มิโคยัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัสเซียน แอร์คราฟท์ คอร์เปอร์เรชั่น มิก
ประเภทบริษัทเดี่ยว
อุตสาหกรรมเครื่องบินและการป้องกัน
ก่อตั้งธันวาคม พ.ศ. 2482
สำนักงานใหญ่มอสโคว์ประเทศรัสเซีย
บุคลากรหลัก
อาร์เทม มิโคยันและมิไคล์ กูเรวิชค์เป็นผู้ก่อตั้ง
ผลิตภัณฑ์เครื่องบินทางการทหาร
เครื่องบินพลเรือน
รายได้80,033,284,000 รูเบิลรัสเซีย (พ.ศ. 2560) Edit this on Wikidata
รายได้จากการดำเนินงาน
15,758,754,000 รูเบิลรัสเซีย (พ.ศ. 2560) Edit this on Wikidata
รายได้สุทธิ
501,073,000 รูเบิลรัสเซีย (พ.ศ. 2560) Edit this on Wikidata
สินทรัพย์208,848,036,000 รูเบิลรัสเซีย (พ.ศ. 2560) Edit this on Wikidata
เจ้าของรัฐบาลรัสเซีย
พนักงาน
10,090 (พ.ศ. 2556) Edit this on Wikidata
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

บริษัทผลิตอากาศยานรัสเซียมิก หรือ อาร์เอสเค มิก (อังกฤษ: Russian Aircraft Corporation MiG, RSK MiG) เป็นบริษัทของรัสเซีย เดิมทีเคยเป็นมิโคยัน หรือ สำนักงานออกแบบมิโคยัน-กูเรวิชค์ (อังกฤษ: Mikoyan, Mikoyan-i-Gurevich Design Bureau (รัสเซีย: Микоян и Гуревич, МиГ) มันเป็นสำนักงานออกแบบอากาศยานทางทหารซึ่งเน้นไปที่เครื่องบินขับไล่ ในอดีตเคยเป็นสำนักงานออกแบบของสหภาพโซเวียตและก่อตั้งขึ้นโดยอาร์เทม มิโคยันและมิไคล์ กูเรวิชค์จึงเป็นที่มาของคำว่ามิก (MiG) เมื่อมิโคยันเสียชีวิตลงในปีพ.ศ. 2513 ชื่อกูเรวิชค์ก็ถูกนำออกแม้ว่ายังคงใช้คำย่อว่ามิกเหมือนเดิม บริษัทยังได้ทำการสร้างและออกแบบเครื่องจักรอย่างเฮลิคอปเตอร์คามอฟ

เครื่องบินของมิกถูกใช้โดยจีน เกาหลีเหนือ และเวียดนามเหนือในการปะทะกับสหรัฐอเมริกาและสัมพันธมิตร สหภาพโซเวียตได้ขายเครื่องบินจำนวนมากที่เป็นมิกเช่นกัน

รัฐบาลรัสเซียกำลังวางแผนที่จะรวมมิโคยันเข้ากับอิลยูชิน ไอร์คัท ซุคฮอย ตูโปเลฟ และยาโกเลฟเข้าด้วยกันเพื่อสร้างบริษัทใหม่ชื่อยูไนเต็ด แอร์คราฟท์ คอร์เปอร์เรชั่น[1]

รายชื่ออากาศยานของมิโคยัน[แก้]

มิก-15
มิก-21
มิก-23
มิก-25
มิก-29
มิก-29โอวีที

รุ่นที่ผลิต[แก้]

รุ่นทดลอง[แก้]

อากาศยานไร้คนขับและโดรน[แก้]

ข้อตกลงในการตั้งชื่อ[แก้]

ส่วนใหญ่แล้วมิกจะเป็นชื่อของเครื่องบินขับไล่ แต่ก็มีมิก-8 และมิก-110 ที่ไม่ใช่เครื่องบินขับไล่เช่นกัน มิก-105 สไปรัลถูกออกแบบมาเพื่อเป็นเครื่องบินสกัดกั้นทางวงโคจรเพื่อแข่งกับเอ็กซ์-20 ไดน่า-ซอร์ของสหรัฐฯ

นาโต้ใช้ชื่อเล่น F เพื่อแทนเครื่องบินขับไล่ ออกเสียงหนึ่งพยางค์เพื่อหมายถึงเครื่องบินลูกสูบและสองพยางค์เพื่อหมายถึงเครื่องบินไอพ่น

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

หมายเหตุ เว็บไซต์ต่อไปนี้มีรายละเอียดเป็นภาษาอังกฤษ

อ้างอิง[แก้]