ลาภศักดิ์ ลาภาโรจน์กิจ
ลาภศักดิ์ ลาภาโรจน์กิจ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2484 อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2535–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | สุไหม ลาภาโรจน์กิจ |
ลาภศักดิ์ ลาภาโรจน์กิจ (เกิด 11 มิถุนายน พ.ศ. 2484) กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา 6 สมัย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
ประวัติ
[แก้]ลาภศักดิ์ ลาภาโรจน์กิจ เกิดเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2484[2]ที่ตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เป็นบุตรของนายอวยชัย กับนางศรีสุข ลาภาโรจน์กิจ[3] สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ด้านเศรษฐศาสตร์ จาก Washington International University ประเทศสหรัฐอเมริกา สมรสกับ นางสุไหม ลาภาโรจน์กิจ มีบุตร-ธิดา 3 คน หนึ่งในนั้น คือ นายภิรพล ลาภาโรจน์กิจ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา เขต 2 พรรคประชาธิปัตย์
งานธุรกิจ
[แก้]ลาภศักดิ์ เป็นนักธุรกิจสวนยางพาราขนาดใหญ่ และธุรกิจรถตู้สายนราธิวาส-หาดใหญ่ ต่อมาย้ายฐานมาประกอบธุรกิจที่หาดใหญ่ ในนามบ้านซูซูกิ ซึ่งเป็นตัวแทนเอเยนต์จำหน่ายจักรยานยนต์ ใน 14 จังหวัดภาคใต้ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่แถวโรงเรียนสุวรรณวงศ์ ซึ่งขายทั้งรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ และเล็ก
งานการเมือง
[แก้]ลาภศักดิ์ ลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกติดต่อกันรวม 6 ครั้ง
ปี พ.ศ. 2554 ได้ย้ายตนเองมาลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 125 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ลาภศักดิ์ ลาภาโรจน์กิจ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 6 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประชาธิปัตย์ ตั้งสภาที่ปรึกษาพรรคบัญญัติ-อภิสิทธิ์-ชายหมู มาครบทีม
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓