ยุทธการที่หน่าสาน
ยุทธการที่หน่าสาน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง | |||||||
![]() | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
|
![]() | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
ฌ็อง ฌีล | หวอ เงวียน ซ้าป | ||||||
กำลัง | |||||||
- | - | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
- |
เสียชีวิต 5,000 นาย ถูกจับเป็นเชลย 2,000 นาย |
ยุทธการที่หน่าสาน (ฝรั่งเศส: Bataille de Na San) เป็นการรบระหว่างกองกำลังสหภาพฝรั่งเศสกับกองกำลังคอมมิวนิสต์เวียดมินห์ที่หน่าสาน จังหวัดเซินลา ระหว่างสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง เพื่อยึดครองดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม
ยุทธการ
[แก้]
วันที่ 23 พฤศจิกายน เวลา 20.00 น. กองกำลังเวียดมินห์จาก 88/308 โจมตีตำแหน่งติดอาวุธที่ 8 สองครั้ง และถูกขับไล่ออกไปโดยกองกำลังผสมฝรั่งเศส-เวียดนามซึ่งตั้งอยู่ในสนามเพลาะ ในอีกหลายคืนต่อมา เวียดมินห์ได้โจมตีหลายจุดเพื่อทดสอบการป้องกันของฝรั่งเศสทุกคืน ในเวลากลางวัน กองกำลังฝ่ายป้องกันได้ลาดตระเวนภายในระยะการยิงสนับสนุน
เมื่อเวลา 20.00 น. ของวันที่ 30 พฤศจิกายน กองกำลังเวียดมินห์จำนวน 9 กองพันได้โจมตีตำแหน่งติดอาวุธที่ 22 บี และ 24 ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกและทางตะวันตกของกองบัญชาการในสนามเพลาะตามลำดับ ตำแหน่งติดอาวุธที่ 22 บี ซึ่งได้รับการป้องกันโดยกองพันไทที่ 2 เสียแก่ข้าศึกโดยกองพันที่ 115 (165/312) หลังจากการโจมตีอย่างไม่หยุดหย่อนนานกว่า 9 ชั่วโมง จากทหารที่ป้องกันตำแหน่งกว่า 225 คน พบว่าเหลือกำลังพลเพียงชุดยิงเดียวที่สามารถหลบหนีกลับไปยังสนามบนได้ ตำแหน่งติดอาวุธที่ 24 ต้านทานอย่างกล้าหาญต่อการโจมตีต่อเนื่องกว่า 3 ชั่วโมงโดย 102/308 ก่อนที่จะยอมจำนน
พันเอกฌีล ผู้ซึ่งต้องการยึดตำแหน่งทั้งสองคืนเนื่องจากอยู่ใกล้กับกองบัญชาการใหญ่หน่าสานอย่างเป็นอันตราย ได้เริ่มการโจมตีในช่วงเช้า หลังจากการระดมยิงปืนใหญ่ ทหาร 2 กองร้อยจากกองพันส่งทางอากาศต่างด้าวที่ 2 ได้โจมตีและสามารถยึดตำแหน่ง 22 บีคืนได้ หลังจากการสู้รบอย่างหนักเป็นเวลา 7 ชั่วโมง BPC ที่ 3 ก็สามารถยึดตำแหน่ง 24 คืนได้เช่นกัน
กองกำลังของนายพลซ้าปได้ทุ่มกำลังทั้งหมดโจมตีที่หน่าสาน ทหารเวียดมินห์ระลอกแล้วระลอกเล่าได้มุ่งเข้าโจมตีตำแหน่งติดอาวุธหลายแห่งอย่างไม่ขาดสาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 21 บี และ 26 โดยบางช่วงที่ฝ่ายตั้งรับสูญเสียตำแหน่ง 15 จนถึง 1 แต่ฝ่ายป้องกันก็สามารถหยุดยั้งกองกำลัเงวียดมินห์ของนายพลซ้าปซึ่งดูแล้วไม่น่าจะถูกหยุดยั้งได้
บรรณานุกรม
[แก้]- Lt. Gen. Phillip B. Davidson, USA (Ret.) (1998). Vietnam at War. Presidio Press. ISBN 0-89141-306-5.
- Dufour, Nicolas (October 1999). NASAN, La victoire oubliée (1952-1953) [Nasan, the forgotten victory (1952-1953)] (ภาษาฝรั่งเศส). Economica. ISBN 2-7178-3940-2.
- Salan, Raoul Albin Louis (1971). Memoires: fin d'un empire, tome 2: Le Viet Minh mon adversaire [Memoires: the end of an empire, volume 2: Viet Minh, my adversary] (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: Presses de la Cite.
- Simpson, Howard R. (August 1992). Tiger in the Barbed Wire: An American in Vietnam, 1952-1991. Brassey’s Inc. ISBN 0788151487.
- AFRVN Military History Section, J-5, Strategic Planning and Policy. Quân Sử 4: Quân lực Việt Nam Cộng Hòa trong giai-đoạn hình-thành: 1946-1955 (reprinted from the 1972 edition in Taiwan, DaiNam Publishing, 1977) [AFRVN, the formation period, 1946-1955] (ภาษาเวียดนาม).
{{cite book}}
:|author=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - Doan Quoc Sy (1962). Ba sinh hương lửa [Three periods of Fire] (ภาษาเวียดนาม). Saigon: Sáng Tạo.
- Dinh Xuan Lam (1998). Lich Su 12, Tap 2 [12th Grade History, Volume 2] (ภาษาเวียดนาม). HCM City, Vietnam: Ministry of Education.