ยาซูโนริ คาโต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยาซูโนริ คาโต
Katospell.jpg
คาโตที่แสดงโดยคีวซากุ ชิมาดะ ในการดัดแปลงของเทโตะโมโนกาตาริเมื่อ ค.ศ. 1988
ปรากฏครั้งแรกเทโตะโมโนกาตาริ เล่ม 1 (ค.ศ. 1985) (คาโดกาวะโชเต็ง)
ปรากฏครั้งสุดท้ายเดอะเกรตโยไกวอร์ (ค.ศ. 2005) (คาโดกาวะโชเต็ง)
สร้างโดยฮิโรชิ อารามาตะ
แสดงโดยคีวซากุ ชิมาดะ (โตเกียว: เดอะลาสต์เมกาโลโพลิส, โตเกียว: เดอะลาสต์วอร์, ดูมด์เมกาโลโพลิส)
คาซูฮิโกะ นิชิมูระ (เทโตะโมโนกาตาริไกเด็ง)
เอ็ตสึชิ โทโยกาวะ (เดอะเกรตโยไกวอร์)
เจฟ วิงก์เลส (ดูมด์เมกาโลโพลิส)

ยาซูโนริ คาโต (ญี่ปุ่น: 加藤保憲; อักษรโรมัน: Yasunori Katō) ตัวละครในบันเทิงคดี ซึ่งเป็นตัวเอก[1][2] ของซีรีส์จินตนิมิตอิงประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเรื่องเทโตะโมโนกาตาริ ซึ่งสร้างโดยฮิโรชิ อารามาตะ เขาปรากฏตัวครั้งแรกในนิตยสารบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ฉบับ ค.ศ. 1983 ที่ตีพิมพ์โดย สำนักพิมพ์คาโดกาวะโชเต็ง[3] แต่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางมากขึ้นด้วยผลงานตีพิมพ์ที่ต่อเนื่อง ตลอดจนการเปิดตัวภาพยนตร์ของเขา รวมถึงได้รับการอ้างอิงบ่อยครั้งในวัฒนธรรมประชานิยมของญี่ปุ่น ตัวละครของเขามักเกี่ยวข้องกับรหัสยลัทธิองเมียวเนื่องจากเทโตะโมโนกาตาริเป็นหนึ่งในนวนิยายเรื่องแรก ๆ ที่เผยแพร่ศิลปะในบันเทิงคดีญี่ปุ่นสมัยใหม่

ในภาษาญี่ปุ่น เขามักถูกอ้างถึงด้วยคำนำหน้าคือ "มาจิง" (魔人, Majin, มนุษย์ปีศาจ) เนื่องจากความสามารถเหนือมนุษย์ที่เหลือเชื่อ และแทบจะเป็นอมตะ

ประวัติ[แก้]

คาโตเป็นบุคคลรูปแบบเมลมอธเดอะวันเดอเรอร์เหนือธรรมชาติที่มีอดีตอันลึกลับ มีการพรรณนาว่าเขาเป็นโอนิที่เกิดจากความแค้น 2,000 ปีของประวัติศาสตร์ที่ซ่อนเร้นของญี่ปุ่น ในฐานะคู่ต่อสู้ของเขา ยาซูมาซะ ฮิราอิ ผู้เป็นทายาทอย่างเป็นทางการของอาเบะโนะเซเมในตำนานและผู้นำขององเมียวจิที่แท้จริงซึ่งรับใช้จักรพรรดิญี่ปุ่น อธิบายว่า:

จากมุมมองขององเมียวโดสายสึชิมิกาโด โอนิเป็นมารโปร่งแสงที่องเมียวจิจัดการ ซึ่งคำว่าโอนิหมายถึงชนพื้นเมืองแห่งน้ำหรือภูเขา โดยอาจเป็นทายาทของคนจีน, เกาหลี หรือญี่ปุ่นที่แปลงสัญชาติแล้วไม่ได้เทิดทูนราชสำนัก...และเขา [คาโต] เป็นทายาทของผู้ที่กบฏต่อราชสำนักในสมัยโบราณ คาโตคือจอมวายร้ายที่สืบสานความแค้นและความนอกรีตจากพวกนั้น และจะเป็นอันตรายต่อราชวงศ์ญี่ปุ่นอย่างไม่ขาดสาย ซึ่งเขาอาจจะไม่ใช่ประชากรชาวญี่ปุ่น[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Hiroshi Aramata, Birds of the World: as painted by 19th century artists (Crown Publishers 1989), p. 11, ISBN 0-517-57374-1
  2. Reider, Noriko T. Japanese Demon Lore: Oni from Ancient Times to the Present Utah State University Press, 2010. 113. (ISBN 0874217938)
  3. 文芸雑誌小說初出総覧:1981-2005. Pg. 92.
  4. Reider, Noriko T. Japanese Demon Lore: Oni from Ancient Times to the Present Utah State University Press, 2010. (ISBN 0874217938)

แหล่งที่มา[แก้]