รายได้พื้นฐานถ้วนหน้าในประเทศบราซิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รายได้พื้นฐานถ้วนหน้าในประเทศบราซิลเป็นหัวข้อที่มีการอภิปรายมาอย่างน้อยตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 โดยในปี 2544 เอดูวาร์ดู ซูปลีซี สมาชิกวุฒิสภาจากพรรคแรงงานบราซิล เสนอกฎหมายซึ่งกำหนดให้มีสถาบันระบบสวัสดิการที่ก้าวหน้าดังกล่าว ทำให้บราซิลเป็นประเทศแรกของโลกที่มีกฎหมายรายได้พื้นฐานถ้วนหน้า ร่างกฎหมายดังกล่าวเรียกร้องให้มีการตั้งรายได้พื้นฐานถ้วนหน้าโดยเริ่มจากผู้ยากไร้ก่อน จนวุฒิสภาผ่านกฎหมายดังกล่าวในปี 2545 และสภาผู้แทนราษฎรในปี 2546 ประธานาธิบดีลงนามเป็นกฎหมายในปี 2547[1] โดยประธานาธิบดีมีหน้าที่ต้องค่อย ๆ นำการปฏิรูปดังกล่าวไปปฏิบัติ นับแต่นั้นประเทศบราซิลเริ่มใช้กฎหมายนี้ผ่านโครงการโบลซาฟามีลียา ซึ่งเป็นแกนกลางของนโยบายสังคมของประธานาธิบดีลูอิส อีนาซียู ลูลา ดา ซิลวา และเชื่อว่ามีส่วนทำให้เขาชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2549

โบลซาฟามีลียา[แก้]

โบลซาฟามีลียาเป็นโครงการสวัสดิการสังคมของรัฐบาลบราซิล ซึ่งมุ่งลดความยากจนในระยะสั้นโดยการโอนเงินสดโดยตรงและการต่อสู้ความยากจนในระยะยาวโดยการเพิ่มทุนมนุษย์ในหมู่คนจนผ่านการโอนเงินสดแบบมีเงื่อนไข นอกจากนี้ยังพยายามให้การศึกษาแบบให้เปล่าแก่เด็กที่ขาดแคลนทุนทรัพย์เพื่อแสดงความสำคัญของการศึกษา[2] ส่วนของโครงการที่ว่าด้วยสิทธิประโยชน์สวัสดิการโดยตรงอาจเรียกได้ว่าเป็นรายได้พื้นฐานแบบมีเงื่อนไขบางอย่าง ครอบครัวที่มีบุตรที่มีสิทธิได้รับรายได้ดังกล่าวนั้น จะต้องดูให้แน่ใจว่าบุตรเข้าโรงเรียนและรับการฉีดวัคซีน โครงการโบลซาฟามีลียาได้รับการกล่าวขานว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนลดความยากจนในประเทศบราซิล ซึ่งลดลงร้อยละ 27.7 ระหว่างรัฐบาลลูลาสมัยแรก[3] โครงการนี้ได้รับการอธิบายว่าเป็น "โครงการทำนองนี้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก"[4] จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2554 มีประชากรบราซิลร้อยละ 26 อยู่ในโครงการ จนถึงเดือนมีนาคม 2563 โครงการครอบคลุมครอบครัว 13.8 ล้านครอบครัว[5] และได้รับเงินเฉลี่ย 34 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน (บราซิลมีค่าแรงขั้นต่ำ 190 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน)[6]

ปฏิกิริยาจากนานาชาติส่วนใหญ่เป็นแบบกระตือรือร้น พอล วุลโฟวิตซ์ อดีตประธานธนาคารโลก กล่าวในปี 2548 ว่า "โบลซาฟามีลียากลายมาเป็นตัวแบบนโยบายสังคมที่มีประสิทธิภาพได้รับการยกย่องอย่างสูงไปแล้ว ประเทศทั่วโลกกำลังถอดบทเรียนจากประสบการณ์ของบราซิลและกำลังพยายามสร้างผลลัพธ์เดียวกันสำหรับประชาชนของตน"[7] นักคิดและนักปรัชญาเศรษฐศาสตร์ โจเซฟ ฮีธ ยกย่องโครงการในหนังสือ Economics without Illusions โดยอ้างมันว่าเป็นตัวอย่างของวิธีการจัดการสิ่งเร้าแก่ประชาชนซึ่งความยากจนเป็นผลมาจากการคิดลดแบบไฮเปอร์โบลิก (hyperbolic discounting)[8]

ข้อวิจารณ์[แก้]

ข้อวิจารณ์หนึ่งที่พบบ่อยและซ้ำ ๆ คือ สมมติฐานว่าโครงการจะทำให้คนไม่กระตือรือร้นทำงาน ส่งเสริมความเกียจคร้าน ทำให้คนพอใจที่จะอยู่ภายใต้โครงการนี้ คริสตจักรคาทอลิกผ่านการประชุมบิชอปแห่งชาติบราซิลยืนยันว่า "โครงการนี้เป็นสิ่งเสพติด" และทำให้ผู้ได้รับประโยชน์ตกสู่ "การเกื้อกูล"[9][10]

อย่างไรก็ดี ข้อค้นพบของธนาคารโลกกลับสรุปว่าโครงการนี้มิได้ทำให้คนทำงานลดลง หรือทำให้คนไม่สนใจเลื่อนฐานะทางสังคม ในทางกลับกัน เบเนดิกต์ เดอ ลา บรีแยร์ ผู้รับผิดชอบการเฝ้าติดตามโครงการระบุว่า "งานผู้ใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบจากการโอนรายได้ ในบางกรณี คนกลับยิ่งทำงานหนักขึ้นเพราะการมีหลักประกันอันนี้ทำให้พวกเขารับความเสี่ยงในกิจกรรมได้มากขึ้นด้วยซ้ำ"[11]

การสำรวจและการวิจัย[แก้]

การสำรวจของรัฐบาลกลางบราซิลพบว่าผู้ได้ประโยชน์ใช้จ่ายเงินจากมากไปน้อยตามลำดับดังนี้ อาหาร อุปกรณ์การเรียน เครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า[12] การศึกษาของมหาวิทยาลัยเปร์นัมบูกูใช้วิธีการทางสถิติที่ซับซ้อนอนุมานว่าประชากรในชนบทใช้เงินร้อยละ 87 เพื่อซื้ออาหาร[13]

จากการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยบางแห่งและสถาบันภูมิศาสตร์และสถิติแห่งบราซิล พบว่าโครงการได้มีส่วนอย่างชัดเจนในผลที่ดีขึ้นในการต่อสู้กับความยากจนของบราซิล การประเมินเศรษฐมิติของโครงการพบว่ามีผลอย่างมีนัยสำคัญต่ออัตราการเข้าเรียนและจำนวนเด็กที่ใช้แรงงานเด็ก[14][15]

ธนาคารโลกซึ่งให้เงินกู้แก่รัฐบาลบราซิลในการจัดการโครงการ[16] ประกาศว่า "แม้โครงการยังมีอายุค่อนข้างน้อย แต่ผลลัพธ์บางอย่างประจักษ์แล้ว รวมทั้ง [...] การมีส่วนต่อผลลัพธ์การศึกษาที่ดีขึ้น และผลกระทบต่อการเติบโตของเด็ก การบริโภคอาหาร และคุณภาพอาหาร"[17]

การศึกษาของศูนย์นโยบายระหว่างประเทศสำหรับการเติบโตอย่างมีส่วนร่วม (International Policy Centre for Inclusive Growth) พบว่า สิทธิประโยชน์กว่าร้อยละ 80 ของโครงการตกแก่ครอบครัวยากจน[18]

โครงการอื่น[แก้]

กวาชิงกาแวลยู[แก้]

กวาชิงกาแวลยูเป็นหมู่บ้านแห่งหนึ่งในประเทศบราซิล ซึ่งมีชื่อเสียงขึ้นมาเพราะมีโครงการรายได้พื้นฐาน โครงการเริ่มตั้นในปี 2551 และจัดระเบียบโดยเรซีวีตัสซึ่งเป็นองค์การไม่แสวงผลกำไร เงินทุนปัจจุบันมาจากเงินบริจาคของเอกชนทั้งหมด ในเดือนมิถุนายน 2554 ชาวบ้าน 83 คนในหมู่บ้านได้รับเงิน 30 เรอัลบราซิลต่อคนต่อเดือน[19] องค์การหวังว่าชาวบ้านจะได้รับรายได้พื้นฐานในที่สุด และสุดท้ายจะมีโครงการทำนองเดียวกันในหมู่บ้านอื่นทั้งในและนอกประเทศบราซิล ทั้งนี้ผู้จัดกำลังสร้างธนาคารชุมชน เพื่อให้รายได้พื้นฐานในอนาคตมาจากเงินลงทุนไม่ใช่เงินบริจาค โดยกำไรของธนาคารจะเปลี่ยนเป็นเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นและผู้จัดการ แผนหนึ่งใช้เพื่อสนับสนุนโครงการรายได้พื้นฐานในประเทศนามิเบียและส่วนอื่นของบราซิล[20]

ซังตูอังโตนียูดูปีญัล[แก้]

ในเดือนพฤศจิกายน 2552 นายกเทศมนตรีเทศบาลซังตูอังโตนียูดูปีญัลผ่านโครงการรายได้พื้นฐานเป็นกฎหมาย[21] โดยกันรายได้ภาษีร้อยละ 6 เพื่อสนับสนุนเงินปันผลอย่างไม่มีเงื่อนไขแก่ประชากรทุกคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นาน 5 ปีเป็นต้นไป[22]

อาปียาอี[แก้]

ในเดือนพฤศจิกายน 2556 เทศบาลอาปียาอีเริ่มใช้กฎหมายทำนองเดียวกันกับที่ใช้ในซังตูอังโตนียูดูปีญัล แต่เงินไม่ได้มาจากภาษีของเทศบาลที่จัดสรรให้กับกองทุนโดยตรง เนื่องจากถูกยับยั้ง[23]

อ้างอิง[แก้]

  1. Lei Nº 10.835, de 8 de Janeiro de 2004. Institui a renda básica de cidadania e dá outras providências. (ในภาษาโปรตุเกส)
  2. Decree nº 5.209, de 17 de setembro de 2004 – Regulates a Law-010.836-2004 – Bolsa Família Program. เก็บถาวร ตุลาคม 29, 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. Nilson Brandão Junior; Marianna Aragão (20 September 2007). "Miséria no Brasil cai 27,7% no 1º mandato de Lula". O Estado de S. Paulo (ภาษาโปรตุเกส). p. B14.
  4. Duffy, Gary (25 May 2010). "Family friendly: Brazil's scheme to tackle poverty". BBC News.
  5. Provost, Claire (21 February 2011). "Social security is necessary and globally affordable, says UN". The Guardian. London.
  6. Osborn, Catherine (2020-08-31). "Coronavirus-Hit Brazil Considers Major Public Funds For Poor And Unemployed". NPR. สืบค้นเมื่อ 2020-09-02. Family allowance - Brazil is renowned for its massive, nearly 2-decade-old cash-transfer program for the poor, Bolsa Família (often translated as "family allowance"). As of March, it reached 13.8 million families, paying an average of $34 per month. (The national minimum wage is about $190 per month.)
  7. News and Broadcast – Brazil’s Bolsa Familia Program Celebrates Progress in Lifting Families out of Poverty
  8. Heath, Joseph (2010). Economics without Illusions: Debunking the Myths of Modern Capitalism. New York, NY: Broadway Books. p. 270. ISBN 978-0-307-59057-2.
  9. "An economic policy of the power of money for money", CNBB, 1 March 2010 เก็บถาวร 11 มีนาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษาโปรตุเกส)
  10. "A Referendum" to divide farms?", CNBB, 27 July 2010 เก็บถาวร 11 มีนาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษาโปรตุเกส)
  11. BRAMATTI, Daniel. Banco Mundial vê Bolsa Família como modelo., São Paulo: Política, Terra Magazine, Sep. 17, 2007, 08h18 (ในภาษาโปรตุเกส)
  12. Bolsa Família, Perguntas e Respostas เก็บถาวร 2007-10-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Veja Online (ในภาษาโปรตุเกส)
  13. DUARTE, Gisléia Benini, et al. Impactos do Programa Bolsa Família Sobre Os gastos Com Alimentos De Famílias Rurais เก็บถาวร 2012-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษาโปรตุเกส)
  14. SSRN-Ex-ante Evaluation of Conditional Cash Transfer Programs: The Case of Bolsa Escola by Francois Bourguignon, Francisco Ferreira, Phillippe Leite
  15. "RAWLINGS, Laura B. e RUBIO, Gloria M. Evaluating the Impact of Conditional Cash Transfer Programs - Lessons from Latin America, Volume 1, World Bank Policy Research Working Paper 3119, August 2003, The World Bank, 2003". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-16. สืบค้นเมื่อ 2010-10-16.
  16. "– Bolsa Familia Project, The World Bank". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-07. สืบค้นเมื่อ 2012-12-08.
  17. Brazil’s Bolsa Familia Program Celebrates Progress in Lifting Families out of Poverty, News & Broadcast, The World Bank, Brasilia, Brazil, December 19, 2005
  18. untitled เก็บถาวร ตุลาคม 13, 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  19. "ReCivitas.org official website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-03. สืบค้นเมื่อ 2013-11-28.
  20. BRAZIL: RECIVITAS expands its local BIG to 83 people as it charters the “BIG Social Bank" เก็บถาวร 2013-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน BI News 2011-06
  21. "Lei Número 1.090, de 12 de Novembro De 2.009 - "Institui a Renda Básica da Cidadania de Santo Antônio do Pinhal e Dá Outras Providências."" (PDF) (ภาษาโปรตุเกส). Prefeitura Municipal de Santo Antônio Do Pinhal. 12 November 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 December 2014. สืบค้นเมื่อ 21 December 2014.
  22. Luiz Antonio Cintra (8 October 2010). "Renda mínima para todos?" (ภาษาโปรตุเกส). CartaCapital. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 December 2014. สืบค้นเมื่อ 21 December 2014.
  23. "Lei municipal nº 041 de 11 de Novembro de 2013 — Institui a Renda Básica de Cidadania no Município de Apiaí". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2021-01-20.