จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ลอนดอนคอลลิง |
---|
|
สตูดิโออัลบั้มโดย |
---|
วางตลาด | 14 ธันวาคม ค.ศ. 1979 |
---|
บันทึกเสียง | สิงหาคม - กันยายน ค.ศ. 1979 ที่เวสเซ็กส์ซาวด์สตูดิโอ, กรุงลอนดอน |
---|
แนวเพลง | โพสต์-พังก์ |
---|
ความยาว | 65.07 |
---|
ค่ายเพลง | |
---|
|
|
---|
ลำดับอัลบั้มของเดอะแคลช |
---|
กิฟเอมอีนัฟโรพ (1978)กิฟเอมอีนัฟโรพ1978
|
ลอนดอนคอลลิง (1979)
|
แซนดินิสทา! (1980)แซนดินิสทา!1980
| |
ลอนดอนคอลลิง (อังกฤษ: London Calling) เป็นสตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 3 ของวงเดอะแคลช วงพังก์ร็อกจากประเทศอังกฤษ โดยได้เปิดตัวในรูปแบบของดับเบิลอัลบั้มในสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1979 ผ่านทางค่ายโคลัมเบีย และในสหรัฐอเมริกา ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1980 ผ่านทางค่ายอีพิก[1] ลอนดอนคอลลิง เป็นอัลบั้มที่ประกอบไปด้วยทำนองดนตรีหลากหลายแนว ทั้ง พังก์ เร้กเก้ สกา ร็อกอะบิลลี นิวออร์ลีนส์อาร์แอนด์บี ป็อป เลาจ์แจ๊ส และ ฮาร์ดร็อก
เนื้อหาโดยรวมของอัลบั้มเกี่ยวข้องกับปัญหาทางสังคมต่างๆ ทั้งการว่างงาน การย้ายที่อยู่ สารเสพติด เชื้อชาติ และความรับผิดชอบในวัยรุ่น[2] โดยมีซิงเกิลฮิตอย่าง ซิงเกิลตามชื่ออัลบั้ม ซึ่งเป็นเพลงเปิด ที่นำจังหวะเร็กเก้ ผสมกับกีตาร์ไฟฟ้าในแบบของพังก์ร็อก ซึ่งเล่าเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ 2 "Spanish Bombs" มีเนื้อหาเปรียบเทียบระหว่างการท่องเที่ยวในสเปนสมัยใหม่กับสภาพสงครามกลางเมืองสเปน "Lost in the Supermarket" ที่พูดถึงคนคนหนึ่งที่ต้องดิ้นรนในชีวิตของโลกธุรกิจ และ "Train in Vain" ซึ่งแต่เดิมเป็นซิงเกิลที่เกือบจะไม่ถูกบรรจุลงในอัลบั้มนี้ จนภายหลังได้บรรจุในซิงเกิลสุดท้ายของอัลบั้ม[3] แต่ถึงอย่างไรก็ดีมันกลับเป็นซิงเกิลที่ประสบความสำเร็จด้วยการติดท็อป 30 บนบิลบอร์ดฮอต 100
ภายหลังเปิดตัวลอนดอนคอลลิง ได้ติดชาร์ตอันดับที่ 9 ของอังกฤษ รวมไปถึงได้รับการยืนยันยอดจำหน่ายจากสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา ในระดับทองคำขาว[4] โดยซิงเกิล "London Calling" ยังได้ติดอันดับที่ 11 บนชาร์ตอังกฤษด้วย[5] ลอนดอนคอลลิง ได้รับการยกย่องและคำชมกว้างขวางจากนักวิจารณ์หลายสำนัก หนึ่งในนั้นคือ นิตยสารโรลลิงสโตนส์ ที่ได้จัดอันดับที่ 8 ในหัวข้อ "500 อัลบั้มที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล" ในปี 2003 นอกจากนี้ภาพหน้าปกที่เป็นรูปของ พอล ไซโมนอน มือเบส กำลังทุบเบสเฟนเดอร์ของเขาลงบนเวที ซึ่งถูกถ่ายโดยเพนนี สมิท และได้รับการยกย่องจากนิตยสารคิวให้เป็นภาพถ่ายร็อกแอนด์โรลที่ดีที่สุดตลอดกาล ในปี ค.ศ. 2002 อีกด้วย[6]
เพลงทั้งหมดประพันธ์โดยโจ สทรูเมอร์ และมิก โจนส์ ที่ไม่ใช่จะใส่หมายเหตุไว้
|
1. | "London Calling" | สทรูเมอร์ | 3:19 |
---|
2. | "Brand New Cadillac" (ถูกแต่งและบรรเลงเดิมโดย วินซ์ เทเลอร์) | สทรูเมอร์ | 2:09 |
---|
3. | "Jimmy Jazz" | สทรูเมอร์ | 3:52 |
---|
4. | "Hateful" | สทรูเมอร์ | 2:45 |
---|
5. | "Rudie Can't Fail" | สทรูเมอร์, โจนส์ | 3:26 |
---|
|
6. | "Spanish Bombs" | สทรูเมอร์, โจนส์ | 3:19 |
---|
7. | "The Right Profile" | สทรูเมอร์ | 3:56 |
---|
8. | "Lost in the Supermarket" | โจนส์ | 3:47 |
---|
9. | "Clampdown" | สทรูเมอร์, โจนส์ | 3:49 |
---|
10. | "The Guns of Brixton" (แต่งโดยพอล ไซโมนอน) | Simonon | 3:07 |
---|
|
11. | "Wrong 'Em Boyo" (แต่งโดยไคลฟ์ อัลฟอนโซ; เดิมบรรเลงโดย เดอะรูเลอรส์; รวมถึง สเทกเกอร์ ลี) | สทรูเมอร์ | 3:10 |
---|
12. | "Death or Glory" | สทรูเมอร์ | 3:55 |
---|
13. | "Koka Kola" | สทรูเมอร์ | 1:46 |
---|
14. | "The Card Cheat" (แต่งโดยสทรูเมอร์, โจนส์, ไซโมนอนและทอปเปอร์ ฮีดอน) | โจนส์ | 3:51 |
---|
|
15. | "Lover's Rock" | สทรูเมอร์ | 4:01 |
---|
16. | "Four Horsemen" | สทรูเมอร์ | 2:56 |
---|
17. | "I'm Not Down" | โจนส์ | 3:00 |
---|
18. | "Revolution Rock" (แต่งโดยแจ็กกี เอ็ดเวิร์ดส, แดนนี เรย์; เดิมบรรเลงโดยแดนนี เรย์ และเดอะเรโวลูชันแนรีส์) | สทรูเมอร์ | 5:37 |
---|
19. | "Train in Vain" | โจนส์ | 3:09 |
---|
- Notes