ข้ามไปเนื้อหา

ราบิแย กาดีร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ราบิแย กาดีร์
เกิด (1948-07-15) 15 กรกฎาคม ค.ศ. 1948 (76 ปี)
เมืองอัลไต เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ประเทศจีน
สัญชาติจีน
อาชีพนักธุรกิจ, นักกิจกรรมทางการเมือง
มีชื่อเสียงจากประธานองค์กรสภาอุยกูร์โลก

ราบิแย กาดีร์ (อุยกูร์: رابىيه قادىر, Rabiyä Qadir, อ่านออกเสียง [ˈrabɪjæ ˈqadɪr]; จีนตัวย่อ: 热比娅·卡德尔; จีนตัวเต็ม: 熱比婭·卡德爾; พินอิน: Rèbǐyǎ Kǎdé'ěr) (เกิด 21 มกราคม ค.ศ. 1947) เป็นนักธุรกิจหญิงชาวมุสลิมอุยกูร์ และเป็นผู้นำการประท้วงทางการเมือง ในเขตตะวันตกเฉียงเหนือของเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ของประเทศจีน เธอได้รับเลือกเป็นประธานองค์กรชาวอุยกูร์ลี้ภัย (World Uyghur Congress) ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 [2]

ราบิแย กาดีร์ เกิดในครอบครัวยากจนในเมืองอัลไต เธอเริ่มทำธุรกิจร้านซักรีดในปี พ.ศ. 2519 และขยายกิจการเป็นธุรกิจค้าปลีก และห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และขยายไปสู่กิจการค้าตามแนวชายแดนจีน รัสเซีย และคาซักสถาน ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต [3] นอกจากนั้นเธอยังได้ก่อตั้งมูลนิธิชื่อ 1,000 Families Mothers Project เป็นองค์กรที่สนับสนุนให้หญิงชาวอุยกูร์ริเริ่มทำธุรกิจของตัวเอง [3]

กอดีร์ถูกทางการจีนจับกุมตัวในปี พ.ศ. 2542 ด้วยข้อหาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลกลาง และให้การสนับสนุนขบวนการแบ่งแยกดินแดนของชนกลุ่มน้อยอุยกูร์ เธอได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2548 ก่อนหน้าการเดินทางไปเยือนภูมิภาคเอเชียตะวันออกของนางคอนโดลีซซา ไรซ์ อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา [4] และเดินทางไปสมทบกับครอบครัวในสหรัฐอเมริกา

ราบิแย กาดีร์ ถูกทางการจีนกล่าวหาว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ปะทะระหว่างชาวอุยกูร์และชาวฮั่นในเมืองอุรุมชี เมืองหลวงของเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 [5] แต่เธอได้ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้ [6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ford, Peter (9 July 2009). "Spiritual mother of Uighurs or terrorist?". Christian Science Monitor. สืบค้นเมื่อ 18 August 2010.
  2. "Leadership of the World Uyghur Congress". Uyghurcongress.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-17. สืบค้นเมื่อ 10 July 2005.
  3. 3.0 3.1 "Profile: Rebiya Kadeer". BBC News. 17 March 2005.
  4. News Release Issued by the International Secretariat of Amnesty International เก็บถาวร 2005-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Amnesty International.
  5. "Civilians and armed police officer killed in NW China violence". Xinhua News. 5 July 2009. สืบค้นเมื่อ 5 July 2009.
  6. Wong, Edward (5 July 2009). "Riots in Western China Amid Ethnic Tension". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 5 July 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]