ยู มย็อง-ฮี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยู มย็อง-ฮี
เกิด (1954-09-05) 5 กันยายน ค.ศ. 1954 (69 ปี)
โซล
สัญชาติเกาหลีใต้
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล
มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์
อาชีพนักจุลชีววิทยา
ชื่อเกาหลี
ฮันกึล
ฮันจา
อาร์อาร์Yu Myeonghui
เอ็มอาร์Yu Myŏnghŭi

ยู มย็อง-ฮี (เกิด 5 กันยายน พ.ศ. 2497) เป็นนักจุลชีววิทยาชาวเกาหลีใต้ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานสหพันธ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสตรีแห่งประเทศเกาหลี[2] และเป็นนักวิจัยหลักที่สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศเกาหลี เธอได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าเลขาธิการคนแรกของสำนักงานวางแผนกลยุทธ์ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 ภายใต้ประธานาธิบดีอี มย็อง-บัก และได้ดำรงตำแหน่งจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556[3][4][5][6]

ชีวิตในวัยเด็กและการศึกษา[แก้]

ยูเกิดที่กรุงโซล[7] เธอรู้ตัวว่าสนใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตั้งแต่ตอนศึกษาอยู่ระดับมัธยมต้น[8] ใน พ.ศ. 2520 ยูได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาจุลชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล จากนั้นเธอได้รับปริญญาเอกด้านจุลชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ใน พ.ศ. 2525[6][7] ต่อมาเธอได้เป็นนักวิจัยหลังปริญญาเอก ณ สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (เอ็มไอที) ใน พ.ศ. 2528[7]

อาชีพ[แก้]

การวิจัยทางวิทยาศาสตร์[แก้]

หลังจากย้ายกลับไปอยู่ที่ประเทศเกาหลี ยูทำงานที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ชีวภาพและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศเกาหลีจนถึง พ.ศ. 2543[7] หลังจากนั้นเธอย้ายไปดำรงตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์การวิจัยหลักที่สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศเกาหลี[7] งานส่วนใหญ่ของยูมุ่งเน้นไปที่การปลดล็อกโครงสร้างและการพับของโปรตีนแอลฟาวัน-แอนติทริปซินซึ่งเป็นโปรตีนเซอร์ปิน[9] ยูและทีมวิจัยของเธอได้ทำงานเพื่อค้นหาว่ากรดอะมิโนตัวไหนบ้างที่สามารถยับยั้งการกลายพันธุ์ประเภทต่าง ๆ ได้ เช่น การกลายพันธุ์ tsf ซึ่งส่งผลให้การพับโปรตีนบกพร่อง[10] เธอและกลุ่มนักวิจัยของเธอยังได้จดสิทธิบัตรวิธีการเตรียมอัลฟ่า-1 แอนทริทริปซินมิวทีนที่มีพันธะไดซัลไฟด์[11]

ผลงานของเธอปรากฏในวารสาร เนเจอร์,[12] The Journal of Proteome Research,[13] Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America,[14]Journal of Molecular Biology,[15] the Journal of Biological Chemistry[16] BMB Reports[17] และอื่น ๆ และได้รับการอ้างอิงเป็นจำนวนมากในสาขาชีวเคมี พันธุศาสตร์ อณูชีววิทยา ภูมิคุ้มกันวิทยา และจุลชีววิทยา[18]

งานสาธารณะ[แก้]

ยูดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของศูนย์การทำหน้าที่ของโปรตีน (Functional Proteomics Center) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงแนวพรมแดนการวิจัยและพัฒนาแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Frontier R&D) ที่สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศเกาหลี ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2545 ถึงกรกฎาคม พ.ศ. 2553[6][7][19] ใน พ.ศ. 2553 เธอได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่ในรัฐบาลเกาหลีใต้ที่มีชื่อว่าเจ้าหน้าที่อาวุโสเพื่ออนาคตของชาติ[19] เธอได้รับความรับผิดชอบให้ดูแลการสื่อสารเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของรัฐบาล และให้ช่วยส่งเสริมเทคโนโลยีที่ลดการปล่อยคาร์บอนและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม[20] เธอยังดำรงตำแหน่งประธานของสมาคมชีวฟิสิกส์แห่งประเทศเกาหลีตั้งแต่ พ.ศ. 2552-2553 และยังเป็นประธานขององค์การจีโนมประเทศเกาหลี ใน พ.ศ. 2553[21][22]

รางวัลและการยอมรับ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 김창엽 [Gim Chang-yeop] (9 July 1998). "파워우먼: 생명공학연구소 유명희 박사" [Power woman: Dr. Yu Myeong-Hee, Research Institute of Biology and Biotechnology]. JoongAng Ilbo. สืบค้นเมื่อ 3 November 2015.
  2. "유명희 KIST 박사, 여성과총 차기회장 선출". 여성신문 (ภาษาเกาหลี). 2016-11-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-16. สืบค้นเมื่อ 2018-07-26.
  3. "Lee overhauls Blue House staff". Korea JoongAng Daily. สืบค้นเมื่อ 2018-07-26.
  4. "Journalist named Lee's public relations chief". koreatimes. 2010-07-15. สืบค้นเมื่อ 2018-07-26.
  5. Technology, WISET Korea Center for Women in Science, Engineering, and. "WISET Korea Center for Women in Science, Engineering, and Technology". WISET Korea Center for Women in Science, Engineering, and Technology (ภาษาเกาหลี). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-26. สืบค้นเมื่อ 2018-07-26.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 "Myeong-Hee Yu". Gender Summits. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-29. สืบค้นเมื่อ 31 October 2015.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 7.7 7.8 "Yu, Myeong-Hee". Korean Academy of Science and Technology. สืบค้นเมื่อ 11 August 2018.
  8. Lee, Kye-Woo (2006). Advancement of Women in Science and Technology: A Case Study of Korea. Seoul, South Korea: Ewha Womans University Press. p. 196. ISBN 978-8973007035.
  9. 9.0 9.1 "The L'Oreal – UNESCO Awards 1998 – 2011" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-01-22. สืบค้นเมื่อ 31 October 2015.
  10. Mitraki, Anna; Fane, Ben; Haase-Pettingell, Cameron; King, Jonathan (1991). "Mutations Affecting Protein Folding and Misfolding In Vivo". ใน Kelly, Jeffrey W.; Baldwin, Thomas O. (บ.ก.). Applications of Enzyme Biotechnology – Springer. Springer Science + Business Media. p. 134. doi:10.1007/978-1-4757-9235-5. ISBN 978-1-4757-9235-5.
  11. "Patents by Inventor Myeong-Hee Yu". Justia. สืบค้นเมื่อ 31 October 2015.
  12. Yu, Myeong-Hee; Lee, Kee Nyung; Kim, Jeongho (1995-05-01). "The Z type variation of human α1-antitrypsin causes a protein folding defect". Nature Structural & Molecular Biology. 2 (5): 363–367. doi:10.1038/nsb0595-363. PMID 7664092.
  13. Kim, Hye-Jung; Kang, Hyun Ju; Lee, Hanna; Lee, Seung-Taek; Yu, Myeong-Hee; Kim, Hoguen; Lee, Cheolju (2009-03-06). "Identification of S100A8 and S100A9 as Serological Markers for Colorectal Cancer". Journal of Proteome Research. 8 (3): 1368–1379. doi:10.1021/pr8007573. ISSN 1535-3893. PMID 19186948.
  14. Lee, Cheolju; Park, Soon-Ho; Lee, Min-Youn; Yu, Myeong-Hee (2000-07-05). "Regulation of protein function by native metastability". Proceedings of the National Academy of Sciences. 97 (14): 7727–7731. doi:10.1073/pnas.97.14.7727. ISSN 0027-8424. PMC 16612. PMID 10884404.
  15. Yu, Myeong-Hee; Weissman, Jonathan S.; Kim, Peter S. (1995-01-01). "Contribution of individual side-chains to the stability of BPTI examined by alanine-scanning mutagenesis". Journal of Molecular Biology. 249 (2): 388–397. doi:10.1006/jmbi.1995.0304. PMID 7540212.
  16. Kwon, K.S.; Kim, J; shin, H.S.; Yu, M.H. (1 April 1994). "Single amino acid substitutions of alpha 1-antitrypsin that confer enhancement in thermal stability". The Journal of Biological Chemistry. 269 (13): 9627–9631. doi:10.1016/S0021-9258(17)36927-2. PMID 8144550. สืบค้นเมื่อ 1 November 2015.
  17. Kim, Hye-Jung; Yu, Myeong-Hee; Kim, Ho-Guen; Byun, Jong-Hoe; Lee, Cheolju (2008). "Noninvasive molecular biomarkers for the detection of colorectal cancer". BMB Reports. 41 (10): 685–692. doi:10.5483/bmbrep.2008.41.10.685. PMID 18959813.
  18. "Yu, Myeonghee". Scopus. สืบค้นเมื่อ 1 November 2015.
  19. 19.0 19.1 Ser, Myo-ja (16 July 2010). "Lee Overhauls Blue House Staff". Korea JoongAng Daily. สืบค้นเมื่อ 1 November 2015.
  20. Kim, So-Hyun (15 July 2010). "Cable News Channel Executive Named Lee's PR Aide". The Korea Herald. สืบค้นเมื่อ 1 November 2015.
  21. "한국유전체학회". kogo.or.kr. สืบค้นเมื่อ 2018-08-12.
  22. "The Korean Binphysical Society [한국생물물리학회]". www.biophysics.kr. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-15. สืบค้นเมื่อ 2018-08-12.
  23. 23.0 23.1 23.2 23.3 Unesco (2006). "60 Women contributing to the 60 years of UNESCO: Constructing the Foundations of Peace" (PDF). สืบค้นเมื่อ 11 August 2018.