ยุทธการที่คอลลา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการที่คอลลา
ส่วนหนึ่งของ สงครามฤดูหนาว
วันที่7 ธันวาคม ค.ศ. 1939 ถึง 13 มีนาคม ค.ศ. 1940
สถานที่
แม่น้ำคอลลา ประเทศฟินแลนด์
ผล ฟินแลนด์ได้รับชัยชนะ
คู่สงคราม
 ฟินแลนด์  สหภาพโซเวียต
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
โวลเดอมาร์ เฮกลุนด์
กองพล:
เลารี ติไอเนน
(จนถึงวันที่ 31 มกราคม)
อันเตโร สเวนสัน
(ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์)
อีวาน คาบารอฟ
(จนถึงวันที่ 13 ธันวาคม)
กริกอรี ชเทิร์น
(ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม)
กองพล: (ธันวาคม)
เอ็ม.เอส. เยฟสตีเนเยฟ
เหล่า: (กุมภาพันธ์–มีนาคม)
ดมีตรี คอสลอฟ
วี.จี. โฟรอนซอฟ
กำลัง
1 กองพลและบางหน่วยเล็ก ๆ[ต้องการอ้างอิง] 4 กองพล, 1 กองพลรถถัง[ต้องการอ้างอิง]
ความสูญเสีย
เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ 1,500 คน (ประมาณการ) เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ 8,000 คน
แม่แบบ:Campaignbox Winter War

ยุทธการที่คอลลา (ฟินแลนด์: Kollaan taistelu; อังกฤษ: Battle of Kollaa) เป็นการต่อสู้ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1939 ถึงวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1940 ในคาเรเลียของลาโดกา ประเทศฟินแลนด์ ในฐานะส่วนหนึ่งของสงครามฤดูหนาวของโซเวียต-ฟินแลนด์

ลักษณะและผลลัพธ์[แก้]

แม้จะมีกองกำลังน้อยกว่าโซเวียต แต่กองกำลังฟินแลนด์ (กองพลที่ 12) ก็ได้ขับไล่กองทัพแดงเพราะโซเวียตกำลังเตรียมพร้อมที่จะดำเนินการต่อตามถนนเท่านั้น โดยพื้นที่คอลลามีถนนน้อยมาก ทุกเส้นได้รับการคุ้มกันโดยกองกำลังฟินแลนด์ และโซเวียตไม่สามารถดำเนินการข้ามประเทศได้โดยไม่ต้องใช้สกี

คอลลาร์มักถูกมองว่าเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ยากที่สุดในการปกป้องในช่วงสงครามฤดูหนาว มีการประเมินว่ากองทัพแดงยิงกระสุนปืนใหญ่เกือบ 40,000 รอบในแนวป้องกันในวันเดียว ในขณะที่กองปืนใหญ่ฟินแลนด์สามารถยิงได้เพียง 1,000 รอบต่อวันที่มากที่สุด[ต้องการอ้างอิง]

ผู้นำทางทหารของฟินแลนด์ในยุทธการที่คอลลา

แม้ว่ากองพลที่ 12 ของฟินแลนด์จะหยุดกองทัพแดงได้ แต่ทั้งสองฝ่ายก็ประสบความสูญเสียอย่างมาก ยุทธการที่คอลลาก็ยังดำเนินต่อไปจนกว่าจะสิ้นสุดสงครามฤดูหนาว กองทัพแดงบุกเข้าไปในแนวป้องกันของฟินแลนด์ในคอลลาร์หลายต่อหลายครั้ง เพื่อผลักดันฝ่ายฟินแลนด์ออกจากตำแหน่งของพวกเขา แต่ฝ่ายฟินแลนด์ตอบโต้อย่างเป็นระบบเพื่อเรียกคืนความมั่นคงของแนวป้องกัน[1] การป้องกันประเทศฟินแลนด์เกือบเข้าสู่การล่มสลายในตอนท้ายของสงคราม ในความเป็นจริง โซเวียตสามารถสร้างจุดแตกหักลึกถึง 0.5–1.5 กิโลเมตรในแนวป้องกันของประเทศฟินแลนด์ในวันที่ 12 มีนาคม ผลที่ตามมา ผู้บัญชาการกองพลที่ 12 ของกองทัพบกฟินแลนด์พิจารณาทิ้งแนวป้องกันหลักที่คอลลา อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข่าวจากแนวรบได้ประเมินสถานการณ์ว่า "ยังไม่น่ากลัว" ทางผู้บัญชาการจึงสั่งให้โต้กลับสำหรับแนวป้องกันเพื่อเอาคืนในวันรุ่งขึ้น ขณะที่ข่าวของสนธิสัญญาสันติภาพที่สรุปแล้วมาถึงแนวรบ คำสั่งเหล่านั้นถูกยกเลิกไป และคนเหล่านั้นได้รับคำสั่งให้คุ้มครองตำแหน่งปัจจุบันไว้จนกว่าจะสิ้นสุดสงคราม[2]

การแสดงความคิดใหม่สำหรับการแก้ปัญหาของฟินแลนด์[แก้]

คำพูดที่มีชื่อเสียงจากยุทธการที่คอลลา เป็นคำถามของพลตรีแฮกลุนด์ว่า "จะคุ้มครองคอลลาร์ไว้หรือไม่ ?" (Kestääkö Kollaa ?) ซึ่งร้อยโท อาร์เน ยูติไลเนน ตอบว่า "ครับ จะคุ้มครองมันไว้ (Kollaa kestää) เว้นเสียแต่ว่าจะสั่งให้หนีออกไป" ซึ่งคำถามและการตอบกลับง่าย ๆ นี้ ได้รับการบรรจุลงศัพทานุกรมภาษาฟินแลนด์ เพื่อแสดงออกถึงความเพียรและการแก้ปัญหาในยามเผชิญหน้ากับความยากลำบากหรือวิกฤตที่กำลังจะมาถึง และวงดนตรีพังก์ฟินแลนด์ได้นำชื่อ Kollaa Kestää มาตั้งเป็นชื่อวง

มัจจุราชสีขาว[แก้]

มือสไนเปอร์ระดับตำนานอย่างซิโม แฮวแฮ เจ้าของสมญานาม "มัจจุราชสีขาว" ได้ทำหน้าที่บนแนวรบคอลลา เขาได้รับเครดิตจากการยืนยันตามการบันทึกทางทหารของฟินแลนด์ว่าสังหารข้าศึกไป 505 คน ซึ่งจำนวนจริงอาจสังหารได้ถึง 800 คน

แหล่งที่มา[แก้]

  • Kollaa kestää. WSOY. 1940.
  • Talvisodan historia. Porvoo: Werner Söderström Osakeyhtiö. 1991. ISBN 951-0-17565-X.

อ้างอิง[แก้]

  1. Sotatieteen laitos: "Talvisodan historia" osa 3 s.73 ja 111
  2. Sotatieteen laitos: "Talvisodan historia" osa 3 s.128

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]