มิคา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก มิค่า)
ไมกา
ไมกาที่ London Roundhouse เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 2022
เกิดไมเคิล ฮอลบรูค เพ็นนิแมน เจ.อาร์.
(1983-08-18) 18 สิงหาคม ค.ศ. 1983 (40 ปี)
เบรุต เลบานอน
ชื่ออื่นมิคา/ไมกา เพ็นนิแมน
พลเมือง
  • อังกฤษ
  • สหรัฐ
อาชีพ
  • นักร้อง
  • นักแต่งเพลง
  • นักแสดง
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
เครื่องดนตรี
  • เสียงร้อง
  • คีย์บอร์ด
  • เปียโน
ช่วงปี2006–ปัจจุบัน
ค่ายเพลง
เว็บไซต์yomika.com

ไมเคิล ฮอลบรูค เพ็นนิแมน เจ.อาร์. (อังกฤษ: Michael Holbrook Penniman J.R.) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ ไมกา เพ็นนิแมน (อังกฤษ: Mika Penniman) เกิดวันที่ ที่ 18 สิงหาคม 2526 เลบานอน เติบโตในลอนดอน และปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นนักร้องสังกัด Casablanca Records และยูนิเวอร์ซัลมิวสิคกรุ๊ป เริ่มโด่งดังในฐานะนักร้องนักแต่งเพลงตั้งแต่ปลาย ค.ศ. 2006[6][7][8] หลังจากบันทึกอีพีแรกที่ชื่อ Dodgy Holiday มิคาได้ประกาศวางจำหน่ายสตูดิโออัลบั้ม Life in Cartoon Motion ภายใต้สังกัดไอส์แลนด์เรเคิดส์ ในปี 2007 อัลบั้ม Life in Cartoon Motion ทำยอดขายได้มากกว่า 5.6 ล้านก๊อปปี้ทั่วโลกและทำให้มิคาได้เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลบริทอวอร์ดและรางวัลแกรมมี่ 2 ปีต่อมา มิกาวางจำหน่ายอีพีชุดที่สอง Songs for Sorrow รุ่นจำกัดจำนวนที่ขายหมดทั่วโลก และไม่กี่เดือนถัดมาสตูดิโออัลบั้มชุดต่อมา The Boy Who Knew Too Much ก็ถูกวางจำหน่ายต่อจากอีพี ขณะนี้มิคาเพื่งเสร็จจากการทัวร์คอนเสิร์ตรอบโลก และเตรียมงานสำหรับสตูดิโออัลบั้มชุดใหม่ ที่เขาพูดถึงว่า เป็นเพลงป็อบที่เนื้อหาเข้าใจง่าย, ไม่ซับซ้อนเหมือนกับอัลบั้มที่แล้ว มิคาจะเริ่มบันทึกเสียงในดือนมีนาคม 2554 นี้ [9]

ประวัติ[แก้]

ไมกา เกิดในเบรุต เป็นลูกคนที่สามจากห้าคนที่เกิดจากมารดาชาวเลบานอนกับบิดาชาวอเมริกัน ขณะที่ไมกาอายุได้เพียงหนึ่งขวบ[10] ครอบครัวของเขาถูกบังคับให้อพยพออกจากเลบานอนเนื่องจากภัยสงคราม และได้ย้ายไปอยู่ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส มิคาเริ่มเรียนเปียโนจากบทเพลงของ โจ ดาแซ็ง[11] แต่งเพลงแรกหลังจากฟังเพลง Heart Shaped Box ของเนอร์วานา [12] ต่อมาครอบครัวนี้ได้ไปอยู่ที่ลอนดอนเมื่อไมกาอายุ 9 ปี เขาถูกรังแกจากเพื่อนในโรงเรียนอย่างหนักที่โรงเรียนมัธยมภาษาฝรั่งเศสชาลส์ เดอ โกล [13] ไมกามีอาการดิเล็กเซีย (ความบกพร่องในการอ่าน มีปัญหาในการอ่านหรือสะกดคำ) ขณะที่อายุได้ 12 ปี จึงต้องเรียนหนังสือกับแม่ที่บ้านนานกว่า 6 เดือน หลังจากนั้นได้เข้าเรียนที่โรงเรียนเซนต์ฟิลิปในเคนซิงตัน และได้เป็นหัวหน้าสกอลา คานโตรัม (คณะประสานเสียงของโรงเรียน) ต่อมาได้เรียนที่โรงเรียนเวสต์มินสเตอร์และรอยัลคอลเลจมิวสิค หลังจากเรียนจบไมกาได้บันทึกเสียงกับค่ายคาซาบลังกา [14] เขาเปลี่ยนใหม่จาก Mica เป็น Mika เพราะคนส่วนใหญ่สับสนในการออกเสียงตัว c จึงเปลี่ยนเป็นตัว k แทน [15] ไมกามีพี่น้อง 5 คน มีพี่สาว 2 คน และมีน้องสาวกับน้องชายอย่างละคน ยัสมินทำงานเป็นศิลปินให้กับ Nom de Plume ดาเว็คพี่สาวอีกคนเป็นผู้เขียนภาพการ์ตูนหน้าปกอัลบั้ม Life in Cartoon Motion และทำงานเป็นดีไซเนอร์ พาโลมาน้องสาวได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการตกหน้าต่างชั้น 4 และถูกเหล็กริมระเบียงเสียบทะลุร่างกาย [16] ตุลาคม 2010 มิคาให้สัมภาษณ์ผ่านรายการวิทยุ The Chris Moyles Show ผ่านสถานีวิทยุ BBC 1 ว่าสามารถพูดภาษาฝรั่งเศสและสเปนได้อย่างคล่องแคล่ว และพูดภาษาจีนกลางได้นิดหน่อยแม้ว่าจะเรียนภาษาจีนมานานกว่า 9 ปี [17] [18] เมื่อยังเด็ก ไมกาได้เรียนโอเปร่ากับอัลลา อาร์ดาคอฟ (อัลบลาเบอร์ดีวา) นักแสดงละครโอเปร่าชาวรัสเซีย และเข้าเรียนที่สถาบันรอยัลคอลเลจออฟมิวสิค มิคาปรากฏตัวครั้งแรกในเดือนกันยายน 2006 ผ่านรายการวิทยุ Dermot O'Leary's ออกอากาศที่สถานีวิทยุ BBC 2 มีข่าวลือว่าไมกามีเสียงร้องที่ระดับ 5 ออคเตฟ แต่ต่อมาได้รับการยืนยันว่า เขามีเสียงร้องที่ระดับ 3 1/2 ออคเตฟ [19][14][20][21]

อาชีพทางดนตรี[แก้]

เริ่มต้นอาชีพนักดนตรี : 2004 - 2006[แก้]

ซิงเกิลแรกของมิคาคือเพลง Relax, Take it easy (2006) วางจำหน่ายในรูปแบบแผ่นเสียงขนาด 7 นิ้วและดิจิทัลดาวน์โหลดจำนวนจำกัด ซิงเกิลนี้ออกอากาศครั้งแรกบนสถานีวิทยุ BBC 1 ในสหราชอาณาจักร ต่อมาได้มีจำหน่ายอีพีในชื่อ Dodgy Holiday ในรูปแบบดิจิทัลดาวน์โหลดและเพลง Billy Brown สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีบนร้านค้าออนไลน์ไอทูนส์ ส่วนเพลงเก่าอย่าง Overrated ที่บันทึกไว้ตั้งแต่ปี 2004 ก็ได้ถูกวางขายในร้านค้าไอทูนส์อย่างไม่เป็นทางการ

Life in Cartoon Motion : 2006 - 2008[แก้]

มกราคม 2007 มิคาได้ถูกโหวตให้อยู่ในอันดับที่ 1 ของ โพล Sound of 2007 [22] บนเว็บไซต์ BBC News 8 มกราคม 2007 Grace Kelly เป็นซิงเกิลแรกที่วางจำหน่ายภายใต้สังกัดยูนิเวอร์แซลมิวสิค ทั้งรูปแบบดิจิทัลดาวน์โหลด และแผ่นเสียงขนาด 12 นิ้วและ 7 นิ้วในรุ่นจำนวนจำกัด Grace Kelly ขึ้นครองชาร์ตอันดับหนึ่งในชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักรในวัน 21 มกราคม หลังวางจำหน่ายได้ไม่ถึง 2 สัปดาห์ [23] 5 กุมภาพันธ์ 2007 ได้มีการวางจำหน่ายสตูดิโออัลบั้มแรกของมิคา Life in Cartoon Motion และอัลบั้มถูกนำไปเปรียบเทียบงานของเฟรดดี้ เมอร์คิวรี่, ซิสเซอร์ ซิสเตอร์ [24], เอลตัน จอห์น [25], ปริ้นซ์ [26], ร็อบบี้ วิลเลียม [27] และเดวิด โบวี [28] และในเพลง Grace Kelly ได้อ้างอิงถึงเมอร์คิวรี่ในท่อนร้อง "I try to be Grace Kelly/But all her looks were too sad/So I try a little Freddie/I've gone identity mad" มิคาได้รับเชิญให้ไปแสดงดนตรีในรายการเช่น The Tonight Show with Jay Leno ถึงสองครั้งในวันที่ 26 มีนาคม 2007 และ 14 กุมภาพันธ์ 2008[29] แสดงในรายการ Jimmy Kimmel Live ในวันที่ 27 มีนาคม 2007 [30] และแสดงสดในรายการ So you think You can dance ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2007 มิคาออกทัวร์คอนเสิร์ตครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนมิถุนายน 2007 ด้วยการสนับสนุนจาก ชาร่า บาร์ริแยส์ และนาตาเลีย เลสซ์ 10 ตุลาคม 2007 เขาประกาศทัวร์คอนเสิร์ตทั่วยุโรป ในชื่อ Dodgy Holiday ต่อมาในวันที่ 17 พฤศจิกายนได้เพิ่มรอบการแสดงในสหราชอาณาจักรซึ่งได้รับการสนับสนุนจากพาลลาเดียม และเพิ่มรอบการแสดงในอเมริกาเหนือในเดือนมกราคม 2008 โดยมีมิดเวย์สเตทและครีเจอร์เป็นผู้สนับสนุนในครั้งนี้ มิคาเสร็จสิ้นการทัวร์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2009 เพื่อเข้าร่วมงานแกรมมี่อวอร์ดครั้งที่ 50 ในลอสแอนเจลิส Life in Cartoon Motion ซึ่งเป็นสตูดิโออัลบั้มเปิดตัวของมิคา ได้แนวคิดมาจากช่วงวัยและการเติบโตตั้งวัยเด็กจนถึงปัจจุบันของเขาเอง แต่ก็ไม่ได้เป็นเพลงที่เล่าถึงชีวิตส่วนตัวของเขาทุกเพลง เพลงของมิคามักจะเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน อย่างในเพลง Big Girl (You are beautiful) ที่เล่าเรื่องผู้หญิงตัวโตที่ถูกเลือกปฏิบัติในสังคม และเขาได้แนวคิดมาจากแม่ของตัวเองที่รูปร่างใหญ่และเห็นความอคติของผู้คนที่มีต่อแม่ และอีกเพลงคือ Billy Brown ที่เป็นเรื่องราวซับซ้อนกว่าเดิม ในประเด็นที่ชายที่แต่งงานแล้วแต่ไปมีความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้ชายด้วยกัน [31] 20 กุมภาพันธ์ 2008 มิคาเปิดงานบริทอวอร์ด 2008 ด้วยการแสดงสดในเพลง Love Today, Grace Kelly และเพลงดูเอ็ท Standing in the Way of Control คู่กับเบ็ธ ดิตโต้ และได้รับรางวัลที่งานนี้ในสาขาศิลปินหน้าใหม่ชาวอังกฤษ

The Boy Who Knew Too Much : 2009 - 2010[แก้]

ก่อนหน้าการวางจำหน่ายสตูดิโออัลบั้มที่สอง มิคาวางจำหน่ายอีพีชุดที่สอง Songs of Sorrow [32] รุ่นจำนวนจำกัดในวันที่ 8 มิถุนายน 2009 อีพีประกอบด้วยเพลง 4 แทร็กกับหนังสือที่รวบรวมเนื้อเพลง, ภาพวาดประกอบเพลงจากศิลปินที่มิคาชื่นชอบหนา 68 หน้า เพลง Blue Eyes ถูกใช้ในการประชาสัมพันธ์อีพีนี้และได้ติดอันดับเพลยลิสต์ของสถานีวิทยุ BBC 2 [33] สตูดิโออัลบั้มชุดที่สองของมิคา The Boy Who Knew Too Much วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2009 อัลบั้มนี้ใช้เวลาส่วนใหญ่บันทึกเสียงที่ลอสแอนเจิลลีสโดยมี เกร็ก เวลส์ เป็นโปรดิวเซอร์และนักดนตรีให้ [34] และยังเคยทำสตูดิโออัลบั้มเปิดตัวให้มิคา เนื้อหาในอัลบั้มพูดถึงชีวิตวัยรุ่นของมิคาที่เป็นภาคต่อจากอัลบั้มแรก Live in Cartoon Motion [35] ในปี 2009 มิคาได้รับรางวัลบาฟต้าในสาขาศิลปินชายยอดเยี่ยม ในตอนแรกอัลบั้มนี้มีชื่อว่า We are Golden แต่หลังจากที่ซิงเกิลแรก We are Golden [36] ออกอากาศบนสถานีวิทยุ BBC 1และมิคาได้ให้สัมภาษณ์กับดีเจโจ ไวลีย์ว่า ที่เปลี่ยนมาใช้ชื่อใหม่นี้เพราะอยากให้น่าขบขันกว่าเดิม ดังนั้นในวันที่ 6 สิงหาคม 2009 อัลบั้มจึงถูกเปลี่ยนไปใช้ชื่อใหม่ The Boy Who Knew Too Much [37] [38] We are Golden ออกอากาศครั้งแรกบนสถานีวิทยุในสหราชอาณาจักรเมื่อ 20 กรกฎาคม 2009 บนสถานีวิทยุ BBC 2 [39] ดิจิทัลดาวน์โหลดถูกจำหน่ายในวันที่ 6 กันยายน และวันต่อมาได้มีการวางจำหน่ายซีดีอัลบั้ม ซิงเกิลเปิดตัวที่อันดับสี่บนชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักรในวันที่ 13 กันยายน 2009 ต่อมามิคาได้ขึ้นแสดงสดในเทศกาลดนตรีไอทูนส์ 2009 และได้ขึ้นแสดงที่เดอะราวนด์เฮ้าส์ในเคมเดน, ลอนดอนและรายการ Friday Night with Jonathan Ross ในเดือนกันยายนปีเดียวกัน มีการรายงานว่าเขาจ่ายเงินเป็นจำนวนมากถึง 25,000 ปอนด์ เพื่อซื้อเครื่องดื่มเลี้ยงแฟนเพลงในงานฉลองการวางจำหน่ายซิงเกิลใหม่ของเขาที่ผับแถวบ้านหลังจากประกาศเชิญแฟนเพลงเข้าร่ามงานนี้บนหน้าทวิตเตอร์ในวันที่ 7 กันยายน [40] [41] Blame it on the Girl ถูกปล่อยเป็นซิงเกิลลำดับสองที่สหรัฐอเมริกา ในขณะที่สหราชอาณาจักรซิงเกิลลำดับสองเป็นเพลง Rain และ Blame it on the Girl ได้เป็นซิงเกิลลำดับสามในสหราชอาณาจักรในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2010 [42] 30 พฤศจิกายน 2009 มิคาแสดงเพลง Let it Snow ร้องคู่กับฮิคารุ ยูทาดะศิลปินเพลงป็อบชาวญี่ปุ่น [43] 21 มีนาคม 2010 มิคาแสดงเพลง Gave it All Away ร่วมกับวงบอยโซนผ่านสถานีโทรทัศน์ ITV 1 ในงานไว้อาลัยในกับสตีเฟ่น เกทลี่ หนึ่งในสมาชิกบอยโซนที่เพิ่งชีวิตไปจากอาการหัวใจวาย พฤษภาคม 2010 มิคาปล่อยซิงเกิลประกอบภาพยนตร์ล่าสุด Kick Ass ที่มีชื่อเหมือนกับภาพยนตร์ Kick Ass ของมาร์เวลคอมิกส์ [44] [45]

อัลบั้ม TBA : 2011[แก้]

มิคาเริ่มเตรียมงานในอัลบั้มใหม่แต่ว่ายังไม่ได้ตั้งชื่อ และจะบันทึกเสียงในเดือนมีนาคม 2011 เขาเปิดเผยว่าเนื้อหาของอัลบั้มนี้จะไม่ซับซ้อนเหมือนกับอัลบั้มในชุดก่อนๆ และคาดว่าจะวางจำหน่ายในช่วงปลายปี 2011

ภาพลักษณ์ในสังคม[แก้]

มิคาปฏิเสธข้อกล่าวหาที่ว่าเขาจงใจใช้คำหยาบทางเพศในเพลง Billy Brown เพื่อดึงดูดกลุ่มผู้ซื้อในอเมริกา ซึ่งเพลงนี้มีเนื้อหาที่พูดถึงชายที่แต่งงานแล้วและไปมีความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้ชายด้วยกัน โดยเขาอ้างว่า แต่งเพลงนี้ขึ้นเพื่อสื่อถึงความนับถือในตัวเองเท่านั้นและไม่ได้กังวลถึงคำหยาบสักเท่าไรนัก และให้สัมภาษณ์กับนิตยสารเกย์ในอเมริกา Out ว่า เขามีวิธีพูดถึงเรื่องเพศโดยปราศจากข้อบังคับใด [46] [47] กันยายน 2009 ระหว่างการให้สัมภาษณ์ที่รายการ Gay & Night มิคาให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องเพศของเขาว่า "ผมไม่เคยให้ตั้งกฎเกณฑ์ให้กับตัวเอง พูดง่ายๆ ว่า ไม่เคยตั้งขีดจำกัดในชีวิตของผม ไม่จำกัดว่าจะต้องหลับนอนกับใคร จะเรียกผมว่าอะไรก็ได้ ผมเรียกตัวเองว่า ไบเซ็กซวล"[48] ต่อมาเขายืนยันผ่านรายการ This is London ว่า "ไม่ได้กำหนดตัวเอง เพราะสามารถมีความรักกับใครก็ได้ จริงๆ นะ ไม่ว่ากับคนแบบไหน หรือว่ารูปร่างยังไง และไม่เคยเรื่องมากกับเรื่องพวกนี้เลย"[49]

ในเดือนมีนาคม 2010 มิคาได้รับเหรียญเชิดชูเกียรคิ Knight in the Order of Arts จากผลงานดนตรีอันโดดเด่นของเขา โดยรัฐบาลฝรั่งเศส และเป็นบุคคลที่อายุน้อยที่สุดที่เคยได้รับรางวัลนี้ [50]

ผลงาน[แก้]

สตูดิโออัลบั้ม[แก้]

  • 2007 : Life in Cartoon Motion
  • 2009 : The Boy Who Knew Too Much
  • 2012 : The Origin of love
  • 2015 : No place In Heaven

อีพี[แก้]

  • 2006 : Dodgy Holiday
  • 2009 : Songs for Sorrow

รางวัลที่ได้รับ[แก้]