ข้ามไปเนื้อหา

ยัน อิงเงินฮุส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยัน อิงเงินฮุส
เกิด8 ธันวาคม ค.ศ. 1730(1730-12-08)
เบรดา, สตาตส์-บราบันต์, สาธารณรัฐดัตช์
เสียชีวิต7 กันยายน ค.ศ. 1799(1799-09-07) (68 ปี)
คาล์น, วิลต์เชอร์, ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่
สัญชาติดัตช์
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยคาทอลิกเลอเฟิน
มีชื่อเสียงจากการสังเคราะห์ด้วยแสง
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาสรีรวิทยา

ยัน อิงเงินฮุส (ดัตช์: Jan Ingenhousz, ออกเสียง: [ˈɪŋənhus]; 8 ธันวาคม ค.ศ. 1730 – 7 กันยายน ค.ศ. 1799) เป็นนักสรีรวิทยา นักชีววิทยา และนักเคมีชาวดัตช์ เป็นผู้ค้นพบการสังเคราะห์ด้วยแสง[1] และพบว่าพืชมีการหายใจระดับเซลล์เช่นเดียวกับสัตว์[2]

ประวัติ

[แก้]

ยัน อิงเงินฮุสเกิดในปี ค.ศ. 1730 ที่เมืองเบรดาในสาธารณรัฐดัตช์ เมื่ออายุได้ 16 ปี เขาเข้าเรียนด้านการแพทย์ที่มหาวิทยาลัยเลอเฟินและเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยไลเดิน ในปี ค.ศ. 1755 เขากลับไปทำงานเป็นแพทย์ที่เมืองเบรดา หลังบิดาของอิงเงินฮุสเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1764 เขาเดินทางไปทั่วยุโรปเพื่อศึกษาต่อ อิงเงินฮุสเรียนการปลูกฝีป้องกันโรคฝีดาษกับจอห์น พริงเกิลในอังกฤษ ต่อมาในปี ค.ศ. 1767 เขาประสบความสำเร็จในการปลูกฝีให้ชาวเมืองฮาร์ตฟอร์ดเชอร์กว่า 700 คน[3] ปีต่อมา จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซาแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ทรงทราบข่าวการรักษาของพริงเกิลและสนพระทัยในการปลูกฝี พริงเกิลจึงเสนอให้อิงเจิลเฮาส์เดินทางไปออสเตรีย การปลูกฝีให้แก่พระราชวงศ์ของจักรพรรดินีมาเรีย เทเรซาเป็นไปได้ด้วยดี ทำให้อิงเงินฮุสได้รับตำแหน่งแพทย์ประจำพระองค์[4]

อิงเงินฮุสมีผลงานต่าง ๆ เช่น ในปี ค.ศ. 1779 เขาพบว่าเมื่อมีแสงแดด พืชจะปล่อยก๊าซชนิดหนึ่งออกมา แต่จะหยุดกระบวนการนี้เมื่อไม่มีแสงแดด[5] ต่อมาเขาพบว่าก๊าซดังกล่าวคือออกซิเจน อิงเงินฮุสยังพบภายหลังว่าเมื่อไม่มีแสงแดด พืชจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา กระบวนการดังกล่าวรู้จักในชื่อการสังเคราะห์ด้วยแสง[6][7] ต่อมาในปี ค.ศ. 1785 อิงเงินฮุสสังเกตเห็นการเคลื่อนที่ที่ไม่เป็นระเบียบของฝุ่นถ่านหินในแอลกอฮอล์ ต่อมาปรากฏการณ์นี้เรียกว่าการเคลื่อนที่แบบบราวน์[8]

ด้านชีวิตส่วนตัว อิงเงินฮุสแต่งงานกับแอกาทา มารีอา แจ็กควินในปี ค.ศ. 1755 เขาเสียชีวิตที่เมืองคาล์น ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ในปี ค.ศ. 1799[9] ในปี ค.ศ. 2017 กูเกิล ดูเดิล ฉลองวันเกิดปีที่ 287 ให้แก่อิงเงินฮุส[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Meixler, Eli (December 8, 2017). "Jan Ingenhousz, Father of Photosynthesis, Celebrated With Google Doodle". Time. สืบค้นเมื่อ December 18, 2017.
  2. Howard Gest (1997). "A 'misplaced chapter' in the history of photosynthesis research; the second publication (1796) on plant processes by Dr Jan Ingen-Housz, MD, discoverer of photosynthesis. A bicentenniel 'resurrection'" (PDF). Photosynthesis Research. 53: 65–72. doi:10.1023/A:1005827711469.
  3. Curtis, Sophie (December 8, 2017). "Who was Jan Ingenhousz? Scientist who discovered photosynthesis honoured with Google doodle". Daily Mirror. สืบค้นเมื่อ December 18, 2017.
  4. Ingen Housz JM, Beale N, Beale E (2005). "The life of Dr Jan Ingen Housz (1730–99), private counsellor and personal physician to Emperor Joseph II of Austria". J Med Biogr. 13 (1): 15–21. PMID 15682228.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  5. Jan Ingenhousz, Experiments upon Vegetables, Discovering Their great Power of purifying the Common Air in the Sun-shine, and of Injuring it in the Shade and at Night. To Which is Joined, A new Method of examining the accurate Degree of Salubrity of the Atmosphere, London, 1779. From Henry Marshall Leicester and Herbert S. Klickstein, A Source Book in Chemistry 1400–1900, New York, NY: McGraw Hill, 1952. Excerpts. Retrieved 24 June 2008.
  6. Gest, Howard (2000). "Bicentenary homage to Dr Jan Ingen-Housz, MD (1730–1799), pioneer of photosynthesis research". Photosynthesis Research. 63 (2): 183–90. doi:10.1023/A:1006460024843. PMID 16228428.
  7. Geerd Magiels, Dr. Jan Ingenhousz, or why don't we know who discovered photosynthesis, 1st Conference of the European Philosophy of Science Association 2007
  8. Radenovic, Aleksandra. "Brownian motion and single particle tracking" (PDF). Advanced Bioengineering methods laboratory - LBEN - EPFL. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-07-12. สืบค้นเมื่อ December 18, 2017.
  9. Hughes, David (December 8, 2017). "Jan Ingenhousz remembered with Google Doodle on 287th birthday – when did the Dutchman discover photosynthesis?". The Sun. สืบค้นเมื่อ December 18, 2017.
  10. "Jan Ingenhousz's 287th Birthday". Google Doodle. December 8, 2017. สืบค้นเมื่อ December 18, 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]