มัสยิดพาร์เธนอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มุมมองอัครปุระใน ค.ศ. 1670 โดยมีพาร์เธนอนที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ทำหน้าที่เป็นมัสยิด
มัสยิดหลังที่สองในซากพาร์เธนอน ภาพวาดโดย Pierre Peytier ในคริสต์ทศวรรษ 1830

มัสยิดพาร์เธนอน (อังกฤษ: Parthenon mosque) สื่อถึงหนึ่งในสองมัสยิดที่สร้างข้างในพาร์เธนอนในสมัยที่กรีซอยู่ภายใต้การครอบครองของออตโตมัน แรกเริ่มเป็นมัสยิดที่ดัดแปลงจากโบสถ์พระแม่มารีย์แห่งเอเธนส์ ซึ่งถูกทำลายด้วยการระดมยิงของฝ่ายเวนิสใน ค.ศ. 1687 ส่วนอาคารหลังที่สองสร้างขึ้นบนพื้นที่เปิด ตรงบริเวณที่เคยเป็นnaosของซากพาร์เธนอน ภายหลังจึงถูกรื้อทำลายใน ค.ศ. 1843

ประวัติ[แก้]

ไม่มีการบันทึกว่าในช่วงใดที่พาร์เธนอนกลายเป็นมัสยิดใหญ่ครั้งแรก อย่างไรก็ตาม เป็นที่รู้จักว่าสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 เสด็จไปเอเธนส์ใน ค.ศ. 1458 หลังการยอมจำนนนของอัครปุระต่อจักรวรรดิออตโตมัน และอีกครั้งใน ค.ศ. 1460[1] และมีการสันนิษฐานว่าการเปลี่ยนแปลงสถานที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นหรือหลังจากนั้นไม่นาน เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วโบสถ์ที่โดดเด่นในดินแดนที่ถูกยึดครองมักถูกเปลี่ยนแปลง[2] มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอาคารเล็กน้อย โดยที่หอแฟรงก์ทางมุมตะวันตกเฉียงใต้ของ pronaos ซึ่งอาจทำหน้าที่เป็นหอระฆัง ถูกแปลงเป็นหออะษาน[3] มีการถอนฉากแท่นบูชา, แท่นบูชาสูง และแท่นบูชาที่มุขโค้งด้านสกัดออก[4] โมเสกพระนางมารีย์พรหมจารีที่มุขโค้งด้านสกัดเห็นได้ชัดว่ารอดจากการแปลง[5] ไม่มีใครทราบชะตากรรมของแท่นเทศน์ คาทีดราที่ไม่ทราบว่าถูกถอนหรือไม่ และที่ตั้งของมินบัรและเมียะห์รอบ[6] อาคารนี้ถูกทำายจากการระดมยิงของฝ่สยเวนิสในการล้อมอัครปุระใน ค.ศ. 1687 และแทนที่ด้วยมัสยิดหลังคาโดมเดี่ยวขนาดเล็กกว่าตรงบริเวณพื้นที่ว่างของ naos น่าจะสร้างขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18[7] ภายหลังถูกรื้อทำลายใน ค.ศ. 1843 พร้อมกับการเริ่มต้นของกิจกรรมทางโบราณคดีบนอัครปุระ

อ้างอิง[แก้]

  1. Kritoboulos, Histories 3.9.4–7. Fowden, 2019, p.80
  2. N. G. Nikoloudis, The conversion of Parthenon into a mosque, Post Augustum 1 (2017), pp.33-38 cites contemporary correspondence to the effect that the Parthenon remained a church for a number of years, and a conversion date of 1466-70 is more likely.
  3. Recent scholarship has cast doubt on this as the location of the minaret. See Fowden, 2019, p.79 n.50
  4. Korres, The Parthenon from Antiquity to the 19th Century, in Tournikiotis, 2009, p.152
  5. Michaelis, Der Parthenon, 1871, p.48, n.176
  6. Michaelis, Der Parthenon, 1871, p.55
  7. "must have been built after 1699, when the French ambassador Compte de Feriol visited the ruins; in fact, it may have been part of the 1708 repairs." Ousterhout, 2005, pp.322-323

บรรณานุกรม[แก้]

  • Fowden, Elizabeth Key (2018). "The Parthenon, Pericles and King Solomon: a case study of Ottoman archaeological imagination in Greece". Byzantine and Modern Greek Studies. 42 (2): 261–274. doi:10.1017/byz.2018.8. S2CID 165918625.
  • Fowden, Elizabeth Key (2019). "The Parthenon Mosque, King Solomon and the Greek Sages". ใน Georgopoulou, M.; Thanasakis, K. (บ.ก.). Ottoman Athens: Archaeology, Topography, History. Athens.
  • Tournikiotis, Panayotis, บ.ก. (2009). The Parthenon and Its Impact in Modern Times. Abrams.
  • Ousterhout, Robert (2005). ""Bestride the Very Peak of Heaven": The Parthenon after Antiquity". ใน Neils, J. (บ.ก.). The Parthenon: From Antiquity to the Present. Cambridge.