ข้ามไปเนื้อหา

ร้านกาแฟอิรานี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยัซดานีเบเกอรี ในมุมไบ

ร้านกาแฟอิรานี (อังกฤษ: Irani cafés) เป็นร้านกาแฟแบบอิหร่านในอนุทวีปอินเดีย[1][2] เดิมทีเป็นกิจการของชาวอิรานีโซโรอัสเตอร์ที่อพยพมายังบริติชอินเดียในศตวรรษที่ 19 เพื่อหลีกหนีการเบียดเบียนศาสนาจากจักรวรรดิซาฟาวิด และเพื่อออกมาหาโอกาสทางธุรกิจที่ดีกว่า[3] เมืองใหญ่อย่างมุมไบ, ปูเณ และ ไฮเดอราบาด มีจำนวนร้านกาแฟอิรานีจำนวนมาก โดยมีสินค้ายอดนิยมคือ อิรานีจาย (Irani chai) หรือชาอิหร่าน[4][5] ข้อมูลจากคริสต์ทศวรรษ 1950 ระบุว่ามีร้านกาแฟอิรานีจำนวน 350 แห่ง ในขณะที่ในปัจจุบันเหลือจำนวนเพียง 25 แห่งเท่านั้น[1] เมืองใหญ่ที่ในอดีตมีร้านกาแฟอิรานีจำนวนมากคือการาจี ที่ปัจจุบันอยู่ในประเทศปากีสถาน[6][7]

ในบทความบน Hindu Business Line ของสาริกา เมห์ตา (Sarika Mehta) เขียนถึงร้านกาแฟอิรานีในมุมไบว่ามีลักษณะคลาสสิกคือ "ความเป็นอาณานิคมจาง ๆ" (subtle colonial touch) ด้วยเพดานสูง เก้าอี้โค้งสีดำ โต๊ะไม้ที่ท็อปเป็นหินอ่อน และโหลแก้วใส่ของที่ขาย นอกจากนี้ "ผนังเป็นกระจกขนาดใหญ่เพื่อให้เกิดความรู้สึกกว้างขวาง ลูกค้าที่เดินเข้ามาในร้านจะเจอกับกลิ่นอบขนมปัง" และมี "ความเร็วในการบริการรวดเร็วอย่างไม่สะดุด"[8]

ของกินที่จำหน่ายในร้านกาแฟอิรานี เช่น บุนมัสกา (bun maska; ขนมปังและเนย)[9] หรือ บรุนมัสกา (brun-maska; ครัวซองเนยแบบแข็ง)[10][11] บิสกิตทั้งคาวและหวาน[12] และ ปานิกัมจาย (paani kam chai; "ชาน้ำน้อย" ซึ่งหมายถึงชาอิหร่านแบบเข้มข้น) หรือ คารีจาย (khari chai; ชาอย่างเข้ม), ซาโมซ่าเนื้อแกะ และ คีมาปาว (kheema pav; เนื้อสับเสิร์ฟในโรลขนมปัง), อากูรี (ไข่คนใส่ผัก), ปูเลาเบอร์รี, พัฟฟ์ผัก, ธานซัก กับ บิรยานี, คัสตาร์ดครีมเชอร์รี, บิสกิตเนยแข็ง, แยม และเครื่องดื่มอื่น ๆ

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Jayshree Bajoria (27 เมษายน 2005). "India's Iranian cafes fading out". BBC News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 ตุลาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2007.
  2. "Parsi Cafes, A Centuries-Old Tradition In India, Are Vanishing". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-03-14.
  3. Masashi, Haneda. "Emigration of Iranian Elites to India during the 16-18th centuries". สืบค้นเมื่อ 2013-12-17.
  4. "Quintessentially Hyderabadi—Irani Tea". New Indian Express. 6 March 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-09. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.
  5. Naomi Lobo (พฤษภาคม 20, 2007). "Irani cafés: Inheritance of loss". India Express. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 6, 2012. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 25, 2007.
  6. "Where have the Iranian restaurants gone?". Dawn. 26 July 2015. สืบค้นเมื่อ 26 July 2015.
  7. Noorani, Asif (10 September 2016). "Looking back at Karachi's Irani cafe culture". Dawn. สืบค้นเมื่อ 10 September 2016.
  8. "The Hindu Business Line : Mumbai's Irani hotspots". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-02. สืบค้นเมื่อ 2007-12-24.
  9. Miguel, H.S. (2012). Mumbai. Intellect Books - World Film Locations Series (ภาษาอินโดนีเซีย). Intellect Books. p. 58. ISBN 978-1-84150-632-6. สืบค้นเมื่อ 21 February 2018.
  10. Koppikar, Smruti (28 March 2005). "Alvida, Brun-Maska | Outlook India Magazine". Outlook India. สืบค้นเมื่อ 2020-03-14.
  11. Noronha, Paul (2012-10-27). "Bye-bye to Brun maska?". The Hindu (ภาษาIndian English). ISSN 0971-751X. สืบค้นเมื่อ 2020-03-14.
  12. Damle, J.Y. (2011). Pune: Tradition to Market: a Study of Changing Trends in Consumption with Special Reference to Service Sector in Hotel Industry. Kalpaz Publications. p. 117. ISBN 978-81-7835-895-6. สืบค้นเมื่อ 21 February 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]