มาตรการรับมือการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่เกี่ยวข้องกับสุกร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รัฐบาลของประเทศทั่วโลกมีมาตรการรับมือการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 โดยที่บางประเทศออกมาตรการซึ่งอาจผิดธรรมดาอย่างมากต่อสุกร ซึ่งได้รวมไปถึงการกำจัดสุกรภายในประเทศทั้งหมดในอียิปต์ และการลดจำนวนหมูป่าในสวนสัตว์แบกแดดในอิรัก การฆ่าหมูจำนวนมากเหล่านี้เกิดขึ้นในประเทศมุสลิม และมีการกล่าวอ้างว่าการจำกัดทางศาสนาต่อการบริโภคสุกรเป็นอิทธิพลต่อการตัดสินใจดำเนินการดังกล่าว ประเทศอื่นหลายประเทศได้สั่งห้ามการค้าสุกรและผลิตภัณฑ์สุกรระหว่างประเทศ

องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า ไม่มีเหตุผลที่จะเชื่อได้ว่าสุกรเป็นพาหะนำไวรัสไข้หวัดใหญ่มาสู่มนุษย์[1]

เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม เหตุการณ์การค้นพบการเป็นพาหะไข้หวัดใหญ่จากมนุษย์สู่สุกรถูกค้นพในไร่ในอัลเบอร์ตา ที่ซึ่งมีการค้นพบสุกรที่ติดเชื้อ[2] เป็นที่น่าสงสัยว่าคนงานรับจ้างในไร่ดังกล่าวติดโรคซึ่งเพิ่งจะกลับมาจากเม็กซิโก ได้ส่งไวรัสไข้หวัดใหญ่ไปสู่สัตว์[3]

การตอบสนองโดยทั่วไป[แก้]

แหล่งที่มาของไวรัส[แก้]

ตามข้อมูลของนักวิจัยซึ่งอ้างโดย เดอะนิวยอร์กไทมส์ "เมื่อศึกษาโครงสร้างพันธุกรรมของมันแล้ว ไม่มีคำถามเลยว่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้เป็นประเภทหนึ่งของไข้หวัดใหญ่ในสุกร ซึ่งมีกำเนิดมาจากสายพันธุ์ซึ่งอาศัยอยู่ในสุกร"[4] จุดกำเนิดดังกล่าวทำให้มีการตั้งชื่อว่า "ไข้หวัดหมู" ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกกันในสื่อมวลชนในช่วงแรกของการระบาด แต่ถึงแม้ว่าไวรัสจะกำเนิดมาจากสุกร แต่สายพันธุ์ของไวรัสในปัจจุบันก็ติดต่อจากคนสู่คนได้โดยไม่ต้องติดต่อกับสุกร[5]

ความปลอดภัยของอาหารและการสั่งห้ามการนำเข้า[แก้]

เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศจาก CDC, องค์การอนามัยโลก (WHO), องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การสาธารณสุขสัตว์โลก (OIE) และองค์การด้านอาหารอื่น ๆ ได้ยืนยันว่าเนื้อสุกรปลอดภัยต่อการบริโภค และไม่ควรกล่าวโทษสุกรว่าเป็นต้นเหตุของการระบาด อย่างไรก็ตาม เมื่อต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 จีน รัสเซีย และอีกราว 12 ประเทศยังคงสั่งห้ามการนำเข้าเนื้อสุกรจากสหรัฐอเมริกา องค์การการค้าโลก (WTO) วางแผนจะหยิบยกเรื่องการสั่งห้ามสุกรในรายงานซึ่งกำลังมาถึงของลัทธิคุ้มครอง และกล่าวย้ำว่าเนื้อสุกรมิใช่ต้นเหตุของการระบาด และมีความปลอดภัยต่อการบริโภคหากเนื้อได้รับการเตรียมอย่างแหมาะสม[6] เจ้าหน้าที่สหรัฐบางส่วนพิจารณาว่าการสั่งห้ามดังกล่าวเป็น "เรื่องส่วนแบ่งการตลาดมากกว่าความกังวลด้านสาธารณสุข" และทำให้อุตสาหกรรมสุกรสูญเสียรายได้นับล้านดอลลาร์สหรัฐทุกสัปดาห์ แดฟ วอร์เนอร์ โฆษกสภาผู้ผลิตเนื้อสุกรแห่งชาติ ในวอชิงตัน ดี.ซี. ชี้ว่าความไม่ตกลงกันอันยาวนานกับจีนและรัสเซียอาจเป็นปัจจัยหนึ่ง[7][8][9][10]

ผลที่ตามมาคือ ราวกลางเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2552 เนื้อสุกรกลายมาเป็นการลงทุนด้านโภคภัณฑ์ที่เลวร้ายที่สุดเป็นอันดับสองในปี พ.ศ. 2552 ซึ่งการลงทุนอาจลดลงถึง 33 เปอร์เซนต์เมื่อถึงปลายปี การนำเข้าของสหรัฐตกลงอย่างฉับพลันถึง 20 เปอร์เซนต์ ในช่วงครึ่งปีแรกของ พ.ศ. 2552 และกำลังนำไปสู่การถดถอยในรอบปีเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ พ.ศ. 2533 บริษัทไทสันฟูดส์ ปิดกิจการโรงฆ่าสัตว์ และผู้เลี้ยงสุกรชาวอเมริกันไม่ได้รับผลตอบแทนที่ดีนักในปี พ.ศ. 2552 การนำเข้าจากสหรัฐลดลงถึง 38 เปอร์เซนต์ในรัสเซีย และ 73 เปอร์เซนต์ในจีน รวมทั้งฮ่องกง ตามข้อมูลของ USDA[11]

เมื่อถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2552 กลุ่มประเทศอาหรับสั่งจำกัดการนำเข้าเนื้อสุกรเหลือเพียงครึ่งเดียว[12]

การเฝ้าระวังประชากรสุกร[แก้]

ในช่วงต้นมิถุนายน พ.ศ. 2552 กระทรวงการเกษตรของสหรัฐกล่าวว่ากระทรวงจะออกโครงการเฝ้าระวังเพื่อสอดส่องหาสายพันธุ์ใหม่ของไวรัสไข้หวัดใหญ่ในสุกร ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวอ้างว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับโลกได้ประเมินการความเสี่ยงว่าผู้เลี้ยงสุกรอาจเป็นแหล่งที่มาของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ต่ำเกินไป เลือกที่จะให้ความสำคัญกับภัยคุกคามจากไข้หวัดนก จนถึงปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขได้ดำเนินการเฝ้าระวังไข้หวัดใหญ่ในสุกรน้อยมาก— ถึงแม้ว่าไวรัสจะพบได้ทั่วไปในสัตว์และสามารถติดต่อสู่คนได้ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ยังมีหลักฐานว่าติดต่อจากสุกรสู่คนและจากคนสู่สุกร[13]

มาตรการรับมือเรียงตามประเทศ[แก้]

 อัฟกานิสถาน[แก้]

จากการรายงานของ Telegraph.co.uk สุกรเพียงตัวเดียวในอัฟกานิสถานถูกยกเลิกการจัดแสดงในสวนสัตว์กรุงคาบูล และ "กักกัน" เพื่อรับมือกับความกลัวของผู้เข้าเยี่ยมชมซึ่งอาจติดต่อไข้หวัดในสุกรได้[14]

 อาร์เจนตินา[แก้]

รายงานของการติดต่อของไวรัสจากคนสู่สุกรถูกพบในจังหวัดบัวนอสไอเรสเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ฟาร์มสุกรซึ่งเกิดกรณีดังกล่าวขึ้นได้รับคำสั่งห้าม[15]

 แคนาดา[แก้]

โรครับจากสัตว์ในแคนาดา:
  พบการติดต่อจากคนสู่สัตว์และสัตว์สู่คน

เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม รองประธานหน่วยงานตรวจตราอาหารแคนาดา ไบรอัน อีแวนส์ ประกาศว่าผู้รับจ้างทำงานในฟาร์มซึ่งติดเชื้อในอัลเบอร์ตา เพิ่งจะกลับมาจากเม็กซิโก และได้ส่งต่อไข้หวัดใหญ่ในฝูงสุกรเลี้ยงในการดูแลของเขา ถึงแม้ว่าสุกรจะถูกกักกัน อีแวนส์เน้นว่าการระบาดจะไม่คุกคามความปลอดภัยของอาหารและตัดสินความเป็นไปได้ในการที่สุกรติดเชื้อจะส่งไวรัสกลับสู่คนอีกครั้ง อีแวนส์กล่าวว่าการระบาดของฝูงสัตว์เป็นกรณีแรกของการติดต่อไวรัสเอช 1 เอ็น 1 จากคนสู่สุกร[16]

ต้นเดือนมิถุนายน ผู้เลี้ยงสุกรในอัลเบอร์ตาซึ่งฝูงสุกรในการดูแลได้รับการติดต่อจากไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ต้องลดจำนวนสัตว์ทั้งหมด ในเดือนพฤษภาคม เขาได้ลดจำนวนสัตว์ในฝูงลงไปแล้ว 500 ตัว เจ้าของฟาร์มกล่าวว่าสัตว์ดังกล่าวไม่สามารถนำไปขายได้ เนื่องจากสุกรถูกกักกัน อีกทั้งเขากำลังเผชิญกับปัญหาสุกรแน่นเกินไปอยู่แล้ว[17]

การถ่ายทอดจากฝูงสุกรฝูงเดียวกันนี้กลับสู่คนได้รับการเปิดเผยเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม โดยเป็นเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่วัที่ 7 พฤษภาคม เมื่อมนุษย์ ผู้ตรวจการสุขภาพสัต์ กำลังเก็บตัวอย่างจากฝูงสัตว์ที่ติดเชื้อโดยที่มีมาตรการป้องกันตนเองไม่เพียงพอ[18]

 จีน[แก้]

สาธารณรัฐประชาชนจีนสั่งห้ามการนำเข้าสุกรอย่างเด็ดขาด[19]

 อียิปต์[แก้]

เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2552 รัฐบาลอียิปต์ประกาศตัดสินใจฆ่าสุกรทุกตัวในประเทศ เป็นปริมาณกว่า 300,000 ตัว ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะขาดหลักฐานซึ่งแสดงว่าสุกรดังกล่าวติดหรือสงสัยว่าติดเชื้อไวรัส[20][21] การตัดสินใจดังกล่าวทำให้เกิดความตึงเครียดทางศาสนาเนื่องจากเจ้าของสุกรส่วนใหญ่เป็นชาวคริสต์นิกายคอปติกออร์โธด็อกซ์ ซึ่งเป็นประชากรส่วนน้อยของประเทศ (ราว 15-20% ของประชากรทั้งหมด) ในชาติซี่งมีประชากรอิสลามมากที่สุด ทนายความสิทธิมนุษยชนชาวอียิปต์ Nadia Tawfiq กล่าวอ้างว่าการสั่งฆ่าหมูเป็นรูปแบบหนึ่งของการโจมตีคริสเตียน[22] หนังสือพิมพ์ระหว่างประเทศให้เหตุผลของการกระทำดังกล่าวว่ามาจากการระบาดของไข้หวัดใหญ่ในสุกรในระดับโลก[23] ถึงแม้ว่าจะยังไม่พบรายงานการพบไข้หวัดใหญ่ในสุกรในประเทศเลยก็ตาม[21]

รัฐบาลเริ่มต้นการฆ่าเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2552[1] ซึ่งนำไปสู่การปะทะกันระหว่างเจ้าของสุกรกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในไคโร ในวันต่อมา ผู้อยู่อาศัยชาวคริสต์นิกายคอปติกออร์โธด็อกซ์ราว 300 คน ในอำเภอ Manshiyat Nasr ได้สร้างสิ่งกีดขวางบนถนนเพื่อพยายามป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลในการริบสุกรของพวกเขา ซึ่งนำไปสู่การปะทะกับตำรวจอีกเช่นกัน Al-Ahram หนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายในอียิปต์ รายงานว่าเจ้าของสุกรจะได้รับเงิน 1,000 ปอนด์อียิปต์ (ราว 177.70 ดอลลาร์สหรัฐ) เป็นค่าชดเชยต่อสุกรหนึ่งตัวที่ถูกฆ่า[24] แต่รอยเตอร์รายงานว่าประเด็นดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างพิจารณา ซึ่งกล่าวโดยโฆษกคณะรัฐมนตรีอียิปต์[24]

 กานา[แก้]

กานาสั่งห้ามการนำเข้าเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์เนื้อสุกร[25]

 อินโดนีเซีย[แก้]

ภายหลังการประชุมร่วมกันเกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552 รัฐบาลอินโดนีเซียสั่งระงับการนำเข้าสุกร และเริ่มการตรวจสอบสุกร 9 ล้านตัวในประเทศ[26]

 อิรัก[แก้]

Adel Salman Musa ผู้อำนวยการสวนสัตว์แบกแดดกล่าวว่า "ได้รับคำสั่งจากคณะกรรมการหลายกระทรวงโดยมีเป้าหมายที่จะป้องกันไข้หวัดใหญ่ในสุกร" ในการฆ่าหมูป่าสามตัวของแบกแดด[1] เขากล่าวว่าการฆ่าจะเป็นการสร้างความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวสวนสัตว์[1] โดยก่อนหน้านี้ จำนวนนักท่องเที่ยวได้ลดลงเป็นเวลาหลายวัน หมูป่าได้รับการทดสอบก่อนการฆ่า ซึ่งผลปรากฏว่าเป็นลบ[1] ผู้อำนวยการสวนสัตว์กล่าวว่าพวกมันถูกฆ่าอย่างเมตตา[1] ด้วยการใช้ยาสลบ[27] ซากของมันถูกฝังในภายหลัง[27]

กระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่าการฆ่าสุกรไม่มีจุดประสงค์ในการป้องกันการระบาดของไข้หวัดใหญ่ในสุกรในขณะที่ยังไม่มีกรณีที่รายงาน[28] Ehassan Jafar โฆษกกระทรวงการสาธารณสุขของประเทศ กล่าวว่า "มันไม่มีประโยชน์" นับตั้งแต่ไวรัสสามารถสามารถถ่ายทอดจากคนสู่คนได้[28]

 ญี่ปุ่น[แก้]

กระทรวงการเกษตร การป่าไม้ และการประมงแห่งญี่ปุ่น ได้สั่งให้หน่วยงานกักกันสัตว์ทั่วประเทศตรวจสอบสุกรมีชีวิตที่นำเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อให้แน่ใจว่าพวกมันไม่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่เอช 1 เอ็ร 1[29] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรญี่ปุ่น Shigeru Ishiba ปรากฏตัวในโทรทัศน์เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคว่าการบริโภคเนื้อสุกรมีความปลอดภัยเพียงพอ[30] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการทำนากล่าวว่ากระทรวงจะไม่เรียกร้องให้มีการจำกัดการนำเข้าเนื้อสุกร เนื่องจากไวรัสไม่ปรากฏในเนื้อสุกรบ่อยนัก และไวรัสจะถูกฆ่าเมื่อผ่านความร้อน[31]

เคิร์ดิสถาน[แก้]

รัฐบาลท้องถิ่นของเคิร์ดิสถานสั่งห้ามการล่าหมูป่า[1] ในพื้นที่ซึ่งมีประชากรหมูป่าอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก[1] ผู้ที่อยู่อาศัยได้รับการบอกเล่าให้หลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อสุกร[1] นักเดินทางถูกควบคุมอย่างใกล้ชิดสำหรับกิจกรรมของพวกเขาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าว[1]

 มาซิโดเนียเหนือ[แก้]

เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552 รัฐบาลสาธารณรัฐมาซิโดเนียสั่งห้ามการส่งออกทั้งหมดและการนำเข้าสุกรมีชีวิต[32]

 เกาหลีเหนือ[แก้]

ไม่มีกฤษฎีกาของรัฐใด ๆ เกี่ยวกับมาตรการรับมือการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แต่เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานความปลอดภัยประชาชนโดยเริ่มการป้องกันการขายเนื้อสุกรแต่เพียงฝ่ายเดียว ในบางเมืองของประเทศ เนื้อสุกรเป็นสินค้าที่พบได้ยากมาก[33]

 นอร์เวย์[แก้]

สุกร 500 ตัว ถูกฆ่าเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม หลังจากพบไข้หวัดใหญ่ในสุกรในฟาร์มแห่งหนึ่งเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้า นอกจากนี้ สุกรอีก 900 ตัว จากฟาร์มอีกแห่งหนึ่งได้ถูกฆ่าเช่นกัน[34][35]

 ฟิลิปปินส์[แก้]

ฟิลิปปินส์สั่งห้ามการนำเข้าสุกรจากประเทศซึ่งได้รับผลกระทบจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ การสั่งห้ามดังกล่าวถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ยกเว้นการนำเข้าจากแคนาดา เนื่องจากรัฐบาลยังคงตรวจสอบความเป็นไปได้ของการถ่ายทอดไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 จากคนสู่สุกร การนำเข้าสุกรจากแคนาดาถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม[36] [37]

 รัสเซีย[แก้]

สหพันธรัฐรัสเซียสั่งห้ามการนำเข้าสุกร[38]

 ยูเครน[แก้]

การนำเข้าเนื้อสุกรและสุกรมีชีวิตจากประเทศซึ่งได้รับผลกระทบทั้งหมดถูกสั่งห้าม การสั่งห้ามดังกล่าวมีผลถึงผลิตภัณฑ์ซึ่งส่งมอบหลังวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2552[39]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 "Wild boars killed in Iraq over swine flu fears". CNN. 2009-04-03. สืบค้นเมื่อ 2009-05-04.
  2. Lauren Etter (3 May 2009). "Pigs in Canada Contract Flu Virus". Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2009-05-03.
  3. "Canada farm worker 'infects pigs'". BBC News. 3 May 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-05-03.
  4. Martin Andrew, Krauss Clifford (28 April 2009). "Pork industry fights concerns over swine flu". The New York Times.
  5. "Swine Flu Might Have Come From Asia" New York Times, June 23, 2009
  6. "EXCLUSIVE-WTO protectionism report to feature swine flu bans" Reuters, June 12, 2009
  7. "US pork industry baffled by bans in China, Russia" เก็บถาวร 2009-06-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Associated Press, May 4, 2009
  8. Zampaglione Maria (8 May 2009). "OIE position on safety of international trade of pigs and products of pig origin" (Press release). World Organization for Animal Health. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-15. สืบค้นเมื่อ 2009-05-08.
  9. Kader Binsal Abdul (29 April 2009). "UAE bans import and sale of pork 'as a precaution against swine flu'". Gulf News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-22. สืบค้นเมื่อ 2010-05-01.
  10. Underwood Mitya, Kwong Matt (30 April 2009). "UAE bars pork imports". The National. Abu Dhabi.
  11. "Pork Drops 30% in Futures as Flu Cuts Chinese Imports" Bloomberg News, Aug. 17, 2009
  12. Flu to halt Arab countries import of pigs[ลิงก์เสีย]
  13. "Pigs an underestimated source of flu: study" Reuters, June 4, 2009
  14. Last Updated: 11:51AM BST 07 May 2009 (2009-04-25). "Swine flu: Afghanistan's only pig quarantined". Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-13. สืบค้นเมื่อ 2009-05-08.
  15. MercoPress, "Human-To-Swine A/H1N1 Virus Contagion In Argentine Hog Farm", 26 June 2009, (accessed 27 June 2009)
  16. "Alberta pigs likely infected with flu from worker: CFIA official". CBC News. 3 May 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-05-03.
  17. "3,000 Alberta hogs culled due to swine flu" Health Zone - Canada, June 7, 2009
  18. "Swine-flu inspectors in improper gear got virus". CBC News. 20 July 2009.
  19. http://article.wn.com/view/2009/05/04/China_expands_ban_on_pork_imports/
  20. Youssef Maamoun (29 April 2009). "Egypt orders slaughter of all pigs over swine flu". The Independent. The Associated Press. สืบค้นเมื่อ 2009-05-02.
  21. 21.0 21.1 "Clashes erupt over Egypt pig cull". BBC News. 2009-05-03. สืบค้นเมื่อ 2009-05-03.
  22. "Egypt: swine destruction threatens coptic-run industry". Compass Direct News. 2009-05-05.
  23. Youssef, Maamoun (2009-04-29). "Egypt orders slaughter of all pigs over swine flu". The Independent. The Associated Press. สืบค้นเมื่อ 2009-05-02.
  24. 24.0 24.1 Stewart, Phil (2009-04-29). "UN agency slams Egypt order to cull all pigs". Reuters.
  25. "Ghana bans importation of pork and pork products". Ghana Broadcasting Corporation. 2009-04-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-09. สืบค้นเมื่อ 2009-04-30.
  26. "Cegah flu babi, pemerintah gelar rapat koordinasi". Kompas newspaper. 2009-04-27.
  27. 27.0 27.1 "Iraqi zoo kills boars amid fear of A/H1N1 flu". Xinhua News Agency. 2009-04-03. สืบค้นเมื่อ 2009-05-04.
  28. 28.0 28.1 "Iraq culls three wild pigs at Baghdad zoo". Google. 2009-04-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-03. สืบค้นเมื่อ 2009-05-04.
  29. "Japan on high alert for swine flu after an outbreak in Mexico". Kyodo News. 2009-04-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-29. สืบค้นเมื่อ 2009-04-26.
  30. MOFA issues red travel alert for Mexico on swine flu เก็บถาวร 2009-04-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. CNA
  31. "FACTBOX-Asia moves to ward off new flu virus". Reuters. 2009-04-26.
  32. Deng Shasha (2009-04-29). "Macedonian senior officials monitored for possible swine flu".
  33. http://www.dailynk.com/english/read.php?cataId=nk01500&num=5604
  34. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-03. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02.
  35. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-19. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02.
  36. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-24. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02.
  37. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-07. สืบค้นเมื่อ 2010-05-02.
  38. http://www.reuters.com/article/GCA-SwineFlu/idUSTRE5431PB20090504
  39. The world response to flu crisis, BBC News, 2009-04-28. Retrieved on 2009-04-30.