มาริอันน์ เบอร์นาดอตต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาริอันน์ เบอร์นาดอตต์
มาริอันน์ เบอร์นาดอตต์เมื่อปี พ.ศ. 2562
เกิดกุลลัน มาริอันน์ ลินด์เบรย์
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2467 (99 ปี)
เฮลซิงบอรย์ ประเทศสวีเดน
ตำแหน่งเคาน์เตสแห่งวิสบอรย์
คู่สมรสกาเบรียล จาง (พ.ศ. 2483–2500)
ซิกวาร์ด เบอร์นาดอตต์ (พ.ศ. 2504–2545)
บุตรโรเบิร์ต กาเบรียล จาง
ริชาร์ด อันทวน จาง
มารี กาบรีเย จาง
บิดามารดาเฮลเก ลินด์เบรย์ (บิดา)
ธือรา ดาห์ลมัน (มารดา)

มาริอันน์ เบอร์นาดอตต์ เคาน์เตสแห่งวิสบอรย์ หรือชื่อเดิมว่า กุลลัน มาริอันน์ ลินด์เบรย์ (สวีเดน: Gullan Marianne Lindberg; 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2467) เป็นนักแสดงหญิงชาวสวีเดน มีชื่อในการแสดงว่า มาริอันน์ ลินด์เบรย์ (Marianne Lindberg) และ มาริอันน์ จาง-ลินด์เบรย์ (Marianne Tchang-Lindberg) เธอสมรสหนที่สองกับซิกวาร์ด เบอร์นาดอตต์ อดีตเจ้าชายแห่งสวีเดน

เธอให้การสนับสนุนงานเกี่ยวกับการรักษาภาวะอ่านไม่เข้าใจ ผู้ทุพพลภาพ การรักษาดวงตาของเด็ก รวมทั้งอุปถัมภ์ด้านศิลปะ

ประวัติ[แก้]

มาริอันน์ เป็นบุตรสาวของเฮลเก ลินด์เบรย์ กับธือรา ดาห์ลมัน น้องสาวคนหนึ่งของเธอชื่อ อิลวา (Ylwa) เป็นภริยาของบิกกี จักรพตี (Bicky Chakraborty) เจ้าของกิจการโรงแรมหลายแห่งในสวีเดน[1] เข้ารับการศึกษาจากโรงเรียนสอนการแสดงดรามาเทนส์อีเลฟสโกลา (Dramatens elevskola) เมื่อปี พ.ศ. 2488-91 ครั้นสำเร็จการศึกษาเธอจึงเข้าสู่การเป็นนักแสดง โดยใช้ชื่อสำหรับการแสดงว่า มาริอันน์ ลินด์เบรย์ และออกแสดงที่โรงละครหลวงในสต็อกโฮล์มเป็นระยะเวลา 11 ปี ใน พ.ศ. 2526 เธอสำเร็จการศึกษาปริญญาสาขาประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยาจากมหาวิทยาลัยสต็อกโฮล์ม และทำงานให้กับเอดวิน เออหร์สเตริม (Edvin Öhrström) ซึ่งเป็นช่างทำแก้วและประติมากร

เธอสมรสครั้งแรกกับกาเบรียล จาง (Gabriel Tchang) บุตรของเอกอัครราชทูตจีนประจำกรุงสต็อกโฮล์ม ทั้งสองมีบุตรด้วยกันสามคน ได้แก่

  1. โรเบิร์ต กาเบรียล จาง (พ.ศ. 2491–2555)
  2. ริชาร์ด อันทวน จาง (พ.ศ. 2493–2494)
  3. มารี กาบรีเย จาง ลาเกร์เกรน (พ.ศ. 2496)

เธอสมรสครั้งที่สองกับซิกวาร์ด เบอร์นาดอตต์ เคานต์แห่งวิสบอรย์ อดีตเจ้าชายแห่งสวีเดน เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 เธอจึงมีบรรดาศักดิ์เป็น เคาน์เตสแห่งวิสบอรย์ ตามสวามี เพราะสามีได้รับการสถาปนาบรรดาศักดิ์ดังกล่าวจากแกรนด์ดัชเชสชาร์ล็อตแห่งลักเซมเบิร์ก ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 เป็นต้นมา[2] แต่ราชสำนักสวีเดนไม่ยอมรับในบรรดาศักดิ์ดังกล่าว

อ้างอิง[แก้]

  1. Ishani Duttagupta (17 มกราคม 2551). "Bicky Chakraborty Sweden's biggest hotelier". The Economic Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. Mémorial du Grand-Duché de Luxembourg No 48, Government of Luxembourg, 13 August 1951, entry dated 18 July 1951

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]