รูปปั้นโคมเตศวร

พิกัด: 12°51′14″N 76°29′05″E / 12.854026°N 76.484677°E / 12.854026; 76.484677
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โคมเตศวร
Gommateshwara statue ಗೊಮ್ಮಟೇಶ್ವರ
รูปปั้นโมโนลิธสูง 57 ฟุต ของพระพาหุพลี
ศาสนา
ศาสนาศาสนาเชน
เทพพระพาหุพลี
ที่ตั้ง
ที่ตั้งศรวันเพลโคละ (Shravanbelagola), เขตฮัสซาน, กรณาฏกะ, ประเทศอินเดีย
รูปปั้นโคมเตศวรตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
รูปปั้นโคมเตศวร
ที่ตั้งในประเทศอินเดีย
รูปปั้นโคมเตศวรตั้งอยู่ในรัฐกรณาฏกะ
รูปปั้นโคมเตศวร
รูปปั้นโคมเตศวร (รัฐกรณาฏกะ)
พิกัดภูมิศาสตร์12°51′14″N 76°29′05″E / 12.854026°N 76.484677°E / 12.854026; 76.484677

รูปปั้นโคมเตศวร (กันนาดา: ಗೊಮ್ಮಟೇಶ್ವರ) เป็นรูปปั้นโมโนลิธความสูง 17.37 เมตร ตั้งอยู่บนเขาวินธยคีรี ในศรวันเพลโคละ ในรัฐกรณาฏกะ เขาวินธยคีรีเป็นหนึ่งในสองเขาในเมืองศรวันเพลโคละ อีกแห่งคือเขาจันทรคีรี ซึ่งก็เป็นสถานที่ตั้งของศาสนสถานในศาสนาเชนอีกแห่งที่เก่าแก่กว่ารูปปั้นโคมเตศวรแห่งนี้ รูปปั้นโคมเตศวรนั้นสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงเทพเจ้าเชนพระนามว่า พระพาหุพลี สร้างขึ้นราว ค.ศ. 983 และเป็นหนึ่งในรูปปั้นหินเดี่ยวที่สูงที่สุดในโลก[1] การก่อสร้างนั้นริเริ่มในจักรวรรดิคงคาตะวันตก นำโดยขุนนางนามว่า จวุนทราย บริเวณโดยรอบนั้นรายล้อมด้วยเชนสถานที่เรียกว่า “พสาทิ” และรูปเคารพของตีรถังกรองค์ต่าง ๆ ส่วนจันทรคีรีซึ่งเป็นเขาอีกแห่งนั้นสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงเทพเจ้าเชนอีกองค์หนึ่ง คือ พระเจ้าภรตจักรพรรดิ พี่น้องของพระพาหุพลี และเป็นบุตรของพระอาทินาถ ตีรถังกรองค์แรกเช่นกัน

เทศกาลมหามัสตกาภิเษก (Mahamastakabhisheka) เป็นเทศกาลสำคัญที่จัดขึ้นบนเขาวินธยคีรีนี้[2] จัดขึ้นทุก 12 ปี ในเทศกาลจะมีพิธีกรรมเจิมน้ำต่าง ๆ เช่นน้ำนม, หญ้าฝรั่น, ฆี (เนยใสอินเดีย), น้ำอ้อย เป็นต้น โดยการรินน้ำต่าง ๆ ลงมาจากยอดบนสุดของรูปปั้นโคมเตศวร ไฮน์ริค ซิมเมอร์ (Heinrich Zimmer) ระบุว่า พิธีนี้จัดขึ้นเพื่อให้รูปปั้นนี้คงความ “สด”[1] พิธีอภิเษกครั้งต่อไปจะจัดขึ้นในปี ค.ศ. 2030[3]

เมื่อปี ค.ศ. 2007 ไทมส์ออฟอินเดียได้ตั้งการลงคะแนนเสียงเพื่อคัดเลือกเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของอินเดีย รูปปั้นโคมเตศวรได้รับลงคะแนนเสียงให้เป็นเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของอินเดียแห่งแรกในเจ็ดแห่ง ผลลงคะแนนมากถึงร้อยละ 49[4]

ประติมานวิทยา[แก้]

พิธีมหามัสตักภิเษก

รูปปั้นนี้สร้างขึ้นโดยแสดงการทำสมาธิที่ยาวนานของพระพาหุพลี ท่ายืนทำสมาธิที่เรียกว่า “กาโยตสรรค์” (ยืนนิ่ง) จนมีเถาวัลย์เจริญเติบโตและเกี่ยวพันรอบขาของพระองค์[5] ดวงตาของพระองค์นั้นเปิดขึ้นในลักษณะแสดงถึงการละทิ้งชีวิตทางโลก ริมฝีปากยิ้มขึ้นเล็กน้อยแสดงให้เห็นถึงความสงบจากภายใน

รอบ ๆ เถาวัลย์ที่พันเกี่ยวนั้นมีงูและสัตว์เลื้อยไปตามดอกไม้ที่บานประปราย เถาวัลย์นั้นพันขึ้นไปถึงแขนท่อนบนของรูปปั้น ฐานของรูปปั้นเป็นทรงดอกบัวบาน

มหามัสตกาภิเษก[แก้]

ในครั้งที่ผ่าน ๆ มา เทศกาลนี้มีผู้เข้าร่วมเป็นบุคคลสำคัญทางการเมือง เช่น กฤษณะ-ราเชนทระ โวเทยัร ในปี ค.ศ. 1910 และครั้งล่าสุดเมื่อปี ค.ศ. 2018 มีนเรนทระ โมที และ รามนาถ โกวินท์เข้าร่วม[6]

ตำนาน[แก้]

ตำนานกล่าวว่า หลังการก่อสร้างรูปปั้นโคมเตศวรเสร็จสิ้นแล้ว จวุนทรายได้ประกอบพิธีมหามัสตกาภิเษกโดยใช้น้ำ 5 ชนิด คือ น้ำนม, น้ำมะพร้าว, น้ำอ้อย, น้ำดอกไม้ และน้ำเปล่า เก็บอยู่ในหม้อจำนวนหลายร้อยหม้อ แต่เมื่อเทลงมาแล้วน้ำไม่สามารถไหลลงต่ำกว่าสะดือของรูปปั้นได้ แต่แล้วเทวีอัมพิกา แปลงกายเป็นสตรีชรายากไร้เดินผ่านมา เทนมในเปลือกของผลคุลลิกายี (Gullikayi) สีขาวครึ่งซีก และการอภิเษกก็สำเร็จ น้ำนมไหลจากยอดถึงปลายของรูปปั้น[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Zimmer 1953, p. 212.
  2. "Official website Hassan District". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-16. สืบค้นเมื่อ 2019-11-11.
  3. "Mahamastakabhisheka to be held in February 2018". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 2017-06-14.
  4. "And India's 7 wonders are..." The Times of India. August 5, 2007.
  5. Jain, Champat Rai (1929). Risabha Deva - The Founder of Jainism. อัลลอฮบาด: K. Mitra, Indian Press. p. 145.
  6. "Bahubali Mahamastakabhisheka Mahotsav: Here is the history of the Jain festival PM Modi attended today", The Indian Express, 19 February 2018
  7. Deccan Chronicle & 2018 Mahamastakabhisheka.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]