ข้ามไปเนื้อหา

รัฐสุลต่านรีเยา-ลิงกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐสุลต่านรีเยา-ลิงกา
Kesultanan Riau-Lingga (มลายู)


کسلطانن رياوليڠݢ(ยาวี)
Sultanaat van Riau en Lingga (ดัตช์)


1824–1911
ธงชาติRiau-Lingga Sultanate
ธงชาติ
ของRiau-Lingga Sultanate
ตราแผ่นดิน
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเกาะแก่งในทะเลจีนใต้ และมีดินแดนแทรกที่กาเตอมัน บนเกาะสุมาตรา
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเกาะแก่งในทะเลจีนใต้ และมีดินแดนแทรกที่กาเตอมัน บนเกาะสุมาตรา
สถานะรัฐในอารักขาของดัตช์
เมืองหลวงเปินเยองัต อินเดอราซักตี
(บริหาร, ค.ศ. 1824–1900)
(ราชสำนักและบริหาร, ค.ศ. 1900–1911)
ดายิก
(ราชสำนัก, ค.ศ. 1824–1900)
ภาษาทั่วไปมลายู
ศาสนา
อิสลาม
การปกครองราชาธิปไตย
สุลต่าน 
• 1819–1832
อับดุล ระฮ์มัน
• 1832–1835
มูฮัมมัดที่ 2
• 1835–1857
มะฮ์มุดที่ 4
• 1857–1883
ซูไลมันที่ 2
• 1885–1911
อับดุล ระฮ์มันที่ 2
ยังดีเปอร์ตวนมูดา 
• 1805–1831
จาฟาร์
• 1831–1844
อับดุล
• 1844–1857
อาลีที่ 2
• 1857–1858
อับดุลละฮ์
• 1858–1899
มูฮัมมัด ยูซุฟ
ยุคประวัติศาสตร์จักรวรรดิดัตช์
1824
• ถูกยกเลิกโดยดัตช์
1911
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิยะโฮร์
อินเดียตะวันออกของดัตช์
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ อินโดนีเซีย
 สิงคโปร์

รัฐสุลต่านรีเยา-ลิงกา (มลายู: Kesultanan Riau-Lingga, کسلطانن رياوليڠݢ) เอกสารไทยเรียก เมืองลิงงา หรือ เมืองสิงคา เป็นรัฐสุลต่านของชาวมลายูที่เกิดขึ้นจากการแบ่งพื้นที่ของจักรวรรดิยะโฮร์-รีเยา ที่แยกคาบสมุทรยะโฮร์และสิงคโปร์ออกจากหมู่เกาะรีเยา โดยมีสาเหตุจากการที่อับดุล ระฮ์มัน สถาปนาตนเองเป็นสุลต่านแห่งรีเยา-ลิงกา หลังการสวรรคตของสุลต่านมะฮ์มุดที่ 3 แห่งยะโฮร์ และได้รับการยอมรับว่ามีอำนาจอธิปไตยจากฝ่ายอังกฤษและเนเธอร์แลนด์จากสนธิสัญญาอังกฤษ-ดัตช์ ค.ศ. 1824

รัฐสุลต่านรีเยา-ลิงกาดำรงอธิปไตยของตนเองจนถึง ค.ศ. 1911 ก็ถูกรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ยกเลิก และถูกผนวกรวมเข้ากับอาณานิคมอินเดียตะวันออกของดัตช์แทน