ข้ามไปเนื้อหา

ลอว์เรนซ์ คายน์ แสนพลออน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลอเรนซ์ คายน์ แสนพลอ่อน
มิสซังโรมันคาทอลิกท่าแร่-หนองแสง
อัครมุขมณฑลอัครมุขมณฑลท่าแร่-หนองแสง
ประกาศแต่งตั้ง23 เมษายน 2523
ขึ้นดำรงตำแหน่ง16 กรกฎาคม 2523
เกษียณ14 พฤษภาคม 2547
สิ้นสุด14 พฤษภาคม 2547
ก่อนหน้ามีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์
ถัดไปยอร์ช ยอด พิมพิสาร รักษาการตำแหน่งมุขนายก
ถัดจากนี้ต่อไปหลุยส์ จำเนียร สันติสุขนิรันดร์
ประวัติการบวช
วันบวช16 มกราคม ค.ศ. 2500

รับศีลบวชเป็น  บาทหลวง

โดย  อัครมุขนายก มีคาแอล มงคล (อ่อน) ประคองจิต
วันอภิเษก16 กรกฎาคม 2523

รับการอภิเษกเป็น  อัครมุขนายก(อาร์คบิชอป) ที่  อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอลท่าแร่ โดย  อัครมุขนายกกิตติคุณ เกี้ยน เสมอพิทักษ์

ร่วมกับ  มุขนายก ลอว์เรนซ์เทียนชัย สมานจิต และ มุขนายกไมเคิล บุญลือ มั่นทรัพย์
เป็นผู้อภิเษกร่วมให้กับอัครมุขนายกจำเนียร สันติสุขนิรันดร์
ข้อมูลส่วนตัว
เกิด14 สิงหาคม 2471 (79 ปี)
เสียชีวิต24 กรกฎาคม พ.ศ. 2550
ที่ฝังศพ/เก็บอัฐิสุสานวัดอัครเทวดามีคาแอลท่าแร่
สัญชาติไทย
นิกายคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
บรรพบุรุษนายคารและนางจันที แสนพลอ่อน
สถาบันCollege General Pulau Tikus, Penang, Malaysia
คติพจน์"ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยความพากเพียร ผ่านกางเขน สู่แสงสว่าง"
ตราประจำตำแหน่งลอเรนซ์ คายน์ แสนพลอ่อน's coat of arms

ลอว์เรนซ์ คายน์ แสนพลอ่อน ( ไทย: ลอเรนซ์ คายน์ แสนพลอ่อน, อักษรโรมัน: Most Rev. Lawrence Kai Sean-Phon-On , 17 สิงหาคม ค.ศ. 1928 – 24 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 ) เป็น อัครมุขนายกกิตติคุณแห่งอัครมุขมณฑลท่าแร่-หนองแสง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2523 จนกระทั่งเกษียณอายุในปี 2547 (6 มีนาคม 2523 - 14 พฤษภาคม 2547) เป็นผู้ริเริ่มเทศกาลแห่ดาวคริสต์มาส จนกลายเป็นเทศกาลประจำปี ของจังหวัดสกลนคร [1]

ประวัติส่วนตัว

[แก้]

อัครมุขนายกลอเรนซ์ คายน์ แสนพลอ่อน เกิดเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1928 ที่บ้านทุ่งมน ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เป็นบุตรของนายคารและนางจันที แสนพลอ่อน เมื่ออายุได้ 5 ขวบ บิดาของพระคุณเจ้าเสียชีวิต สองปีต่อมามารดาก็เสียชีวิต ทิ้งให้พระคุณเจ้าและน้องสาวอยู่ในความอุปการะของคุณยาย

การศึกษาและชีวิตกระแสเรียก

[แก้]

อัครมุขนายกลอเรนซ์เริ่มการศึกษาที่บ้านเณรพระหฤทัยหนองแสง จังหวัดนครพนม ต่อมาศึกษาต่อที่บ้านเณรบางนกแขวก จังหวัดสมุทรสงคราม ภายใต้การอบรมของคณะซาเลเซียน และต่อที่เยเนรัล คอลเลจ บูเลาตีกุส ปีนัง ประเทศมาเลเซีย จนจบหลักสูตร ได้รับศีลบวชเป็นบาทหลวงเมื่อวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 1957 (พ.ศ. 2500) โดยมุขนายกมีแชล มงคล (อ่อน) ประคองจิต

เมื่อวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 แต่งตั้งท่านเป็นอัครมุขนายกแห่งอัครมุขมณฑลท่าแร่-หนองแสง และได้รับอภิเษกเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) ที่อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอลท่าแร่

ตราประจำตำแหน่งของอัครมุขนายก ลอเรนซ์ คายน์ แสนพลอ่อน

ตราประจำตำแหน่ง และ คติพจน์

[แก้]
  • “OMNIA POSSUM IN EO QUI ME CONFORTAT” (ข้าพเจ้าสามารถทำทุกอย่างได้ อาศัยพระองค์ผู้ทรงประทานพลังแก่ข้าพเจ้า” (ฟป. 4:13))
  • “Per Crucem Ad Lucem” (ผ่านกางเขน สู่แสงสว่าง)

และปรัชญาชีวิตที่ว่า “ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยความพากเพียร” [2]

ประวัติการทำงาน

[แก้]
  • ค.ศ. 1957-1958: ผู้ช่วยอธิการโบสถ์อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล ท่าแร่
  • ค.ศ. 1959-1961: อาจารย์ภาษาอังกฤษโรงเรียนเซนต์ยอแซฟ ท่าแร่
  • ค.ศ. 1961-1962: ดูงานและช่วยงานอภิบาลที่สหรัฐอเมริกาและยุโรป
  • ค.ศ. 1962-1967: อธิการและผู้จัดการโรงเรียนเซนต์ยอแซฟ ท่าแร่
  • ค.ศ. 1967-1969: อธิการโรงเรียนวรสารพิทยา กรุงเทพฯ ผู้ช่วยอธิการโบส์ถนักบุญยอแซฟ ตรอกจันทน์ และช่วยงานอภิบาลโบส์ถแม่พระประจักษ์เมืองลูร์ด หัวตะเข้
  • ค.ศ. 1969-1976: อธิการบ้านเณรฟาติมาท่าแร่ ครูใหญ่ ผู้จัดการโรงเรียนยอแซฟ ท่าแร่
  • ค.ศ. 1976-2005: เจ้าอธิการโบส์ถอัครเทวดามีคาแอล ท่าแร่
  • ค.ศ. 2005-2007: อัครมุขนายกกิตติคุณ

ผลงานสำคัญ

[แก้]

ด้านศาสนา:

[แก้]

อัครมุขนายกลอเรนซ์ คายน์ มีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์ต่าง ๆ ตลอด 25 ปี

เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์

[แก้]
  • การสมโภชครบ 100 ปีแห่งความเชื่อ: ในปี ค.ศ.1984 (2527) อัครมุขนายกได้จัดกิจกรรมครบรอบ 100 ปีของกลุ่มคริสตชนในอัครมุขมณฑล รวมถึงการเทศน์อบรมฟื้นฟูจิตใจที่โบส์ถต่าง ๆ และเปิดอนุสาวรีย์คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระเป็นเจ้าและคณะมิชชันนารีที่ปลูกฝังความเชื่อ
  • การสถาปนามรณะสักขีแห่งสองคอน: อัครมุขนายกคายน์มีบทบาทสำคัญในการดำเนินการสถาปนามรณะสักขีแห่งสองคอนเป็นบุญราศี โดยการดำเนินการและส่งเรื่องไปยังสำนักวาติกันจนได้รับการประกาศเป็นบุญราศี โดยสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ.1989 (2532) และเฉลิมฉลองที่โบส์ถแม่พระไถ่ทาส สองคอน อัครมุขนายกคายน์ได้ยื่นเรื่องขอแต่งตั้งบุญราศรีแห่งสองคอน ซึ่งเป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นในงานศาสนาและการสนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่พระศาสนา

กำหนดแผนแม่บทและวางระบบการบริหารมุขมณฑล

[แก้]

หลังจากบริหารงานมานาน 12 ปี อัครมุขนายกคายน์ ได้สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ที่ส่งผลต่อภารกิจของพระศาสนจักร จึงตัดสินใจทบทวนและประเมินผลการบริหารเพื่อปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

อัครมุขนายกใช้ระบบ SAIDI ในการประเมินสถานการณ์และกำหนดวิสัยทัศน์ พร้อมกับการจัดสัมมนา “โครงการเพื่อกำหนดแผนแม่บทแห่งอัครมุขมณฑลท่าแร่-หนองแสง” ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม – 10 เมษายน ค.ศ.1992 ผลสัมมนาทำให้มีแผนแม่บทที่ชัดเจนและมีเอกภาพ ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 11 เมษายน ค.ศ.1993

แผนแม่บทแบ่งการบริหารเป็น 3 เขต โดยมีหัวหน้าเขตและสภาอภิบาลที่โบส์ถ เพื่อช่วยในการบริหาร ต่อมาในปี ค.ศ.2000 อัครมุขนายกได้ลงนามในประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินแผนแม่บทเพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางงานอภิบาลของพระศาสนจักรในประเทศไทย

สำนักมิสซังและการส่งเสริมศาสนสถาน:

[แก้]
  • ในปี ค.ศ. 1981 อัครมุขนายกคายน์ เริ่มก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น เพื่อเป็นศูนย์กลางของอัครมุขมณฑล ประกอบด้วยห้องพักบาทหลวง โบส์ถ ห้องประชุม ห้องอาหาร และห้องทำงานของหน่วยงานต่างๆ การก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์และมีพิธีเสกอาคารโดยพระมณทูตเรนาโต มาร์ติโน เมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1983 ในปี ค.ศ. 1992 ขยายอาคารเป็น 4 ชั้น โดยต่อเติมชั้นดาดฟ้าและสร้างสนามกีฬาเซนต์ลอเรนซ์ ด้านหน้าศูนย์คาทอลิกท่าแร่
  • การส่งเสริมศาสนสถานในช่วง 25 ปี ประกอบด้วยการสร้างโบสถ์ใหม่ 47 แห่ง และบูรณะ 4 แห่ง ได้แก่
    • โบส์ถพระวิสุทธิวงศ์ นิรมัย (ค.ศ. 1990)
    • โบส์ถแม่พระมหาการุณย์ หนองบก (ค.ศ. 1995)
    • โบส์ถนักบุญกาทารีนา ทุ่งมน (ค.ศ. 1998)
    • สักการสถานดวงพระหฤทัยศักดิ์สิทธิ์ยิ่งของพระเยซูเจ้า (ค.ศ. 2000)
  • สร้างอนุสรณ์สถานอัครเทวดามีคาแอลที่หมู่บ้านท่าแร่ เพื่อเป็นที่ตั้งรูปอัครเทวดามีคาแอล องค์อุปถัมภ์ของบ้านท่าแร่ อาคารนี้ได้ใช้เป็นที่ตั้งสถานี “วิทยุชุมชนมิสซังท่าแร่”

โบส์ถพระหฤทัย สกลนคร

[แก้]

โบส์ถพระหฤทัย สกลนคร หรือ ดวงพระหฤทัยนิรมลของพระมารดามารีอา เป็นผลงานสำคัญที่อัครมุขนายกสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองปี "ปีติมหาการุญ" คริสตศักราช 2000 ซึ่งเป็นปีครบรอบสองพันปีของการประสูติของพระเยซูเจ้า โบส์ถนี้มีการออกแบบเป็นรูปทรงกลมคล้ายเจดีย์ที่ผสมผสานสถาปัตยกรรมไทยและตะวันตก พร้อมทั้งมีการตั้งกางเขนบนยอด

ส่งเสริมกระแสเรียกและชีวิตนักบวช

[แก้]

อัครมุขนายกคายน์ให้ความสำคัญกับการอบรมพระสงฆ์และนักบวช เพื่อให้เข้าใจจิตตารมณ์ของพระเยซูและคณะของตน รวมถึงการกระตุ้นเตือนถึงภารกิจและเตรียมความพร้อมสำหรับงานในอนาคต

ท่านให้ความสำคัญกับกระแสเรียก โดยเน้นการเตรียมบุคลากรที่เหมาะสมและจัดหาเงินทุนสำหรับบ้านเณร เช่น การสร้างอาคารใหม่และการอบรมต่อเนื่อง อัครมุขนายกได้บวชพระสงฆ์จำนวน 52 องค์ในระยะเวลา 24 ปี เพื่อเสริมความแข็งแกร่งในอัครมุขมณฑล ท่านได้เชิญคณะนักบวชหลายคณะมาทำงานร่วมกัน เช่น

  • คณะกลาริส กาปูชิน (1986)
  • คณะออกัสติเนียน (1991)
  • คณะเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร (1994)
  • คณะธิดาเมตตาธรรม (1995)
  • คณะเซนต์คาเบรียล (1998)

สังคมและวัฒนธรรม:

[แก้]

อัครมุขนายกคายน์เป็นผู้บุกเบิกเทศกาลแห่ดาวคริสต์มาส จนกลายเป็นเทศกาลสำคัญประจำปีของจังหวัดสกลนคร การแห่ดาวที่เริ่มต้นเป็นการจัดงานเฉพาะในวงแคบได้พัฒนาเป็นงานส่งเสริมการท่องเที่ยวที่รู้จักอย่างกว้างขวาง

ในปี ค.ศ. 2003 (2546) นายปานชัย บรวรัตนปราน ผู้ว่าฯ จังหวัดสกลนคร ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้บรรจุประเพณีแห่ดาวให้เป็นงานส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด ประเพณีแห่ดาวซึ่งเดิมเป็นการจัดเพื่อถวายเกียรติแด่พระกุมารเยซูในเทศกาลคริสตสมภพ ได้กลายเป็นประเพณีที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหโบส์ถและเป็นที่รู้จักในวงกว้าง จิตตารมณ์การประสูติของพระกุมารเยซูและประวัติวันคริสตมาสได้รับการเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ โดยไม่ต้องเสียค่าประชาสัมพันธ์

ส่งเสริมชีวิตครอบครัวและความเป็นเอกภาพแห่งศีลสมรส

[แก้]

อัครมุขนายกคายน์ได้จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมชีวิตครอบครัวในอัครมุขมณฑลเพื่ออบรมคู่สมรสและส่งเสริมชีวิตครอบครัวอย่างจริงจัง ท่านยังมีบทบาทสำคัญในระดับชาติ โดยเป็นประธานคณะกรรมการส่งเสริมชีวิตครอบครัว และเป็นตัวแทนประเทศไทยในการประชุมชุมนุมครอบครัวโลก

เพื่อส่งเสริมเอกภาพแห่งศีลสมรส อัครมุขนายกได้จัดรายการ “รายการคุณธรรมนำชีวิต” ทางสถานีวิทยุ ซึ่งสะท้อนถึงความสำคัญของสถาบันครอบครัวและการแก้ปัญหาครอบครัวในสังคมปัจจุบัน

ส่งเสริมสุขภาพอนามัยและสงเคราะห์ผู้ยากไร้

[แก้]

อัครมุขนายกคายน์ได้แสดงความห่วงใยและช่วยเหลือผู้ต้องขังในเรือนจำสกลนครด้วยการเยี่ยมเยียน ให้กำลังใจ และแจกสิ่งของจำเป็น พร้อมกับสร้าง “ศาลาเซนต์ลอเรนซ์” ในเรือนจำเพื่อทำหน้าที่เป็นโบส์ถน้อยสำหรับมิสซาและคำสอน ช่วยให้ผู้ต้องขังเข้าใจการอภัยและเห็นคุณค่าของตนเอง

ในด้านผู้ติดยาเสพติดและผู็ติดเชื้อ HIV อัครมุขนายกได้เปิดศูนย์บำบัดยาเสพติด Communita Incontro และสร้างบ้านพักสำหรับเด็กติดเชื้อ HIV เพื่อให้การดูแลและการศึกษา โดยได้รับการสนับสนุนจากการบริจาค

สำหรับผู้ประสบภัยสึนามิ อัครมุขนายกได้เป็นผู้นำในการจัดหาทุนช่วยเหลือเด็กที่สูญเสียบิดามารดา จากการร้องขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศและการเดินทางไปสหรัฐอเมริกาเพื่อระดมทุน

การศึกษาและเศรษฐกิจ:

[แก้]

วางรากฐานทางเศรษฐกิจและขยายงานด้านการศึกษา

[แก้]

อัครมุขนายกลอเรนซ์ คายน์ แสนพลอ่อน ใช้ประสบการณ์ในงานด้านการศึกษาในการก่อตั้งโรงเรียนในเครือเซนต์ยอแซฟ เพื่อลงทุนและสร้างแหล่งทุนสำหรับอัครมุขมณฑลในอนาคต โดยได้จัดตั้งโรงเรียนเซนต์ยอแซฟในหลายจังหวัดตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979 ถึง 2005 ซึ่งช่วยให้การศึกษาแก่เด็กและเยาวชนและสร้างความเชื่อถือจากชุมชน

  • พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) โรงเรียนเซนต์ยอแซฟ สกลนคร
  • พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) โรงเรียนเซนต์ยอแซฟ กาฬสินธุ์
  • พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) โรงเรียนเซนต์ยอแซฟ มุกดาหาร
  • พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) โรงเรียนเซนต์ยอแซฟ นาแก
  • พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) โรงเรียนเซนต์ยอแซฟ ศรีสงคราม
  • พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) โรงเรียนเซนต์ยอแซฟ กุฉินารายณ์

นอกจากนี้ อัครมุขนายกยังลงทุนในโครงการอื่น ๆ เช่น การซื้อโรงงานอิฐ การเลี้ยงสัตว์ และการปลูกพืชเพื่อสร้างรายได้ให้กับอัครมุขมณฑล แม้หลายโครงการไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากการขาดความรู้และการบริหารจัดการที่ดี

การแพร่ธรรมทางสื่อวิทยุ:

[แก้]

เริ่มรายการ “ระฆังชีวิต” ทางสถานีวิทยุกระจายเสียง F.M. ความถี่ 101.75 MHz ออกอากาศทุกวัน วันละ 30 นาที เวลา 17.00 – 17.30 น. พระคุณเจ้าทำหน้าที่เป็นผู้จัดรายการในชื่อ “รายการคุณธรรมนำชีวิต” ออกอากาศในวันเสาร์และวันอาทิตย์

เริ่มสถานีวิทยุชุมชนท่าแร่ เครือข่ายศูนย์สังคมพัฒนาอัครมุขมณฑลท่าแร่-หนองแสง ที่ความถี่ 104.50 MHz

วิทยุชุมชนมิสซังท่าแร่:

[แก้]

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 40 ที่ให้เสรีภาพในการจัดสรรคลื่นความถี่เพื่อประโยชน์สาธารณะ ทำให้เกิดการตั้งสถานีวิทยุชุมชน ซึ่งได้รับความนิยมในกลุ่ม NGO และผู้นำชุมชน รวมถึงเจ้าหน้าที่ศูนย์สังคมพัฒนาอัครมุขมณฑลท่าแร่-หนองแสง บาทหลวงชำนาญ บัวขันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์สังคมพัฒนาเสนอแนวคิดการใช้วิทยุชุมชนเพื่อสื่อสารกับผู้นำชุมชน และขออนุญาตจัดตั้งสถานีวิทยุที่อาคารเซนต์ไมเกิ้ล ตำบลท่าแร่ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โดยได้รับการสนับสนุนจากอัครมุขนายกคายน์

พิธีเสกเสาส่งสัญญาณจัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2004 และเริ่มทดลองออกอากาศวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 2004 ภายใต้ชื่อ “สถานีวิทยุชุมชนท่าแร่” บนความถี่ 104.00 MHz ต่อมาได้ปรับเป็น 102.25 MHz และภายหลังเป็น 104.50 MHz

สถานีออกอากาศทุกวันตั้งแต่ 05.30-23.00 น. ภายใต้คำขวัญ “คลื่นดี มีสาระ และบันเทิง” ได้รับการตอบรับดีจากชาวท่าแร่และเครือข่ายศูนย์สังคมพัฒนา

มีการรวมวิทยุชุมชนท่าแร่เป็นส่วนหนึ่งของแผนกวิทยุอัครมุขมณฑล และเปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยุชุมชนมิสซังท่าแร่”

วาระสุดท้ายแห่งชีวิต

[แก้]

อัครมุขนายกลอเรนซ์ คายน์ มีโรคประจำตัวคือโรคเบาหวาน เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 2002 นายแพทย์สมบูรณ์ จิระวัฒนาสมกุล พบเนื้อร้ายในตับและแนะนำให้เข้ารับการรักษา ท่านได้รับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ กรุงเทพฯ พบว่าเป็นมะเร็งในตับ แต่ท่านยังคงเดินทางไปสหรัฐอเมริกา หลังจากเดินทางกลับมา ท่านยังคงทำหน้าที่นายชุมพาบาลอย่างเข้มแข็ง

วันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 2007 หลังเป็นประธานพิธีมิสซาขอบพระคุณหน้าศพมารดาของคุณพ่อทวีชัย ศรีวรกุล ท่านอาการอ่อนเพลีย และถูกส่งเข้ารักษาที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 ท่านเดินทางกลับอัครมุขมณฑลเพื่อพักรักษาตัวที่บ้านริมหนองหาร แต่สุขภาพยังไม่ดีขึ้น และถูกส่งรักษาที่โรงพยาบาลสกลนคร ท่านเสียชีวิตเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 สิริอายุ 79 ปี

ประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจในช่วงสมัยของพระคุณเจ้า

[แก้]

ที่บ้านทุ่งมน อำเภอเมืองสกลนคร มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อท่านยังเป็นเด็ก ท่านป่วยหนักโดยแม่ของท่านเป็นชาวคริสต์คาทอลิก ได้ขอพรพระเจ้าให้พระคุณเจ้าหายป่วยและมีชีวิตอยู่ต่อไป โดยมีสัญญาว่าจะถวายลูกของท่านให้บวชเป็นบาทหลวงหากท่านมีชีวิตอยู่

ในวัยเป็นนักเรียนคาทอลิกอายุ 12-15 ปี ช่วงสงครามอินโดจีน ท่านเรียนในโรงเรียนของรัฐ และโดนสั่งปิดโรงเรียนเนื่องจากเป็นโรงเรียนที่มีผู้นับถือคริสต์ศาสนา

ด้วยความเป็นผู้นำโดยธรรมชาติในความศรัทธาต่อพระเจ้าของพระคุณเจ้า พระคุณเจ้าลอว์เรนซ์คายน์ ต้องเผชิญกับการทรมานจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่เบียดเบียนศาสนา จากความเข้าใจผิด และท่านต้องทนทุกข์ในบริเวณโรงเรียน ครูใหญ่ของโรงเรียนยังเคยพาท่านออกจากห้องเรียนและขังไว้ในห้องทำงาน ทำให้ได้รับบาดเจ็บจากการทุบตี ทุบหัวจากตำรวจซ้ำแล้วซ้ำ ซึ่งพยายามให้ท่านปฏิเสธความศรัทธาของท่าน

ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจมาที่โรงเรียนและเรียกท่านไป และใช้ปืนเพื่อขู่ลักษณะเพื่อขู่ว่าถ้าท่านไม่ทิ้งความเชื่อในพระเยซู ท่านจะยิงท่านทิ้ง ต่อมาตำรวจยังคงกลั่นแกล้งโดยเรียกรวมแถวนักเรียนคาทอลิกในโรงเรียนและขอให้พวกท่านข้ามเส้นแบ่งเขต ถ้าพวกท่านเชื่อในพระเยซู มีเพียง พระคุณเจ้าคายน์ ที่เดินข้ามเส้นนั้นไป ด้วยเหตุนี้ท่านจึงถูกทรมานสารพัด ทั้งถูกแขวนข้อเท้าและคว่ำหัวลงในบ่อน้ำ อีกครั้งหนึ่งพวกท่านบังคับให้ท่านจ้องมองดวงอาทิตย์ ราวๆปี ค.ศ. 1940 ชายหนุ่มและหญิงสาวเจ็ดคน รวมทั้งนักบวชหญิง และเด็ก ถูกสังหารเพราะศรัทธาของตน ที่บ้านสองคอน และถูกแต่งตั้งเป็น มรณสักขีแห่งสองคอน

พระคุณเจ้าคายน์ ได้รับศีลอนุกรมเป็นบาทหลวงของท่าแร่ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 1957 หลังจากนั้น ไม่นานครูใหญ่ของโรงเรียนที่ข่มเหงได้กลับมาขอการให้อภัยและได้รับแรงบันดาลใจจากพยานแห่งศรัทธาของท่าน และเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ คาทอลิก

พระคุณเจ้าคายน์ เคยได้พบกับ บุคคลที่เกือบจะได้เป็น มรณสักขี ที่อายุน้อยในบรรดาผู้พลีชีพทั้งเจ็ด ของมรณสักขีแห่งสองคอน ซึ่งเป็นเด็กหญิงอายุ 13 ปี เธอเดินไปยังสถานที่แห่ง การมรณสักขี พร้อมกับ นักบวชหญิง 2 ท่าน และคนอื่นๆ อีก 4 คน แต่พระเจ้าทรงไว้ชีวิตเธออย่างอัศจรรย์ และเธอเล่าอย่างละเอียดถึงเรื่องราวการมรณสักขีแก่อัครมุขนายก คายน์ ซึ่งกลายเป็น คำพยานยืนยัน (Postulator) เพื่อส่งเสริมสาเหตุแห่งความเป็นผู้พลีชีพเป็น มรณสักขีของพวกท่าน

ความเป็นมาของการเบียดเบียนศาสนาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วง สงครามอินโดจีน[3]

เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2483 มีการเบียดเบียนศาสนาในประเทศไทย จนถึงขั้นมีผู้เสียชีวิต มีชาวคาทอลิกเจ็ดคนถูกสังหาร ก่อนที่ ญี่ปุ่นจะบุกไทย ก็มีปฏิกิริยาต่อต้านสิ่งที่เป็นตะวันตกและต่างประเทศ รวมทั้งศาสนาคริสต์ด้วย สิ่งนี้นำไปสู่การพลีชีพของชาวคาทอลิกเจ็ดคนในหมู่บ้านสองคอน ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นบุญราศีโดยสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ในปี พ.ศ. 2532 (1989)[4]

มิชชันนารีกลุ่มแรกที่มาประเทศไทยคือบาทหลวงคณะ โดมินิกัน ชาวโปรตุเกสซึ่งมาถึง "สยาม" ในปี พ.ศ. 2097 (1554) ดังที่ทราบกันในสมัยนั้น สยามเป็นอาณาจักรทางพุทธศาสนาที่ต้อนรับชาวคริสต์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ เมื่อถึงศตวรรษที่ 19 มิชชันนารีคาทอลิกส่วนใหญ่มาจากยุโรปโดย คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส Paris Foreign Missions Society ( Société des Missions Étrangères de Paris – MEP) อาศัยอยู่ในเขตปกครองพิเศษและได้รับยกเว้นจากเขตอำนาจศาลและการเก็บภาษีของประเทศ ในช่วงทศวรรษที่ 1930 เกิดความวิตกกังวลและวิกฤตมากขึ้นเมื่อ ญี่ปุ่นบุกจีน และคุกคามเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปลี่ยนชื่อจาก สยามเป็นประเทศไทยในปี พ.ศ. 2482 รัฐบาลนี้มีจุดยืนเรื่องชาตินิยมและต่อต้านตะวันตก และศาสนาคริสต์ถูกตราหน้าว่าเป็น "ศาสนาต่างชาติ " และคริสเตียนชาวไทยก็ถูกกดดันรัฐบาลวิชี ก่อตั้งขึ้นหลังจากการล่มสลายของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2483 อนุญาตให้ญี่ปุ่นตั้งฐานทัพในเวียดนามตอนเหนือ และรัฐบาลไทยตอบโต้ด้วย การรุกรานอินโดจีนของฝรั่งเศส (ปัจจุบันคือลาวและกัมพูชา) ญี่ปุ่นบุกไทยในปี พ.ศ. 2484 เพื่อยึดฐานทัพเพื่อรุกเข้าสู่แหลมมลายูและสิงคโปร์ และรัฐบาลไทยลงนามเป็นพันธมิตรที่คงอยู่จนกระทั่งญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในปี พ.ศ. 2488

ในบรรยากาศตึงเครียดก่อนการรุกรานของญี่ปุ่น คนไทยซึ่งปกติจะใจกว้างพบว่า “ศาสนาต่างชาติ” เป็นแพะรับบาปที่ง่ายดาย แม้ว่าศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกจะอยู่ในประเทศไทยมานานกว่า 350 แล้วก็ตาม

การสอบสวนและการเป็นบุญราศี มรณีสักขี ผู้น่าเคารพ

หลังจากการสืบสวนกรณีผู้รับใช้ของพระเจ้าทั้งเจ็ดนี้แล้ว รายงานการพิจารณาการแต่งตั้งให้เป็นบุญราศีและการแต่งตั้งให้เป็นมรณสักขีของพระศาสนจักรคาทอลิก ก็ถูกส่งไปยังที่ประชุมอันศักดิ์สิทธิ์เพื่อเหตุของวิสุทธิชนในกรุงโรม ในปีพ.ศ. 2529 (1986) ในพิธีบูชาขอบพระคุณ ณ โบส์ถพระมหาไถ่สองคอน ร่างของทั้ง 7 คนได้ขุดขึ้นมาและถูกฝังอีกครั้ง สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ทรงประกาศแต่งตั้งการเป็นบุญราศีมรสักขีของพวกท่านทั้ง 7 แห่งสองคอน ณ กรุงโรม ในวันอาทิตย์แพร่ธรรมสากล วันที่ 22 ตุลาคม 1989[5]

คุณพ่อลอเรนซ์ คายน์ ได้รับการแต่งตั้งเป็น อัครมุขนายกแห่ง อัครมุขมณฑลท่าแร่-หนองแสง เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2523 1980 และได้รับการอภิเสกเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2523,1980 โดย อัครมุขนายก มิเชล เกี้ยน เสมอพิทักษ์ บอัครมุขนายก องค์ก่อน

ในฐานะอัครมุขนายก ท่านมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากในการขยายอัครมุขฆมณฑล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาการศึกษาและการสร้างโบสถ์ นอกจากนี้ท่านยังจัดสัมมนาบ่อยครั้งเพื่อกำหนดโครงร่างต้นแบบสำหรับวิสัยทัศน์และพันธกิจของอัครมุขมณฑล

เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2547, 2004 พระคุณเจ้าได้รับอนุญาตให้ลาออกจากตำแหน่ง [6] ท่านเสียชีวิตด้วยผลของโรคเบาหวานเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2550, 2007 และถูกฝังในวันที่ 28 กรกฎาคม 2007 ที่สุสานโบส์ถอัครเทวดามีคาแอล ท่าแร่

อ้างอิง

[แก้]
  1. แสงดาวนำทางกลางบ้านนา : ประเพณีคริสต์มาสของชาวคาทอลิกอีสาน | TrueID Creator
  2. Don Daniele: คิดถึงพระคุณเจ้าคายน์
  3. "บุญราศรีสองคอน". Bing.
  4. Thailand, Seven Martyrs of, Bb. | Encyclopedia.com
  5. "Dec 16 - The Seven Thai Martyrs of Songkhon (d. 1940)". Catholicireland.net (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  6. "Archbishop Lawrence Khai Saen-Phon-On of Thare and Nonseng resigns". Agenzia Fides. May 15, 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 30, 2007. สืบค้นเมื่อ July 30, 2007.


ก่อนหน้า ลอว์เรนซ์ คายน์ แสนพลออน ถัดไป


มีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์ อัครมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกท่าแร่-หนองแสง
(6 มีนาคม ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) - 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547))
ยอร์ช ยอด พิมพิสาร