ข้ามไปเนื้อหา

รานีโปขรี

พิกัด: 27°42′28″N 85°18′56″E / 27.707847°N 85.315447°E / 27.707847; 85.315447
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รานีโปขรี
รานีโปขรีเมื่อปี 2021 หลังการซ่อมแซมใหญ่จากแผ่นดินไหวปี 2015
รานีโปขรีตั้งอยู่ในหุบเขากาฐมาณฑุ
รานีโปขรี
รานีโปขรี
รานีโปขรีตั้งอยู่ในประเทศเนปาล
รานีโปขรี
รานีโปขรี
ที่ตั้งกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล
พิกัด27°42′28″N 85°18′56″E / 27.707847°N 85.315447°E / 27.707847; 85.315447
ชนิดบ่อน้ำ
ชื่อในภาษาแม่रानी पोखरी (เนปาล)
สร้างเมื่อ1670; แม่แบบ:Ago
พื้นที่พื้นน้ำ7.7 เอเคอร์ (3.1 เฮกตาร์)
ปริมาณน้ำ30,000,000 ลิตร (6,600,000 imperial gallon; 7,900,000 US gallon)

รานีโปขรี (เนปาล: रानी पोखरी, Rani Pokhari; แปล: บ่อน้ำราชินี) หรือชื่อเดิม นฺหูปุขู (เนวาร์: न्हू पुखू, Nhu Pukhu; แปล: บ่อน้ำใหม่) เป็นบ่อน้ำเก่าแก่ที่มนุษย์สร้างขึ้นในใจกลางนครกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล[1] บ่อน้ำมีแปลนเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 17 บนขอบตะวันออกของนครกาฐมาณฑุในเวลานั้น ตั้งอยู่ติดกับนอกประตูเมืองเก่าพอดี บ่อน้ำรานีโปขรีมีความสำคัญทั้งทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และมีขนาด 180 คูณ 140 เมตร[2]

รานีโปขรีสร้างขึ้นในปี 1670 โดยกษัตริย์ปรตาป มัลละ แห่งราชวงศ์มัลละ เพื่อปลอบขวัญราชินีผู้ซึ่งกำลังเศร้าโศกจากการสูญเสียบุตรชายไปในอุบัติเหตุโดนช้างเหยียบเสียชีวิต น้ำในบ่อนี้กษัตริย์ปรตาปได้ดำริให้นำน้ำจากแหล่งน้ำและจุดบรรจบของแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ทั่วเนปาลและอินเดีย เช่นจากโคไสกูณฑ์, มุกตินาถ, พทรินาถ, เกทารนาถ มาเทรวมกันไว้[3][4]

ใจกลางของบ่อน้ำเป็นโบสถ์พราหมณ์บูชาพระมาตริเกศวรมหาเทวะ (Matrikeshwor Mahadev) ปางอวตารหนึ่งของพระศิวะ นอกจากนี้ภายในยังประดิษฐานเทวรูปของพระหริศังการี (Harishankari) ซึ่งว่ากันว่าเป็นพระลักษมีและพระสรัสวดีรวมในองค์เดียวกัน ชายฝั่งของบ่อทางทิศใต้มีรูปสลักช้าง และบนหลังช้างเป็นรูปปั้นของกษัตริย์ปรตาป มัลละ และบุตรชายทั้งสอง จักรวรรเตนทระ มัลละ (Chakravartendra Malla) กับ มหิปเตนทระ มัลละ (Mahipatendra Malla) กำลังขี่ช้างอยู่ น้ำในบ่อถูกเติมให้เต็มอยู่ตลอดผ่านช่องทางไหลของน้ำจากใต้ดิน และในบ่อยังมีบ่อน้ำ (well) อีกเจ็ดบ่อภายใน[1] ที่มุมทั้งสี่ของบ่อน้ำยังมีมนเทียรย่อม ๆ อีกสี่หลัง ได้แก่โบสถ์พระไภรวะทางตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ, โบสถ์พระมหาลักษมีทางตะวันออกเฉียงใต้ และโบสถ์พระคเณศทางตะวันตกเฉียงใต้ โบสถ์ทางตะวันออกทั้งสองหลังในปัจจุบันอยู่ภายในพื้นที่ของวิทยาลัยตริจันทระ[1][5] นอกจากนี้ ในระหว่างการขุดค้นเมื่อปี 2020 ยังพบว่าที่มุมทั้งสี่ของบ่อมีธุงเคธาราอยู่[6]

โดยปกติ รานีโปขรีจะถูกล้อมด้วยรั้วเหล็กและเปิดให้เข้าภายในเพียงปีละครั้งในวันภาอีตีกา (Bhai Tika) วันสุดท้ายของเทศกาลติหาร และเทศกาล ฉัฐ ที่ซึ่งมีการเฉลิมฉลองเทศกาลยิ่งใหญ่ที่สุดอยู่ที่นี่[7]

หลังเหตุแผ่นดินไหวเนปาลปี 2015 ได้มีการก่อสร้างรานีโปขรีขึ้นใหม่ในเดือนมกราคม 2016 ที่ซึ่งแปลนเดิมจะใช้คอนเกรีตในการก่อสร้างแทนที่การก่ออิฐประกอบดินเหนียวแบบธรรมเนียม รวมถึงยังมีแผนจะสร้างร้านกาแฟริมบ่อน้ำ แผนการก่อสร้างใหม่นี้ถูกคัดค้านอย่างหนัก และมีการประท้วงโดยคนท้องถิ่นหลายครั้งจนท้ายที่สุดจึงแก้ไขแผลนการก่อสร้างบ่อน้ำใหม่ให้เป็นตามดังเดิม[8][9][10] การซ่อมแซมบ่อน้ำจึงแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2020[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Tribhuvan University Teachers' Association (June 2012). "Historical and Environmental Study of Rani Pokhari". Government of Nepal, Ministry of Environment, Science and Technology. pp. 4–5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-22. สืบค้นเมื่อ 9 February 2014.
  2. Amatya, Saphalya (2003). Water & Culture (PDF). p. 25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-02-22. สืบค้นเมื่อ 7 February 2014.
  3. Chitrakar, Anil (30 July 2010). "Infant Mortality". ECS NEPAL. Kathmandu. สืบค้นเมื่อ 7 February 2014.
  4. "Majestic Rani Pokhari". Republica. Kathmandu. 1 November 2013. สืบค้นเมื่อ 7 February 2014.
  5. Regmi, DR (1966). Medieval Nepal: A history of the three kingdoms, 1520 AD to 1768 AD. Firma K. L. Mukhopadhyay. p. 110.
  6. Spouts all around, but only few have running water by Binu Shrestha, The Rising Nepal, 10 February 2020, retrieved 29 September 2021
  7. "Chhath Puja in Ranipokhari, world's largest : ICIMOD". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2022-11-12.
  8. Rani Pokhari blunder, The Kathmandu Post, September 28, 2018, retrieved 14 September 2019
  9. Reconstruction work of Rani Pokhari resumes by Anup Ojha, The Kathmandu Post, March 6, 2019, retrieved 14 September 2019
  10. Bhaktapur sets an example for local-led heritage reconstruction, while Kathmandu and Patan fall short by Timothy Aryal, The Kathmandu Post, April 25, 2019, retrieved 14 September 2019
  11. Nepal completes reconstruction of historical 'Rani Pokhari', The Times of India, 22 October 2020, retrieved 12 August 2021