มาเลเซียแอร์ไลน์ซิสเต็ม เที่ยวบินที่ 653

พิกัด: 1°23′19″N 103°31′53″E / 1.3887°N 103.5314°E / 1.3887; 103.5314
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาเลเซียแอร์ไลน์ซิสเต็ม เที่ยวบินที่ 653
โบอิง 737-200 ของมาเลเซียแอร์ไลน์ซิสเต็ม
คล้ายกับลำที่เกิดเหตุ
สรุปอุบัติการณ์
วันที่4 ธันวาคม ค.ศ. 1977
สรุปถูกจี้เครื่องบิน
จุดเกิดเหตุตันจงกูปัง รัฐยะโฮร์ มาเลเซีย
1°23′19″N 103°31′53″E / 1.3887°N 103.5314°E / 1.3887; 103.5314
ประเภทอากาศยานโบอิง 737-2H6
ดําเนินการโดยมาเลเซียแอร์ไลน์ซิสเต็ม
ทะเบียน9M-MBD
ต้นทางท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง
จุดพักสุดท้ายท่าอากาศยานสุลต่านอับดุล อะซิซ ชาห์
ปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติสิงคโปร์
(ปายาเลบาร์)
ผู้โดยสาร93 คน
ลูกเรือ7 คน
เสียชีวิต100 คน (ทั้งหมด)
รอดชีวิตไม่มี

มาเลเซียแอร์ไลน์ซิสเต็ม เที่ยวบินที่ 653 (MH653) เป็นเที่ยวบินภายในประเทศมาเลเซียของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ซิสเต็ม มีกำหนดเดินทางจากปีนังถึงกรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1977 เที่ยวบินนี้ถูกจี้เพื่อให้เปลี่ยนไปลงจอดที่สิงคโปร์[1] ก่อนจะตกที่ตำบลตันจงกูปังในรัฐยะโฮร์ ผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมด 100 คนเสียชีวิต[2] เหตุการณ์นี้เป็นเหตุเครื่องบินตกครั้งแรกของมาเลเซียแอร์ไลน์[3][4]

เที่ยวบินที่ 653 ออกเดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติปีนังเมื่อเวลา 19.21 น. ของวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1977 ต่อมาเวลาประมาณ 19.54 น. ที่ความสูง 4,000 ฟุต (1,200 เมตร) เหนือเมืองบะตูอะรัง ขณะเตรียมลงจอดที่ท่าอากาศยานสุลต่านอับดุล อะซิซ ชาห์ ลูกเรือรายงานหอบังคับการบินของท่าอากาศยานว่ามี "สลัดอากาศที่ระบุตัวตนไม่ได้" อยู่บนเครื่อง ทางท่าอากาศยานจึงเตรียมแผนรับมือ

หลังจากนั้นไม่นาน ลูกเรือได้รายงานว่า "เรากำลังมุ่งหน้าไปที่สิงคโปร์ ราตรีสวัสดิ์"[5] ภายหลังผู้สืบสวนพบว่ามีเสียงปืนดังขึ้นหลายครั้งในช่วงท้ายของเครื่องบันทึกข้อมูลการบิน จึงสันนิษฐานว่านักบินและผู้ช่วยนักบินถูกสลัดอากาศยิงเสียชีวิต ทำให้เครื่องอยู่ในสภาวะ "ไร้การควบคุมจากผู้ชำนาญการ"[6] เวลา 20.15 น. เครื่องบินขาดการติดต่อ ต่อมาเวลา 20.36 น. ชาวบ้านตำบลตันจงกูปัง รัฐยะโฮร์รายงานว่าได้ยินเสียงระเบิดและเห็นเศษซากเครื่องบินที่ไหม้ไฟตกในหนองน้ำ ภายหลังได้รับการยืนยันว่าเป็นของเที่ยวบินดังกล่าว มีการรายงานเพิ่มเติมว่าเครื่องตกกระแทกพื้นด้วยความเร็วสูงในลักษณะเกือบตั้งฉากกับพื้นดิน ผู้โดยสาร 93 คนและลูกเรือ 7 คน เสียชีวิตทั้งหมด[2]

สาเหตุของการจี้เครื่องบินและการตกยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด[7] อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของท่าอากาศยานในกัวลาลัมเปอร์กล่าวว่าสลัดอากาศเป็นสมาชิกของกองทัพแดงญี่ปุ่น[2] ในปี ค.ศ. 1996 สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นเขียนบทความระบุว่าสลัดอากาศเป็นสมาชิกของกองทัพแดงญี่ปุ่นเช่นกัน[8] แต่ไม่ได้รับการยืนยัน หลังเหตุการณ์ดังกล่าว กรมการบินพลเรือนมาเลเซียได้จัดตั้งส่วนความปลอดภัยทางการบินขึ้น[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. "A hijacked Malaysian airlines jet with 100 persons aboard exploded and crashed Sunday night". Associated Press. 4 December 1977.
  2. 2.0 2.1 2.2 Baharu, Johore (4 December 1977). "All 100 Aboard Killed in Crash of Hijacked Malaysian Airliner". Toledo Blade. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 22 July 2014.
  3. "Malaysia Airlines flight crashes with 50 on board". Agence France Presse. 15 September 1995.
  4. "Worst MAS plane crash occurred in 1977". New Straits Times. 15 September 1995. p. 4.
  5. Dennis, William (4 January 2000). "Asian Rebound Boosts Startups, But Safely Remains A Concert [sic]". Aviation Daily.
  6. Boykoff, Pamela; Mohsin, Saima (28 March 2014). "Mystery of Malaysia Airlines Flight 370 surfaces pain of 1977 tragedy". CNN. สืบค้นเมื่อ 28 March 2014.
  7. "Curse of Malaysia Airlines? 5 tragic moments in airline's history before MH17 and MH370". Daily Mirror. July 17, 2014. สืบค้นเมื่อ November 19, 2017.
  8. "Ethiopia mourns crash victims". CNN. 25 November 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 December 2004. สืบค้นเมื่อ 22 July 2014. The deadliest previous hijacking took place in 1977, when terrorists identified as the Japanese Red Army took over a Malaysian airlines jet traveling to Kuala Lumpur.
  9. "Aviation Security | Department of Civil Aviation Malaysia". www.dca.gov.my. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-27. สืบค้นเมื่อ 2016-09-16.