภาพการบิน ข้อมูลการนำร่องและติดตามจะถูกป้อนเข้าระบบที่อยู่ในโดรนและดีซี-130 บนกระดานแผนที่ตรงหน้าของผู้ควบคุม การติดตามโดรนจะแสดงขึ้นบนกระดาน ซึ่งสามารถทำให้ลูกเรือตรวจพบข้อมูลการบินได้ทันที ผู้ควบคุมโดรนจะเฝ้ามองและบันทึกวิดีโอจากกล้องที่ติดอยู่กับโดรน โดยจะเก็บข้อมูลต่างๆ จากโดรน

ดีซี-130 ถูกใช้ในโครงการพัฒนาขีปนาวุธร่อนล่องหนเมื่อปีพ.ศ. 2521

โดรนสอดแนมนั้นจะมีขนาดและน้ำหนักที่มากกว่า นั่นแปลว่าดีซี-130เอจะสามารถบรรทุกได้เพียงปีกละลำเท่านั้น โดรนแต่ละลำถูกติดตั้งอยู่ระหว่างเครื่องยนต์ โดยเข้ามาแทนที่ถังเชื้อเพลิงในรุ่นก่อน เมื่อซี-130อีถูกดัดแปลงเป็นเครื่องบินบรรทุกโดรน พวกมันก็ถูกนำเอาถังเชื้อเพลิงออกและแทนที่ด้วยจุดติดตั้งโดรน มันเป็นการเพิ่มความสามารถและเวลาปฏิบัติการของดีซี-130

โดรน[แก้]

ดีซี-130 ที่บรรทุกโดรนบีคิวเอ็ม-34เอส ไฟร์บีสองลำไว้ใต้ปีก

คิว-2ซี ไฟร์บี (อังกฤษ: Q-2C Firebee) เป็นโดรนเป้าหมายที่ถูกดัดแปลงเพื่อทำภารกิจสอดแนมและใช้ชื่อว่าบีคิวเอ็ม-34เอ (อังกฤษ: BQM-34A) หรือ147เอ ขนาดของมันใหญ่ขึ้นเพื่อให้มีพิสันและบรรทุกได้มากขึ้น สำหรับภารกิจความสูงต่ำ ระยะระหว่างปลายปีกจะยาวถึง 4.6 เมตร และต่อมาก็กลายเป็น 8.2 เมตร แต่มักประสบความสำเร็จในแบบดั้งเดิมที่มีความยาว 4.0 เมตร ปีกที่ยาว 8.2 และ 10.1 เมตรนั้นถูกใช้เพื่อทำการบินในระดับสูง แรงขับจากเดิม 1,700 ปอนด์ถูกเพิ่มขึ้นเป็น 1,920 ปอนด์และต่อมาก็เป็น 2,800 ปอนด์ บางรุ่นได้ติดตั้งถังเชื้อเพลิงเอาไว้เพื่อเพิ่มพิสัย

โดรนนั้นมีระบบนำร่องมากมาย รวมทั้งระบบนำร่องเฉื่อย คลื่นดอปเปลอร์ และโลแรน (LORAN) พวกมันมีคอมพิวเตอร์แบบอนาล็อกซึ่งควบคุมความเร็ว ความสูง ทิศทาง เครื่องยนต์ เซ็นเซอร์ และระบบฟื้นตัว ระบบนั้นจะเปิด-ปิดเซ็นเซอร์ทั้งหมดและควบคุมทิศทาง การไต่ระดับ การดำดิ่ง และค่าเครื่องยนต์ มันจะขึ้นอยู่กับภารกิจที่ต้องทำ นอกจากนี้อุปกรณ์ยังได้แก่

  • Rivet Bounder - เป็นระบบที่จะเข้ารบกวนสัญญาณนำวิถีของขีปนาวุธพื้นสู่อากาศ
  • ทีดับบลิวที - ท่อคลื่นเดินทาง (traveling wave tube)
  • ซีอาร์แอล - เป็นระบบที่ลดโอกาสที่จะถูกตรวจจับ n
  • ไฮด์ (HIDE) - เป็นระบบที่ใช้เพื่อลดการสะท้อนของเรดาร์จากเครื่องบิน
  • เฮมพ์ (HEMP) - เป็นระบบที่ทำหน้าที่ตรวจจับเครื่องบินขับไล่และทำการหลบหลีก
  • แฮทแรก (HATRAC) - เป็นระบบสำหรับการบินในระดับสูงเพื่อตรวจจับการเข้ามาของเครื่องบินขับไล่หรือขีปนาวุธพื้นสู่อากาศและทำการหลบหลีก

เซ็นเซอร์มีทั้งกล้องจำนวนมากเพื่อหาเป้าหมายที่แตกต่างกันไปทั้งการบินในระดับสูงและต่ำ กล้องอาจเป็นแบบนิ่ง หมุนได้ หรือถ่ายตามเส้นขอบฟ้า มีบ้างที่ให้รายละเอียดได้ดีในขณะที่รุ่นอื่นจะมองได้เป็นมุมกว้าง นอกจากนี้ยังมีกล้องโทรทัศน์ที่สามารถซูมและแพนกล้องได้

ตัวรับอิเลคทรอนิกจำนวนมากถูกติดตั้งเข้าไป พวกมันถูกออกแบบมาเพื่อขัดขวางการสื่อสารจากทุกแหล่ง เรดาร์ ข้อมูล เป็นต้น ข้อมูลที่ถูกขัดขวางจะถูกส่งไปยังเครื่องบินลำอื่น ภาคพื้นดิน หรือดาวเทียม ตัวรับสัญญาณบางชิ้นสามารถปรับโดยผู้ควบคุมจากเครื่องบินอีกลำหรือจากบนพื้นได้ การทำงานของตัวรับสัญญาณบางชิ้นเป็นแบบป้องกัน เมื่อพวกมันตรวจพบและระบุสัญญาณที่เป็นภัย พวกมันจะส่งสัญญาณเข้ารบกวน ปล่อยเป้าล่อ หรือทำการหลบหลีก

เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง พวกมันจึงมีระบบฟื้นตัวและตัวรับที่สามารถทำการเขียนโปรแกรมใหม่ทับลงไปได้ กระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่นั้นเริ่มโดยคอมพิวเตอร์ควบคุมที่ตำแหน่งพรีเซ็ท นอกเสียจากว่ามันจะถูกเขียนโปรแกรมทับโดยเจ้าพนักงานที่ควบคุมเสียเอง โดยปกติแล้วโดนจะถูกตรวจจับโดยเรดาร์เมื่อมันเข้าใกล้พื้นที่บำรุงและควบคุมโดยผู้ควบคุม จะมีกาตรวจสอบความถูกต้องในนาทีสุดท้ายตามความจำเป็นและกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่จะเริ่มหาจุดที่แม่นยำเพื่อไปยังเฮลิคอปเตอร์ที่คอบรับมัน ระบบฟื้นตัวบนในโดรนประกอบด้วยกลไกลเซอร์โวที่จะทำการปิดเครื่องยนต์ กางร่มฉุด และเปิดร่มหลักเมื่อถึงความสูงที่ตั้งค่าเอาไว้ เฮลิคอปเตอร์จะบินเข้ามาเหนือร่มหลักโดยใช้ตะขอเกี่ยวเอาไว้ จากนั้นโดรนจะถูกดึงขึ้นไปใต้เฮลิคอปเตอร์และบินกลับฐาน มันสามารถลงจอดบนพื้นดินได้หากจำเป็นด้วยร่มหลัก เมื่อกระทบพื้นเซ็นเซอร์จะปล่อยร่มออกมาเพื่อให้มันถูกนำกลับไป ด้วยวิธีนี้มันจะได้รับความเสียหายมากกว่าทำให้ไม่ค่อยใช้กันนัก

ในที่สุดโครงการดีซี-130 ก็ถูกปิด เพราะว่ามันแพงเกินไป การใช้โดรนเพียงลำเดียวต้องเสียค่าบำรุงรักษาดีซี-130 โดรน และเฮลิคอปเตอร์ (เอชเอช-3หรือเอชเอช-53)

ประเทศผู้ใช้งาน[แก้]

รายละเอียด[แก้]

  • ลูกเรือ กองทัพอากาศจะใช้ทั้งหมด 6 นาย ได้แก่ นักบิน นักบินผู้ช่วย พลนำร่อง ผู้ควบคุมรีโมต และผู้ควบคุมการปล่อยโดรน 2 นาย กองทัพเรือจะมีเพิ่มาอีกสองตำแหน่งคือ วิศวกรการบินกับผู้ควบคุมระบบนำวิถีควบคุมด้วยคลื่นไมโครเวฟ

ดูเพิ่ม[แก้]

การพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
อากาศยานที่เทียบเท่า

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]