ลีวียู ลีเบรสกู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลีวียู ลีเบรสกู
เกิด18 สิงหาคม 1930
ปลอเยชต์ ราชอาณาจักรโรมาเนีย
เสียชีวิตเมษายน 16, 2007(2007-04-16) (76 ปี)
แบล็กสเบิร์ก รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐ
สาเหตุเสียชีวิตบาดแผลกระสุนปืน
พลเมืองโรมาเนีย
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยโปลีเทคนิกบูคาเรสต์
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาวิศวกรรมศาสตร์: แอโรอีลาสติกซิตี และ แอโรไดนามิกส์
สถาบันที่ทำงานเวอร์จิเนียเทก
มหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ
สถาบันเทคโนโลยีเทกนีออน-อิสราเอล[1][2]

ลีวียู ลีเบรสกู (โรมาเนีย: Liviu Librescu, เสียงอ่านภาษาโรมาเนีย: [ˈlivju liˈbresku]; ฮีบรู: ליביו ליברסקו 18 สิงหาคม 1930 – 16 เมษายน 2007) เป็นนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรชาวอเมริกัน-โรมาเนีย ผู้รอดชีวิตจากโฮโลคอสต์ เขาชำนาญการพิเศษในสาขาแอโรอีลาสติกซีตี และ แอโรไดนามิกส์

ลีเบรสกูเป็นที่รู้จักในวงกว้างจากบทบาทของเขาระหว่างการสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียเทคเมื่อปี 2007 ที่ซึ่งเขาดึงปิดประตูห้องเลกเชอร์ของเขาไว้เพื่อให้นักศึกษาในห้องหลบหนีออกทางหน้าต่างได้ทัน นักศึกษาในห้องเลกเชอร์ของลีเบรสกูหลบหนีออกมาสำเร็จยกเว้นเพียงแค่คนเดียว[3] ท้ายที่สุด ลีเบรสกูถูกยิงเสียชีวิตขณะเกิดเหตุสังหารหมู่ รัฐบาลโรมาเนียได้มอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ Order of the Star of Romania ซึ่งเป็นเกียรติยศสูงสุดสำหรับพลเมือง ให้แก่เชาหลังเสียชีวิต

ตอนที่เขาเสียชีวิต ลีเบรสกูเป็นศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์วิศวกรรมและเครื่องกลประจำเวอร์จิเนียเทก[4]

ชีวิตช่วงต้นและอาชีพการงาน[แก้]

ลีวียู ลีเบรสกู เกิดในปี 1930 ในครอบครัวชาวยิวในเมืองปลอเยชต์ ราชอาณาจักรโรมาเนีย หลังนาซีเข้ายึดครองโรมาเนียในสงครามโลกครั้งที่สอง ครอบครัวของเขาถูกเนรเทศไปค่ายแรงงานในทรานส์นีสเตรีย และต่อมาถูกส่งไปยังเกตโตในเมืองฟอกชันในโรมาเนีย[5]

หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด และรอดชีวิตจากฮอโลคอสต์มาได้ ลีเบรสกูเดินทางกลับสู่โรมาเนียยุคคอมมิวนิสต์[5] เขาจบการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์แอโรไดนามิกส์ จากมหาวิทยาลัยพอลีเทคนิกบูคาเรสต์ในปี 1952 และศึกษาต่อปริญญาเอก จบการศึกษาวุฒิ Ph.D. ในสาขากลศาสตร์ของไหล ในปี 1969 จากสถาบันวิทยาศาสตร์โรมาเนีย[6] เขาทำงานเป็นอาจารย์ประจำสถาบันต่าง ๆ ในบูคาเรสต์จนถึงปี 1975 ที่ซึ่งเขาปฏิเสธการสาบานตนเข้าร่วมกับรัฐบาลของผู้เผด็จการนีกอลาเอ ชาวูเชสกู[5] ต่อมาเขาได้ยื่นคำร้องอพยพไปยังอิสราเอล (สำหรับชาวยิว) สถาบันวิทยาศาสตร์โรมาเนียไล่เขาออกจากสถาบัน[5] ในปี 1976 ผลงานวิจัยที่เขาแอบลักลอบออกมาได้รับการตีพิมพ์ในเนเธอร์แลนด์ ทำให้ชื่อของเขาได้นับความสนใจในสาขาพลศาสตร์วัสดุ (material dynamics) จากนานาชาติ[7]

หลังถูกรัฐบาลปฏิสเธมาหลายเดือน ท้ายที่สุดเมนาเกม เบกิน นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เข้ามาแทรกแซงและอนุญาตให้ครอบครัวของลีเบรสกูสามารถอพยพมายังอิสราเอลได้ หลังเบกิน ได้ยื่นคำร้องโดยตรงแก่นีกอลาเอ ชาวูเชสกู ประธานาธิบดีโรมาเนีย เพื่ออนุมัติให้ลีเบรสกูออกจากประเทศมายังอิสราเอลได้[5] ครอบครัวของลีเบรสกูอพยพมายังอิสราเอลในปี 1978[8]

ในปี 1979 ถึง 1986 ลีเบรสกูเป็นศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมศาสตร์เครื่องกลและแอโรนอติกส์ประจำมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ และสอนที่สถาบันเทคนีออนในไฮฟา[8] ในปี 1985 เขาออกเดินทางเพื่อพักผ่อนซับบาติคัลมายังสหรัฐ และต่อมาเป็นศาสตราจารย์ประจำอยู่ที่เวอร์จิเนียเทก แผนกวิทยาศาสตร์วิศวกรรมและเครื่องกล[8][9] เขาเป็นสมาชิกบรรณาธิการบริหารของวารสารวิทยาศาสตร์เจ็ดหัว และได้รับเชิญเป็นบรรณาธิการรับเชิญให้กับฉบับพิเศษของวารสารวิชาการอื่นอีกห้าหัว[10] ไม่นานก่อนเสียชีวิต เขาเป็นประธานร่วมในคณะกรรมการจัดการประชุมนานาชาติว่าด้วยความเครียดความร้อนครั้งที่เจ็ด (7th International Congress on Thermal Stress) ที่ไทเป ในประเทศไต้หวัน ระหว่างวันที่ 4–7 มิถุนายน 2007 และเขายังได้รับเชิญเป็นผู้กล่าวคีย์โนตเลกเชอร์ (keynote lecture) ของการประชุมครั้งนี้ด้วย[4][10] ภรรยาของเขาระบุว่า ลีเบรสกูเป็นศาสตราจารย์ที่มีผลงานตีพิมพ์มากที่สุดในบรรดาศาสตราจารย์ที่เวอร์จิเนียเทก[8]

การเสียชีวิต[แก้]

ศิลาระลึกถึงลีวียู ลีเบรสกู ที่วิทยาเขตของเวอร์จิเนียเทก

ลีเบรสกูเสียชีวิตในการสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียเทค สิริอายุ 76 ปี[8] ถือเป็นผู้เสียชีวิตที่อายุมากที่สุดในเหตุการณ์นั้น ขณะเกิดเหตุเมื่อ 16 เมษายน 2007 ผู้ก่อเหตุ โช ซึง-ฮี เดินเข้ามายังอาคารวิศวกรรมศาสตร์นอริสฮอลล์ (Norris Hall Engineering Building) และกราดยิงตามห้องเรียนในอาคาร ลีเบรสกู ซึ่งตอนนั้นกำลังสอนวิชากลศาสตร์ของแข็งในห้อง 204 ในนอริสฮอลล์ ได้ดึงประตูปิดเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ก่อเหตุบุกเข้ามาได้ พร้อมทั้งตะโกนเรียกให้นักศึกษาในห้องเขาหลบหนีออกไปทางหน้าต่าง ลีเบรสกูสามารถดึงรั้งประตูสู้ไว้ได้กระทั่งนักศึกษาส่วนใหญ่ในห้องหลบหนีออกไปสำเร็จ กระทั่งผู้ก่อเหตุเตะกระจกเข้ามาได้ นักศึกษาที่หลบหนีออกทางหน้าต่างบางส่วนบาดเจ็บที่ขาเนื่องจากกระโดดลงมาจากห้องซึ่งอยู่บนชั้นสอง บางส่วนปลอดภัยดี ทั้งหมดหลบหนีออกมาโดยวิ่งไปยังรถพยาบาลที่ล้อมรอบวิทยาเขตอยู่ บ้างวิ่งหนีออกไปทางป้ายรถประจำทางใกล้ ๆ[11][12][13] ลีเบรสกูถูกยิงรวมสี่นัดผ่านทางประตู[14] หนึ่งนัดผ่านทางนาฬิกาข้อมือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในห้องนั้นทั้ง 23 คนรอดชีวิต ยกเว้นเพียงแค่มินัล ปัญญัล (Minal Panchal) นักศึกษาปริญญาเอกชาวอินเดียจากมุมไบ และอีกสองคนบาดเจ็บไม่ถึงชีวิตขณะหลบอยู่ในซอกหลืบของห้อง[15]

นักศึกษาจำนวนหนึ่งของลีเบรสกูยกย่องเขาเป็นวีรบุรุษจากการกระทำของเขา แคโรลีน เมอรีย์ (Caroline Merrey) นักศึกษาชั้นปีสี่ ระบุว่านักศึกษาอีก 20 คนอัดกันออกมาทางหน้าต่าง ในขณะที่ลีเบรสกูตะโกนเร่งให้พวกเขารีบหนีออกไป[14] เธอระบุว่า "ฉันคิดว่าฉันไม่น่าจะ[รอดชีวิต]มายืนอยู่ตรงนี้ได้ ถ้าไม่ใช่เพราะเขา[ลีเบรสกู]"[16]

อ้างอิง[แก้]

  1. Slavin, Barbara. "Professor who 'did not fear death' likely saved students", USA TODAY, April 17, 2007. Accessed February 20, 2008.
  2. Hernandez, Raymond. "Victims of Shooting Are Remembered", New York Times April 17, 2007. Accessed February 20, 2008.
  3. [1]Holocaust Survivor, Professor Killed Helping Students Escape เก็บถาวร 2007-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Fox News, April 17, 2007. Accessed February 20, 2008.
  4. 4.0 4.1 Liviu Librescu's Curriculum Vitae เก็บถาวร 2007-06-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 Friedman, Matti. "Holocaust survivor killed in Va shooting", Associated Press, April 17, 2007. Accessed February 20, 2008.
  6. (ในภาษาโรมาเนีย) "Profesorul-erou, inventator şi reputat om de ştiinţă" เก็บถาวร 2007-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, in Evenimentul Zilei, April 17, 2007
  7. Jeffrey Brainard and Matthew Kalman. "Profiles of the Slain: Liviu Librescu", The Chronicle of Higher Education. April 17, 2007. Accessed February 20, 2008.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 Benhorin, Yitzhak. "Israeli killed in Virginia massacre". Ynetnews, April 17, 2007. Accessed February 20, 2008.
  9. "Virginia Tech: In Memoriam: April 16th 2007" เก็บถาวร 2007-04-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Virginia Tech.
  10. 10.0 10.1 Liviu Librescu – Faculty profile เก็บถาวร 2007-05-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at the Virginia Tech Department of Engineering and Mechanics website เก็บถาวร 2006-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  11. "Israeli lecturer died shielding Virginia Tech students from gunman" เก็บถาวร 2009-07-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Haaretz, April 17, 2007. Accessed February 22, 2008.
  12. Donovan, Doug (April 17, 2007). "As The Gunshots Shifted Closer, Next Move Was Clear: Get Out". Baltimore Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-20. สืบค้นเมื่อ 2008-02-19.
  13. Maraniss, David. 'That Was the Desk I Chose to Die Under', Washington Post, April 19, 2007. Accessed February 22, 2008.
  14. 14.0 14.1 Moynihan, Colin. "Professor’s Violent Death Came Where He Sought Peace", New York Times, April 19, 2007. Accessed February 22, 2008.
  15. "The Victims", NY Times. April 18, 2007. Accessed February 22, 2008.
  16. Hutkin, Erinn. "Liviu Librescu: Holocaust survivor blocked shooter, letting students flee" เก็บถาวร 2013-01-04 ที่ archive.today, The Roanoke Times, April 27, 2007. Accessed February 22, 2008.