มาตรวัดซอฟต์แวร์
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
มาตรวัดซอฟต์แวร์ เป็นระเบียบขั้นตอนเพื่อใช้ระบุระดับของคุณลักษณะในมิติใดมิติหนึ่งของ ซอฟต์แวร์ มาตรวัดจำเป็นต้องมีค่าวัด (measure) ที่ได้จากการวัด (measurement) ซึ่งเป็นการทำให้อธิบายคุณลักษณะในเชิงปริมาณ มาตรวัดซอฟต์แวร์ทำให้เกิดการเปรียบเทียบคุณลักษณะในเชิงปริมาณซึ่งสามารถนำไปใช้ประกอบวิเคราะห์รวมทั้งปรับปรุงทั้งตัวซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นรวมทั้งกระบวนการในแต่ละขั้นตอนการพัฒนาได้ [1]
มาตรวัดซอฟต์แวร์ที่พบบ่อย
[แก้]มาตรวัดซอฟต์แวร์ที่พบบ่อยประกอบด้วย:
- บั๊กของซอฟต์แวร์ ต่อบรรทัดของโค้ดโปรแกรม
- โคโคโม (COCOMO)
- ความครอบคลุมของโค้ด
- การเกาะกลุ่มกัน (Cohesion)
- การพึ่งพากัน (Coupling)
- ความซับซ้อนของวงจรของโค้ดโปรแกรม (Cyclomatic complexity หรือ McCabe's complexity)
- ฟังก์ชันพอยต์
- ค่าความซับซ้อนของฮัลสเตด (Halstead Complexity)
- ความยาวของเส้นทางของคำสั่ง (Instruction path length)
ระเบียบวิธีในการใช้มาตรวัดซอฟต์แวร์
[แก้]มาตรวัดซอฟต์แวร์เป็นการวัดในระดับปฏิบัติการแต่ในการวัดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในการปรับปรุงคุณลักษณะด้านต่างๆจำเป็นต้องมีการวางแผนและตั้งเป้าหมายในการประยุกต์ใช้มาตรวัด รวมถึงวิเคราะห์ผลลัพธ์ให้ได้ความหมายตามที่แผนการวัดต้องการ ระเบียบวิธีหนึ่งที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้คือ GQM (Goal Question Metric) [2] ซึ่งเป็นการวางแผนและทำการประยุกต์ใช้มาตรวัดให้ได้ตามเป้าหมายที่วางแผนไว้
ประโยชน์ของมาตรวัดซอฟต์แวร์
[แก้]มาตรวัดซอฟต์แวร์ให้ประโยชน์กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการพัฒนาซอฟต์แวร์ดังต่อไปนี้
- โปรแกรมเมอร์
- หัวหน้าโครงการ
- ผู้จัดการกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Fenton, Norman E.; Pfleeger, Shari Lawrence (1998), Software Metrics: A Rigorous and Practical Approach, Revised, ISBN 0534954251
- ↑ Basili, Victor R.; Caldiera, Gianluigi; Rombach, H. Dieter (2008), [www.cs.toronto.edu/~sme/CSC444F/handouts/GQM-paper.pdf The Goal Question Metric Approach] (PDF)
{{citation}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help)